20 พ.ค. 2019 เวลา 09:49 • ธุรกิจ
กว่า 89 ปียาสีฟันดาร์กีสู่ดาร์ลี่...
.
1
บริษัท ฮอว์ลี่ แอนด์ เฮเซิล กรุ๊ป เป็นผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ ยาสีฟันและแปรงสีฟันแบรนด์ ดาร์ลี่ ที่มีชื่อเสียงระดับโลกก่อตั้งขึ้นในปี 1930 ที่ประเทศจีน
แต่เดิมนั้นชื่อยาสีฟัน "ดากี" (Darkie)
ที่มีรูปโลโก้เป็นชายหน้าดำกำลังยิ้ม
สินค้าตัวนี้มีชื่อเป็นภาษาจีนแปลว่า "คนดำ"
ต่อมา"ดาร์กี" ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น "ดาร์ลี" (Darlie)
หลังจากที่บริษัทฮอว์ลีย์แอนด์ฮาเซิลผู้ผลิตเดิม ถูกบริษัทสินค้าอุปโภคยักษ์ใหญ่ของโลกอย่าง คอลเกต-ปาล์มโอลีฟ จากอเมริกา ซื้อกิจการไปเมื่อปี 1985
1
สาเหตุที่ทำให้ต้องมีการเปลี่ยนชื่อนั้น
มาจากการที่บ.คอลเกต-ปาล์มโอลีฟถูกกดดันอย่างหนัก จากคนผิวสีและนักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชนที่เห็นว่าการตั้งชื่อผลิตภัณฑ์ที่กล่าวถึงเชื้อชาติของคนนั้นเป็นการเหยียดผิว
ผู้ที่จุดเพลิงให้กระแสความไม่พอใจกระพือขึ้นจนขยายวงกว้าง ก็คือบริษัทคู่แข่งยักษ์ ใหญ่ซึ่งนำยาสีฟันสูตรใหม่ออกวางตลาดในเวลาเดียวกันกับดาร์กีนั่นเอง
1
เนื่องจากภาพลักษณ์มีผลกระทบอย่างมากต่อรายได้
คอลเกต-ปาล์มโอลีฟจึงตัดสินใจเปลี่ยนชื่อยาสีฟันเป็นดาร์ลี และปรับปรุงภาพโลโก้จากเดิมที่เป็นภาพชายผิวดำหน้าตาคล้าย อัล โจลสัน นักร้องนักแสดงชาวอเมริกันชื่อดังแห่งศตวรรษที่ 20 มาเป็นภาพผู้ชายที่ระบุไม่ได้แน่ชัดว่าเป็นคนเชื้อ ชาติใด
2
เหล่าผู้วิจารณ์ชาวตะวันตกรู้สึกพอใจกับการเปลี่ยนชื่อ และอ้างว่ายาสีฟันขายดีขึ้น
แต่ที่หลายๆ คนไม่รู้ก็คือ ชื่อภาษาจีนของยาสีฟันยี่ห้อนี้คือ "黑人牙膏" ซึ่งแปลว่า "ยาสีฟันคนดำ"
1
ยังคงไม่เปลี่ยน โดยมีการออกโฆษณารณรงค์ว่า
"ยาสีฟันคนดำยังคงเป็นยาสีฟันคนดำอยู่" เนื่องจากคำว่า "黑人" ในภาษาจีนนั่นไม่ได้มีความหมาย ในทางดูถูกดูหมิ่นคนเชื้อสายแอฟริกันแต่อย่างใด
1
ทั้งนี้ ปัจจุบันยาสีฟันยี่ห้อนี้ในประเทศไทยมี 2 บริษัทดำเนินการอยู่คือ
บริษัทคอลเกต-ปาล์มโอลีฟ (ประเทศไทย) จำกัด เป็นผู้ผลิตและจัดจำหน่าย ภายใต้เครื่องหมายการค้าบริษัทฮอว์ลี่ แอนด์ เฮเซิล (บีวีไอ) จำกัด
1
บริษัทสยาม รีกัล จำกัด เป็นผู้นำเข้ามาจัดจำหน่ายโดยผู้ผลิตคือ บริษัทฮอว์ลี่ แอนด์ เฮเซิล เคมีคอล (จงซาน) จำกัด ประเทศจีน
2
หากอยากรู้ว่ายาสีฟันยี่ห้อนี้ที่เราใช้อยู่ใครเป็นผู้ผลิตให้สังเกตที่ข้างกล่องจะระบุไว้ ลุงแมนจึงลองเข้าสังเกตที่ 7-11 แห่งหนึ่งปรากฎว่า กล่องสีเขียวเป็นของบริษัทคอลเกต-ปาล์มโอลีฟ (ประเทศไทย) จำกัด
ส่วนกล่องสีน้ำเงินเป็นของบริษัทสยาม รีกัล จำกัด ที่นำเข้ามาจำหน่าย
1
รายได้บริษัทสยาม รีกัล จำกัด ผู้นำเข้ามาจัดจำหน่าย
ปี 2559
รายได้ 805 ล้านบาท
กำไรสุทธิ 52 ล้านบาท
ปี 2560
รายได้ 870 ล้านบาท
กำไรสุทธิ 85 ล้านบาท
ปี 2561
รายได้ 734 ล้านบาท
กำไรสุทธิ 37 ล้านบาท
โฆษณา