14 พ.ค. 2019 เวลา 01:45 • การศึกษา
ภาพถ่ายฮือฮาเรียกความฉงนสงสัย อ่าวไทยทำไมมีแสงสีเขียวเต็มไปหมด โอ้! เป็นการเรืองแสงของ กากขยะนิวเคลียร์ หรือ สาหร่ายทะเลรึป่าว นักบินอวกาศ นาซ่าคาดเดาไปต่างๆ นานา แต่มันคืออะไรกันแน่...
ภาพถ่ายอ่าวไทยโดยนายเรด ไวส์แมน (Reid Wiseman) นักบินอวกาศชาวอเมริกัน Photo link : https://2th.me/a/library/f7/132830
มันคือแสงไฟจากเรือประมงนั่นเอง น่าทึ่งมากเลยใช่ไหมคะที่ยามราตรีของอ่าวไทยมีเรือประมงมากถึงขนาดนี้ โดยนายเรด ไวส์แมน (Reid Wiseman) นักบินอวกาศชาวอเมริกัน พูดอย่างทึ่งๆ ว่าทีแรกที่เขามองลงมาจากสถานีอวกาศนานชาติ เขาก็แปลกใจเหมือนกัน ไม่รู้ว่าแสงนั่นคืออะไร
1
รูปเรือประมงกำลังไดหมึก = Photo reference : https://sites.google.com/site/chusak8714/xun
แสงไฟประมาณเกือบร้อยดวงต่อเรือประมงลำหนึ่ง ติดไว้เพื่อล่อหมึกกล้วย และปลานานาชนิด โดยใช้พลังงานมากกว่า 300 กิโลวัตต์ต่อลำเลยทีเดียว คิดดูว่าเรามีเรือประมงเยอะมากจนเห็นแสงเขียวได้จากอวกาศเลย
ว่าแต่ทำไมไฟที่เรือประมงใช้ต้องเป็นสีเขียว??? และทำไมถึงต้องใช้เฉพาะไฟสีแบบนี้??? วันนี้แอดมีคำตอบค่ะ
รูปภาพปลามาชุมนุมที่แสง LED สีเขียว = Photo reference : http://deanlevin.info/reel-combo/green-fishing-lights-for-boats/
ไฟสีเขียวช่วยให้ล่อปลาและหมึกได้ดีขึ้นค่ะ เรื่องนี้ยืนยันโดยผู้ก่อตั้งบริษัทไฮโดรโกลว์ (Hydro Glow, Inc) ดาร์เรล คีธ (Darrell Keith) โดยบริษัทของเขาออกแบบไฟที่สร้างขึ้นมาเพื่อใช้ในการประมงโดยเฉพาะ
ภาพนายดาร์เรล คีธ = Photo reference : https://m.youtube.com/watch?v=I5w1LcRa5Fg
นายดาร์เรลยืนยันว่าแสงสีเขียวเป็นแสงที่ดึงดูดแพลงตอน อาหารอุดมคุณค่าในท้องทะเลให้มารวมตัวกันที่ผิวน้ำนั่นเอง โดยปลาจะเข้ามากินแพลงตอน และหมึกกล้วยจะเข้ามาล่าปลา ทั้งนี้นักล่าในท้องทะเลต่างต้องการพื้นที่ๆ อุดมไปด้วยอาหาร ดังนั้นการใช้แสงสีเขียวล่อพวกมันให้มาติดกับ นับว่าเป็นวิธีที่ชาญฉลาดอย่างมากเลย
ไฟโตแพลงตอน และซูแพลงตอน = Photo reference (Top) : https://en.m.wikipedia.org/wiki/Phytoplankton , Photo reference (Bottom) : https://en.m.wikipedia.org/wiki/Zooplankton
ทั้งนี้แสงสีเขียวยังล่อแพลงตอนขึ้นมายังไง??? โอ้ยิ่งน่าสนใจขึ้นไปอีกค่ะ
แพลงตอนชั่วคราว (zooplankton) หรือที่เรารู้จักกันดีภาษาบ้านๆ ว่าตัวอ่อนของสัตว์น้ำที่ล่อยลอยในทะเล มันจะชอบขึ้นมาที่ผิวน้ำในเวลากลางคืน ในเวลาที่มืดมิดเพื่อกินแพลงตอนถาวร (phytoplankton คือแพลงตอนที่ชอบอยู่ใกล้ผิวน้ำเพื่อสังเคราะห์แสง)
หนึ่งคือเจ้าแพลงตอนชั่วคราวกลัวว่าสัตว์ใหญ่จะมองเห็น ดังนั้นในเวลากลางวันจึงแอบซ่อนตัวและออกมาหาอาหารในยามคำ่คืนนั่นเอง
มนุษย์เราก็ฉลาด เอาแสงสีเขียวไปล่อแพลงตอนถาวร ซึ่งชอบแสงอยู่แล้ว แพลงตอนชั่วคราวซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าก็มารวมตัวกันกินแพลงตอนชั่วคราว แสงสีเขียวช่วยให้ปลาในทะเลเห็นแพลงตอนได้ชัดเจนเพราะมีสีแดงที่ตัดกับแสงสีเขียว (ตาของสัตว์ทะเลถูกออกแบบมาให้เห็นสีเขียวฟ้าและน้ำเงินได้ดีเนื่องจากเป็นสีหลักๆ ในท้องทะเล) ปลาจึงมากินซูแพลงตอนอย่างง่ายดายเลย นอกจากนั้นก็ยังล่อปลาใหญ่และหมึกกล้วยที่ล่าปลาอื่นกินเป็นอาหารมาด้วย
วิธีนี้ใช้มาแต่โบราณแล้ว สมัยที่มนุษย์ยังมีแค่แสงตะเกียงเอาไว้ล่อปลา แต่เอ๋! แล้วใช้แสงสีอื่นได้ไหม น้อ???
คำตอบคือแสงที่สามารถใช้ได้มี 3 สีด้วยกัน สีเขียว สีขาว สีฟ้า(หรือน้ำเงิน)
แต่สีขาวสว่างได้ไกลไม่เท่าสีเขียว เพราะในทะเลมีแพลงตอนสีเขียวและพืชอยู่มาก ทำให้สะท้อนแสงสีเขียวได้ดี
สีฟ้าหรือน้ำเงินใช้ได้พอๆ กับสีเขียวในการออกหาปลาทะเล แต่ไม่นิยมใช้หาปลาน้ำจืด
ดังนั้นสีเขียวจึงเป็นสีที่เหมาะที่สุดเนื่องจากสว่างได้ไกล สว่างลึกลงไปในทะเลได้มาก และหาปลาได้ทั้งในเขตน้ำจืดและเค็มค่ะ
Reference / อ้างอิง
เนื้อหา : โลกสีฟ้าป.ปลาตัวจิ๋ว
วันที่ 14 พ.ค. พ.ศ.2562
แอดไม่ได้เป็นเจ้าของภาพแต่อย่างใดค่ะ ลิ้งค์ที่มาอยู่ใต้ภาพค่ะ
*** รับปรึกษาปัญหาเกี่ยวสัตว์น้ำ ปลาป่วย อุปกรณ์ เครื่องกรอง ชนิดพันธุ์ปลา ฟรีไม่คิดค่าใช้จ่ายค่ะ
เฟสบุ๊คเพจ : โลกสีฟ้าปปลาตัวจิ๋ว จำหน่ายอุปกรณ์และสัตว์
โฆษณา