8 พ.ค. 2019 เวลา 07:29 • การศึกษา
อันตรายจาก"กระเป๋า" (น้ำหนักเกิน)
เมื่อคำว่า สัมภาระ กลายมาเป็น ภาระ ที่แท้จริงในสภาวะฉุกเฉิน ของนักเดินทาง
และนี่คืออีกหนึ่งเหตุผล ของข้อกำหนดสายการบิน ว่าทำไมถึงต้องจำกัดน้ำหนักกระเป๋าหิ้วขึ้นเครื่อง หรือแม้แต่การจัดเก็บกระเป๋าให้ถูกที่
เหตุเกิดล่าสุด เมื่อในที่ 7 พฤษภาคม ที่ผ่านมา บนสายการบิน บริทติส แอร์เวย์ ด้วยเครื่องบินโบอิ้ง 777-236 เที่ยวบิน BA2167 เดินทางออกจาก กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ปลายทางสู่ เมืองแทมปา รัฐฟอริดา สหรัฐอเมริกา
ในระหว่างการเดินทางทาง เครื่องบินได้ตกหลุมอากาศรุนแรง และเฉียบพลัน ส่งผลให้ กระเป๋าที่เก็บอยู่บนที่เก็บของเหนือศีรษะ ตกลงมากระแทกผู้โดยสาร จนได้รับบาดเจ็บ
ด้วยแรงกระแทกของกระเป๋าที่ตกลงมาทำให้ พื้นและเพดานเครื่องบินแตก จนได้รับความเสียหาย
คงไม่ต้องเดาว่า อาการของผู้โดยสารจะเป็นเช่นไร......
ทันทีที่เครื่องบินลงจอด ผู้โดยสาร 14 คนได้ถูกนำตัวส่งโรงพยาบาล
แอร์ป้าอยากจะแชร์...
Turbulence หรือสภาพอากาศแปรปรวน มีหลายลักษณะ แตกต่างกันที่ระดับความรุนแรง ซึ่งมาจากหลายปัจจัยทางสภาพอากาศ
เทอร์บูเลนซ์ ที่นักบินสามารถตรวจจับได้จากเรดาร์ตรวจอากาศ เมื่อบินเข้าไปในกลุ่มก้อนเมฆ จะทำให้มีการเตือนโดยนักบิน ด้วยการเปิดสัญญาณรัดเข็มขัดในห้องโดยสาร เพื่อให้ทุกคนนั่งและรัดเข็มขัดประจำที่
แต่ยังมีเทอร์บูเลนซ์บางประเภท(Clear air turbulence) ที่ไม่สามารถตรวจจับได้จากจอเรดาร์ ซึ่งอาจทำให้เครื่องบินเกิดแรงสั่นสะเทือนเนื่องจากแรงลม
และเทอร์บูเลนซ์แบบนี้เอง นักบินจะไม่สามารถคาดการหรือเตือนให้ทราบล่วงหน้าได้ ทำให้เกิดการตกหลุมอากาศเป็นไปแบบเฉียบพลัน
และนี่อาจคือสิ่งที่เกิดขึ้นบนเที่ยวบินนี้..
ภาพความเสียหายของการเกิด Turbulence ในเที่ยวบินอื่นๆ
ดังนั้นการรัดเข็มขัดที่นั่งประจำที่ตลอดการเดินทาง จึงเป็นสิ่งจำเป็น
ความรุนแรงของกระเป๋า ที่อาจกลายเป็นอาวุธ
โดยปกติ น้ำหนักกระเป๋า carry on ที่ท่านสามารถนำขึ้นเครื่องบินได้ นั่นคือ ไม่เกิน 7 กิโลกรัม
เมื่อขึ้นมาถึงบนเครื่องบิน ก็เป็นหน้าที่ของท่าน ที่จะต้องหาที่เก็บกระเป๋าลากใบนี้บนที่เก็บของเหนือศีรษะ ส่วนกระเป๋าใบเล็ก ท่านสามารถพกติดตัว หรือเก็บไว้ใต้ที่นั่งด้านหน้าของท่าน
ยกเว้นที่นั่งบริเวณทางออกฉุกเฉินที่จะไม่อนุญาตให้นำสัมภาระใดๆ ไม่ว่าจะกระเป๋าใบเล็ก ใบใหญ่ หลุยส์ ชาแนล หรือแม้แต่ถุงกระดาษ และพลาสติก วางที่บริเวณที่นั่งของท่าน ในขณะที่ครื่องทำการบินขึ้น Take off และลงจอด Landing
แปลว่า ช่วงเวลาที่สำคัญ 2 ช่วงนี้ ท่านต้องเก็บทุกอย่างขึ้นไปที่เก็บของเหนือศีรษะให้หมด
เกี่ยวเนื่องกับการอพยพ ที่อาจเกิดขึ้นได้ทุกเวลา ดังนั้นผู้ที่นั่งใกล้กับทางออกจึงไม่ควรวางสิ่งกีดขวางใดๆที่บริเวณนี้
หากกระเป๋าของท่านน้ำหนักเกิน
ปกติบางสายการบิน จะมีตาชั่งให้ชั่งก่อนเข้าเครื่องบิน แต่บางสายก็ไม่มี ถ้าท่านโชคดี ก็จะไม่เป็นอะไรในวันที่พกน้ำหนักกระเป๋ามาเกิน
แต่..หากโชคร้าย วันนั้นมีผู้โดยสารเต็มลำ แล้วทุกคุณคิดเหมือนกัน คือ น้ำหนักเกินนิดหน่อย ไม่เป็นอะไรมั้ง...5 ขีดเอง ..... 5 ขีด × 200 คน ก็ 100 กิโล พอดี!!
แอร์ป้าไม่อยากจะคิด แต่อยากให้ทุกคนคิดตาม ที่เก็บของเหนือศีรษะที่ท่านเห็น มันแข็งแรงก็จริงอยู่ แต่มันก็มีน้ำหนักจำกัดอยู่เด้ออ ไม่งั้นเขาคงไม่ออกกฎมาจริงไหม เอาเป็นว่ามันก็อยู่บนหัวของพวกเราทั้งนั้น ถ้ามันหล่นมาละก็........
นี่ให้นึกตามแบบเหตุการณ์ธรรมดา แต่หากเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินขึ้นมา เช่นเกิดตกหลุมอากาศ หรือการลงจอดฉุกเฉิน
1
เครื่องเกิดการกระแทกรุนแรง..
ไม่ต้องบอกก็รู้เลย อะไรมันจะหล่นลงมาก่อน มงยังไม่ทันลง👑 แต่กระเป๋ามันลงมาแน่ๆจ้าา🎒👀
1
เรื่องจริงที่เกิดขึ้น มีผู้โดยสารคอหักจนต้องเข้าเฝือก เพราะกระเป๋าคนอื่นตกลงมาขณะเครื่องบินตกหลุมอากาศ เพราะตัวเองยืนขึ้น ไม่ยอมนั่งและรัดเข็มขัด สุดท้ายก็โชคร้ายรับเคราะห์ไปเต็มๆ..
ฉะนั้น กระเป๋าที่อาจหนักแค่ 7 กิโลกรัม เมื่อเพิ่มแรงกระแทก ก็อาจกลายเป็นก้อนหินขนาดยักษ์ดีๆนี่เอง..
ทางที่ดี พกสัมภาระขึ้นเครื่องให้น้อยที่สุด เท่าที่มีความจำเป็น
"กระเป๋าคาดเอว" คือสิ่งที่แอร์ป้าอยากแนะนำ เพราะนอกจากจะสามารถเก็บเอกสารสำคัญ ท่านยังพกติดตัว ติดเอวได้ตลอดเวลา แม้แต่ในสถานการณ์ฉุกเฉิน ที่ก็จะยังติดตัวท่านไปได้ ไม่ต้องหยิบ ไม่ต้องลาก ไม่กระแทก น้ำหนักเบาแถมยังวิ่งได้โดยที่ไม่ติดขัดในขณะทำการอพยพ
1
เพราะการอพยพที่ต้องเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วภายใน 90 วินาที ที่ถูกคนจะต้องออกจากเครื่องบิน (จากที่ถูกเทรนมา)
รองเท้าผ้าใบ เสื้อผ้าที่ไม่รุงรัง กระเป๋าที่กระทัดรัด ไม่ขัดใคร ก็อาจจะช่วยชีวิตท่านได้ ในยามจำเป็น
รณรงค์ ใช้กระเป๋าคาดเอว!!✌
Have a safe flight✈
#แอร์ป้าห้าดาว
หากชื่นชอบและบทความนี้เป็นประโยชน์ กด Like และ share และกดติดตาม เพื่อไม่ให้พลาด บทความที่สาระไม่มาก แต่มีทั้งรอบตัวไปยันรอบโลก😁
Fly with me to see the world ด้วยกันนะคะ 😊✈
Credit
โฆษณา