31 พ.ค. 2019 เวลา 13:52 • สุขภาพ
วันนี้มาทำความรู้จักกับโรคซึมเศร้ากันค่ะ เชื่อหรือไม่ว่าคนสมัยนี้เป็นโรคนี้กันเยอะมาก บางคนอาจจะเป็นแต่ไม่รู้ตัว มาทำความเข้าใจกันค่ะ ว่าโรคซึมเศร้าแท้จริงแล้วเกิดจากอะไร
credit: collective evolution
โรคซึมเศร้าเกิดได้หลายสาเหตุ ส่วนหนึ่งมาจากการทำงานของสมองที่ผิดปกติ เนื่องจากสารสื่อประสาทในสมอง (neurotransmitters) โดยมีสารเคมีที่มีชื่อว่าเซโรโทนิน (Serotonin) และนอร์เอพิเนฟริน (Norepinephrine) ลดน้อยลงจากเดิม ทำให้สมดุลของสารเหล่านี้เปลี่ยนไปและเกิดความบกพร่องในการทำงานร่วมกัน
กรรมพันธุ์ก็ทำให้เรามีโอกาสเสี่ยงเป็นโรคซึมเศร้ามากกว่าคนอื่น ๆ แต่จะต้องประกอบกับปัจจัยอื่น ๆ ด้วย เช่น ชอบคิดมาก หงุดหงิดง่าย รู้สึกสิ้นหวัง ชอบว่าตัวเอง เก็บตัวอยู่แต่ในห้อง ทำอะไรคนเดียวบ่อย ๆ
พฤติกรรมเหล่านี้อาจส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ความสัมพันธ์กับคนรอบข้างลดลง รวมไปถึงการเข้าสังคมและการทำงาน ควรพาไปพบจิตแพทย์เพื่อรักษา
สัญญาณบ่งบอกโรคซึมเศร้า
1. มีอารมณ์ซึมเศร้า
2. บางคนอาจมีอารมณ์หงุดหงิด ก้าวร้าว
3. ขาดความสนใจ ความชอบในกิจกรรมต่าง ๆ ที่เคยทำ
4. เบื่ออาหารหรือเจริญอาหารมากขึ้น
5. น้ำหนักลดลงหรือเพิ่มขึ้นมาก
6. นอนไม่หลับ หรือนอนนานกว่าปกติ
7. เคลื่อนไหวหรือพูดจาช้ากว่าปกติ
8. รู้สึกอ่อนเพลีย เหนื่อยตลอดเวลา มองโลกในแง่ร้าย
9. ถ้าหนักมาก จะพยายามฆ่าตัวตาย
โดยอาการเหล่านี้จะต้องเป็นต่อเนื่อง มากกว่า 2 สัปดาห์ ขึ้นไป
โรคซึมเศร้าสามารถรักษาได้
สิ่งสำคัญที่สุดคือต้องปฏิบัติตามแพทย์เพื่อให้อาการดีขึ้นและหายในที่สุด รับประทานยาตามแพทย์สั่งให้ครบ
เปลี่ยนรูปแบบการใช้ชีวิต และให้ความร่วมมือกับนักจิตบำบัดในการรักษา ซึ่งปัจจุบันการรักษาโรคซึมเศร้ามี 3 วิธีหลักได้แก่ ยารักษาโรคซึมเศร้า(ปรับระดับสารเคมีในสมองให้สมดุล) จิตบำบัด และการรักษาด้วยการกระตุ้นเซลล์สมอง
เราจะต้องฝึกรับมือกับโรคนี้ โดยจะต้องไม่คาดหวังในชีวิตสูงเกินไป หัดปล่อยวาง เข้าใจธรรมชาติ กำลังใจจากคนรอบข้างก็สำคัญ
ลองสังเกตตัวเองดู ถ้าใครรู้ว่ามีอาการ จะต้องรีบรักษา รีบพบแพทย์ เพราะโรคนี้เป็นภัยร้ายต่อชีวิต และมหันตภัยเงียบ
โฆษณา