29 พ.ค. 2019 เวลา 09:24 • ความคิดเห็น
“ ความเชื่อผิดๆ ที่คอยขัดขวางไม่ให้คุณไปถึงอิสระภาพทางการเงิน ”
1. Passive income คือคำตอบ
กูรูทางการเงินหลายคนมักพูดว่า “เราต้องมี passive income นะ ถ้ายังทำงานอยู่แบบนี้ ไม่มีวันมีอิสระภาพทางการเงินแน่นอน” ถามว่าถูกไหม ถูกแค่ครึ่งเดียวครับ การมีอิสระภาพทางการเงินคือคุณสามารถทำสิ่งต่างๆที่คุณชอบได้ โดยไม่มีเงินเป็นตัวตั้ง ในหนังสือพ่อรวยสอนลูก ของ โรเบิร์ต คิโยซากิ มีประโยคนึงที่ว่า “คนรวยไม่ทำงานเพื่อเงิน” เราตีความกันแบบไหนครับ ? ทำฟรีหรอ ไม่ใช่นะครับ!! เขาหมายถึงว่าคนรวยเนี่ยเขาไม่ได้เอาเงินมาเป็นหลักว่าฉันจะทำอะไร เขาทำในสิ่งที่เขาชอบสิ่งที่เขาถนัดถึงแม้ตอนแรกๆที่ทำมันจะไม่ได้เงินเลยก็ตาม คุณโน๊ตอุดม แกทำเดี่ยวเนี่ยเป็น active ถ้าไม่ทำแกก็ไม่ได้เงินแต่แกทำครั้งนึงแกก็ได้เงินมาเยอะ ทำเสร็จแกก็ออกไปทำงานที่แกรักต่อ เพราะงั้นคำว่า “ต้องมี passive income” บางทีก็ไม่ใช่คำตอบทั้งหมดของการไปสู่อิสระภาพทางการเงิน คุณสามารถทำงานที่คุณรักโดยที่คุณได้ทำมันทุกวันและคุณมีความสุขโดยที่ไม่มีเงินเป็นตัวบอกให้คุณต้องทำ นี่ก็คืออิสระภาพทางการเงินเหมือนกันครั
2. รายได้เยอะ เท่ากับ มีอิสระภาพทางการเงิน
 
คุณคิดว่าการมีรายได้ที่มากจะทำให้มีอิสระภาพทางการเงินไหม? ถ้าคุณมีรายได้เดือนละ 1 ล้านบาท แปลว่าคุณมีอิสระภาพทางการเงินรึเปล่า? ถ้า 5 ล้านละ ถ้า 10 ล้านละ คุณจะมีอิสระภาพทางการเงินเพิ่มขึ้นใช่ไหม ? ก็อาจจะใช่แต่ก็ไม่ใช่ทั้งหมด สิ่งที่สำคัญมากกว่ารายได้คือ รายจ่าย ถ้าคุณมีรายได้เดือนละ ล้าน แต่คุณต้องผ่อนค่างวดรถหรูที่คุณยังผ่อนไม่หมด ต้องจ่ายค่าผ่อนบ้านหลังโต ที่คุณสร้างไว้ให้คนใช้อยู่เพราะคุณต้องไปทำงานตั้งแต่ 7 โมงเช้าเข้าบ้านหนึ่งทุ่มสองทุ่ม กลับกันบางคนทำงานเงินเดือน หมื่นกว่าๆ ใช้ต่อเดือนเหลือเก็บเหลือออม รถผ่อนหมดแล้ว มีบ้านหลังเล็กๆอยู่กับครอบครัวพร้อมหน้าพร้อมตา คุณว่าใครกันครับที่มีอิสระภาพทางการเงิน คนที่มีรถหรูแต่เวลาขับไปจอดในห้างต้องมากลัวว่ามีใครจะมาทำรถเราเป็นรอย ต้องมากังวลทุกๆอย่างแบบนี้ไม่ใช่คนที่มีอิสระภาพทางการเงินหรอกครับ ที่พูดมาแบบนี้ไม่ใช่ว่าอิจฉาคนรวยหรือกำลังปลอบใจคนจนนะครับ อิสระภาพทางการเงินของเราเราออกแบบเองได้ ให้เป็นตัวเราเองและมีความสุข “ถ้าคุณไม่มีความสุขกับเงิน 10,000 บาทได้ ต่อให้มีเงิน 10 ล้านคุณก็ไม่มีความสุขอยู่ดี”
3. มองหาแต่เงินแต่ไม่มีคุณสบัติของผู้ที่จะประสบความสำเร็จทางการเงิน
 
“ต้องมีความรับผิดชอบ “
คนที่ไม่มีความรับผิดชอบอยู่ที่ไหนก็ทำงานไม่สำเร็จ ยกตัวอย่างนะครับ นาย ก และ นาย ข เป็นเกษตรกร มีที่ดินคนละ 10 ไร่ ในปีแรกทั้งสองทำเหมือนกันคือปลูกข้าวทั้งหมด 10 ไร่ ผลปรากฎว่าราคาข้าวตกต่ำ นาย ก ก็ไปร่วมกับชาวนาคนอื่นๆประท้วงรัฐบาล ให้มาช่วยอุ้มราคาข้าวให้สูงขึ้นหน่อย เป็นผลให้รัฐต้องมาอุ้มราคาข้าว แต่นาย ข ทำตามคำสอนของในหลวง ร.9 เปลี่ยนจากนา 10 ไร่มาทำเกษตรผสมผสานปลูกหลายๆอย่างพอราคาอันนึงตกก็ยังมีอันอื่นที่ราคาดีอยู่ “คนที่ไม่มีความรับผิดชอบมักจะชอบบ่นนู่นบ่นนี่แล้วก็โยนภาระของตัวเองไปให้คนอื่นรับผิดชอบแทนอยู่เสมอ”
 
“ต้องมีความรู้ทางการเงิน”
ความรู้ทางการเงินนั้นกว้าขวางมากเราควรจะเริ่มจากสิ่งที่เรามีปัญหาอยู่ เช่น คุณมีหนี้สินอยู่ก็ควรจะไปศึกษาเกี่ยวกับการปลดหนี้ หรือรีไฟแนนส์ พอหนี้คุณหมด คุณก็มีเงินเหลือเก็บคุณอาจจะเริ่มสนใจในด้านอื่นๆเพิ่มเช่น จะเอาเงินที่เหลือไปลงทุนอะไรดี จะเอาเงินไปออมหรือฝากไว้ไหนดีให้มันโต “คนที่มีปัญหาแล้วไม่ศึกษาแก้ปัญหาของตนเองมันก็จะจมอยู่กับปัญหาไม่ได้พัฒนาตัวเองไปไหนสักที”
 
“มีวินัยทางการเงิน”
“ฉันจะเก็บเงินก้อนนี้ไว้ใช้ยามฉุกเฉิน” หลายคนเคยตั้งเป้าหมายในออมหรือเก็บเงินไว้หลายแบบหลายสไตล์ “ฉันวางแผนจะเก็บ 10% ของเงินเดือนไว้ใช้ยามเกษียณ” ทได้สองเดือนเจอเสื้อผ้า sale ในห้าง “เดือนนี้เว้นไปก่อนละกัน” เดือนต่อมา Iphone ออกใหม่ “เปลี่ยนจากเดือนละ 10% เป็นเดือนละ 5% ละกัน เพราะต้องเอาไปผ่อนค่าโทรศัพท์ใหม่” สุดท้ายเป้าหมายก็ห่างออกไปเรื่อยๆจนวันนึงคุณต้องล้มเลิกเป้าหมายของคุณแน่ๆ
โฆษณา