26 พ.ค. 2019 เวลา 05:10 • การศึกษา
พนักงานอำนวยการบิน หรือ นักบินโต๊ะ คือใคร?
“พนักงานอำนวยการบิน” อาชีพนี้เปรียบเสมือนมือขวาของนักบิน
พนักงานอำนวยการบิน ทำหน้าที่เตรียมเอกสารข้อมูลข่าวสารทุกอย่าง เพื่อจะให้นักบินขึ้นไปปฏิบัติการบิน
2
อาชีพนี้จะต้องวางแผนเส้นทางการบิน หรือ Fight Planning ให้กับเครื่องบิน ซึ่งเครื่องบินแต่ละ เที่ยวบินจะต้องมีการวางแผนการบินของแต่ละวัน โดยจะกำหนดเส้นทางการบินให้กับนักบินก่อนที่ นักบินจะนำเครื่องขึ้น 2 ชั่วโมง พร้อมทั้งบรรยายสรุปให้กับนักบินฟัง หลังจากนั้นนักบินก็นำแผนการบินที่คุยกันไว้ขึ้นไปป้อนในจอคอมพิวเตอร์บนเครื่องบิน เพื่อให้เครื่องบินบินไปตามเส้นทางที่กำหนด แต่กว่าที่จะสามารถกำหนดแผนเส้นทางการบินให้กับนักบินได้ Aircraft Dispatcher ทุกคนจะต้องหาข้อมูลเกี่ยวกับอากาศ โดยดูข้อมูลจากกรมอุตุนิยมวิทยา และจากจอแซตเทิลไลต์เพื่อทราบข่าวอากาศจากทั่วโลก และนำมาคำนวณเวลาที่บินหากเจอพายุก็ต้องหาเส้นทางบินใหม่ รวมทั้งอ่าน NOTAM (Notice To Airman) ซึ่งเป็นข้อบรรยายสรุปเกี่ยวกับสนามบินทั่วโลกเพื่อแจ้งให้ทราบว่าสนามบินแต่ละแห่งมีปัญหาในเรื่องใด เช่น วันนี้สนามบินอาจจะมีการปิดหรือมีการซ่อมระบบเครื่องนำร่องลง ที่จะต้องแจ้งให้นักบิน นอกจากนี้ Aircraft Dispatcher จะต้องดูว่าแต่ละเมืองหรือประเทศมีข้อกำหนดในเรื่องการนำเครื่องลงแบบใด อย่าง ฮ่องกงกำหนดว่าเมื่อไปถึงฮ่องกงนักบินจะต้องสามารถมองเห็นสนามบินด้วยสายตาของนักบินในระยะ 800 เมตร แต่หากอากาศไม่ได้เป็นตามที่กำหนด เพราะมีหมอก ควัน หรือพายุเข้ามาทำให้ไม่สามารถนำเครื่องลงจอดที่ฮ่องกงได้ Aircraft Dispatcher จะต้อง เตรียมแผนที่ 2 เอาไว้ คือจะต้องหาสนามบินใหม่ให้กับนักบินซึ่งอากาศต้องดีกว่า นอกจาก Aircraft Dispatcher จะมีหน้าที่ในการวางแผนเส้นทางการบิน และป้องกันความปลอดภัยให้กับผู้โดยสารแล้ว ยังต้องวางแผนเส้นทางการบินที่สร้างความประหยัดให้กับบริษัทด้วยเช่น ไฟล์กรุงเทพ-ลอนดอน มีเส้นทางการบินได้ 10 เส้นทาง Aircraft Dispatcher จะต้องคำนวณด้วยระบบคอมพิวเตอร์ว่าเส้นทางใดที่ใช้เวลาในการเดินทางที่สั้นที่สุด ประหยัดน้ำมันและเงิน แต่สิ่งสำคัญคือเส้นทางที่เลือกเดินทางจะต้องปลอดภัย และสร้างความสะดวกสบายให้กับผู้โดยสารเป็นสิ่งสำคัญซึ่งส่วนใหญ่เส้นทางการบินจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงถ้าเป็นเส้นทางใกล้ ในขณะที่เส้นทางไกลๆ จะมีการเปลี่ยนแปลงทุกวัน
1
การประสานงานคู่นักบิน ในด้านการเรียนเพื่อเป็น Aircraft Dispatcher กับนักบินจะเรียนคล้ายๆกัน แต่ต้องรู้และต้องอ่านมากกว่านักบิน เพื่อจะได้ไปบรีฟรายละเอียดการบินให้กับนักบินได้ แต่เมื่อนักบินนำเครื่องขึ้นไปแล้วทุกอย่างจะอยู่ในมือของนักบินทั้งหมด แต่เมื่ออยู่บนโต๊ะ การตัดสินใจจะเป็นร่วมกันระหว่างนักบินกับ Aircraft Dispatcher ทำให้เป็นอาชีพที่ไม่สามารถแยกกันได้ แม้ว่าอาชีพนี้จะดูเป็นรองจากนักบิน แต่สำหรับในต่างประเทศ Aircraft Dispatcher เป็นอาชีพที่ได้รับการยอมรับจากนักบิน เพราะถ้าไม่มีอาชีพตรงนี้เขาจะต้องลำบาก นักบินไม่สามารถที่ขึ้นเครื่องแล้วขับออกไปได้เลย เขาต้องมีการวางแผนการบินซึ่งเขาก็ไม่สามารถมานั่งทำงานตรงนี้ได้เพราะต้องใช้เวลา แต่ในไทยอาชีพนี้คนภายนอกไม่รู้จักหรือว่าลืมไปเลยก็มี เพราะคนไทยไม่รู้ว่าก่อนขึ้นเครื่องจะต้องมีการวางแผนการบินแบบนี้ก่อน เพราะการทำงานตรงนี้มันเหมือนเป็นวงแคบๆ อยู่แล้ว แต่อยากจะให้คนไทยรู้ว่าก่อนที่เครื่องบินจะขึ้นได้ต้องมีองค์ประกอบหลายอย่างไม่ใช่นักบินหิ้วกระเป๋าแล้วเดินขึ้นเครื่องไปขับได้เลย
ขั้นตอนการปฏิบัติงานของพวกเรา
1. ต้องรู้จักแบบของอากาศยาน
บางสายการบินมีเครื่องบินหลายแบบ หลายขนาด
บางสายการบินมีเครื่องบิน 2 – 3 ขนาดหรือบางทีมีขนาดเดียว
หน้าที่แรกก็คือเราต้องรู้ก่อน เพื่อวางแผนการคิดต่อไปคือ วันนี้เราจะต้องใช้เครื่องบินแบบไหน บินไปไหน ใช้เส้นทางไหน
2. วางแผนการเติมน้ำมันเครื่องบิน
ถ้าเราเติมน้ำมันวางแผนน้ำมันไปไม่พอ เครื่องบินก็อาจจะไม่สามารถบินไปถึงจุดหมายปลายทางได้ เกิดความยุ่งยากมีความซับซ้อนในการบิน การวางแผนมันสำคัญเพราะเป็นเจ้าหน้าที่อำนวยการบินเราต้องรู้ว่า สนามบินที่กรุงเทพหรือสนามบินปลายทางเติมน้ำมันที่ไหนดีกว่า
คำว่าเติมน้ำมันที่ไหนดีกว่า เราก็ต้องพิจารณาจากความเหมาะสมหลายส่วนอีกเล่นกัน
- เรื่องของเวลา ถ้าเติมที่สถานีปลายทางมันจะไปเสียเวลาที่ปลายทางหรือไม่ แทนที่จะรีบเอาเครื่องบินบินกลับมาเอามาเติมที่ต้นทางก็ได้
- เติมที่ไหนถูกกว่า ปัจจุบันก็คือเราก็ต้องรู้ว่าเราบินไปที่ไหนแล้วน้ำมันถูก ส่วนใหญ่แอร์ไลน์ก็จะใช้วิธีการเติมที่นั่น
ปัจจุบันเที่ยวบินในประเทศไทยแทบจะทุกสายการบินจะเติมน้ำมันที่สุวรรณภูมิหรือที่ดอนเมืองที่เดียว พูดง่ายๆ จะเติมที่กรุงเทพ
และจะวางแผนน้ำมันเผื่อให้เพื่อเดินทางแบบไป-กลับ (Round Trip) เนื่องจากการเติมต่างจังหวัดอาจจะมีค่าใช้จ่ายที่สูงกว่า
อาจจะมีระยะเวลาที่นานกว่า
1
3. ตรวจเช็คสภาพเครื่องบิน
เครื่องบินลำนั้น สามารถทำการบินได้หรือไม่ เพื่อความปลอดภัยตลอดการเดินทาง
พนักงานอำนวยการบินต้องประสานงานกับช่างประสานงานกับฝ่ายช่างอย่างใกล้ชิด เพื่อให้การทำงานเกิดประสิทธิภาพสูงสุด
ลักษณะของเครื่องยนต์เลยวันนี้มีอะไรขัดข้องหรือไม่
สามารถทำการบินได้มั้ย ควรจะเปลี่ยนเครื่องบินหรือจะรอซ่อม
ใช้ระยะเวลาในการแก้ไขนานหรือไม่
เช่น ถ้าซ่อมสัก 1 ชั่วโมงหรือจะเปลี่ยนลำก็อาจจะ 2 ชั่วโมง พนักงานอำนวยการบินต้องตัดสินใจ
เพราะความปลอดภัยมาเป็นอันดับแรก
อันดับที่ 2 ก็คือความคุ้มทุนความคุ้มค่าของธุรกิจ
พนักงานอำนวยการบินเป็นคนทำให้บริษัทมีความเสียหาย หรือได้กำไรจากการทำธุรกิจ เนื่องจากถ้าเค้าตัดสินใจผิดพลาดเที่ยวบินก็จะดีเลย์ล่าช้าหรือจะมีค่าใช้จ่ายที่สูงกว่าปกติ
โดยรวมๆ "Aircraft Dispatcher" หรือ "พนักงานอำนวยการบิน" เรียกสั้นๆว่า Dispatcher
Dispatcher นั้นเป็นงานที่สนุก ท้าทาย เพราะจะต้องเอาวิชาความรู้ที่เรียนมาหลายๆวิชามาผสมรวมกันเพื่อวางแผนการบิน, เลือกเส้นทางการบิน, เตรียมข้อมูลการบินทั้งหลายให้นักบิน โดยมีข้อจำกัดต่างๆ เช่น สภาพอากาศที่ต้นทาง ปลายทาง ระหว่างทาง, ข้อกำหนดกฎการบินของแต่ละประเทศที่บินผ่าน, สมรรถนะเครื่องบิน ต้องติดตามสถานการณ์ต่างๆ ทุกเส้นทางบินที่เป็นไปได้ ซึ่งบางเรื่องอาจจะต้องมองโลกในแง่ร้ายไว้ก่อนเพื่อความปลอดภัย เช่น สภาพอากาศ ต้องประสานงานกับส่วนอื่นๆ เช่น ฝ่ายช่าง ฝ่ายระวางสินค้า ฝ่ายอุตุนิยม ฝ่ายเอกสารการบิน เพื่อให้ได้ข้อมูลที่สมบูรณ์, เพียงพอ และทันเวลาให้แก่นักบิน
ขอบคุณข้อมูล http://case.eng.ku.ac.th/aerowebboard/inde...?showtopic=2554
เรียบเรียงโดย เด็กการบิน
โฆษณา