16 พ.ค. 2019 เวลา 12:15 • ธุรกิจ
Modern Portfolio Theory EP.1
ถ้าจะให้อธิบาย Modern Portfolio Theory อย่างง่ายที่สุดก็คงจะต้องยกวลัอันโด่งดังนนี้ขึ้นมาครับ
.
“อย่าใส่ไข่ทุกฟองไว้ในตะกร้าใบเดียว” – Don't put all your eggs in one basket”
.
หนึ่งในวลีในตำนานของโลกการลงทุน วันนี้เรามาท้าวความถึงที่มาและความหมายจริงๆของวลีนี้กันก่อนดีกว่า
.
วลีนี้นั้นปรากฏครั้งแรกในวรรณกรรม ดอนกิโฆเต้ เมื่อราวๆ 400 ปีก่อน เขียนโดยนักประพันธ์ชาวสเปนชื่อ มิเกล เด เซร์บันเตส ซาอาเบดรา โดยเขียนขึ้นเป็นนิยายเสียดสีล้อเลียนนิยายอัศวิน ซึ่งจะเห็นได้ว่าตัวที่มาจริงๆนั้นไม่ได้กำเนิดมาจากศัพท์ลงทุนนะครับสำหรับคำนี้ แต่โดยความหมายของวลีนี้นั้นเป็นการเปรียบเทียบถึง การทำอะไรก็ตามควรที่จะมีการกระจายความเสี่ยง เพราะเมื่อใดที่เกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันกับตะกร้าใบหนึ่ง อย่างน้อยก็ยังมีตะกร้าใบอื่น ๆ เหลืออยู่ เช่นเดียวกับการลงทุน
.
แม้ว่ามนุษย์นั้นจะรู้จักความเสี่ยงกันมาอย่างยาวนาน แต่การประยุกต์เรื่องความเสี่ยงกับการลงทุนในเชิงคณิตศาสตร์เพิ่งถูกเผยแพร่ออกมาในปี 1956 เท่านั้นโดยผู้ที่นำเสนอนั้นก็คือ Harry Markowitz นักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบลผู้นำเสนอทฤษฎีพอร์ตฟอร์ลิโอสมัยใหม่ (Modern Portfolio Theory) ว่าด้วยความเสี่ยงและผลตอบแทนจากการลงทุนในสินทรัพย์สองประเภทขึ้นไป
.
โดยสำหรับ MPT นั้นในตอนแรกจะพูดเน้นไปทางทฤษฎีนะครับ ตอนสองค่อยเป็นตัวอย่างจริง งั้นมาเริ่มกันเลยครับ
.
ทำไม MPT ถึงมีความสำคัญมากนัก ?
.
สมมติว่าเรามี Asset 2 ตัว ที่กำไรและความเสี่ยงต่างกัน ตัวที่กำไรมากกว่าก็จะมีความเสี่ยงมากกว่าตัวที่กำไรน้อยกว่า (ตามหลัก High Risk High Expected Return) โจทย์ก็คือหากเราจะคาดหวังกำไรที่มากขึ้น โดยไม่อยากเพิ่มความเสี่ยงให้มากจนเกินไปนักหรือถ้าให้ดีก็ลดความเสี่ยงลงด้วย สามารถทำได้มั้ย ? และถ้าทำได้จะทำอย่างไร ?
.
MPT นั้นจึงถูกสร้างมาเพื่อพยายามตอบปัญหาที่กล่าวไปนั้นเองครับ
.
โดย Core Concept ของ MPT นั้นคือจะเปลี่ยนจากการวิเคราะห์ข้อมูลแค่รายตัวเป็นการวิเคราะห์ข้อมูลเปลี่ยนเป็นการวิเคราะห์พอร์ตการลงทุนทั้งพอร์ตแทนยกตัวอย่างเช่นก่อนที่จะมีทฤษฎีนี้ขึ้นนักลงทุนอาจจะเลือกวิเคราะห์เปรียบเทียบระหว่าง Asset X กับ Y แล้วเปรียบเทียบว่าตัวไหนดีกว่าแล้วอาจจะเลือกตัวเดียวไปเลย แต่ MPT นั้นอาจจะเลือกทั้ง Asset X และ Y ล้วให้น้ำหนัก Asset แต่ละตัวต่างกันแล้วนำมาวิเคราะห์กำไรต่อความเสี่ยงของพอร์ตโดยรวมนั้นเอง เพื่อหา Optimum Risk และ Return สำหรับนักลงทุน
.
ดังนั้น Factor ในการที่เราจะใช้คำนวณ Optimum Risk และ Return ใน MPT นั้นก็จะประกอบไปด้วย 3 อย่างด้วยกันครับคือ
.
1. Return เฉลี่ยย้อนหลังของแต่ละ Asset
2. Standard deviation เฉลี่ยย้อนหลังของแต่ละ Asset >> STD คือ ตัวแทนของค่าความผันผวนหรือความเสี่ยงนั่นเอง
3. Correlation ของแต่ละ Asset
.
ซึ่งเราจะใช้ 3 Factor นี้มาเพื่อคำนวณ 2 อย่างได้แก่ กำไรของพอร์ต และ ความเสี่ยงของพอร์ต
.
กำไร(Return) ก็คำนวณง่ายๆครับสูตรคือ
.
(กำไรเฉลี่ย Asset X * น้ำหนัก Asset X)+(กำไรหุ้น Y * น้ำหนัก Asset Y)
.
ความเสี่ยง(Standard Deviation) ก็จะยุ่งยากกว่ากำไร เนื่องจากความเสี่ยงของมันไม่สามารถรวมกันได้แบบกำไร มันจำเป็นต้องคำนึงถึง Asset ที่เราเลือกเข้ามาในพอร์ว่ามันมีความสัมพันธ์ต่อกันอย่างไร งจะสามารถคำนวณได้ [ความเสี่ยง X + ความเสี่ยง Y + ความสัมพันธ์ระหว่าง X กับ Y]
.
ซึ่งFactor หลักที่ทำให้ความเสี่ยงของพอร์ทลดลงได้ก็คือ ตัว Correlation นั้นเอง ถ้าพูดภาษาคนหน่อยก็อาจจะเป็น เราถือSet 50 กับ ทองคำไว้ ถ้าวันไหนเกิดวิกฤตกับตลาดหุ้น ตลาดทองคำก็อาจจะให้ผลตอบแทนที่มาก แต่ในทางกลับกันถ้าตลาดหุ้นบูมมากๆ ตลาดทองคำก็ไม่จำเป็นต้องลงแต่อาจจะไม่ได้ขึ้นแรงมากนั่นเองครับ
.
สำหรับตอนหน้าผมจะนำตัวอย่างจริงของ MPT มาแสดงให้ดูจริงๆเพื่อให้เห็นภาพมากขึ้นนะครับ
ใครอยากอ่าน Content ต่างๆย้อนหลังเเบบขี้เกียจย้อนกดใน Facebook ไปกดติดตามได้ที่ medium นะครับ
.
ส่วนใครอยากติดตามทางไลน์เพื่อไม่ให้พลาด Content ใหม่ๆก็เเอดไลน์กันมาได้ที่ @trader4.0 นะครับบ
โฆษณา