12 พ.ค. 2019 เวลา 04:20 • ประวัติศาสตร์
นิโคลา เทสลา (Nikola Tesla) นักประดิษฐ์ผู้ยิ่งใหญ่ที่โลกลืม ตอนที่ 12
ความคิดที่ก้าวล้ำนำหน้าของอัจฉริยะ
ถึงแม้นิโคลาจะไม่ได้เป็นคนแรกที่ได้รับสิทธิบัตรเทคโนโลยีโทรเลขไร้สาย แต่เขาก็ยังคงทำการทดลองต่อไป
1
ในปีค.ศ.1898 (พ.ศ.2441) นิโคลาได้สาธิตการทดลองแล่นเรือบังคับวิทยุด้วยคลื่นวิทยุ ซึ่งทำให้ผู้ชมต่างตะลึง นิโคลาต้องแกะชิ้นส่วนของเรือให้ทุกคนดูว่าไม่มีลูกเล่นอะไรซ่อนไว้
2
นิโคลายังพูดถึงโลกไร้สาย เขากล่าวว่า “เราจะสามารถสื่อสารกันได้โดยไม่มีข้อจำกัดเรื่องระยะทาง ส่วนเครื่องมือสื่อสารนั้น ผู้คนจะสามารถพกใส่ในกระเป๋าได้”
ฟังดูคุ้นๆ มั้ยครับ
ใช่แล้วครับ โทรศัพท์มือถือนั่นเอง
นิโคลายังคิดไกลออกไปอีก
ถึงแม้เขาจะพลาดโอกาสในการเป็นคนแรกที่ส่งข้อความเป็นระยะทางไกลๆ ได้ แต่ทำไมต้องหยุดค้นคว้าต่อล่ะ ในเมื่อการส่งข้อความของมาร์โกนีนั้นเป็นเพียงการส่งข้อความสั้นๆ ทำไมไม่ส่งข้อความหลายๆ ข้อความในคราวเดียวโดยอาศัยคลื่นวิทยุพวกนั้นล่ะ
1
ข้อมูลอย่างเช่นรูปภาพ เพลง ข้อความเสียง
ฟังดูคุ้นๆ อีกใช่มั้ยครับ
อินเตอร์เน็ตนั่นเองครับ
1
เช่นเดิม นิโคลานั้นมีความคิดที่ก้าวล้ำนำหน้าผู้อื่นเสมอๆ แต่บางครั้งความก้าวล้ำนำหน้าที่ไปเร็วเกินไป ก็ทำให้เทคโนโลยีเองตามไม่ทัน
นิโคลารู้ดีว่าแนวคิดของเขานั้นก้าวไกลเกินกว่าเทคโนโลยีในสมัยนั้นจะทำได้ เขาจึงได้ทำการทดลองอย่างบ้าคลั่ง และการทดลองก็ยิ่งใหญ่มากขึ้นเรื่อยๆ ใหญ่ซะจนว่าการทดลองไฟฟ้าของเขานั้นใหญ่และอันตรายเกินไปสำหรับห้องแลบในนิวยอร์ก นิโคลาจึงเริ่มมองหาที่สร้างห้องแลบใหม่
ค.ศ.1899 (พ.ศ.2442) นิโคลาได้ย้ายไปโคโลราโดและสร้างห้องแลบใหม่ ใหญ่กว่าเดิม ในห้องแลบใหม่ของนิโคลานั้น มีขดลวดเทสลาขนาดใหญ่ที่สามารถสร้างสนามแม่เหล็กซึ่งใหญ่พอจะให้ไฟฟ้าแก่หลอดไฟที่อยู่ห่างออกไปหลายไมล์โดยไม่ต้องใช้สายไฟ
1
ค.ศ.1900 (พ.ศ.2443) นิโคลาได้กลับมานิวยอร์ก และสร้างหอสูงกว่า 187 ฟุต (ประมาณ 56 เมตร) ในห้องแลบที่ลองไอส์แลนด์ โดยนิโคลาคาดหวังว่าหอนี้จะเป็นสถานที่แรกของโลกที่ส่งสัญญาณวิทยุรวมถึงไฟฟ้าไปทั่วโลกโดยไม่ต้องใช้สายไฟ เป็นระบบสื่อสารไร้สายอย่างสมบูรณ์แบบ
1
แต่แผนการนี้ไม่ได้ผล ในปีค.ศ.1905 (พ.ศ.2448) นิโคลาถูกบังคับให้ปิดห้องแลบนี้
ชีวิตที่ดูเหมือนจะประสบความสำเร็จ แต่สุดท้ายก็ต้องมีอุปสรรคมาขัดขวางตลอด เขาจะเป็นอย่างไรต่อไป รอติดตามในตอนหน้านะครับ
โฆษณา