23 พ.ค. 2019 เวลา 14:21 • ความคิดเห็น
ทำไมทัศนคติ..ถึง..สำคัญกว่าความฉลาด
1
ทำไมทัศนคติถึงสำคัญกว่าความฉลาด
By Favijitr | 19/10/2016
ทำไมทัศนคติถึงสำคัญกว่าความฉลาด
เวลาเราเห็นใครประสบความสำเร็จ สิ่งแรกที่เราคิดก็คือ “เขาต้องฉลาดแน่ๆ” หรือ “เขาต้องมีความรอบรู้แน่นอน” แต่ผลการวิจัยชิ้นใหม่จากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด สหรัฐอเมริกา จะมาเปลี่ยนความคิดและทัศนคติของคุณ โดยนักจิตวิทยาที่ชื่อว่า Carol Dweck ได้ใช้เวลาทำการศึกษาและวิจัยจนค้นพบว่า ทัศนคติเป็นปัจจัยบ่งชี้ความสำเร็จได้ดีกว่าไอคิว (IQ-Intelligence Quotient)
เกี่ยวกับเรื่องนี้ Carol Dweck ค้นพบว่าทัศนคติหลักของมนุษย์ แบ่งออกได้ 2 ประเภท ดังนี้
ทัศนคติหลักของมนุษย์ แบ่งออกได้ 2 ประเภท
1) Fixed Mindset หมายถึง คนที่มีความเชื่อมั่นในตัวเอง รู้ว่าตัวเองเป็นใคร แต่การเปลี่ยนความคิดหรือทัศนคติของคนประเภทนี้แทบจะเป็นไปไม่ได้เลย สิ่งนี้จะสร้างปัญหา เพราะเมื่อคนประเภทนี้เผชิญความท้าทายหรือเผชิญหน้ากับปัญหาและอุปสรรคที่เกินจะรับมือ เขาจะรู้สึกหมดแรงและสิ้นหวัง
4
2) Growth Mindset หมายถึง กลุ่มคนที่มีทัศนคติหรือความเชื่อว่าตัวเองสามารถพัฒนาความสามารถด้านต่างๆ ได้ ด้วยความพยายาม ความมั่นใจอาจไม่สูงมาก แต่มีความมุ่งมั่น แม้บางคนจะมี IQ ไม่สูง แต่พวกเขาจะดีกว่ากลุ่ม Fixed Mindset ที่มี IQ สูง เพราะพวกเขากล้าที่จะเผชิญหน้ากับปัญหาและความท้าทาย ซึ่งจะช่วยเปิดโอกาสให้พวกเขาได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ อยู่เสมอ
แต่ไม่ว่าคุณจะอยู่กลุ่มไหนก็ตาม คุณสามารถเปลี่ยนแปลงและพัฒนาทัศนคติให้กลายมาเป็น Growth Mindset เพื่อตอบสนองการทำธุรกิจให้ดียิ่งๆ ขึ้นไปได้ด้วยวิธีดังต่อไปนี้
1. อย่าใช้ชีวิตแบบคนหมดหนทาง
ไม่แปลกที่บางช่วงเวลาของชีวิตเรารู้สึกอับจนหนทาง เช่น ธุรกิจใกล้ปิดตัว โดนหุ้นส่วนโกงเงินไปเกือบหมด ขาดทุนและมีหนี้สินจำนวนมหาศาล และอีกหลายๆ เรื่อง สิ่งนี้แค่เข้ามาทดสอบว่าคุณจะเผชิญหน้ากับมันอย่างไร อาจจะเรียนรู้ เก็บเป็นประสบการณ์แล้วก้าวต่อไปหรือปล่อยให้ปัญหาเหล่านั้นพันธนาการไม่ให้เราก้าวต่อไป ทางไหนก็ได้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับตัวเราล้วนๆ
มีคนที่ประสบความสำเร็จอยู่มากมาย ซึ่งอาจจะไม่โด่งดังมาถึงจุดนี้ก็ได้ หากพวกเขายอมพ่ายแพ้ให้กับความสิ้นหวังและอยู่แบบคนหมดหนทาง ยกตัวอย่างเช่น
• Walter Elias Disney ผู้ก่อตั้งบริษัท Walt Disney ถูกไล่ออกจากหนังสือพิมพ์ Kansas City Star ด้วยเหตุผลที่ว่าเขา “ขาดจินตนาการและความคิดที่สร้างสรรค์”
1
• Oprah Winfrey พิธีกรรายการทอล์กโชว์ที่โด่งดังที่สุดในสหรัฐฯ และยังเป็นสตรีผู้มีอิทธิพลในวงการบันเทิงของสหรัฐฯ ด้วย ซึ่งเธอเคยถูกไล่ออกจากการเป็นผู้ประกาศข่าวโทรทัศน์ในบัลติมอร์ ด้วยเหตุผลที่ว่าเธอ “ใช้อารมณ์และใส่ความรู้สึกมากจนเกินไป”
• Henry Ford ต้องล้มเหลวในการก่อตั้งบริษัทผลิตรถยนต์ถึง 2 ครั้ง กว่าจะมาประสบความสำเร็จกับบริษัท Ford Motor ผู้ผลิตรถยนต์ค่าย Ford
• Steven Spielberg พ่อมดแห่งวงการบันเทิง ถูกปฏิเสธไม่ให้เข้าเรียนในสาขาภาพยนตร์ที่มหาวิทยาลัยเซาเทิร์นแคลิฟอร์เนียหลายต่อหลายครั้ง
ลองจินตนาการเล่นๆ ดูว่าจะเกิดอะไรขึ้น หากบุคคลที่ประสบความสำเร็จตามด้านบน เกิดมีทัศนคติแบบ Fixed Mindset เขาคงต้องยอมจำนนต่อการถูกปฏิเสธและยอมแพ้เมื่อสิ่งที่ทำล้มเหลว จากนั้นก็นั่งรอความหวังจากสิ่งอื่นๆ ไปวันๆ แต่ถ้าเป็นคนที่มีทัศนคติแบบ Growth Mindset พวกเขาจะไม่ยอมแพ้ เพราะเขารู้ว่าการที่จะประสบความสำเร็จ ต้องผ่านการล้มเหลวอย่างหนัก เรียนรู้ และนำประสบการณ์มาปรับปรุงสิ่งต่างๆ ให้ดีขึ้น
2. ค้นหาสิ่งที่เราชื่นชอบและหลงใหล
1
สิ่งที่เรียกว่าความชอบ จะช่วยให้เราสามารถเพิ่มขีดความสามารถได้อย่างไม่น่าเชื่อ เพราะบนโลกนี้มีคนที่มีความสามารถมากกว่าคุณอยู่นับไม่ถ้วน การจะอุดรอยรั่วเหล่านั้นได้คือการใช้ความชอบเข้ามาช่วย ยกตัวอย่างเช่น คุณชอบเล่นดนตรี แต่คุณดันไปเปิดร้านขายสมุนไพรซึ่งกำไรดี แต่คุณไม่ได้ชอบเรื่องสมุนไพร ความรู้ ความเชี่ยวชาญ ความชำนาญก็ไม่มี ยิ่งถ้าเจอปัญหาก็แก้ลำบาก แต่ถ้าคุณชอบเล่นดนตรีแล้วเปิดร้านขายอุปกรณ์ดนตรี คุณได้ขายและทำในสิ่งที่รัก ได้แนะนำลูกค้าที่มาซื้ออุปกรณ์ ได้เห็นลูกค้ามีความสุขกับการแนะนำ สิ่งเหล่านี้ยิ่งเติมเต็มความสุขในชีวิตให้กับเราได้เป็นอย่างดี
2
แล้วเกี่ยวกับทัศนคติอย่างไร เกี่ยวตรงที่เมื่อคนเรามีความรักและชอบในสิ่งที่ทำ เขาจะเคารพตัวเองและมีแรงผลักให้ก้าวต่อไปข้างหน้า เมื่อรู้สึกท้อและสิ้นหวังก็ยังมีสิ่งที่ชอบเป็นสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจไม่ให้ยอมแพ้ง่ายๆ โดย Warren Buffett นักธุรกิจและผู้ใจบุญชาวอเมริกันที่มีชื่อเสียงระดับโลก เคยแนะนำวิธีการหาสิ่งที่เราชื่นชอบจริงๆ ด้วยเทคนิคที่ชื่อว่า 5/25 โดยให้เขียนสิ่งที่เราชอบและสนใจลงไป 25 เรื่อง จากนั้นตัดออกไป 20 เรื่อง สำหรับ 5 เรื่องที่เหลือ คือเรื่องที่คุณรัก ชื่นชอบ และเป็นแรงบันดาลใจในการใช้ชีวิต ส่วนที่เหลือเป็นเพียงความฟุ้งซ่านเท่านั้น
1
3. ลงมือปฏิบัติ
สิ่งที่ทำให้คนที่มีทัศนคติแบบ Growth Mindset สามารถเอาชนะอุปสรรคและความกลัวได้ไม่ใช่เพียงเพราะเขามีความกล้าเท่านั้น แต่เป็นเพราะพวกเขารู้ว่าการจะชนะความกังวล และความสิ้นหวังอับจนหนทางได้ ต้องลงมือแก้ไขปัญหาเท่านั้น ก็แน่ล่ะ นั่งเครียดนั่งกังวลไป ก็ไม่มีอะไรดีขึ้น ต้องแก้ปัญหา และหาวิธีที่ทำเราสามารถเดินหน้าต่อไปได้ นั่นต่างหากคือวิธีการที่ถูก
2
4. อย่าสร้างข้อจำกัดให้ตัวเอง
1
โค้ชคนหนึ่ง สั่งให้นักกีฬาวิ่งเป็นประจำวันละ 4 กิโลเมตร จนวันหนึ่งโค้ชให้เขาวิ่ง 8 กิโลเมตร ทำให้นักกีฬาคนนั้นโกรธมาก และถามว่าเขาจะวิ่งขนาดนั้นได้ยังไง ขืนทำแบบนั้นคงได้ตายพอดี แต่โค้ชก็ยังสั่งให้วิ่ง เมื่อนักกีฬาวิ่งกลับมาก็ทั้งเหนื่อย ทั้งโกรธ และหมดแรงจึงต่อว่าโค้ชอย่างรุนแรง ซึ่งโค้ชได้ให้คำแนะนำว่า
หากคุณสร้างข้อจำกัดให้กับตัวเอง ไม่ว่าจะทางร่างกายหรือความคิด มันจะแพร่กระจายไปยังเรื่องอื่นๆ ในชีวิตของคุณทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องงาน เรื่องส่วนตัว ซึ่งความจริงแล้วมนุษย์เราไม่มีข้อจำกัด แต่เราสร้างสิ่งเหล่านั้นขึ้นมาด้วยตัวเองทั้งนั้น ไม่อย่างนั้นคุณก็จะทำงานได้แค่ตามที่คิด ตามที่หัวหน้าสั่ง หากคุณไม่สามารถเอาชนะกับดักทางทัศนคติตัวนี้ไปได้ คุณก็อาจจะไม่สามารถก้าวข้ามอุปสรรคที่อยู่นอกเหนือการควบคุมไปได้ตลอดชีวิต
1
5. อย่าบ่นเมื่อทุกอย่างไม่เป็นไปตามที่เราต้องการ
การเป็นคนขี้บ่นคือสัญญาณที่ชัดเจนของคนที่มีทัศนคติแบบ Fixed Mindset เพราะไม่ว่าจะเจอเรื่องอะไรเขาก็มักจะบ่นไปเรื่อยโดยไม่หาวิธีหรือไม่ลงมือแก้ไขปัญหา ตรงกันข้ามกับคนที่มีทัศนคติแบบ Growth Mindset ซึ่งไม่ค่อยบ่นเวลาพบกับปัญหา เพราะเขามักมองหาโอกาสจากทุกๆ เรื่อง และพร้อมปรับปรุงสิ่งต่างๆ ให้ดีขึ้น
2
6. คาดหวังผลลัพธ์
2
คนที่มีทัศนคติแบบ Growth Mindset จะรู้ตัวว่าพวกเขามีโอกาสทำเรื่องต่างๆ ผิดพลาดได้เป็นครั้งเป็นคราว การวิเคราะห์หรือคาดหวังในผลลัพธ์ จะช่วยให้การทำงานของพวกเขามีประสิทธิภาพสูงขึ้น เช่น เมื่อเขาคาดหวังผลลัพธ์แบบหนึ่ง รูปแบบและขั้นตอนการทำงานก็ต้องทำแบบหนึ่ง ถ้าคาดหวังผลลัพธ์อีกแบบ ก็จะมีรูปแบบการทำงานที่ต่างกันออกไป แต่หากคุณไม่คาดหวังผลลัพธ์ ไม่คิดวิเคราะห์อะไรเลย บางครั้งปัญหาและอุปสรรคที่รออยู่ข้างหน้าอาจสามารถแก้ไขได้ง่ายๆ แต่เพราะไม่วิเคราะห์หรือคาดหวังผลลัพธ์ล่วงหน้า ก็จะกลายเป็นการสร้างปัญหาและสร้างความผิดพลาดในการทำงานขึ้นมาแทน
2
>>บทความเพิ่มเติม
ขอบคุณแหล่งที่มา
เรื่อง : เจษฎา ปุรินทวรกุล
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี
โฆษณา