Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
คำสอนของแม่.com
•
ติดตาม
12 พ.ค. 2019 เวลา 09:05 • ครอบครัว & เด็ก
ความรู้สึกผิดคือสาเหตุโรคซึมเศร้า
..."หนูรู้สึกแย่มากเลยพี่ หนูทำผิดกับแม่ไว้มาก ทุกวันนี้หนูเศร้าและร้องไห้น้ำตาไหลออกมาเอง โดยไม่รู้ตัว หนูคิดถึงแม่ หนูอยากไปหาแม่ แต่หนูยังไปหาแม่ไม่ได้ตอนนี้ หนูรู้สึกผิดตลอดเวลาเลยค่ะ"
...คำสารภาพของใครบางคน ถ้าหากเรามองให้ลึกถึงหัวใจ แม่ไก่เข้าใจถึงความรู้สึกนี้ได้ลึกซึ้งเสมอ ด้วยสัญชาตญาณของความเป็นแม่ของเรา
*********************************
...#ความรู้สึกผิด คือความรู้สึกแย่กับตัวเอง
...ยอมรับการกระทำของตัวเองไม่ได้
...มองว่าตัวเองได้ทำบางสิ่งที่ไม่สมควรออกไป
...ส่งผลให้เกิดความเสียหายทางจิตใจ หรือทางร่างกาย กับคนอื่น หรือตัวเอง
...ความรู้สึกผิด เป็นความรู้สึกหนึ่งที่ทรมานใจอย่างมาก
...ทำให้หลายคนไม่สามารถใช้ชีวิตอย่างมีความสุขได้
...หลายคนจมจ่อมกับความรู้สึกผิดและเฝ้าโทษตัวเองซ้ำๆ
...ยิ่งหวนนึกถึงเหตุการณ์นั้นบ่อยๆ ก็ยิ่งรู้สึกแย่กับตัวเองมากขึ้นเรื่อยๆ
...#ความรู้สึกผิดเกิดขึ้นได้อย่างไร?
...ในทางจิตวิทยา ไม่ใช่ทุกคนจะมีความรู้สึกผิดได้
...คนที่จะมีความรู้สึกผิดได้ต้องมีคุณสมบัติพื้นฐานดังนี้
...1. #เป็นคนที่มีคุณธรรม (moral)
...คนที่มีคุณธรรมเท่านั้นถึงจะมีความรู้สึกผิด
...ในทางตรงข้าม คนที่ไม่มีคุณธรรม ไม่ว่าทำอะไรลงไป
...เดือดร้อนคนอื่นแค่ไหน
...ไม่มีทางที่เขาจะรู้สึก รู้สึกผิดได้เลย
...เนื่องการพัฒนาทางจิตใจมาตั้งแต่วัยเด็ก
...ทำให้เกิดความบกพร่องที่จุดนี้ จึงไม่สามารถรู้สึกผิดบาป
...หรือละอายใจกับการกระทำผิดของตนได้
...เพราะความรู้สึกผิดจะแปรผันตามกับเรื่องการมีคุณธรรมประจำใจ
...ถ้ายิ่งมีคุณธรรมประจำใจมาก ความรู้สึกผิดก็ยิ่งมีปริมาณมาก
...2. #เป็นคนที่มีความรับผิดชอบ (responsibilty) ต่อพฤติกรรมของตน รวมถึงมีจิตสำนึกในผลจากการกระทำของตนต่อส่วนรวม (accountability)
...3. #เป็นคนที่รู้สึกว่าต้องช่วยคนอื่น (altruism)
...ตามปกติทุกคน พัฒนาการทางจิตใจวัยเด็กแรกเกิดของชีวิต จะมีลักษณะนึกถึงตนเอง
...ยึดตนเองเป็นศูนย์กลางของทุกสิ่ง (self-center)
...แต่เมื่อเด็กๆ ได้เติบโตมีการเลี้ยงดูที่ดี
...จะมีพัฒนาการที่ดีและเหมาะสมมากขึ้น
...ความรู้สึกนึกถึงตนเองจะลดลงและพัฒนาเป็นความรู้สึกนึกถึงคนอื่นได้มากขึ้น
...จึงทำให้เกิดอยากช่วยคนอื่นและอยากเสียสละเพื่อผู้อื่น
...4. #เป็นคนที่สามารถเห็นอกเห็นใจคนอื่นได้ (empathy)
...คนที่สามารถรับรู้และเข้าใจความทุกข์ ความเจ็บปวด ของผู้อื่นได้
...เมื่อเห็นคนที่มีความลำบาก จะกระตุ้นความอยากช่วยเหลือของเขา
...ความรู้สึกผิดไม่ใช่เรื่องไม่ดี
...คนที่รู้สึกผิดเป็นสัญลักษณ์หนึ่งของคนที่จิตใจดี
...และความรู้สึกผิดทำให้เราอยากปรับปรุงตัว ทำอะไรที่ดีๆ มากขึ้น
...#ลักษณะของคนที่มีความรู้สึกผิดมากเกินไป
...คนที่จะมีความรู้สึกผิดมากเกินไป จะกลายเป็นโทษ มีลักษณะดังนี้
...1.#เกิดจากบุคลิกที่ชอบตำหนิตัวเอง (self- criticism)
...ในคนที่มีบุคลิกชอบตำหนิตัวเอง
...มักมีแนวโน้ม เพ่งโทษตัวเอง
...เห็นข้อลบของตนเองอยู่ตลอด
...ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น มักหันเข้ามาคาดโทษ และตำหนิตนเองไว้ก่อน
...2.#คนที่ให้อภัยตนเองได้ยาก
...เกิดจากมีระดับการมีคุณธรรมที่รุนแรงมากเกินไป จนไม่เหมาะสม
...จึงไม่สามารถให้อภัยตนเองได้เลย
...3.#เป็นคนขาดความยืดหยุ่น
...เช่น ถ้าดีก็ต้องดีทั้งหมด ไม่ควรมีอะไรผิดเลย
...ถ้ามีผิดไปนิดนึง จะแปลว่าเลวร้ายไปทั้งหมด คือมีลักษณะมองอะไร เป็นขาวหรือดำเท่านั้น
...ไม่สามารถมองอะไรเป็นสีเทาๆได้
...4.#เป็นคนคาดหวังกับตัวเองสูง (high expectations)
...มีลักษณะบุคลิกภาพแบบ "คนสมบูรณ์แบบ" (perfectionist)
...จึงคาดหวัง ให้ตนเองทำสิ่งที่ถูกต้องตลอดเวลา
...หากถ้าทำผิดพลาดแม้เพียงน้อยนิด จะยอมรับตัวเองได้ยาก
...5.#เป็นคนไม่ค่อยเห็นคุณค่าในตนเอง (low self-esteem)
...เมื่อทำผิดพลาดไปแม้เพียงเล็กน้อย จะรู้สึกแย่กับตัวเองได้มาก
...มองตนเองไม่มีค่า เพราะไม่ค่อยเห็นข้อดีของตนเอง
...ผลจากความรู้สึกผิดที่มีปริมาณมากเกินไป ทำให้เกิดโทษได้อย่างมาก
...1.#อาจกลายเป็นโรคซึมเศร้า หรือโรควิตกกังวลได้
...2.#ไม่อนุญาตให้ตนเองมีความสุข
...เพราะต้องการลงโทษตัวเอง
...บางคนจะมีความสุขก็รู้สึกละอายใจ
...จึงต้องทำให้ตนเองรู้สึกทุกข์ใจตลอด
...หรือในใจจะพยายามทำให้ชีวิตตนเองตกต่ำอยู่ตลอด
...ไม่อยากให้เห็นตนเองดีขึ้น หรือก้าวหน้า
...เพราะยังรู้สึกผิดอยู่ ใช้ชีวิตไปอย่างไม่ใยดีตนเอง เพื่อชดเชยความผิด
...3. #พยายามฆ่าตัวตาย ทำร้ายตัวเอง เพื่อชดเชยความผิดนั้น
....#การดูแลรักษา
....ในส่วนของการดูแลตัวเอง
...1.#เข้าใจและยอมรับความผิดพลาดที่เกิดขึ้น
...ความผิดพลาด ล้วนเกิดขึ้นได้เป็นธรรมดา
...เพราะในโลกนี้ไม่มีใครที่ไม่เคยผิดพลาด
...ความผิดพลาดเป็นเรื่องธรรมดาของมนุษย์
...ผู้ที่ไม่ผิดพลาดคือผู้ที่ไม่เคยทำอะไรเลย
...ยอมรับ ทุกความรู้สึก ที่เกิดขึ้น
...ทั้งความเศร้า เสียใจ ความโกรธ ความกลัว และ ความรู้สึกผิด
...เพราะทุกความรู้สึกที่เกิดขึ้น
...เป็นปฏิกิริยาปกติทางจิตใจ (normal reaction)
...ความรู้สึกต่างๆ จึงเกิดขึ้นได้เป็นธรรมดา
...จึงไม่ต้องไปรู้สึกแย่กับความรู้สึกใดๆที่เกิดขึ้น
...2.#เรียนรู้จากความผิดพลาดนั้น
...ความผิดพลาด เป็นโอกาสของการเรียนรู้ชั้นดี
...จำไว้เสมอว่า ความผิดพลาด คือครู
...3.#ให้เวลา ทำ "ใจ" ที่จะรู้สึกเศร้าเสียใจ
...ไม่ควรปฏิเสธความรู้สึกเศร้าเสียใจ
...แต่ก็อย่าถึงกับมีอารมณ์ และซ้ำเติมตัวเองจนเกินจริง
...4.#พูดคุยกับผู้อื่น
...เพราะการเก็บตัว ไม่พูดคุยใคร จะยิ่งทำให้อาการแย่มากขึ้น
...5.#แบ่งปันความรู้สึกกันกับคนใกล้ตัว
...หาเพื่อน คนในครอบครัว หรือคนที่รู้สึกสนิทใจ เพื่อเล่าความรู้สึกของเราได้มีการระบายความรู้สึกบ้าง
...6.#หากิจกรรมทำเพื่อไม่ให้ว่าง
...เพราะเวลาว่าง มักจะคิดมาก คิดฟุ้งซ่าน คิดเลยเถิด เกินจริงไป
...หากิจกรรม เช่น ออกกำลังกาย อ่านหนังสือ ดูหนัง ฟังเพลง หาที่เรียนสิ่งที่เราชอบ ท่องเที่ยว ถ่ายรูป ทำกิจกรรมอาสาสมัครต่างๆ เป็นต้น
...7.#การพูดคำว่าขอโทษ
...ถ้ามีโอกาสที่จะทำได้ ควรทำเป็นอย่างยิ่ง
...เป็นสิ่งที่ช่วยเยียวยา "แผลใจ" ได้มาก
...ไม่ว่าอีกฝั่งจะยกโทษให้หรือไม่ก็ตาม
...อย่างน้อยเราก็ได้ทำสิ่งที่ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้แล้ว
...8.#เปลี่ยนความรู้สึกเป็นด้านบวก
...การทำงานอาสาสมัครต่างๆ ที่เป็นประโยชน์
...ช่วยให้ลดความรู้สึกผิดได้ และ กลับมาเห็นคุณค่าในตนเองได้
...มองว่าความผิดนั้นเป็นการเรียนรู้ ซึ่งเป็นบทเรียนที่มีค่าอย่างยิ่ง
...จะช่วยให้การใช้ชีวิตต่อไปดียิ่งขึ้นทั้งต่อตนเอง ต่อคนครอบครัว และต่อสังคม
...รับรู้ให้ได้ด้วยหัวใจถึงสิ่งดีๆ และเจตนาดีต่างๆ ในตนเอง
...9.#ใคร่ครวญอย่างมีสติ
....สำรวจความคิดเราว่ามโนใส่ร้ายตัวเองมากไปหรือเปล่า
...บางที สิ่งที่เรามองว่าตนผิด จนเกิดความรู้สึกเจ็บปวดทุกข์ใจอย่างมหาศาล
...อาจมีความจริงแค่เล็กน้อย ที่เหลือ เรามโนใส่ร้ายตัวเองมากเกินไปก็เป็นได้
...10.#การให้อภัยตนเอง
...เริ่มต้นชีวิตใหม่
...ข้อนี้สำคัญมาก มีผู้กล่าวไว้ว่า
...#การที่ให้อภัยตนเองไม่ได้ คือ การหลงตนเองชนิดหนึ่ง
...ซึ่งเป็นความจริง เพราะเราหลงตัวว่าเราจะทำผิดอะไรไม่ได้เลย
...เราจึงไม่สามารถให้อภัยตัวเองได้
...แต่ในความจริง เราทุกคนล้วนทำผิดได้
...ความผิดพลาดเป็นเรื่องปกติของมนุษย์
...เราเองเป็นมนุษย์คนหนึ่ง ฝึกที่จะให้อภัยตัวเอง
...เริ่มต้นใหม่ด้วยชีวิตที่ดีขึ้น เพราะเราได้มีบทเรียนดีๆ สอนใจเราแล้ว
...การดูแลคนใกล้ตัวที่มีความรู้สึกผิด
...1. #รับฟัง_อย่างเข้าใจ
...2. #ทำความเข้าใจว่าความรู้สึกผิดนั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร_มีที่มาอย่างไร
...3. #อย่าซ้ำเติม
...4. #ถ้าไม่ดีขึ้น ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ เช่น จิตแพทย์ หรือนักจิตเวช
...ความรู้สึกผิดไม่ใช่สิ่งเลวร้าย เพราะทำให้เกิดการแก้ไขไปสู่สิ่งที่ดีกว่า
...ตรงข้ามกับการที่ไม่มีความรู้สึกผิด
...จะมีแต่การแก้ตัว กล่าวโทษคนอื่น ทะเลาะกัน
...เต็มไปด้วยความวุ่นวายและทำร้ายกัน
...แต่ความรู้สึกผิดที่มากเกินไป
...จะกลับมาทำร้ายหัวใจเราไม่ให้มีความสุขในชีวิตในปัจจุบันได้เลย
...ดังนั้นเราควรมีความ #เมตตาต่อตนเอง จึงเป็นสิ่งสำคัญมากที่สุด
...เมื่อวันนี้ เรามีโอกาสมีชีวิตอยู่ ใช้เวลาที่มีอยู่อย่างรู้คุณค่า
...โดยการปล่อยวางเรื่องที่ผิดพลาดไปแล้วในอดีต และทำวันนี้ให้ดีที่สุดค่ะ
...ขอบคุณข้อมูลจาก ผศ.พญ.ทานตะวัน อวิรุทธ์วรกุลภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
...รักและปรารถนาดีค่ะ
...#แม่ไก่
...#หัวใจของแม่คือการดูแลลูกให้ดีและมีความสุข
...ในทุกๆ เรื่องราวของชีวิตที่แม่ไก่เจอทุกวันนี้
...การใช้ชีวิตที่ไม่สามารถเข้าถึงความสุขที่แท้จริงได้
...สังเกตว่าจะมีความหมายที่พัวพันกับความสัมพันธ์กับแม่ ตั้งแต่เด็กเกือบทุกคน
...ประสบการณ์ชีวิตของผู้ใหญ่ จึงจำเป็นต้องเรียนรู้ให้เข้าใจ และต้องถ่ายทอดให้แง่มุมชีวิตดีๆ ให้กับเด็กๆ รุ่นใหม่ได้เข้าใจให้ได้
...ความรู้สึกเชิงลบในทุกความรู้สึก
...ถ้าหากเราเข้าใจได้ลึกซึ้ง ยอมที่จะแก้ไขไปทีละข้อ
...การมีหลักการในทางวิจัยของนักจิตวิทยา
...ทำให้เราเชื่อมั่นในแนวทางการแก้ไขที่ได้ผลจริง
...ชีวิตที่น่าสนุก ยังมีเรื่องท้าทายให้เราได้เรียนรู้ และหาคำตอบได้อีกมากมาย
...และนั่นหมายถึง เราจะเข้าใจธรรมชาติของชีวิตมากขึ้น
...ทำให้เราดำเนินชีวิตได้อย่างมีความสุข และมีความหมาย
...ซึ่งการเริ่มต้นให้ความเมตตากับตัวเองก่อน
...เราจะเมตตาผู้อื่นได้อย่างแท้จริง
...และสิ่งที่สำคัญ พ่อแม่ควรหลีกเลี่ยงการพูดซ้ำเติมให้ลูกรู้สึกผิด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอะไรก็ตาม
...เพราะความรู้สึกนี้จะกัดกร่อนหัวใจลูกไปจนโตได้อย่างไม่รู้ตัวเลยค่ะ
บันทึก
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย