Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
คลังความรู้
•
ติดตาม
27 พ.ค. 2019 เวลา 13:43 • ประวัติศาสตร์
"อารยธรรมเมโสโปเตเมีย" ตอนที่ 2
มาต่อกันตอนที่ 2 นะครับ ในครั้งที่เเล้วผมกล่าวถึงการก่อตั้งยุคเเรกเริ่มของอารยธรรม รากเง้าของภาษา ในตอนนี้เรามาดูกันต่อว่าพัฒนาการของเมโสโปเตเมีย จะเป็นอย่างไรต่อ....
หลังจากชาวสุเมเรียนครอบครองดินเเดน"พระจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์" หรือที่ราบลุ่มเเม่น้ำ ไทกริส-ยูเฟรทีส ได้ชั่วระยะหนึ่ง ทำให้เกิดการเปลี่ยนเเปลงมากมาย ทั้งอักษรเขียน มาตราวัด คณิตศาสตร์ ปฏิทิน วรรณกรรม เป็นการเจริญขั้นสุดของมนุษย์ในยุคนั้นเลยก็ว่าได้ เเต่เเน่นอน ทุกสิ่งล้วนอนิจจัง ชาวสุเมเรียนอ่อนเเอลงจากการทำศึกสงครามกับเมืองรอบๆ รวมถึงศึกจากภายใน ยิ่งทำให้การเสื่อมสลายของอาณาจักรมาเร็วขึ้นทุกที
กลุ่มชนต่อมาที่เข้ามาเเทนที่ชาวสุเมเรียนคือ ชาว"อามอไรต์" (Amorite) เเละได้ตั้งอาณาจักรที่มีชื่อว่า บาบิโลเนีย (Babylonia) เมืองหลวงอยู่ที่บาบิลอน ริมฝั่งของเเม่น้ำยูเฟรทีส
สิ่งที่ชาว อามอไรต์ทิ้งไว้ให้มนุษย์ยุคหลังคือ "ประมวลกฎหมายพระเจ้าฮัมมูราบี" (the code of hummurabi) ซึ่งถูกสร้างขึ้นในปี 1792-1750 ปีก่อนศริสต์ศักราช
พระเจ้าฮัมมูราบี
เป็นกฎหมายที่ได้ชื่อว่า "ตาต่อตา ฟันต่อฟัน" มันคืออะไร มันคือ ใครทำอะไรกับใคร ผู้ที่โดนกระทำก็มีสิทธิ์ทำอย่างนั้นคืน เช่น " เราโดนตบหน้า เราก็สามารถตบหน้าคืนได้ " เเต่ต้องไปฟ้องร้องก่อนนะ...เเละตามหลักอนิจจังอีกเช่นเคย เวลาล่วงเลยไปความรุ่งเรืองย่อมเสื่อมลง เเละถูกชนชาติต่อมายึดครองดอนเเดนไป
ชนชาติที่ว่ามานั้นคือ "ชาวอัสซีเรียน" ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่ชอบด้านสงครามมากกว่าเรื่องศาสนา หรือวรรณกรรม เป็นกลุ่มชนที่ทำอาวุธด้วยเหล็กทำให้ประสิทธิภาพการสู้รบมีมากเหนือดินเเดนอื่น ในช่วง 800 BC ชาวอัสซีเรียนยึดครองกรุงบาบิลอน เเละความชอบในการทำศึก ทำให้มีอาณาเขตที่กว้างขวาง จนเรียกว่า "จักรวรรดิอัสซีเรีย" เมืองหลวงคือนคร "นิเนเวห์" มีการเปรียบกษัตริย์เป็นตัวเเทนของเทวราช
1
เเต่หลังจากศึกสงครามเสร็จเรียบร้อย ชาวอัสซีเรียน ได้พัฒนาฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมขึ้นเเละเจริญมากในช่วงสมัยของพระเจ้า อัสซูร์บานิปาล ในสมัยนี้มีการจารึกต่างๆมากมาย ทั้งการเเพทย์ วรรณกรรม การเมือง อื่นๆ ไว้ในหอสมุดเมือง
นิเนเวห์ ว่ากันว่ามีจารึกดินเหนียวกว่า 22,000เเผ่น(โดยคาดการณ์)
ห้องสมุดเมืองนิเนเวห์
เเละงานศิลปะที่มีชื่อเสียงของชาว อัสซีเรียนคือ "ภาพเเกะสลักนูนต่ำ"
ต่อมาจักรวรรดิอัสซีเรียถูกกลุ่มชนที่มีฝีมือด้านการรบเช่นกันตีเเตก ในปี 612 BC หลังจากชาวคาลเดียนตีเมืองนิเนเวห์เเตก ชาวคาลเดียนได้ทำลายเมืองเเละหอสมุด (ว่ากันว่าตำรามากมาถูกทำลาย เหลือมาเพียงน้อยนิด ซึ่งปัจจุบันเรายังคงใช้ความรู้จากเเผ่นดินเหนียวนั้นอยู่)
3
ชาวคาลเดียนได้เปลี่ยนเมืองหลวงเป็น กรุงบาบิลอน เเละสร้างบาบิโลเนียขึ้นใหม่ อาณาจักรรุ่งเรืองมากในสมัยพระเจ้าเนบูคัดเนซซาร์ ถึงขนาดไปตีเมืองเยรูซาเลมสำเร็จ เเละกวาดต้อนชาวยิวหรือฮิบรูมาที่บาบิลอน
เเละสิ่งก่อสร้างที่มีชื่อเสียงมากในสมัยนี้คงหนีไม่พ้น "สวนลอยฟ้าเเห่งบาบิลอน" ว่ากันว่าสร้างให้ราชินีของพระองค์ได้เดินเล่น ...
เเละที่น่าอัศจรรย์คือระบบชลประทานที่น่าทึ่ง จากการสามารถนำน้ำขึ้นไปถึงชั้น 3 ของสวนได้ โดยหลักการเเบบเดียวกับ "อาคิมีดีส"
นอกจากนี้ชาวอาณาจักบาบิโลเนีย ได้พัฒนาด้านเกษตรกรรม วิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะ สัปดาห์มี 7 วัน เเล้วเเบ่งเป็น 12 คาบ คาบละ 120 นาที นอกจากนี้สามารถพยากรณ์สุริยุปราคาได้ เเละเป็นชาติเเรกที่ทำนายดวงชะตาจากดวงดาว
เเต่ถึงอย่างไรปี 539 BCบาบิโลเนีย ถูกตีเเตกโดยชาวเปอร์เซีย เเละผนวกอาณาจักเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิเปอร์เซีย นับว่าในปีนี้ เป็นปีสิ้นสุดอารยธรรมเมโสโปเตเมีย
เป็นอย่างไรกันบ้างครับ จะเห็นได้ว่าพัฒนาการของมนุษย์เริ่มจากการที่สามารถพัฒนาการเกษตร จนสามารถค้าขายเเละสร้างอารยธรรมมาตั้งเเต่นั้น เเละสิ่งหนึ่งที่สำคัญเเละลืมไม่ได้เลยคือ หากไม่มีตัวอักษรเขียน มนุษย์คงไม่ต่างกับวานรทั่วไป เพราะเราต้องเรียนรู้ใหม่ทั้งหมดตั้งเเต่เกิดมา เเต่อักษรคือการจดบันทึกความรู้ต่างๆของคนในอดีต ทำให้คนรุ่นถัดมาไม่ต้องหาความรู้ใหม่ทั้งหมด เพียงเเค่ทำความเข้าใจเเละต่อยอด ทำให้มนุษย์มีวิวัฒนาการเร็วกว่าสัตว์อื่นนั้นเอง
2
เรียบเรียงเเละเขียนโดย @น๊อต
อ้างอิงข้อมูลเเละภาพประกอบจาก
-ประมวลกฎหมายฮัมมูราบี
https://sites.google.com/site/ploywokk/ch/kh?tmpl=%2Fsystem%2Fapp%2Ftemplates%2Fprint%2F&showPrintDialog=1
-เมืองนิเนเวห์
http://worldcivil14.blogspot.com/2017/12/nineveh.html?m=1
-- หนังสือประวัติศาสตร์สากล ม. 4-6 ค้น (26/5/2562)
36 บันทึก
86
18
15
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
อารยธรรมโบราณ
36
86
18
15
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย