26 พ.ค. 2019 เวลา 09:12 • ความคิดเห็น
กลับมาแล้ว หลังจากหายไปนานหลายวัน
ด้วยความที่ผู้เขียนกำลังศึกษาอยู่ในระดับอุดมศึกษาและเป็นปีที่เริ่มทำปัญหาพิเศษ
ผู้เขียนมีความสนใจในด้านการเงิน จึงตัดสินใจทำเรื่อง อิสรภาพทางการเงินในมุมมองวัยรุ่น
เบื้องต้นตัวผมและอาจารย์ที่ปรึกษาปัญหาพิเศษมีข้อสงสัยว่า "อิสรภาพทางการเงิน" มีอยู่จริงหรือไม่
หรือเป็นเพียงคำพูดสวยหรูของนักวางแผนการเงินหรือผู้ที่ต้องการขายผลิตภัณฑ์ทางการเงินกันแน่..
มีหลักเกณฑ์หรือหลักการอะไรที่มารองรับที่แน่นอน เป็นลายลักษณ์อักษรที่ไม่ได้มาจากูรูทางการเงินหรือไม่..
จากบริบทในสังคมส่วนใหญ่ที่เริ่มเห็นนักศึกษาบางกลุ่มเริ่มที่จะศึกษาเรื่องของการวางแผนการเงินหรือการลงทุน จากคำถามที่ส่งไปถามโค้ชการเงิน
ซึ่งผมรู้สึกตื่นเต้นและดีใจที่ทีคนมีความคิดคล้ายคลึงกับผมในช่วงอายุใกล้ ๆ กัน
เพราะส่วนใหญ่มักจะกังวลเรื่องไม่เป็นเรื่องมากกว่า (ขอไม่ยกตัวอย่างนะครับ) ปล.ผมไม่ได้ว่าใครเป็นการเจาะจงนะครับ
กลับมาพูดถึงคำว่า "อิสรภาพทางการเงิน" กันดีกว่า
เมื่อผมได้ลองหาข้อมูลเบื้องต้นพบว่า อิสรภาพทางการเงินนั้น "สามารถวัดได้"
ซึ่งแบ่งออกเป็นดัชนีชี้วัด 2 ตัวด้วยกันคือ
อัตราการอยู่รอด และ อัตราความมั่งคั่ง
อัตราการอยู่รอด วิธีคิดง่าย ๆ คือ รายได้ทั้งหมดที่คุณได้รับทั้งหมด (รายได้จากงานประจำหรือรายได้จากสินทรัพย์)÷ รายจ่าย
หากมีค่ามากกว่า 1 ผมขอแสดงความยินดีด้วย
คุณสามารถใช้ชีวิตอยู่ได้โดยไม่ขัดสนจากการขาดเงิน
แต่หากต่ำกว่า 1 ก็คือมีหนี้เกิดขึ้นแน่นอน
ซึ่งอัตราการอยู่รอดนี้ ไม่ได้หมายความว่าคุณมีอิสรภาพทางการเงิน..
หากเมื่อรายได้จากการทำงานหรืออะไรก็ตามที่คุณต้องลงมือทำให้เกิดรายได้นั้นหายไป คุณจะอยู่ในสภาวะอยู่ไม่รอดนั่นเอง (อัตราการอยู่รอด <1)
การที่คุณจะมีอิสรภาพทางการเงินคือ การที่อัตราความมั่งคั่งมีค่ามากกว่า 1
อัตราความมั่งคั่งคิดจาก "รายได้ที่มาจากสินทรัพย์"÷ รายจ่าย
*สินทรัพย์ในที่นี้ ได้แก่ ค่าเช่า ดอกเบี้ย ปันผล ค่าลิขสิทธิ์ หรือรายได้ที่ไม่มีคุณทำแต่ก็ยังให้รายได้ได้
อิสรภาพทางการเงินอาจมีคนให้หลายความหมายกับมัน บางความหมายเป็นความหมายที่ใกล้เคียงกับข้อมูลดังกล่าว บางความหมายเป็นเพียงการคิด มโนไปเอง เช่น ใช้จ่ายเท่าไรก็ได้ ไม่ต้องสนใจการควบคุมรายจ่าย อยากซื้ออะไรก็ซื้อเลย ซึ่งเป็นความหมายที่ไม่ถูกต้อง
ไม่มีคนรวยคนไหน ไม่วางแผนการเงิน
อ้างอิงเนื้อหาบางส่วนจาก : หนังสือ "การวางแผนการเงินส่วนบุคคล" จัดทำโดย ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
โฆษณา