Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
KMUTT Library
•
ติดตาม
28 พ.ค. 2019 เวลา 05:04 • การศึกษา
รู้เขา รู้เรา รู้เท่า รู้ทัน (สื่อ)
literacy skill
เมื่อท่องโลกอินเทอร์เน็ต อ่านฟีดจากเฟสบุ๊ก ทวิตเตอร์ ไลน์ โซเชียลมีเดีย อ่านเรื่องราวต่างๆ เข้าเว็บไซต์หลายเว็บ
มีบางเว็บที่คุณรู้สึกว่า มันน่าเชื่อถือ และมีบางเว็บที่คุณรู้สึกว่า มันไม่น่าเชื่อถือ
ความรู้สึกเหล่านั้นมีข้อเท็จจริงอย่างไร
ในฐานะบรรณารักษ์ข้อพิจารณาเหล่านี้ช่วยให้คุณหาคำตอบ
1. เว็บไซต์เหล่านั้น
มีวัตถุประสงค์อย่างไรในการเผยแพร่?
บางพาดหัวของเว็บไซต์ อ่านแล้วไม่คลิกไม่ได้ ช่างน่าสนใจเหลือเกิน
โดยรวมแล้วมักมีคำอุทานและคำเริ่มต้นเหล่านี้
"ขนลุก!"
"คุณจะต้องทึ่ง"
"พลาดไม่ได้กับ.."
"และนี่คือสิ่งที่เขาเจอ"
"ไม่น่าเชื่อ!!"
"และนี่คือสิ่งที่เขาทำ"
"เชื่อ!"
"คุณจะต้องไม่เชื่อแน่!"
"โอ้โห!"
"เซอร์ไพร์ส!"
"มหัศจรรย์!"
"พูดไม่ออก.."
ฯลฯ
ข้อสังเกตคือ มักใช้คำใหญ่ คำเชิญชวนให้อยากรู้หรือติดตาม จากการคลิกเข้าชมของผู้อ่าน ผู้ผลิตก็ได้รับค่าตอบแทน (Clickbait)
ดังนั้นวัตถุประสงค์ในการเผยแพร่เป็นข้อสำคัญของการเข้าถึงเว็บไซต์
ต่อมาเมื่อคุณเข้าไปอ่านหรือไล่เรียงสายตาดูแล้ว คุณจะสามารถตีความเนื้อหาได้
เช่น
เนื้อหาไม่ตรงกับหัวข้อ
หรือแทบไม่มีใจความสำคัญใดๆเลย
เนื้อหาแฝงโฆษณาชวนเชื่อ
บอกข้อมูลงานวิจัยแต่ไม่มีอ้างอิง?
ในหน้าเว็บนั้นมีโฆษณาหรือไปยังสินค้าที่เกี่ยวข้องกับข้อมูล
เนื้อหานี้เหมาะสำหรับผู้ใด ใครควรอ่านบ้าง
มีผลกระทบต่อความรู้สึกเราอย่างไร
2. เรื่องราวที่เล่าๆมา ใครล่ะเป็นผู้เขียน
อยู่แวดวงใด เช่น ข้อมูลด้านสุขภาพ
เป็นผู้เชี่ยวชาญ/ผู้มีประสบการณ์ในด้านที่เกี่ยวข้องหรือไม่
3. สถานการณ์ของข้อมูลที่เผยแพร่
มีความเป็นปัจจุบันหรือไม่
วันที่เผยแพร่หรือปรับปรุงข้อมูลนั้นเมื่อใด
4. อย่างน้อยๆ ถ้ามีคำที่เขียนผิดเต็มไปหมดเลย มันก็ไม่น่าเชื่อถือใช่ป่าวล่ะ
5. คงจะดีไม่น้อย
ถ้าสามารถตอบกลับหรือติดต่อกับผู้เผยแพร่เนื้อหาในเว็บไซต์นี้ได้
6. ถ้าสนใจเรื่องราวเหล่านี้ต่อ
สามารถเข้าถึงข้อมูลที่เกี่ยวข้องต่อเนื่องได้😊
รวมถึงมีการให้ที่มาของบทความ ข้อมูลอ้างอิง
หลักๆแล้วข้อสำคัญเหล่านี้ก็ช่วยประกอบการพิจารณาข้อมูลเนื้อหาที่คุณได้พบเจอในโลกอินเทอร์เน็ตได้
ข้อสำคัญคือ
คุณแค่มีการคิดวิเคราะห์ (Critical Thinking)
ในความเพลิดเพลินเหล่านั้น
คุณจะสามารถเข้าถึงได้อีกหลายๆสื่อและเพิ่มความสนุกกับการใช้มันเลยแหละ
ที่มา
https://www.youtube.com/watch?v=16XrJOHMlCE
https://thepotential.org/2018/11/19/media-literacy/
https://www.mangozero.com/facebook-hiding-clickbait-public-posts-users-news-feed/
ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
http://www.ccts-ettc.org/
https://www.youtube.com/watch?v=p5e9wTdAulA
https://www.commonsense.org/education/toolkit/audience/news-media-literacy-k-2
1 บันทึก
2
1
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย