26 พ.ค. 2019 เวลา 18:20 • การศึกษา
15 สิ่งที่น่ารู้เกี่ยวกับเลือดของมนุษย์ และสัตว์น้ำชนิดไหนที่มีเลือดแบบมนุษย์บ้าง รับชมได้ใน “ตอนที่ 9 : ทำไมมนุษย์ถึงมีเลือดสีแดง?”
มาถึงตอนที่น่าสนใจอีกแล้ว วันนี้แอดจะพาไปรู้จักกับเลือดของมนุษย์ และสรุปว่าเลือดแต่ละสีต่างกันเหมือนกันอย่างไร
🤣ใครกลัวเลือดก็รีบเลื่อนข้ามรูปสลิงค์เลือดที่อยู่ต่อจาก 15 สิ่งน่ารู้ นะคะ🤣
original photo reference : https://pixabay.com/photos/test-tubes-chemistry-glass-red-904546/
รู้หรือไม่...
1. ความดันเลือดสูงแสดงว่าคุณมีความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจและเส้นเลือดในสมองตีบ
2. เลือดคิดเป็น 7% ของน้ำหนักตัวมนุษย์
3. ปลาทองก็มีเลือดแดงเช่นเดียวกันกับมนุษย์
4. หลอดเลือดของผู้ใหญ่เอามาต่อรวมกันทั้งหมดมีความยาวถึง 100,000 กิโลเมตร
5. ผู้ชายมีเลือดปริมาณมากกว่าผู้หญิง โดยเพศชาย 5.6 ลิตร และ หญิง 4.5 ลิตรโดยเฉลี่ย
6. เด็กที่แรกเกิดมีเลือดปริมาณ 1 ถ้วยตวงเท่านั้น
7. ไม่ได้มีแค่กรุ๊บเลือด A B O เท่านั้น เพราะเลือดถูกแบ่งได้ถึง 30 แบบเลยทีเดียว
8. เม็ดเลือดแดงมีอายุเพียง 120 วันเท่านั้น
9. เลือดที่คุณบริจาคมีอายุการใช้งานแค่ 42 วันเท่านั้น
10. แต่เลือดที่บริจาคสามารถเก็บได้นานถึง 1 ปีในรูปแบบแช่แข็ง
11. แม้มนุษย์จะสามารถใช้หัวใจเทียมได้ แต่ปัจจุบันไม่มีสิ่งไหนมาทำเลียนแบบเลือด ใช้เป็นเลือดเทียมได้
12. ในร่างกายของคนเรามีทอง 0.2 mg ซึ่งส่วนมากอยู่ในเลือด
13. นักวิทยาศาสตร์สามารถคิดค้นวิธีนำออกซิเจนเข้าสู่เลือดโดยตรงได้โดยไม่ต้องผ่านปอด
14. ยุงชอบกินเลือกกรุ๊บ O มากที่สุด
15. ต้องใช้ยุง 1,200,000ตัว จึงสามารถดูดเลือดมนุษย์จนแห้งตายได้
สีที่แตกต่างกันของเลือดในหลอดเลือดแดงและหลอดเลือดดำ = Photo reference : https://en.m.wikipedia.org/wiki/Blood#/media/File%3AVenous_and_arterial_blood.jpg
เลือดเป็นของเหลวในร่างกายมีหน้าที่สำคัญในการลำเลียงออกซิเจนและสารอาหารไปยังอวัยวะต่างทั่วร่างกาย
สภาวะผิดปกติหรือโรคที่เกิดขึ้นจากความผิดปกติของเลือดก็มีมากมายเลย ได้แก่
1. Anemia
สภาวะที่เลือดมีประสิทธิภาพต่ำในการลำเลี้ยงออกซิเจน เกิดขึ้นจากหลายสาเหตุ เช่น การสูญเสียเลือด หรือ ขาดสารอาหาร เป็นต้น ในอาการที่รุนแรงอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้
2. Sickle Cell Anemia
สภาวะที่เกิดจากความผิดปกติของฮีโมโกลบิน ทำให้เซลล์เม็ดเลือดแดงมีรูปร่างผิดปกติ และลำเลียงออกซิเจนได้ไม่ดี ส่งผลให้เลือดมีความหนืดและอุดตัน จับตัวเป็นก้อน ทำให้เกิดสภาวะหลอดเลือดอุดตันได้ ซึ่งเป็นอันตรายมาก และควรได้รับการถ่ายเลือดเป็นประจำ
3. Clotting Disorders
สภาวะที่เลือดมีปัญหาเรื่องการแข็งตัวของเลือด โรคที่มีสภาวะเช่นนี้ได้แก่ โรคฮีโมฟีเลีย อาจจะทำให้ผู้ป่วยตายได้จากการสูญเสียเลือด เนื่องจากเลือดไม่หยุดไหล
4. Neutropenia
เป็นสภาวะความผิดปกติของเม็ดเลือดขาว เกิดขึ้นเมื่อไม่มีจำนวนเม็ดเลือดขาวมากพอมาต่อกรกับเชื้อโรค การติดเชื้อธรรมดาๆ อาจส่งผลร้ายแรงกับผู้ที่มีสภาวะนี้ อย่างในผู้ที่ติดเชื้อ HIV เชื้อจะเข้าโจมตีระบบภูมิคุ้มกันโดยตรง ทำให้เซลล์เม็ดเลือดขาวถูกทำลาย
และในผู้ที่เป็นลูคีเมีย เมื่อทำคีโมเทอราปี ส่งผลข้างเคียงในเกิดสภาวะนี้ได้เช่นกัน เพราะเม็ดเลือดขาวนั้นถูกทำลายไปด้วย จึงทำให้มีภูมิคุ้มกันต่ำ ทำให้ผู้ป่วยทำคีโมต้องรักษาความสะอาดเป็นพิเศษ
กลับมาต่อที่องค์ประกอบของเลือดกันดีกว่าค่ะ
เลือดแดงของมนุษย์ประกอบไปด้วย 2 ส่วนหลัก
1. พลาสมา (blood plasma) 55% ของเลือด
2. เซลล์เม็ดเลือด (cellular components) 45% ของเลือด
ร่างกายของผู้ใหญ่มีเลือดอยู่ประมาณ 5-6 ลิตรเลยทีเดียว คือเป็น 7% ของน้ำหนักตัวเลยด้วย โดยมีส่วนประกอบหลักคือ พลาสมา
พลาสมา คืออะไร???
พลาสมา = Photo reference : https://en.m.wikipedia.org/wiki/Blood_plasma
ตามรูปนี่เลยคือพลาสมาแบบเพียวๆ ไม่เป็นสีแดงอย่างที่คิดเลยใช่ไหม เพราะมันเป็นของเหลวสีเหลือง ซึ่งบรรดาเม็ดเลือดก็เป็นอนุภาคแขวนลอยอยู่ในพลาสมานั่นเอง
พลาสมาอยู่ในหลอดเลือด ที่เป็นท่อส่งตรงไปยังสถานที่ต่างๆในร่างกาย มันเป็นส่วนหนึ่งของของเหลวทั้งหมดในร่างกาย และ 92% ของพลาสมาคือน้ำนั่นเอง และมี 6-8% ของโปรตีนสารอาหาร รวมไปถึงฮอร์โมนและคาร์บอนไดออกไซด์ ออกซิเจน และอื่นๆ อยู่ในนั้นด้วย
พลาสมาเป็นตัวกลางที่ใช้รองรับของเสียและสิ่งที่ถูกสร้าง หรือขับออกมาจากเซลล์ รับสมดุลอิเล็กโทรไลท์ (electrolyte) ในเซลล์ ปกป้องร่างกายจากการติดเชื้อและความผิดปกติของเลือด
เราสามารถแยกพลาสมาออกมาจากเลือดโดยการเอาเลือดเข้าเครื่องแกว่ง (spinning a tube of fresh blood) และเติมสารเคมีที่ป้องกันการแข็งตัวของเลือด (Anticoagulants) เพื่อให้เม็ดเลือดตกไปกองรวมอยู่ที่ก้น ก็จะสามารถแยกมันออกจากกันได้
Plasmapheresis = Photo reference : https://en.m.wikipedia.org/wiki/Plasmapheresis
ความรู้จากการแยกพลาสมาออกจากเลือด ยังสามารถใช้ในการฟอกเลือดได้ด้วย (Plasmapheresis) โดยแบ่งเป็นสามรูปแบบ ใช้เครื่องนำเลือดออกมาจากบุคคล และนำไปผ่านกระบวนการแยกออก หรือ กระบวนการทำให้ดีขึ้นและนำกลับเข้าไป หรือ เปลี่ยนนำเลือดใหม่เข้าไปแทนที่
มาถึงส่วนที่ทำให้เลือดมีสีแดงแล้ว!!!
เซลล์เม็ดเลือด แบ่งออกเป็นเซลล์อะไร???
1. เม็ดเลือดแดง (มีฮีโมโกลบินที่ช่วยในการลำเลียงออกซิเจน และเมื่อจับตัวกับออกซิเจนจะให้สีแดง)
2. เม็ดเลือดขาว
เม็ดเลือดแดง = Photo reference : https://jesskeating.com/red-blood-green-blood-yellow-blood-spocks-blood/
เม็ดเลือดแดงมีลักษณะคล้ายโดนัท มีหน้าที่ลำเลียงออกซิเจนไปเลี้ยงร่างกาย
ก้อนที่ปุยๆ คือเม็ดเลือดขาว = Photo reference : https://jesskeating.com/red-blood-green-blood-yellow-blood-spocks-blood/
ก้อนปุยๆ กลมๆ ตรงกลางคือเม็ดเลือดขาว ทำหน้าที่ปกป้องร่างกายจากเชื้อโรคและสิ่งแปลกปลอม
นอกจาก พลาสมา และ เม็ดเลือดแล้วก็ยังมีอีกหนึ่งสิ่งในเลือด นั่นก็คือ เกล็ดเลือด นั่นเอง
เกล็ดเลือด = Photo reference : https://jesskeating.com/red-blood-green-blood-yellow-blood-spocks-blood/
จุดสีม่วงๆ เล็กๆ นั่นคือเกล็ดเลือด ท่ามกลางเม็ดเลือดแดงนั่นเอง มันช่วยให้เลือดหยุดไหลจากบาดแผลได้ โดยกอดกันเป็นก้อน ให้เลือดหยุดไหล และหลั่งเอนไซม์ที่ช่วยให้เลือดแข็งตัว
ปลาที่มีเลือดแดงมีหลายชนิดเลย เช่นปลาทอง ปลานิล ปลาแซลมอน ปลาช่อน อื่นๆ อีกมากมายเลยค่ะ
Photo reference : https://www.businessinsider.com/animal-blood-comes-in-5-crazy-colors-but-you-have-to-do-something-gruesome-to-determine-which-2016-1
เลือดมีทั้งหมด 6 สีด้วยกันค่ะ
1. เลือดแดง (เลือดของมนุษย์และปลาทอง)
2. เลือดเหลือง (เลือดของปลิงทะเล)
3. เลือดเขียว
3.1 เลือดเขียวจากคลอโรครูโอรีน (เลือดหนอนพู่ฉัตร)
3.2 เลือดเขียวจากบิลิรูบิน (เลือดจิ้นเหลน)
4. เลือดฟ้า (เลือดของแมงดาทะเล)
5. เลือดม่วง (เลือดของหนอนพีนิส)
6. เลือดไร้สี/สีขาว (เลือดของปลาน้ำแข็งจระเข้)
เรามาดูกันดีกว่าว่าเลือดแต่ละชนิดมีความเหมือนหรือต่างกันอย่างไรค่ะ
Photo reference : https://www.acs.org/content/dam/acsorg/education/resources/highschool/chemmatters/issues/best-of-chemmatters/sample-lesson-plan-the-many-colors-of-blood.pdf
เลือดทุกสียกเว้นสีเหลือง สีเขียวแบบบิลิรูบิน และไร้สี ล้วนมีโปรตีนลำเลียงออกซิเจนที่จับตัวกับออกซิเจนและเกิดเป็นสีของเลือดแบบต่างๆ
สีเหลืองเกิดจากวานาบิน และ เขียวที่เกิดจากบิลิรูบินไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องในการช่วยลำเลียงออกซิเจนแต่อย่างใด ส่วนเลือดไร้สี ไม่ได้มีโปรตีนช่วยในการลำเลียงเลือด จึงมีสีใสและสีขาวเมื่อแข็งตัว
สีของเลือดชนิดอื่นๆ เกิดจากโปรตีนในเม็ดเลือดได้แก่
สีฟ้า...เกิดจากโปรตีนฮีโมไซยานิน
สีเขียว...เกิดจากโปรตีนคลอโรครูโอรีน
สีแดง...เกิดจากโปรตีนฮีโมโกลบิน
สีม่วง...เกิดจากโปรตีนฮีเมอริติน
ซึ่งล้วนเป็นโปรตีนช่วยในการลำเลียงออกซิเจนทั้งนั้น
ประสิทธิภาพในการลำเลียงออกซิเจนจากมากไปน้อย มีดังนี้
แดง>ม่วง, ฟ้า, เขียว, เหลือง>ไร้สี
.
.
ติดตามตอนต่อไป (ช่วงค่ำๆ) “ตอนที่ 10 : สัตว์เลือดเย็นคืออะไร?”
Reference / อ้างอิง
เนื้อหาเรียบเรียงโดย : โลกสีฟ้าป.ปลาตัวจิ๋ว
วันที่ 27 พ.ค. พ.ศ. 2562
แอดไม่ได้เป็นเจ้าของภาพแต่อย่างใดค่ะ ลิงค์ที่มาของภาพปรากฎอยู่ใต้ภาพค่ะ
*** รับปรึกษาปัญหาเกี่ยวสัตว์น้ำ ปลาป่วย อุปกรณ์ เครื่องกรอง ชนิดพันธุ์ปลา ฟรีไม่คิดค่าใช้จ่ายค่ะ
เฟสบุ๊คเพจ : โลกสีฟ้าปปลาตัวจิ๋ว จำหน่ายอุปกรณ์และสัตว์

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา