11 พ.ค. 2019 เวลา 10:00 • ประวัติศาสตร์
The Legend of Philosopher คนที่ 2 : PLATO
นักปราชญ์ ผู้มีอิทธิพลต่อนักปราชญ์ชาวตะวันตก
ผู้ซึ่งเป็น อาจารย์ของ อริสโตเติ้ล
ผู้ซึ่งสร้างระบบ Academy เป็นคนแรกของโลก
เพลโต
The Legend of Philosopher คนที่ 2 : PLATO
เพลโตนักปราชญ์ชาวกรีกผู้มีชื่อเสียง เป็น
ลูกศิษย์ของโสกราตีส ได้นำปรัชญาของโสกราตีสเรื่องความดีงามอันเป็นนิรันดร์มาผสมผสานกับความรู้ด้านดนตรี คณิตศาสตร์ ภาษา ส่งผลให้โสกราตีสกลายเป็นปรมาจารย์ด้านปรัชญา และเป็นอาจารย์ของอริสโตเตี้ลผู้ทำให้ศาสนจักรเรืองอำนาจ และเกิดความวุ่นวายในสังคมตามมา
เพลโตมีชีวิตอยู่ในช่วง พ.ศ. 116-196
ความเชื่อของเพลโต วิชาความรู้เป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับมนุษย์ทุกคนเขาจึงต้องการให้ทุกคนได้เรียนรู้ โดยทำตัวประดุจเป็นครูถ่ายทอดวิชาความรู้​ เผยแพร่คำสั่งสอนจนมีลูกศิษย์มากมาย
เขาสอนให้ใช้วิธีคันหาคำตอบด้วยหลักการ
ทางเมตาฟิสิกส์หรือทฤษฎีความจริงเกี่ยวกับธรรมชาติ สิ่งที่นั้นคือปัญหาจริยธรรม เพื่อค้นหานิยามของความดี ชีวิตที่ดี ความหมายของโลกและมนุษย์​ ความเป็นจริง ชีวิตที่มีจิตกับร่างกาย
เพราะเพลโต คิดว่าวิชาความรู้เป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับมนุษย์ทุกคน
1
การเป็นครูผู้ถ่ายทอดวิชาความรู้เป็นสิ่งที่มีเกียรติ ผลงานสำคัญของ​ เพลโต​ จึงเป็นการก่อตั้งโรงเรียนชื่ออะคาเคมี (Academy) เพื่อเผยแพรวิชาปรัชญา​ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ เน้นว่าคณิตศาสตร์และเรขาคณิตเป็นพื้นฐานของ
ระบบการคิด เพลโตได้ชื่อว่าเป็นผู้ให้กำเนิดวิชาปรัชญาและการศึกษา
Quote : PLATO
"People are like dirt. They can either nourish you and help you grow as a person or they can stunt your and growth and make you wilt and die
ผู้คนก็เหมือนกับดิน พวกเขาสามารถบำรุงเลี้ยงคุณ​และช่วยให้คุณได้เติบโต​ หรือ​ พวกเขาจะหยุดการเติบโตของคุณ​และปล่อยให้คุณร่วงโรยและตายก็ได้
ผลงานด้านการเขียนคือหนังสือชื่อ "รีพับลิค" เป็นหนังสือที่มีชื่อเสียงที่สุดได้เปิดประเด็นให้เกิดการคิดต่อยอดในหลายประเด็น เช่น
รัฐในคุดมคติ ผู้ปกครองควรมีเพียง 2-3 คน เป็นผู้ที่ได้รับการครรสรรมาเป็นอย่างดีว่าเป็นผู้ที่มีสติปัญญายอดเยี่ยม จะได้รับการฝึกเป็นพิเศษเพื่อปกครองประเทศ กษัตริย์จะต้องเป็นนักปราชญ์ นำสังคมไปสู่โลกแห่งความคิด ชนชั้นปกครองต้องไม่มีทรัพย์สมบัติส่วนดัวเพื่อป้องกันความโลภ จะได้มีจิตใจที่มุ่งปกครองรัฐตามกฎหมาย แนวคิดนี้ ได้รับการขนานนามว่าโลกพระศรีอาริย์
ความอยุติธรรม เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้เสมอ เพราะคนที่นำมาซึ่งความ​ อยุติธรรม​ มักจะเป็นผู้มีอำนาจ เป็นชนชั้นผู้ปกครอง จึงมีคำกล่าวว่า​ "อำนาจคือความถูกต้อง" แต่ผู้ที่หวังความยุติธรรมมักจะดำรงอยู่ด้วยความเรียบง่าย กลายเป็นคนอ่อนแอไร้ซึ่งอำนาจ
คนที่ต้องการอำนาจจะก้าวร้าวและมุ่งมั่นไปยังทิศทางที่ต้องการ ส่วนกฎหมายเป็นสิ่งที่ผู้ปกครองสร้างขึ้นมาเพื่อใช้ปกป้องผลประโยชน์ของตนเอง กฎหมายจึงได้รับคำนิยามว่า "เป็นสิ่งที่ถูกต้อง" ซึ่งจะทำให้เกิดผลประโยชน์และอำนาจของผู้ออกกฎหมาย เมื่อใดที่กล่าวว่า สิ่งนั้นหรือการกระทำนั้นเป็นสิ่งที่ถูกต้อง
นั่นหมายความว่า สิ่งนั้นหรือการกระทำนั้นเป็นผลประโยชน์และอำนาจของพรรคการเมืองที่แข็งแกร่งกว่านั่นเอง
Quote : PLATO
"Good people do not need laws to tell them to act responsibly, while bad people will find a way around the laws"
คนที่ดีจะไม่ต้องให้กฎหมายมาบอกว่าต้องทำแบบนี้ถึงจะดี แต่ในขณะเดียวกัน คนที่ไม่ดี จะหาทางที่จะแหกกฎนั้น
การใฝ่หาความรู้ เพื่อคันหาคำตอบที่สงสัย เป็นสิ่งที่คนเราควรกระทำ การหาเหตุและผลของสิ่งที่คันพบแล้วตั้งเป็นทฤษฎี เพื่อจะได้ประกาศว่าสิ่งที่ตนสงสัยนั้นเป็นจริง รวมทั้งความเชื่อในคุณงามความดีจริงแท้มีแน่นอน คนดีจะต้องทำดีตลอดไป ไม่มีข้ออ้างที่จะทำเรื่องชั่วร้าย และ ไม่เลือกว่าควรทำดีเฉพาะบางเรื่อง
Quote : PLATO
"Excellence is not a gift, but a skill that takes practice. We do not act ‘rightly’ because we are ‘excellent’, in fact we achieve ‘excellence’ by acting ‘rightly.’ "
ความดีเลิสนั้นไม่ใช่พรสวรรค์ แต่มันคือความสามารถในการฝึกฝน พวกเราไม่ควรที่จะทำอะไรก็"ถูกต้อง"เพียงเพราะว่า พวกเขา "ดีเลิศ" แต่นั่นต้องเพราะพวกเขา "ดีเลิศ" จึงทำในสิ่งที่ "ถูกต้อง" ต่างหาก
Cr. Goalcast
การคิดหาสาเหตุ ปรัชญาในหนังสือ "รีพับลิค" กล่าวว่า "คนส่วนใหญ่
จะมองเห็นแค่กลุ่มภาพและเงาที่เห็นบนผนังถ้ำ แต่จะไม่มี
ผู้ใดใส่ใจที่มองหาดันกำเนิดแห่งภาพ การเข้าใจโลกแห่งความ
เป็นจริงต้องมองหารูปแบบ (forms) ซึ่งอาจอยู่นอกเหนือประสบการณ์ที่เคยได้รับ" แนวคิดเช่นนี้มีอิทธิพลต่อปรัชญาตะวันตกอย่างมาก สิ่งต่างๆที่มองเห็นอาจไม่ไช่สิงที่เป็นจริง จึงอาจใช้ทฤษฎีเพื่ออธิบาย
ส่งผลให้เกิดวิชาวิทยาศาสตร์แยกตัวออกจากปรัชญา
สำหรับเพลโต ความรู้นั้นคือการสามารถเข้าถึงธรรมชาติอันเป็นที่มาที่สำคัญของสรรพสิ่งที่เขาเรียกว่า“แบบ” (Forms) ได้ โดยนักปรัชญานั้นเป็นผู้ที่เข้าถึง “แบบ” และเป็นผู้ที่มีความรู้ที่แท้จริง สำหรับพวกช่างต่างๆ เช่น ช่างทำเตียงนั้นก็มีความรู้ แต่เป็นความรู้ที่เลือนราง คือในทางปฏิบัติพวกช่างก็จะมีความรู้ในสิ่งที่เขาทำ คือรู้ว่าจะต่อเตียงได้อย่างไร แต่พวกเขาไม่ได้มีความรู้ในลักษณะที่จะอธิบายและให้เหตุผลได้ว่าเพราะเหตุใดทำไมจึงต้องทำในลักษณะนั้น สำหรับศิลปินนั้นยิ่งรู้น้อยกว่าพวกช่าง เพราะเขาเพียงแต่เลียนแบบหรือทำให้ดูเหมือนสิ่งที่ช่างไปเลียนแบบมา หากดูตามผังข้างล่างที่เพลโตพูดถึงความรู้ 3 ระดับ คือ
1. นักปรัชญา เข้าถึง “แบบของเตียง”
2. ช่างทำเตียง สร้างเตียง ด้วยการเลียนแบบ “แบบของเตียง”
3. ศิลปิน วาดภาพเตียง ด้วยการเลียนแบบเตียงที่ช่างทำเตียงสร้างขึ้นด้วยการ เลียนแบบ “แบบของเตียง” ซึ่งเป็นการเลียนแบบสิ่งที่เลียนแบบมาอีกทีหนึ่ง (imitation of imitation)
ทฤษฎีของเพลโตแสดงให้เห็นว่า เราสามารถสร้างสะพานเชื่อมระหว่าง
โลกที่เป็นรูปธรรมกับโลกที่เป็นนามธรรม และโยงไปยังจริยศาสตร์ กล่าวคือ
การมีความรู้แท้เกี่ยวกับรรมชาติของสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง รวมทั้ง
ธรรมชาติที่แท้จริงของมนุษย์ แล้วจะเชื่อมโยงไปสู่ความรู้เรื่องพฤติกรรมของ
มนุษย์ ซึ่งทำให้รู้คำตอบเกี่ยวกับจุดหมายสูงสุดของชีวิตมนุษย์ ซึ่งสัมพันธ์
กับหลักจริยศาสตร์ หลักรัฐศาสตร์ และหลักศาสนาได้
ปรัชญาการศึกษาของเพลโต เนันการพัฒนาภูมิปัญญาระดับสูงของผู้
ปกครอง นักการมือง ผู้ปกครองที่ดีต้องมีควานรู้ ทรงภูมิปัญญา มีทักษะด้านวาทะศิลป์และศิลปะการโน้มน้าวจูงใจคน ถึงพร้อมด้วยความรู้และคุณธรรม มีความบริบูรณ์ทางภูมิปัญญา การศึกษาตามแนวปรัชญาของเพลโต วิชาคณิตศาสตร์เป็นวิชาแกนของหลักสูตร โดยชี้ใ้หเห็นว่า เป็นวิธีจัดการศึกษา
ที่ดีที่สุดในการเตรียมความพร้อมของผู้เรียนไปสู่การแสวงหาครามรู้
ก็จบไปแล้วนะครับ สำหรับ เพลโต สำหรับนักปราชญ์ คนต่อไปที่เราจะพูดถึง ก็ต้องเป็น ลูกศิษย์ ของเขาอริสโตเติ้ลนั่นเอง
แล้วพบกันวันเสาร์หน้าครับ กับ The Legend of Philosopher
อ้างอิง
ประวัติ​จาก​ wiki,bubeeja.blogpost และ​หนังสือ​สุดยิดนักคิดผู้พลิกชะตาโลก

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา