25 พ.ค. 2019 เวลา 16:26 • สุขภาพ
สารเคมีในสมองที่สมดุล ส่งผลต่อชีวิตที่เป็นสุขและมีความสุขของเรา เรามาทำความรู้จักกับสารเคมีต่างๆ ในสมองกันค่ะ
4
credits: medicalnewstoday.com
การที่มนุษย์เรามีอารมณ์ที่ผิดปกติ เช่น วิตกกังวล ซึมเศร้า เครียด นอนไม่หลับ รู้หรือไม่ว่าอาการเหล่านี้เกิดจากการที่สารเคมีในสมองขาดความสมดุล ส่งผลต่อสภาพจิตใจและพฤติกรรมต่างๆ ของมนุษย์
แล้ว สารเคมีในสมอง คืออะไร มีอะไรบ้าง
สารเคมีในสมองมีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า “สารสื่อประสาท” หรือ Neurotransmitter เป็นสารที่เซลล์ประสาทสร้างขึ้นเพื่อใช้ส่งกระแสประสาทจากเซลล์หนึ่งไปยังอีกเซลล์หนึ่ง นั่นเอง
สารเคมีในสมองที่สำคัญมีดังนี้
1
1. แอซิติลโคลีน (Acetylcoline) เป็นสารที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อ การควบคุมพฤติกรรม ความจำ สมาธิ และการเรียนรู้
2. โดพามีน (Dopamine) ได้ชื่อว่าเป็นสารแห่งความสุข ซึ่งจะปล่อยออกมาเมื่อเรารู้สึกพึงพอใจ เช่น ได้ทานอาหารที่ชอบ ได้ออกกำลังกาย รวมถึงเวลาที่เรามีสมาธิจดจ่อกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง โดพามีนจะช่วยให้เรากิจกรรมนั้นๆ ได้ไม่รู้เบื่อ
1
3. นอร์เอพิเนฟริน (Norepinephrine) จะหลั่งออกมาเมื่อเกิดความกลัวและเครียด เพื่อกระตุ้นอัตราการเต้นของหัวใจและเพิ่มความดันโลหิต ทำให้เซลล์ได้รับสารอาหารเพิ่มขึ้น สำหรับเป็นพลังงานในการต่อสู้กับปัญหาต่างๆ นอกจากนี้ ร่างกายจะหลั่งนอร์เอพิเนฟรินสูงในตอนเช้า เพื่อกระตุ้นให้เรารู้สึกตื่นตัวและพร้อมสำหรับกิจกรรมในวันใหม่
1
4. ซีโรโทนิน (Serotonin) เป็นสารที่ควบคุมสภาพอารมณ์ ความรู้สึกเจ็บปวด ความหิว การหายใจ การนอนหลับ และพฤติกรรมอื่นๆ หากระดับสารซีโรโทนินต่ำ จะส่งผลต่ออารมณ์โดยตรง คือทำให้วิตกกังวล ก้าวร้าว ซึมเศร้า
5. กาบา (GABA) เป็นสารสื่อประสาทชนิดที่ยับยั้งกระแสประสาท ทำให้สมองที่ได้รับการกระตุ้นเกิดสมดุลและผ่อนคลายลง
6. เอนดอร์ฟิน (Endorphin) เป็นสารที่ออกฤทธิ์คล้ายสารเสพติด ทำให้รู้สึกผ่อนคลาย หายจากความเจ็บปวด สร้างความรู้สึกเคลิบเคลิ้ม พึงพอใจ จะหลั่งออกมาเมื่อในขณะออกกำลังกาย รู้สึกตื่นเต้น หรือมีเพศสัมพันธ์
ทีนี้ ถ้าสารเคมีในสมองไม่สมดุล จะทำให้เกิดสิ่งเหล่านี้
2
1. แอซิติลโคลีนต่ำ จะทำให้มีสมาธิสั้น ความจำไม่ดี โดยเฉพาะความจำระยะสั้น
1
2. นอร์เอพิเนฟรินต่ำ จะทำให้เซื่องซึม ขาดความตื่นตัว ไม่กระตือรือร้น แต่หากมีนอร์เอพิเนฟรินสูง จะทำให้กระวนกระวาย วิตกกังวล และนอนไม่หลับ
1
3. โดพามีนต่ำ จะทำกล้ามเนื้อเกร็งกระตุก และมีอาการสั่น เช่น ในโรคพาร์กินสัน รวมถึงรู้สึกซึมเศร้า แต่หากมีโดพามีนสูงเกินไป จะทำให้เกิดโรคทางจิตเภท มีความคิดฟุ้งซ่าน ควบคุมสติไม่ได้ คลุ้มคลั่ง เหมือนการเสพยาบ้า
4. ซีโรโทนินต่ำ จะทำให้มีภาวะซึมเศร้า วิตกกังวล ย้ำคิดย้ำทำ ขาดความเชื่อมั่น อารมณ์แปรปรวน และอาจถึงขั้นทำร้ายตัวเองได้ ซึ่งผู้ป่วยโรคซึมเศร้ามักพบว่าเกิดจากการมีซีโรโทนินต่ำ แต่หากมีซีโรโทนินมากเกินไป อาจมีอาการทางจิต คลุ้มคลั่ง ควบคุมอารมณ์ไม่ได้ ซึ่งหากเป็นในเด็ก อาจเกิดภาวะปัญญาอ่อน หรือออทิสติกได้
ดังนั้นเราจะต้องดูแลสุขภาพเพื่อให้สารเคมีในสมองของเราสมดุล โดยการ ออกกำลังกาย ไม่เครียด ยิ้มแย้ม กินอาหารให้ครบ5หมู่ หากเป็นโรคซึมเศร้าต้องหาหมอเพื่อกินยาต้านเศร้าปรับสมดุลค่ะ
1
โฆษณา