1 มิ.ย. 2019 เวลา 12:14 • ไลฟ์สไตล์
บทสวดมนต์ พร้อมคำแปล
ยิ่งสวด ชีวิตยิ่งเจริญ
(ฉบับปรับปรุงใหม่)
นีมเคยลงบทสวดมนต์ที่เรียบเรียงไว้ในรูปแบบไฟล์ word และ pdf ซึ่งมีผู้สนใจขอให้ส่งอีเมลให้จำนวนมาก จนปัจจุบันยังมีผู้สนใจขอเข้ามา
นีมจึงตัดสินใจลงบทสวดมนต์อีกรอบ แต่ปรับปรุงใหม่ให้ดีกว่าเดิม ของเก่าไม่มีคำแปล ไม่มีบทอาราธนาศีล 5 และ ศีล 8
เพราะการสวดคำแปลด้วยนั้น จะทำให้เราเข้าใจความหมายของบทสวดได้มากกว่าการสวดมนต์ให้จบๆไปเพียงอย่างเดียว โดยที่เราไม่เข้าใจความหมายของบทสวดมนต์นั้นเลยค่ะ ฉะนั้น สวดไปก็ไม่ได้อะไรเช่นกันค่ะ ถ้าไม่รู้ว่าบทสวดนั้นหมายถึงอะไร?
แต่บทความนี้นีมจะเพิ่มทั้ง คำแปล บทอาราธนาศีล 5 และ ศีล 8 เข้าไปด้วย พร้อมทั้งบททำวัตรเช้า และทำวัตรเย็น สุดท้ายคือ รวบรวมบทสวดมนต์ แผ่เมตตาก่อนนอนทั้งหมด
คำอาราธนาศีล 5
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (นะโม 3 จบ)
มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะนัตถายะ ติสะระเณนะ สะหะ ปัญจะ สีลานิ ยาจามะ
ทุติยัมปิ มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะนัตถายะ ติสะระเณนะ สะหะ ปัญจะ สีลานิ ยาจามะ
ตะติยัมปิ มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะนัตถายะ ติสะระเณนะ สะหะ ปัญจะ สีลานิ ยาจามะ
(ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลายขอศีล ๕ ข้อพร้อมทั้งพระรัตนตรัยเพื่อประโยชน์แก่การจะรักษาต่างๆกัน)
1
พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
ปาณาติปาตา เวระมณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
อทินนาทานา เวระมณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
กาเมสุมิจฉาจารา เวระมณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
มุสาวาทา เวระมณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
สุรา เมระยะ มัชชะ ปะมาทัฏฐานา เวระมณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
อิมานิ ปัญจะ สิกขาปทานิ
สีเลนะ สุคติง ยันติ
(ศีล นั้นจักเป็นเหตุให้ถึงความสุข)
สีเลนะ โภคะสัมปะทา
(ศีล นั้นจักเป็นเหตุให้ได้มาซึ่ง โภคทรัพย์)
สีเลนะ นิพพุติง ยันติ
(และศีลนั้นยัง จะเป็นเหตุให้ได้ไปถึง นิพพาน คือความดับเย็นจากกิเลส เครื่องเศร้าหมอง ทั้งปวง)
ตัสสมา สีลัง วิโสธะเย
(ศีล จึงเป็นสิ่งที่วิเศษนักที่เธอทั้งหลายพึงยึดถือเป็นหลัก ประจำชีวิต ประจำจิตใจ ปฏิบัติ ให้ได้ ดังนี้ แล)
1
Cr.รูปภาพ _ MTHAI
ศีล 5 ข้อ ได้แก่
2
ศีลข้อที 1 ปาณาติปาตาเวรมณี หมายถึง การละเว้นจากการฆ่าชีวิตสัตว์ทุกชนิด
ศีลข้อที่ 2 อทินนาทานาเวรมณี หมายถึง การเว้นจากการลักทรัพย์ หรือทรัพย์ที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้
ศีลข้อที่ 3 กาเมสุมิสฉาจาราเวรมณี หมายถึง การละเว้นจากการประพฤติผิดในกาม การประพฤติผิดลูกผิดเมียคนอื่น (มีกิ๊ก มีชู้ก็ไม่ควร ยกเว้นแต่ จะมีการแต่งงาน และหรือมีการรับรู้รับเห็นด้วยจากผู้ปกครองของทั้งสองฝ่าย)
ศีลข้อที่ 4 มุสาวาทาเวรมณี หมายถึง การละเว้นจากการพูดปดงดเท็จ พูดจาโกหก พูดไม่อยู่กับร่องกับรอย
ศีลข้อที่ 5 สุราเมรยมัฌชปะมาทัตถานาเวรมณี หมายถึง การละเว้นจากการดื่มสุราเมรัยและเครื่องดองของมืนเมาทุกชนิด
❤การ"อาราธนาศีล 5" เช้า-เย็นทุกวัน
จะช่วยทำให้ส่งผลดีต่อชีวิตของเราเองและคนรอบข้าง เพราะเป็นการเตือนสติไม่ให้เราหลงผิด ทำผิดมากยิ่งขึ้น
1
หากยังมีไม่ครบ ไม่ต้องกังวล แค่ลด ละ เลิกให้ได้ และพยายามมีครบทั้ง 5 ข้อ จะเป็นผลดีต่อชีวิตทั้งภพภูมินี้ และภพภูมิหน้าอย่างยิ่ง
หากท่านใดยังไม่เข้าใจ ว่าทำไมต้องรักษาศีล 5 ลองอ่านบทความที่นีมเคยเขียนดูนะคะ
คำอาราธนาศีล 8
**รักษาศีล 8 เฉพาะวันพระก็พอค่ะ หากไม่สะดวกจริงๆ โดยปกติเดือนนึงจะมีวันพระ 4-5 วันเท่านั้น ถ้าให้ดีแนะนำให้ทานเจในวันพระด้วยจะยิ่งดีมากค่ะ**
1
มะยังภันเต ติสะระเณ นะสะหะ อัฏฐะสีลานิ ยาจามะ
ทุติยัมปิมะยังภันเต ติสะระเณ นะสะหะ อัฏฐะสีลานิ ยาจามะ
ตะติยัมปิมะยังภันเต ติสะระเณ นะสะหะ อัฏฐะสีลานิ ยาจามะ
(สมาทานคนเดียว เปลี่ยนคำว่า “มะยัง” เป็น “อะหัง” และ “ยาจามะ” เป็น “ยาจามิ”)
1
คำอาราธนาอุโบสถศีล
มะยังภันเต ติสะระเณ นะสะหะ อัฏฐังคะสะมันนาคะตัง,อุโปสะถัง ยาจามะ
ทุติยัมปิ มะยังภันเต ติสะระเณ นะสะหะ อัฏฐังคะสะมันนาคะตัง,อุโปสะถัง ยาจามะ
ตะติยัม มะยังภันเต ติสะระเณ นะสะหะ อัฏฐังคะสะมันนาคะตัง,อุโปสะถัง ยาจามะ
(สมาทานคนเดียว เปลี่ยนคำว่า “มะยัง” เป็น “อะหัง” และ “ยาจามะ” เป็น “ยาจามิ”)
บทไตรสรณคมน์
พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ข้าพเจ้าขอถือเอาพระพุทธเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งที่ระลึก
ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
ข้าพเจ้าขอถือเอาพระธรรม ว่าเป็นที่พึ่งที่ระลึก
สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
ข้าพเจ้าขอถือเอาพระสงฆ์ ว่าเป็นที่พึ่งที่ระลึก
ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
แม้ครั้งที่สอง ข้าพเจ้าขอถือเอาพระพุทธเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งที่ระลึก
ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
แม้ครั้งที่สอง ข้าพเจ้าขอถือเอาพระธรรม ว่าเป็นที่พึ่งที่ระลึก
ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
แม้ครั้งที่สอง ข้าพเจ้าขอถือเอาพระสงฆ์ ว่าเป็นที่พึ่งที่ระลึก
ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
แม้ครั้งที่สาม ข้าพเจ้าขอถือเอาพระพุทธเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งที่ระลึก
ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
แม้ครั้งที่สาม ข้าพเจ้าขอถือเอาพระธรรม ว่าเป็นที่พึ่งที่ระลึก
ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
แม้ครั้งที่สาม ข้าพเจ้าขอถือเอาพระสงฆ์ ว่าเป็นที่พึ่งที่ระลึก
1. ปาณาติปาตา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
ข้าพเจ้าสมาทานซึ่งสิกขาบท คือ เจตนา เว้นจากการฆ่าด้วยตนเอง และใช้ให้ผู้อื่นฆ่า
2. อทินนาทานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
ข้าพเจ้าสมาทานซึ่งสิกขาบท คือ เว้นจากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้แล้ว,ด้วยตัวเอง และใช้ให้ผู้อื่นฉ้อฉล
3. อพรัหมะจะริยา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
ข้าพเจ้าสมาทานซึ่งสิกขาบท คือ เว้นจากการประพฤติกรรมอันเป็นข้าศึกแก่พรหมจรรย์
4. มุสาวาทา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
ข้าพเจ้าสมาทานซึ่งสิกขาบท คือ เว้นจากการพูดเท็จ คำล่อลวงผู้อื่น
5. สุราเมระยะมัชชะปะมาทัฏฺฐานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
ข้าพเจ้าสมาทานซึ่งสิกขาบท คือ เว้นจากการ ดื่มน้ำเมา สุราและเมรัย อันเป็นที่ตั้งของความประมาท
6. วิกาละโภชะนา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
ข้าพเจ้าสมาทานซึ่งสิกขาบท คือ เว้นจากการบริโภคอาหารในเวลาวิกาล ( ตั้งแต่เที่ยงจนถึงรุ่งอรุณของวันใหม่ )
7. นัจจะคีตะวาทิตะ วิสูกะทัสสะนามาลาคันธะวิเลปะนะ ธาระณะ มัณฑะนะ วิภูสะนัฏฺฐานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
ข้าพเจ้าสมาทานซึ่งสิกขาบท คือ เว้นจากการตนาเป็นเครื่องเว้นจากการฟ้อนรำขับร้องและประโคมเครื่องดนตรีต่างๆและดูการละเล่นชนิดเป็นข้าศึกต่อกุศล และลูบทาทัดทรวงประดับตกแต่งร่างกายด้วยดอกไม้และของหอม อันเป็นที่ตั้งแห่งความยินดี
8. อุจจาสะยะนะมะหาสะยะนา เวระมณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
ข้าพเจ้าสมาทานซึ่งสิกขาบท คือ เว้นจากการนั่งนอนบนเตียงตั่งมีเท้าสูงเกินประมาณและที่นอนสูงใหญ่ภายในมีนุ่นและสำลี และเครื่องปูลาดอันวิจิตรงดงามต่างๆ
ทำวัตรเช้า
**หากใครสะดวกทำวัตรเช้าได้ทุกวันจะมากค่ะ
แต่ท่านใดไม่สะดวกเป็นวันพระ หรือวันหยุดก็ได้นะคะ ส่วนวันปกติที่ไม่ค่อยสะดวก หรือต้องไปทำงาน บทอาราธนาศีล 5 ก็พอค่ะ**
คำบูชาพระรัตนตรัย
โย โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ
พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์ใด เป็นพระอรหันต์ ดับเพลิงกิเลสเพลิงทุกข์สิ้นเชิง ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง
สวากขาโต เยนะ ภะคะวะตา ธัมโมพระธรรม
เป็นธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์ใด ตรัสไว้ดีแล้ว
สุปะฏิปันโน ยัสสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์ใด ปฏิบัติดีแล้ว
ตัมมะยัง ภะคะวันตัง สะธัมมัง สะสังฆัง
ข้าพเจ้าทั้งหลายขอบูชาอย่างยิ่ง ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์
อิเมหิ สักกาเรหิ ยะถาระหัง อาโรปิเตหิ อะภิปูชะยามะ
ด้วยเครื่องสักการะทั้งหลายเหล่านี้ ที่ยกขึ้นแล้วตามสมควร
สาธุ โน ภันเต ภะคะวา สุจิระปะรินิพพุโตปิ
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเจ้าแม้ปรินิพพานนานแล้ว ทรงสร้างคุณอันสำเร็จประโยชน์ไว้แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย
ปัจฉิมา ชะนะตานุกัมปะมานะสา
ทรงมีพระหฤทัยอนุเคราะห์แก่พวกข้าพเจ้า อันเป็นชนรุ่นหลัง
อิเม สักกาเร ทุคคะตะปัณณาการะภูเต ปะฏิคคัณหาตุ
ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงรับเครื่องสักการะ อันเป็นบรรณาการ ของคนยากทั้งหลายเหล่านี้
อัมหากัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ
เพื่อประโยชน์และความสุขแก่พวกข้าพเจ้าทั้งหลาย ตลอดกาลนานเทอญ.
อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา
พระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นพระอรหันต์ ดับเพลิงกิเลสเพลิงทุกข์สิ้นเชิง ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง.
พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ
ข้าพเจ้าอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน.
(กราบ)
สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม.พระธรรมเป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ดีแล้ว.
ธัมมัง นะมัสสามิข้าพเจ้านมัสการพระธรรม
(กราบ)
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ.พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า ปฏิบัติดีแล้ว
สังฆัง นะมามิ.ข้าพเจ้านอบน้อมพระสงฆ์
(กราบ)
ปุพพภาคนมการ
หันทะ มะยัง พุทธัสสะ ภะคะวะโต ปุพพะภาคะนะมะการัง กะโรมะ เส.
เชิญเถิดเราทั้งหลาย ทำความนอบน้อมอันเป็นส่วนเบื้องต้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าเถิด.
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโตขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
อะระหะโตซึ่งเป็นผู้ไกลจากกิเลส
สัมมาสัมพุทธัสสะ.ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง.
(กล่าว ๓ ครั้ง)
พุทธาภิถุติ
หันทะ มะยัง พุทธาภิถุติง กะโรมะ เส.
เชิญเถิดเราทั้งหลาย ทำความชมเชยเฉพาะพระพุทธเจ้าเถิด
โยโส ตะถาคะโตพระตถาคตเจ้านั้น พระองค์ใด
อะระหังเป็นผู้ไกลจากกิเลส
สัมมาสัมพุทโธ,เป็นผู้ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง,
วิชชาจะระณะสัมปันโนเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ
สุคะโตเป็นผู้ไปแล้วด้วยดี
โลกะวิทู,เป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง,
อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ เป็นผู้สามารถฝึกบุรุษที่สมควรฝึกได้อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า
สัตถา เทวะมะนุสสานัง เป็นครูผู้สอนของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
พุทโธ เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานด้วยธรรม
ภะคะวา. เป็นผู้มีความจำเริญ จำแนกธรรมสั่งสอนสัตว์.
โย อิมัง โลกัง สะเทวะกัง สะมาระกัง สะพรัหมะกัง, สัสสะมะณะพราหมะณิง ปะชัง สะเทวะมะนุสสัง สะยัง อะภิญญา สัจฉิกัตวา ปะเวเทสิ. พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใด ได้ทรงทำความดับทุกข์ให้แจ้ง ด้วยพระปัญญาอันยิ่งเองแล้ว ทรงสอนโลกนี้พร้อมทั้งเทวดา มาร พรหม และหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ พร้อมทั้งเทวดาและมนุษย์ให้รู้ตาม.
โย ธัมมัง เทเสสิ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใด ทรงแสดงธรรมแล้ว
อาทิกัลยาณัง ไพเราะในเบื้องต้น
มัชเฌกัลยาณัง ไพเราะในท่ามกลาง
ปะริโยสานะกัลยาณัง, ไพเราะในที่สุด,
สาตถัง สะพยัญชะนัง เกวะละปะริปุณณัง ปะริสุทธัง พรัหมะจะริยัง ปะกาเสสิ. ทรงประกาศพรหมจรรย์ คือแบบแห่งการปฏิบัติ อันประเสริฐบริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิง พร้อมทั้งอรรถะ (คำอธิบาย) พร้อมทั้งพยัญชนะ (หัวข้อ).
ตะมะหัง ภะคะวันตัง อะภิปูชะ ยามข้าพเจ้าบูชาอย่างยิ่ง เฉพาะพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
ตะมะหัง ภะคะวันตัง สิระสา นะมามิ. ข้าพเจ้านอบน้อมพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ด้วยเศียรเกล้า.
(กราบระลึกพระพุทธคุณ)
ธัมมาภิถุติ
หันทะ มะยัง ธัมมาภิถุติง กะโรมะ เส.
เชิญเถิดเราทั้งหลาย ทำความชมเชยเฉพาะพระธรรมเถิด.
โยโส สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม,พระธรรมนั้นใด เป็นสิ่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสไว้ดีแล้ว,
สันทิฏฐิโกเป็นสิ่งที่ผู้ศึกษาและปฏิบัติ พึงเห็นได้ด้วยตนเอง
อะกาลิโก เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้ และให้ผลได้ไม่จำกัดกาล
เอหิปัสสิโก, เป็นสิ่งที่ควรกล่าวกะผู้อื่นว่า ท่านจงมาดูเถิด,
โอปะนะยิโก เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว
ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิ. เป็นสิ่งที่ผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตน.
ตะมะหัง ธัมมัง อะภิปูชะยามิ ข้าพเจ้าบูชาอย่างยิ่ง เฉพาะพระธรรมนั้น
ตะมะหัง ธัมมัง สิระสา นะมามิ. ข้าพเจ้านอบน้อมพระธรรมนั้นด้วย เศียรเกล้า.
(กราบระลึกพระธรรมคุณ)
สังฆาภิถุติ
หันทะ มะยัง สังฆาภิถุติง กะโรมะ เส.
เชิญเถิดเราทั้งหลาย ทำความชมเชยเฉพาะพระสงฆ์เถิด.
โยโส สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นหมู่ใด ปฏิบัติดีแล้ว
อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใด, ปฏิบัติตรงแล้ว
ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใด, ปฏิบัติเพื่อรู้ธรรม เป็นเครื่องออกจากทุกข์แล้ว
สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ. สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระเจ้าหมู่ใด, ปฏิบัติสมควรแล้ว.
ยะทิทังได้แก่บุคคลเหล่านี้ คือ :
จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฎฐะ ปุริสะปุคคะลา, คู่แห่งบุรุษ ๔ คู่, นับเรียงตัวบุรุษได้ ๘ บุรุษ
เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, นั่นแหละสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า
อาหุเนยโย เป็นสงฆ์ควรแก่สักการะที่เขานำมาบูชา
ปาหุเนยโย เป็นสงฆ์ควรแก่สักการะที่เขาจัดไว้ต้อนรับ
ทักขิเณยโย เป็นผู้ควรรับทักษิณาทาแล้ว
อัญชลีกะระณีโย, เป็นผู้ที่บุคคลทั่วไปควรทำอัญชลี
อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสะ. เป็นเนื้อนาบุญของโลก, ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า.
ตะมะหัง สังฆัง อะภิปูชะยามิ ข้าพเจ้าบูชาอย่างยิ่ง เฉพาะพระสงฆ์หมู่นั้น
ตะมะหัง สังฆัง สิระสา นะมามิ. ข้าพเจ้านอบน้อมพระสงฆ์หมู่นั้น ด้วยเศียรเกล้า.
(กราบระลึกพระธรรมคุณ)
รตนัตตยัปปณามคาถา
หันทะ มะยัง ระตะนัตตะยัปปะณามะคาถาโย เจวะ สังเวคะ ปะริกิตตะนะ ปาฐัญจะ ภาณามะ เส.
เชิญเถิดเราทั้งหลาย กล่าวคำนอบน้อมพระรัตนตรัยและบาลีที่กำหนดเครื่องแสดงความสังเวชเถิด.
1
พุทโธ สุสุทโธ กะรุณามะหัณณะโว พระพุทธเจ้าผู้บริสุทธิ์ มีพระกรุณาดุจห้วงมหรรณพ
โยจจันตะสุทธัพ พะระญาณะโลจะโน พระองค์ใด มีตาคือญาณอันประเสริฐหมดจดถึงที่สุด
โลกัสสะ ปาปูปะกิเลสะฆาตะโก เป็นผู้ฆ่าเสียซึ่งบาป และอุปกิเลสของโลก
วันทามิ พุทธัง อะหะมาทะเรนะ ตัง. ข้าพเจ้าไหว้พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น โดยใจเคารพเอื้อเฟื้อ.
ธัมโม ปะทีโป วิยะ ตัสสะ สัตถุโน, พระธรรมของพระศาสดา สว่างรุ่งเรือง เปรียบดวงประทีป
โย มัคคะปากามะตะเภทะภินนะโก จำแนกประเภท คือ มรรค ผล นิพพาน ส่วนใด
โลกุตตะโร โย จะ ตะทัตถะทีปะโน ซึ่งเป็นตัวโลกุตตระ, และส่วนใดที่ชี้แนวแห่งโลกุตตระนั้น
วันทามิ ธัมมัง อะหะมาทะเรนะ ตัง ข้าพเจ้าไหว้พระธรรมนั้น โดยใจเคารพเอื้อเฟื้อ
สังโฆ สุเขตตาภ๎ยะติเขตตะสัญญิโต พระสงฆ์เป็นนาบุญอันยิ่งใหญ่กว่านาบุญอันดีทั้งหลาย
โย ทิฏฐะสันโต สุคะตานุโพธะโก เป็นผู้เห็นพระนิพพาน, ตรัสรู้ตามพระสุคต, หมู่ใด
โลลัปปะหีโน อะริโย สุเมธะโส เป็นผู้ละกิเลสเครื่องโลเล เป็นพระอริยเจ้า มีปัญญาดี
วันทามิ สังฆัง อะหะมาทะเรนะ ตัง. ข้าพเจ้าไหว้พระสงฆ์หมู่นั้น โดยใจเคารพเอื้อเฟื้อ.
อิจเจวะเมกันตะภิปูชะเนยยะกัง, วัตถุตตะยัง วันทะยะตาภิสังขะตัง ปุญญัง มะยา ยัง มะมะ สัพพุปัททะวา มา โหนตุ เว ตัสสะ ปะภาวะสิทธิยา. บุญใด ที่ข้าพเจ้าผู้ไหว้อยู่ซึ่งวัตถุสาม คือ พระรัตนตรัย อันควรบูชายิ่งโดยส่วนเดียว ได้กระทำแล้วเป็นอย่างยิ่งเช่นนี้ ๆ ขออุปัททวะ (ความชั่ว) ทั้งหลาย จงอย่ามีแก่ข้าพเจ้าเลย ด้วยอำนาจความสำเร็จ อันเกิดจากบุญนั้น.
สังเวคปริกิตตนปาฐะ
อิธะ ตะถาคะโต โลเก อุปปันโน พระตถาคตเจ้าเกิดขึ้นแล้ว ในโลกนี้
อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ, เป็นผู้ไกลจากกิเลส, ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง
ธัมโม จะ เทสิโต นิยยานิโก และพระธรรมที่ทรงแสดง เป็นธรรมเครื่องออกจากทุกข์
อุปะสะมิโก ปะรินิพพานิโก เป็นเครื่องสงบกิเลส, เป็นไปเพื่อปรินิพพาน
สัมโพธะคามี สุคะตัปปะเวทิโต. เป็นไปเพื่อความรู้พร้อม เป็นธรรมที่พระสุคตประกาศ.
มะยันตัง ธัมมัง สุต๎วา เอวัง ชานามะ, พวกเราเมื่อได้ฟังธรรมนั้นแล้ว จึงได้รู้อย่างนี้ว่า
ชาติปิ ทุกขา แม้ความเกิดก็เป็นทุกข์
ชะราปิ ทุกขา แม้ความแก่ก็เป็นทุกข์
มะระณัมปิ ทุกขัง, แม้ความตายก็เป็นทุกข์
โสกะปะริเทวะทุกขะ โทมะนัสสุปายาสาปิ ทุกขา, แม้ความโศก ความร่ำไรรำพัน ความไม่สบายกาย ความไม่สบายใจ ความคับแค้นใจ ก็เป็นทุกข์
อัปปิเยหิ สัมปะโยโค ทุกโขความประสบกับสิ่งไม่เป็นที่รักที่พอใจ ก็เป็นทุกข์
ปิเยหิ วิปปะโยโค ทุกโขความพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รักที่พอใจ ก็เป็นทุกข์
ยัมปิจฉัง นะ ละภะติ ตัมปิ ทุกขัง.มีความปรารถนาสิ่งใด ไม่ได้สิ่งนั้น นั่นก็เป็นทุกข์.
สังขิตเตนะ ปัญจุปาทานักขันธา ทุกขา.ว่าโดยย่อ อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ เป็นตัวทุกข์
เสยยะถีทัง.ได้แก่สิ่งเหล่านี้ คือ
รูปูปาทานักขันโธ,ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น คือ รูป
เวทะนูปาทานักขันโธ,ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น คือ เวทนา
สัญญูปาทานักขันโธ,ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น คือ สัญญา
สังขารูปาทานักขันโธ,ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น คือ สังขาร
วิญญาณูปาทานักขันโธ,ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น คือ วิญญาณ
เยสัง ปะริญญายะ,เพื่อให้สาวกกำหนดรอบรู้อุปาทานขันธ์เหล่านี้เอง
ธะระมาโน โส ภะคะวา,จึงพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เมื่อยังทรงพระชนม์อยู่
เอวัง พะหุลัง สาวะเก วิเนติ.ย่อมทรงแนะนำสาวกทั้งหลาย เช่นนี้เป็นส่วนมาก
เอวัง ภาคา จะ ปะนัสสะ ภะคะวะโต สาวะเกสุ อะนุสาสะนี,อนึ่ง คำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น.
ย่อมเป็นไปในสาวกทั้งหลาย
พะหุลา ปะวัตตะติ.ส่วนมากมีส่วน คือการจำแนกอย่างนี้ว่า.
รูปัง อะนิจจัง,รูปไม่เที่ยง
เวทะนา อะนิจจา,เวทนาไม่เที่ยง
สัญญา อะนิจจา,สัญญาไม่เที่ยง
สังขารา อะนิจจา,สังขารไม่เที่ยง
วิญญาณัง อะนิจจัง.วิญญาณไม่เที่ยง
รูปัง อะนัตตา,รูปไม่ใช่ตัวตน
เวทะนา อะนัตตา,เวทนาไม่ใช่ตัวตน
สัญญา อะนัตตา,สัญญาไม่ใช่ตัวตน
สังขารา อะนัตตา,สังขารไม่ใช่ตัวตน
วิญญาณัง อะนัตตา,วิญญาณไม่ใช่ตัวตน
สัพเพ สังขารา อะนิจจา.สังขารทั้งหลายทั้งปวงไม่เที่ยง.
สัพเพ ธัมมา อะนัตตาติ.ธรรมทั้งหลายทั้งปวงไม่ใช่ตัวตน ดังนี้.
เต (สตรีว่า ตา) มะยัง โอติณณามะหะพวกเราทั้งหลาย เป็นผู้ถูกครอบงำแล้ว
ชาติยา โดยความเกิด ชะรามะระเณนะ โดยความแก่ และความตาย
โสเกหิ ปะริเทเวหิ ทุกเขหิ โทมะนัสเสหิ อุปายาเสหิโดยความโศก ความร่ำไรรำพัน ความไม่สบายกาย ความไม่สบายใจ ความคับแค้นใจทั้งหลาย
ทุกโขติณณาเป็นผู้ถูกความทุกข์หยั่งเอาแล้ว
ทุกขะปะเรตาเป็นผู้มีความทุกข์ เป็นเบื้องหน้าแล้ว
อัปเปวะนามิมัสสะ เกวะลัสสะ ทุกขักขันธัสสะ อันตะกิริยา ปัญญาเยถาติทำไฉนการทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้
จะพึงปรากฏชัด แก่เราได้
บทสวดสำหรับอุบาสก, อุบาสิกา
จิระปะรินิพพุตัมปิ ตัง ภะคะวันตัง สะระณังคะตา,เราทั้งหลาย ผู้ถึงแล้วซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้า แม้ปรินิพพานนานแล้วพระองค์นั้น เป็นสรณะ
ธัมมัญจะ ภิกขุสังฆัญจะ,ถึงพระธรรมด้วย ถึงพระสงฆ์ด้วย
ตัสสะ ภะคะวะโต สาสะนัง, ยะถาสะติ, ยะถาพะลัง มะนะสิกะโรมะ อะนุปะฏิปัชชามะ,จักทำในใจอยู่ ปฏิบัติตามอยู่ ซึ่งคำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ตามสติกำลัง
สา สา โน ปะฏิปัตติ,ขอให้ความปฏิบัตินั้นๆ ของเราทั้งหลาย
อิมัสสะ เกวะลัสสะ ทุกขักขันธัสสะ อันตะกิริยายะ สังวัตตะตุจงเป็นไปเพื่อการทำที่สุด แห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ เทอญ
(จบคำทำวัตรเช้า)
กรวดน้ำตอนเช้า
ปัตติทานคาถา
หันทะ มะยัง ปัตติทานะคาถาโย ภะณามะ เส.
เชิญเถิดเราทั้งหลาย จงกล่าวคาถาแผ่ส่วนบุญกันเถิด.
ยา เทวะตา สันติ วิหาระวาสินี, ถูเป ฆะเร โพธิฆะเร ตะหิง ตะหิง,เทพยดาทั้งหลายเหล่าใด มีปรกติอยู่ในวิหาร สิงสถิตที่เรือนพระสถูป เรือนโพธิ์ ในที่นั้นๆ
ตา ธัมมะทาเนนะ ภะวันตุ ปูชิตา,เทพยดาทั้งหลายเหล่านั้น เป็นผู้อันเราทั้งหลายบูชาแล้วด้วยธรรมทาน,
โสตถิง กะโรนเตธะ วิหาระมัณฑะเล,ขอจงทำซึ่งความสวัสดี ในมณฑลวิหารนี้
เถรา จะ มัชฌา นะวะกา จะ ภิกขะโว,พระภิกษุทั้งหลายที่เป็นเถระก็ดี ที่เป็นปานกลางก็ดี ที่เป็นผู้บวชใหม่ก็ดี
สารามิกา ทานะปะตี อุปาสะกา,อุบาสกอุบาสิกาทั้งหลายที่เป็นทานาธิบดี พร้อมด้วยอารามิกชนก็ดี
คามา จะ เทสา นิคะมา จะ อิสสะรา,ชนทั้งหลายเหล่าใดที่เป็นชาวบ้านก็ดี ที่เป็นชาวต่างประเทศก็ดี ที่เป็นชาวนิคมก็ดี ที่เป็นอิสระเป็นใหญ่ก็ดี
สัปปาณะภูตา สุขิตา ภะวันตุ เต,ขอชนทั้งหลายเหล่านั้นจงเป็นผู้มีสุขเถิด
ชะลาพุชา เยปิ จะ อัณฑะสัมภะวา,สัตว์ทั้งหลายที่เป็นชลาพุชะกำเนิดก็ดี ที่เป็นอัณฑชะกำเนิดก็ดี
สังเสทะชาตา อะถะโวปะปาติกา,ที่เป็นสังเสทะชะกำเนิดก็ดี ที่เป็นอุปปาติกะกำเนิดก็ดี
นิยยานิกัง ธัมมะวะรัง ปะฏิจจะ เตสัตว์ทั้งหลายทั้งปวงเหล่านั้นได้อาศัยซึ่งธรรมอันประเสริฐ เป็นนิยยานิกธรรม ประกอบในอันนำผู้ปฏิบัติให้ออกจากสังสารทุกข์,
สัพเพปิ ทุกขัสสะ กะโรนตุ สังขะยัง.จงกระทำซึ่งความสิ้นไปพร้อมแห่งทุกข์เถิด.
ฐาตุ จิรัง สะตัง ธัมโมขอธรรมของสัตบุรุษทั้งหลายจงตั้งอยู่นาน
ธัมมัทธะรา จะ ปุคคะลาขอบุคคลทั้งหลายผู้ทรงไว้ซึ่งธรรม จงดำรงอยู่นาน
สังโฆ โหตุ สะมัคโควะ อัตถายะ จะ หิตายะ จะ,ขอพระสงฆ์จงมีความสามัคคีพร้อมเพรียงกัน ในอันทำซึ่งประโยชน์ และสิ่งอันเกื้อกูลเถิด,
อัมเห รักขะตุ สัทธัมโม สัพเพปิ ธัมมะจาริโนขอพระสัทธรรมจงรักษาไว้ซึ่งเราทั้งหลาย แล้วจงรักษาไว้ซึ่งบุคคลผู้ประพฤติซึ่งธรรม แม้ทั้งปวง
วุฑฒิง สัมปาปุเณยยามะ ธัมเม อะริยัปปะเวทิเต.ขอเราทั้งหลายพึงถึงพร้อมซึ่งความเจริญในธรรมที่พระอริยเจ้าประกาศไว้แล้ว.
ปะสันนา โหนตุ สัพเพปิ ปาณิโน พุทธะสาสะเน.ขอสรรพสัตว์ทั้งหลายทั้งปวง จงเป็นผู้เลื่อมใสในพระพุทธศาสนา.
สัมมาธารัง ปะเวจฉันโต กาเล เทโว ปะวัสสะตุ.ขอฝนทั้งหลายจงหลั่งลง ตกต้องตามฤดูกาล.
วุฑฒิ ภาวายะ สัตตานัง สะมิทธัง เนตุ เมทะนิง.ขอฝนจงนำความสำเร็จมาสู่พื้นปฐพี เพื่อความเจริญแก่สัตว์ทั้งหลาย.
มาตา ปิตา จะ อัตระชัง นิจจัง รักขันติ ปุตตะกัง,มารดาบิดาย่อมรักษาบุตร ที่เกิดในตนเป็นนิตย์ ฉันใด,
เอวัง ธัมเมนะ ราชาโน ปะชัง รักขันตุ สัพพะทาขอพระราชาจงปกครองประชาชนโดยชอบธรรมในกาลทุกเมื่อฉันนั้น ตลอดกาลเทอญ.
ทำวัตรเย็น
**บทนี้จะข้ามไปเลยก็ได้นะคะ แล้วไปสวดบทสวดมนต์ก่อนนอนแทนได้เลยค่ะ**
คำบูชาพระรัตนตรัย
โย โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ,
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น พระองค์ใด, เป็นพระอรหันต์, ดับเพลิงกิเลสเพลิงทุกข์สิ้นเชิง, ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง
ส๎วากขาโต เยนะ ภะคะวะตา ธัมโม, พระธรรม เป็นธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์ใด, ตรัสไว้ดีแล้ว
สุปะฏิปันโน ยัสสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์ใด, ปฏิบัติดีแล้ว
ตัมมะยัง ภะคะวันตัง สะธัมมัง สะสังฆัง,อิเมหิ สักกาเรหิ ยะถาระหัง อาโรปิเตหิ อะภิปูชะยามะ
ข้าพเจ้าทั้งหลาย, ขอบูชาอย่างยิ่งซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น,พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์,ด้วยเครื่องสักการะทั้งหลายเหล่านี้, อันยกขึ้นตามสมควรแล้วอย่างไร
สาธุ โน ภันเต ภะคะวา สุจิระปะรินิพพุโตปิ, ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ, พระผู้มีพระภาคเจ้า แม้ปรินิพพานนานแล้ว, ทรงสร้างคุณอันสำเร็จประโยชน์ ไว้แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย
ปัจฉิมา ชะนะตานุกัมปะมานะสา, ทรงมีพระหฤทัยอนุเคราะห์แก่ข้าพเจ้า อันเป็นชนรุ่นหลัง
อิเม สักกาเร ทุคคะตะปัณณาการะภูเต ปะฏิคคัณหาตุ,
ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงรับเครื่องสักการะ อันเป็นบรรณาการ ของคนยากทั้งหลายเหล่านี้
อัมหากัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ, เพื่อประโยชน์และความสุข แก่พวกข้าพเจ้าทั้งหลาย ตลอดกาลนาน เทอญฯ
อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา, พระผู้มีพระภาคเจ้า, เป็นพระอรหันต์, ดับเพลิงกิเลสเพลิงทุกข์สิ้นเชิง, ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง
พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ, ข้าพเจ้าอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้า, ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน (กราบ)
ส๎วากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม, พระธรรมเป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้า, ตรัสไว้ดีแล้ว
ธัมมัง นะมัสสามิ ข้าพเจ้านมัสการพระธรรม (กราบ)
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า, ปฏิบัติดีแล้ว
สังฆัง นะมามิ ข้าพเจ้านอบน้อมพระสงฆ์ (กราบ)
ปุพพะภาคะนะมะการะ
(หันทะ มะยัง พุทธัสสะ ภะคะวะโต ปุพพะภาคะนะมะการัง กะโรมะ เส)
เชิญเถิด เราทั้งหลาย ทำความนอบน้อมอันเป็นส่วนเบื้องต้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าเถิด
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต,อะระหะโต,สัมมาสัมพุทธัสสะ.
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต,อะระหะโต,สัมมาสัมพุทธัสสะ.
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต,ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
อะระหะโต, ซึ่งเป็นผู้ไกลจากกิเลส
สัมมาสัมพุทธัสสะ ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง
พุทธานุสสติ
(หันทะ มะยัง พุทธานุสสะตินะยัง กะโรมะ เส)
เชิญเถิด เราทั้งหลาย ทำความตามระลึกถึงพระพุทธเจ้าเถิด
ตัง โข ปะนะ ภะคะวันตัง เอวัง กัล๎ยาโณ กิตติสัทโท อัพภุคคะโต,
ก็กิตติศัพท์อันงามของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น, ได้ฟุ้งไปแล้วอย่างนี้ว่า:-
อิติปิ โส ภะคะวา, เพราะเหตุอย่างนี้ๆ, พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น
อะระหัง, เป็นผู้ไกลจากกิเลส
สัมมาสัมพุทโธ, เป็นผู้ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง
วิชชาจะระณะสัมปันโน, เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ
สุคะโต, เป็นผู้ไปแล้วด้วยดี
โลกะวิทู, เป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง
อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ, เป็นผู้สามารถฝึกบุรุษที่สมควรฝึกได้ อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า
สัตถา เทวะมะนุสสานัง, เป็นครูผู้สอนของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
พุทโธ, เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ด้วยธรรม
ภะคะวา ติ เป็นผู้มีความจำเริญ จำแนกธรรม สั่งสอนสัตว์, ดังนี้
พุทธาภิคีติ
(หันทะ มะยัง พุทธาภิคีติง กะโรมะ เส)
เชิญเถิด เราทั้งหลาย ทำความขับคาถา พรรณนาเฉพาะพระพุทธเจ้าเถิด
พุทธ๎ะวาระหันตะวะระตาทิคุณาภิยุตโต,
พระพุทธเจ้าประกอบด้วยคุณ, มีความประเสริฐ แห่งอรหันตคุณเป็นต้น
สุทธาภิญาณะกะรุณาหิ สะมาคะตัตโต,
มีพระองค์อันประกอบด้วย พระญาณ, และพระกรุณาอันบริสุทธิ์
โพเธสิ โย สุชะนะตัง กะมะลังวะ สูโร,
พระองค์ใดทรงกระทำชนที่ดี ให้เบิกบาน, ดุจอาทิตย์ทำบัวให้บาน
วันทามะหัง ตะมะระณัง สิระสา ชิเนนทัง,
ข้าพเจ้าไหว้พระชินสีห์ผู้ไม่มีกิเลสพระองค์นั้น ด้วยเศียรเกล้า
พุทโธ โย สัพพะปาณีนัง สะระณัง เขมะมุตตะมัง,
พระพุทธเจ้าพระองค์ใดเป็นสะระณะอันเกษมสูงสุด ของสัตว์ทั้งหลาย
ปะฐะมานุสสะติฏฐานัง วันทามิ ตัง สิเรนะหัง,
ข้าพเจ้าไหว้พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น อันเป็นที่ตั้งแห่งความระลึกองค์ที่หนึ่ง ด้วยเศียรเกล้า
พุทธัสสาหัส๎มิ ทาโสวะ (ทาสีวะ), คำในวงเล็บสำหรับผู้หญิงว่า พุทโธ เม สามิกิสสะโร,
ข้าพเจ้าเป็นทาสของพระพุทธเจ้า, พระพุทธเจ้าเป็นนาย มีอิสระเหนือข้าพเจ้า,
พุทโธ ทุกขัสสะ ฆาตา จะ วิธาตา จะ หิตัสสะ เม,
พระพุทธเจ้าเป็นเครื่องกำจัดทุกข์, และทรงไว้ซึ่งประโยชน์แก่ข้าพเจ้า
พุทธัสสาหัง นิยยาเทมิ สะรีรัญชีวิตัญจิทัง,
ข้าพเจ้ามอบกายถวายชีวิตนี้ แด่พระพุทธเจ้า
วันทันโตหัง (วันทันตีหัง) คำในวงเล็บสำหรับผู้หญิงว่า จะริสสามิ,
พุทธัสเสวะ สุโพธิตัง, ข้าพเจ้าผู้ไหว้อยู่จักประพฤติตาม, ซึ่งความตรัสรู้ดี ของพระพุทธเจ้า
นัตถิ เม สะระณัง อัญญัง, พุทโธ เม สะระณัง วะรัง,
สะระณะอื่นของข้าพเจ้าไม่มี, พระพุทธเจ้าเป็นสะระณะอันประเสริฐ ของข้าพเจ้า
เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ วัฑเฒยยัง สัตถุสาสะเน,
ด้วยการกล่าวคำสัตย์นี้, ข้าพเจ้าพึงเจริญในพระศาสนา ของพระศาสดา
พุทธัง เม วันทะมาเนนะ (วันทะมานายะ),
คำในวงเล็บสำหรับผู้หญิงว่ายัง ปุญญัง ปะสุตัง อิธะ
ข้าพเจ้าผู้ไหว้อยู่ซึ่งพระพุทธเจ้า, ได้ขวนขวายบุญใด ในบัดนี้
สัพเพปิ อันตะรายา เม, มาเหสุง ตัสสะ เตชะสา
อันตรายทั้งปวงอย่าได้มี แก่ข้าพเจ้า ด้วยเดชแห่งบุญนั้น
(หมอบลง)
กาเยนะ วาจายะ วะ เจตะสา วา,
ด้วยกายก็ดี ด้วยวาจาก็ดี ด้วยใจก็ดี
พุทเธ กุกัมมัง ปะกะตัง มะยา ยัง,
กรรมน่าติเตียนอันใด ที่ข้าพเจ้ากระทำแล้ว ในพระพุทธเจ้า
พุทโธ ปะฏิคคัณ๎หะตุ อัจจะยันตัง,
ขอพระพุทธเจ้าจงงดซึ่งโทษล่วงเกินอันนั้น
กาลันตะเร สังวะริตุง วะ พุทเธ
เพื่อการสำรวมระวัง ในพระพุทธเจ้า ในกาลต่อไป.
ธัมมานุสสติ
(หันทะ มะยัง ธัมมานุสสะตินะยัง กะโรมะ เส)
เชิญเถิด เราทั้งหลาย ทำความตามระลึกถึงพระธรรมเถิด
ส๎วากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม,
พระธรรมเป็นสิ่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสไว้ดีแล้ว
สันทิฏฐิโก,
เป็นสิ่งที่ผู้ศึกษาและปฏิบัติพึงเห็นได้ด้วยตนเอง
อะกาลิโก,
เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้ และให้ผลได้ ไม่จำกัดกาล
เอหิปัสสิโก,
เป็นสิ่งที่ควรกล่าวกะผู้อื่นว่า ท่านจงมาดูเถิด
โอปะนะยิโก,
เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว
ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหีติ
เป็นสิ่งที่ผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตน, ดังนี้.
ธัมมาภิคีติ
(หันทะ มะยัง ธัมมาภิคีติง กะโรมะ เส)
เชิญเถิด เราทั้งหลาย ทำความขับคาถา พรรณนาเฉพาะพระธรรมเถิด
ส๎วากขาตะตาทิคุณะโยคะวะเสนะ เสยโย, พระธรรมเป็นสิ่งที่ประเสริฐเพราะประกอบด้วยคุณ, คือความที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ดีแล้วเป็นต้น
โย มัคคะปากะปะริยัตติวิโมกขะเภโท, เป็นธรรมอันจำแนก เป็นมรรค ผลปริยัติ และนิพพาน
ธัมโม กุโลกะปะตะนา ตะทะธาริธารี, เป็นธรรมทรงไว้ซึ่งผู้ทรงธรรม จากการตกไปสู่โลกที่ชั่ว
วันทามะหัง ตะมะหะรัง วะระธัมมะเมตัง, ข้าพเจ้าไหว้พระธรรม อันประเสริฐนั้น อันเป็นเครื่องขจัดเสียซึ่งความมืด
ธัมโม โย สัพพะปาณีนัง สะระณัง เขมะมุตตะมัง, พระธรรมใดเป็นสะระณะอันเกษมสูงสุด ของสัตว์ทั้งหลาย
ทุติยานุสสะติฏฐานัง วันทามิ ตัง สิเรนะหัง,ข้าพเจ้าไหว้พระธรรมนั้นอันเป็นที่ตั้งแห่งความระลึก องค์ที่สอง ด้วยเศียรเกล้า
ธัมมัสสาหัส๎มิ ทาโสวะ (ทาสีวะ), คำในวงเล็บสำหรับผู้หญิงว่า ธัมโม เม สามิกิสสะโร, ข้าพเจ้าเป็นทาสของพระธรรม, พระธรรมเป็นนาย มีอิสระเหนือข้าพเจ้า
ธัมโม ทุกขัสสะ ฆาตา จะ วิธาตา จะ หิตัสสะ เม,พระธรรมเป็นเครื่องกำจัดทุกข์, และทรงไว้ซึ่งประโยชน์แก่ข้าพเจ้า
ธัมมัสสาหัง นิยยาเทมิ สะรีรัญชีวิตัญจิทัง, ข้าพเจ้ามอบกายถวายชีวิตนี้ แด่พระธรรม
วันทันโตหัง (วันทันตีหัง) คำในวงเล็บสำหรับผู้หญิงว่า จะริสสามิ, ธัมมัสเสวะ สุธัมมะตัง, ข้าพเจ้าผู้ไหว้อยู่จักประพฤติตาม, ซึ่งความเป็นธรรมดีของพระธรรม
นัตถิ เม สะระณัง อัญญัง, ธัมโม เม สะระณัง วะรัง,สะระณะอื่นของข้าพเจ้าไม่มี, พระธรรมเป็นสะระณะอันประเสริฐ ของข้าพเจ้า
เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ, วัฑเฒยยัง สัตถุสาสะเน, ด้วยการกล่าวคำสัตย์นี้, ข้าพเจ้าพึงเจริญในพระศาสนา ของพระศาสดา
ธัมมัง เม วันทะมาเนนะ (วันทะมานายะ), คำในวงเล็บสำหรับผู้หญิงว่า ยัง ปุญญัง ปะสุตัง อิธะ ข้าพเจ้าผู้ไหว้อยู่ซึ่งพระธรรม, ได้ขวนขวายบุญใดในบัดนี้
สัพเพปิ อันตะรายา เม, มาเหสุง ตัสสะ เตชะสา อันตรายทั้งปวงอย่าได้มี แก่ข้าพเจ้า ด้วยเดชแห่งบุญนั้น.
(หมอบลง)
กาเยนะ วาจายะ วะ เจตะสา วา, ด้วยกายก็ดี ด้วยวาจาก็ดี ด้วยใจก็ดี
ธัมเม กุกัมมัง ปะกะตัง มะยา ยัง, กรรมน่าติเตียนอันใดที่ข้าพเจ้ากระทำแล้วในพระธรรม
ธัมโม ปะฏิคคัณ๎หะตุ อัจจะยันตัง, ขอพระธรรมจงงดซึ่งโทษล่วงเกินอันนั้น
กาลันตะเร สังวะริตุง วะ ธัมเม เพื่อการสำรวมระวังในพระธรรมในกาลต่อไป
สังฆานุสสติ
(หันทะ มะยัง สังฆานุสสะตินะยัง กะโรมะ เส)
เชิญเถิด เราทั้งหลาย ทำความตามระลึกถึงพระสงฆ์เถิด
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า หมู่ใด, ปฏิบัติดีแล้ว
อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า หมู่ใด, ปฏิบัติตรงแล้ว
ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, สงฆ์สาวกของพระผู้มี พระภาคเจ้า หมู่ใด,ปฏิบัติเพื่อรู้ธรรม เป็นเครื่องออกจากทุกข์แล้ว
สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, สงฆ์สาวกของพระผู้มี พระภาคเจ้าหมู่ใด, ปฏิบัติสมควรแล้ว
ยะทิทัง, ได้แก่บุคคลเหล่านี้คือ :-
จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา, คู่แห่งบุรุษ ๔ คู่, นับเรียงตัวบุรุษได้ ๘ บุรุษ
เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,นั่นแหละ สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า
อาหุเนยโย,เป็นสงฆ์ควรแก่สักการะ ที่เขานำมาบูชา
ปาหุเนยโย,เป็นสงฆ์ควรแก่สักการะ ที่เขาจัดไว้ต้อนรับ
ทักขิเณยโย, เป็นผู้ควรรับทักษิณาทาน
อัญชะลิกะระณีโย,เป็นผู้ที่บุคคลทั่วไป ควรทำอัญชลี
อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ เป็นเนื้อนาบุญของโลก, ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ดังนี้.
สังฆาภิคีติ
(หันทะ มะยัง สังฆาภิคีติง กะโรมะ เส)
เชิญเถิด เราทั้งหลาย ทำความขับคาถา พรรณนาเฉพาะพระสงฆ์เถิด
สัทธัมมะโช สุปะฏิปัตติคุณาทิยุตโต, พระสงฆ์ที่เกิดโดยพระสัทธรรม, ประกอบด้วยคุณ มีความปฏิบัติดีเป็นต้น
โยฏฐัพพิโธ อะริยะปุคคะละสังฆะเสฏโฐ, เป็นหมู่แห่งพระอริยบุคคล อันประเสริฐแปดจำพวก
สีลาทิธัมมะปะวะราสะยะกายะจิตโต, มีกายและจิตอันอาศัยธรรม มีศีลเป็นต้นอันบวร
วันทามะหัง ตะมะริยานะ คะณัง สุสุทธัง, ข้าพเจ้าไหว้หมู่แห่งพระอริยเจ้าเหล่านั้น อันบริสุทธิ์ด้วยดี
สังโฆ โย สัพพะปาณีนัง สะระณัง เขมะมุตตะมัง, พระสงฆ์หมู่ใดเป็น- สะระณะอันเกษมสูงสุด ของสัตว์ทั้งหลาย
ตะติยานุสสะติฏฐานัง วันทามิ ตัง สิเรนะหัง, ข้าพเจ้าไหว้พระสงฆ์หมู่นั้น อันเป็นที่ตั้งแห่งความระลึก องค์ที่สาม ด้วยเศียรเกล้า
สังฆัสสาหัส๎มิ ทาโสวะ (ทาสีวะ), คำในวงเล็บสำหรับผู้หญิงว่า สังโฆ เม สามิกิสสะโร, ข้าพเจ้าเป็นทาสของพระสงฆ์, พระสงฆ์เป็นนาย มีอิสระเหนือข้าพเจ้า
สังโฆ ทุกขัสสะ ฆาตา จะ วิธาตา จะ หิตัสสะ เม, พระสงฆ์เป็นเครื่องกำจัดทุกข์, และทรงไว้ซึ่งประโยชน์แก่ข้าพเจ้า
สังฆัสสาหัง นิยยาเทมิ สะรีรัญชีวิตัญจิทัง, ข้าพเจ้ามอบกายถวายชีวิตนี้ แด่พระสงฆ์
วันทันโตหัง (วันทันตีหัง) คำในวงเล็บสำหรับผู้หญิงว่า จะริสสามิ, สังฆัสโสปะฏิปันนะตัง, ข้าพเจ้าผู้ไหว้อยู่จักประพฤติตาม, ซึ่งความปฏิบัติดีของพระสงฆ์
นัตถิ เม สะระณัง อัญญัง, สังโฆ เม สะระณัง วะรัง, สะระณะอื่นของข้าพเจ้าไม่มี, พระสงฆ์เป็นสะระณะอันประเสริฐ ของข้าพเจ้า
เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ, วัฑเฒยยัง สัตถุ สาสะเน, ด้วยการกล่าวคำสัตย์นี้, ข้าพเจ้าพึงเจริญในพระศาสนา ของพระศาสดา
สังฆัง เม วันทะมาเนนะ (วันทะมานายะ), คำในวงเล็บสำหรับผู้หญิงว่า ยัง ปุญญัง ปะสุตัง อิธะ, ข้าพเจ้าผู้ไหว้อยู่ซึ่งพระสงฆ์, ได้ขวนขวายบุญใด ในบัดนี้
สัพเพปิ อันตะรายา เม, มาเหสุง ตัสสะ เตชะสา.อันตรายทั้งปวงอย่าได้มี แก่ข้าพเจ้า ด้วยเดชแห่งบุญนั้น.
 
(หมอบลง)
กาเยนะ วาจายะ วะ เจตะสา วา, ด้วยกายก็ดี ด้วยวาจาก็ดี ด้วยใจก็ดี
สังเฆ กุกัมมัง ปะกะตัง มะยา ยัง, กรรมน่าติเตียนอันใดที่ข้าพเจ้าได้กระทำแล้วในพระสงฆ์
สังโฆ ปะฏิคคัณ๎หะตุ อัจจะยันตัง, ขอพระสงฆ์ จงงดซึ่งโทษล่วงเกินอันนั้น
กาลันตะเร สังวะริตุง วะ สังเฆ. เพื่อการสำรวมระวัง ในพระสงฆ์ในกาลต่อไป
(จบทำวัตรเย็น)
บทสวดมนต์ก่อนนอน
บทนี้คือ บทที่สำคัญครอบคลุมมากที่สุด
รองจากอาราธนาศีล 5
(นมัสการพระรัตนตรัย)
นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (สวด ๓ จบ)
(ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ซึ่งเป็นผู้ไกลจากกิเลส ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง)
(บูชาพระรัตนตรัย)
อิมินา สักกาเรนะ พุทธัง อะภิปูชะยามิ
(ข้าพเจ้าขอบูชาพระพุทธเจ้าด้วยการสักการะนี้)
อิมินา สักกาเรนะ ธัมมัง อะภิปูชะยามิ
(ข้าพเจ้าขอบูชาพระธรรมเจ้าด้วยการสักการะนี้)
อิมินา สักกาเรนะ สังฆัง อะภิปูชะยามิ
(ข้าพเจ้าขอบูชาพระสังฆเจ้าด้วยการสักการะนี้)
(กราบพระรัตนตรัย)
อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา พุทธัง ภะคะวัณตัง อภิวาเทมิ
(พระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นพระอรหันต์ ดับเพลิงกิเลสเพลิงทุกข์สิ้นเชิง ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง ข้าพเจ้าขออภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน)
(กราบ)
สะวาคะโต ภะคะวะตา ธัมโม ธัมมัง นมัสสามิ
(พระธรรม เป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ดีแล้ว ข้าพเจ้าขอนมัสการพระธรรม)
(กราบ)
สุปฏิปัณโณ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สังฆังณะมามิ
(พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า ปฏิบัติดีแล้ว ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระสงฆ์)
(กราบ)
บทขอขมาพระรัตนตรัย
วันทามิ พุทธัง สัพพะเมโทสัง ขะมะถะเม ภันเต
วันทามิ ธัมมัง สัพพะเมโทสัง ขะมะถะเม ภันเต
วันทามิ สังฆัง สัพพะเมโทสัง ขะมะถะเม ภันเต
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าขอกราบไหว้พระพุทธเจ้า เพื่อขอขมาโทษทั้งปวง ขอพระองค์จงประทานอภัยโทษแก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด
ข้าแต่พระธรรมอันเจริญ ข้าพเจ้าขอกราบไหว้พระธรรมเพื่อขอขมาโทษทั้งปวง ขอพระธรรมจงให้อภัยโทษแก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด
ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าขอกราบไหว้พระสงฆ์เพื่อขอขมาโทษทั้งปวง ขอพระสงฆ์จงให้อภัยโทษแก่้ข้าพเจ้าด้วยเถิด
(ไตรสรณคมน์)
พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
(ข้าพเจ้าขอถือเอา พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นที่พึ่งที่ระลึก)
ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
( แม้ครั้งที่สองข้าพเจ้าขอถือเอา พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นที่พึ่งที่ระลึก)
ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
( แม้ครั้งที่สามข้าพเจ้าขอถือเอา พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นที่พึ่งที่ระลึก)
บทสรรเสริญ พระพุทธคุณ
อิติปิ โส ภะคะวา (เพราะเหตุอย่างนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น) อะระหัง (เป็นผู้ไกลจากกิเลส) สัมมาสัมพุทโธ (เป็นผู้ตรัสรู้ชอบโดยพระองค์เอง) วิชชาจะระณะสัมปันโน (เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ) สุคะโต (เป็นผู้ไปแล้วด้วยดี) โลกะวิทู (เป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง) อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ (เป็นผู้สามารถฝึกบุรุษที่สมควรฝึกได้ อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า) สัตถา เทวะมนุสสานัง (เป็นครูผู้สอนของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย) พุทโธ (เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานด้วยธรรม) ภะคะวาติ. (เป็นผู้มีความจำเริญจำแนกธรรมสั่งสอนสัตว์ ดังนี้)
บทสรรเสริญ พระธรรมคุณ
สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม (พระธรรม เป็นสิ่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว) สันทิฏฐิโก (เป็นสิ่งที่ผู้ศึกษาและปฏิบัติ พึงเห็นได้ด้วยตนเอง) อะกาลิโก (เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้ และให้ผลได้ไม่จำกัดกาล) เอหิปัสสิโก (เป็นสิ่งที่ควรกล่าวกับผู้อื่นว่า ท่านจงมาดูเถิด) โอปะนะยิโก (เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว) ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหีติ. (เป็นสิ่งที่ผู้รู้ พึงรู้ได้เฉพาะตน ดังนี้ ฯ)
บทสรรเสริญ พระสังฆคุณ
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ (สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใด ปฏิบัติดีแล้ว) อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ (สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใด ปฏิบัติตรงแล้ว) ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ (สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใด ปฏิบัติเพื่อรู้ธรรมเป็นเครื่องออกจากทุกข์แล้ว) สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ (สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใด ปฏิบัติสมควรแล้ว) ยะทิทัง (ได้แก่บุคคลเหล่านี้คือ) จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา (คู่แห่งบุรุษสี่คู่ นับเรียงตัวได้แปดบุรุษ) เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ (นั่นแหละ สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า) อาหุเนยโย (เป็นผู้ควรแก่สักการะที่เขานำมาบูชา) ปาหุเนยโย (เป็นผู้ควรแก่สักการะที่จัดไว้ต้อนรับ) ทักขิเณยโย (เป็นผู้ควรรับทักษิณาทาน) อัญชะลีกะระณีโย (เป็นผู้ที่บุคคลทั่วไปควรทำอัญชลี) อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ. (เป็นเนื้อนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ดังนี้)
บทชัยมงคลคาถา (พาหุง)
ตั้งนะโม ๓ จบ
พาหุง สะหัสสะมะภินิมมิตะสาวุธันตัง
ครีเมขะลัง อุทิตะโฆระสะเสนะมารัง
ทานาทิธัมมะวิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคลานิฯ
พระจอมมุนี ได้เอาชนะพระยามารผู้เนรมิตแขนมากตั้งพัน ถืออาวุธครบมือ ขี่ช้างครีเมขละ มาพร้อมกับเหล่าเสนามารซึ่งโห่ร้องกึกก้อง ด้วยวิธีอธิษฐานถึงทานบารมี เป็นต้น,
ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแด่ท่าน ด้วยเดชแห่งพระพุทธชัยมงคลนั้นเถิดฯ
มาราติเรกะมะภิยุชฌิตะสัพพะรัตติง
โฆรัมปะนาฬะวะกะมักขะมะถัทธะยักขัง
ขันตีสุทันตะวิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิฯ
อนึ่งพระจอมมุนี ได้เอาชนะยักษ์ชื่อ อาฬวกะ ผู้มีจิตหยาบกระด้าง ผู้ไม่มีความอดทน มีความพิลึกน่ากลัวกว่าพระยามาร ซึ่งได้เข้ามาต่อสู้อย่างยิ่งยวดจนตลอดคืนยันรุ่ง ด้วยวิธีทรมานอันดี คือ ขันติ ความอดทน,
ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแด่ท่าน ด้วยเดชแห่งพระพุทธชัยมงคลนั้นเถิดฯ
นาฬาคิริง คะชะวะรัง อะติมัตตะภูตัง
ทาวัคคิจักกะมะสะนีวะ สุทารุณันตัง
เมตตัมพุเสกะวิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิฯ
พระจอมมุนี ได้เอาชนะช้างตัวประเสริฐ ชื่อ นาฬาคิรี ที่เมายิ่งนัก และแสนจะดุร้าย ประดุจไฟป่าและจักราวุธและสายฟ้า ด้วยวิธีรดลงด้วยน้ำ คือ ความมีพระทัยเมตตา,
ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแด่ท่าน ด้วยเดชแห่งพระพุทธชัยมงคลนั้นเถิดฯ
1
อุกขิตตะขัคคคะมะติหัตถะสุทารุณันตัง
ธาวันติโยชะนะปะถังคุลิมาละวันตัง
อิทธีภิสังขะตะมะโน ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิฯ
พระจอมมุนี ทรงคิดจะแสดงอิทธิฤทธิ์ปาฏิหารย์ จึงได้เอาชนะโจรชื่อ องคุลิมาล ผู้แสนจะดุร้าย มีฝีมือ ถือดาบวิ่งไล่พระองค์ไปสิ้นระยะทาง ๓ โยชน์,
ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแด่ท่าน ด้วยเดชแห่งพระพุทธชัยมงคลนั้นเถิดฯ
กัตวานะ กัฏฐะมุทะรัง อิวะ คัพภินียา
จิญจายะ ทุฎฐะวะจะนัง ชะนะกายะมัชเฌ
สันเตนะ โสมะวิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิฯ
พระจอมมุนี ได้เอาชนะคำกล่าวใส่ร้ายของ นางจิญจมาณวิกา ซึ่งทำอาการเหมือนดั่งตั้งครรภ์ เพราะเอาท่อนไม้กลมผูกไว้ที่หน้าท้อง ด้วยวิธีทรงสมาธิอันงาม คือ ความกระทำพระทัยให้ตั้งมั่นนิ่งเฉย ในท่ามกลางหมู่ชน,
ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแด่ท่าน ด้วยเดชแห่งพระพุทธชัยมงคลนั้นเถิดฯ
สัจจัง วิหายะ มะติสัจจะกะวาทะเกตุง
วาทาภิโรปิตะมะนัง อะติอันธะภูตัง
ปัญญาปะทีปะชะลิโต ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิฯ
พระจอมมุนี ผู้รุ่งเรืองด้วยแสงสว่าง คือ ปัญญา ได้เอาชนะ สัจจกะนิครนถ์ ผู้มีความคิดมุ่งหมายในอันจะละทิ้งความสัตย์ มีใจคิดจะยกถ้อยคำของตนให้สูงประดุจยกธง และมีใจมืดมนยิ่งนัก ด้วยการแสดงเทศนาให้ถูกใจ,
ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแด่ท่าน ด้วยเดชแห่งพระพุทธชัยมงคลนั้นเถิดฯ
นันโทปะนันทะภุชะคัง วิพุธัง มะหิทธิง
ปุตเตนะ เถระภุชะเคนะ ทะมาปะยันโต
อิทธูปะเทสะวิธีนา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิฯ
พระจอมมุนี ได้เอาชนะพญานาคราช ชื่อ นันโทปนันทะ ผู้มีความรู้ผิด มีฤทธิ์มาก ด้วยวิธีบอกอุบายให้พระโมคคัลลานเถระพุทธชิโนรส แสดงฤทธิ์เนรมิตกายเป็นนาคราช ไปทรมานพญานาค ชื่อ นันโทปนันทะ นั้น,
ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแด่ท่าน ด้วยเดชแห่งพระพุทธชัยมงคลนั้นเถิดฯ
ทุคคาหะทิฏฐิภุชะเคนะ สุทัฏฐะหัตถัง
พรัหมัง วิสุทธิชุติมิทะพะกาภิธานัง
ญาณาคะเทนะ วิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ
พระจอมมุนี ได้เอาชนะพระพรหมผู้มีนามว่า ท้าวผกาพรหม ผู้มีฤทธิ์ คิดว่าตนเป็นผู้รุ่งเรืองด้วยคุณอันบริสุทธิ์ ผู้ถูกพญานาครัดมือไว้แน่น เพราะมีจิตคิดถือเอาความเห็นผิด ด้วยวิธีวางยา คือ ทรงแสดงเทศนาให้ถูกใจ,
ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแด่ท่าน ด้วยเดชแห่งพระพุทธชัยมงคลนั้นเถิดฯ
เอตาปิ พุทธะชะยะมังคะละอัฏฐะคาถา
โย วาจะโน ทินะทิเน สะระเต มะตันที
หิตวานะเนกะวิวิธานิ จุปัททะวานิ
โมกขัง สุขัง อะธิคะมยยะ นะโร สะปัญโญ ฯ
บุคคลใดมีปัญญา ไม่เกียจคร้าน สวดและระลึกถึงพรุพุทธชัยมงคล ๘ คาถาเหล่านี้ทุกๆ วัน บุคคลนั้นจะพึงละความจัญไรอันตรายทั้งหลายทุกอย่างเสียได้ และเข้าถึงความหลุดพ้น คือ พระนิพพานอันบรมสุข นั้นแลฯ
บทสวดชัยปริตร (มหาการุณิโก )
มะหาการุณิโก นาโถ หิตายะ สัพพะปาณินัง ปูเรตวา ปาระมี สัพพา ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ โหตุ เต ชะยะมังคะลังฯ
ผู้เป็นที่พึ่งของสัตว์ทั้งหลาย ประกอบแล้วด้วยพระมหากรุณา ยังบารมีทั้งหลายทั้งปวงให้เต็ม เพื่อประโยชน์แก่สรรพสัตว์ทั้งหลาย ได้บรรลุสัมโพธิญาณอันอุดมแล้ว ด้วยการกล่าวคำสัตย์นี้ ขอชัยมงคลจงมีแก่ท่าน
ชะยันโต โพธิยา มูเล สักยานัง นันทิวัฑฒะโน เอวัง ตะวัง วิชะโย โหหิ ชะยัสสุ ชะยะมังคะเล อะปะราชิตะปัลลังเก สีเส ปะฐะวิโปกขะเร อะภิเสเก สัพพะพุทธานัง อัคคัปปัตโต ปะโมทะติฯ ขอท่านจงมีชัยชนะ ดุจพระจอมมุนีที่ทรงชนะมาร ที่โคนโพธิพฤกษ์ ถึงความเป็นผู้เลิศในสรรพพุทธาภิเษก ทรงปราโมทย์อยู่บนอปราชิตบัลลังก์อันสูง เป็นจอมมหาปฐพี ทรงเพิ่มพูนความยินดีแก่ เหล่าประยูรญาติศากยวงศ์ฉะนั้นเทอญ
สุนักขัตตัง สุมังคะลัง สุปะภาตัง สุหุฏฐิตัง สุขะโณ สุมุหุตโต จะ สุยิฏฐัง พรัหมะ จาริสุ ปะทักขิณัง กายะกัมมัง วาจากัมมัง ปะทักขิณัง ปะทักขิณัง มะโนกัมมัง ปะณิธี เต ปะทักขิณา ปะทักขิณานิ กัตตะวานะ ละภันตัตเถ ปะทักขิเณฯ
เวลาที่ “สัตว์” (หมายถึงสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย เช่น มนุษย์และสรรพสัตว์) ประพฤติชอบ ชื่อว่า ฤกษ์ดี มงคลดี สว่างดี รุ่งดี และขณะดี ครู่ดี บูชาดีแล้ว ในพรหมจารีบุคคลทั้งหลาย กายกรรม เป็นประทักษิณ วจีกรรม เป็นประทักษิณ มโนกรรม เป็นประทักษิณ ความปรารถนาของท่านเป็นประทักษิณ สัตว์ทั้งหลายทำกรรม อันเป็นประทักษิณแล้ว ย่อมได้ประโยชน์ทั้งหลาย อันเป็น ประทักษิณ
คาถาชินบัญชร โดยสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)
นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (3 จบ)
นึกถึงหลวงปู่โตแล้วตั้งอธิษฐาน
ปุตตะกาโมละเภปุตตัง ธะนะกาโมละเภธะนัง
อัตถิกาเยกายะญายะ เทวานังปิยะตังสุตตะวา
อิติปิโสภะคะวา ยะมะราชาโน ท้าวเวสสุวัณโณ
มรณังสุขัง อะระหังสุคะโต นะโมพุทธายะ
เริ่มบทพระคาถาชินบัญชร
ชะยาสะนากะตา พุทธา เชตวา มารัง สะวาหะนัง
จะตุสัจจาสะภัง ระสัง เย ปิวิงสุ นะราสะภา.
ตัณหังกะราทะโย พุทธา อัฏฐะวีสะติ นายะกา
สัพเพ ปะติฏฐิตา มัยหัง มัตถะเกเต มุนิสสะรา.
สีเส ปะติฏฐิโต มัยหัง พุทโธ ธัมโม ทะวิโลจะเน
สังโฆ ปะติฏฐิโต มัยหัง อุเร สัพพะคุณากะโร.
หะทะเย เม อะนุรุทโธ สารีปุตโต จะทักขิเณ
โกณฑัญโญ ปิฏฐิภาคัสมิง โมคคัลลาโน จะ วามะเก.
ทักขิเณ สะวะเน มัยหัง อาสุง อานันทะ ราหุโล
กัสสะโป จะ มะหานาโม อุภาสุง วามะโสตะเก.
เกสันเต ปิฏฐิภาคัสมิง สุริโย วะ ปะภังกะโร
นิสินโน สิริสัมปันโน โสภิโต มุนิปุงคะโว
กุมาระกัสสโป เถโร มะเหสี จิตตะ วาทะโก
โส มัยหัง วะทะเน นิจจัง ปะติฏฐาสิคุณากะโร.
ปุณโณ อังคุลิมาโร จะ อุปาลี นันทะ สีวะลี
เถรา ปัญจะ อิเม ชาตา นะลาเต ติละกา มะมะ.
เสสาสีติ มะหาเถรา วิชิตา ชินะสาวะกา
เอเตสีติ มะหาเถรา ชิตะวันโต ชิโนระสา
ชะลันตา สีละเตเชนะ อังคะมังเคสุ สัณฐิตา.
ระตะนัง ปุระโต อาสิ ทักขิเณ เมตตะ สุตตะกัง
ธะชัคคัง ปัจฉะโต อาสิ วาเม อังคุลิมาละกัง
ขันธะโมระปะริตตัญจะ อาฏานาฏิยะ สุตตะกัง
อากาเส ฉะทะนัง อาสิ เสสา ปาการะสัณฐิตา
ชินา นานาวะระสังยุตตา สัตตัปปาการะ ลังกะตา
วาตะปิตตาทะสัญชาตา พาหิรัช ฌัตตุปัททะวา.
อะเสสา วินะยัง ยันตุ อะนันตะชินะ เตชะสา
วะสะโต เม สะกิจเจนะ สะทา สัมพุทธะปัญชะเร.
ชินะปัญชะระมัชฌัมหิ วิหะรันตัง มะฮี ตะเล
สะทา ปาเลนตุ มัง สัพเพ เต มะหาปุริสาสะภา.
อิจเจวะมันโต สุคุตโต สุรักโข
ชินานุภาเวนะ ชิตุปัททะโว
ธัมมานุภาเวนะ ชิตาริสังโฆ
สังฆานุภาเวนะ ชิตันตะราโย
สัทธัมมานุภาวะปาลิโต จะรามิ ชินะ ปัญชะเรติ.
คำแปล
พระพุทธเจ้าและพระนราสภาทั้งหลาย ผู้ประทับนั่งแล้วบนชัยบัลลังก์
ทรงพิชิตพระยามาราธิราชผู้พรั่งพร้อมด้วยเสนาราชพาหนะแล้ว เสวยอมตรสคือ
อริยะสัจธรรมทั้งสี่ประการ เป็นผู้นำสรรพสัตว์ให้ข้ามพ้นจากกิเลสและกองทุกข์
มี ๒๘ พระองค์คือ พระผู้ทรงพระนามว่า ตัณหังกรเป็นต้น พระพุทธเจ้าผู้จอมมุนีทั้งหมดนั้น
ข้าพระพุทธเจ้าขออัญเชิญมาประดิษฐานเหนือเศียรเกล้า
องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ประดิษฐานอยู่บนศีรษะ
พระธรรมอยู่ที่ดวงตาทั้งสอง
พระสงฆ์ผู้เป็นอากรบ่อเกิดแห่งสรรพคุณอยู่ที่อก
พระอนุรุทธะอยู่ที่ใจพระสารีบุตรอยู่เบื้องขวา
พระโมคคัลลาน์อยู่เบื้องซ้าย พระอัญญาโกณทัญญะอยู่เบื้องหลัง
พระอานนท์กับพระราหุลอยู่หูขวา
พระกัสสะปะกับพระมหานามะอยู่ที่หูซ้าย
มุนีผู้ประเสริฐคือพระโสภิตะผู้สมบูรณ์ด้วยสิริดังพระอาทิตย์ส่องแสง
อยู่ที่ทุกเส้นขน ตลอดร่างทั้งข้างหน้าและข้างหลัง
พระเถระกุมาระกัสสะปะผู้แสวงบุญทรงคุณอันวิเศษ
มีวาทะอันวิจิตรไพเราะอยู่ปากเป็นประจำ
พระปุณณะ พระอังคุลิมาล พระอุบาลี พระนันทะ และพระสีวะลี
พระเถระทั้ง ๕ นี้ จงปรากฏเกิดเป็นกระแจะจุณเจิมที่หน้าผาก
ส่วนพระอสีติมหาเถระที่เหลือผู้มีชัยและเป็นพระโอรส
เป็นพระสาวกของพระพุทธเจ้าผู้ทรงชัย แต่ละองค์ล้วน
รุ่งเรืองไพโรจน์ด้วยเดชแห่งศีลให้ดำรงอยู่ทั่วอวัยวะน้อยใหญ่
พระรัตนสูตรอยู่เบื้องหน้าพระเมตตาสูตรอยู่เบื้องขวา
พระอังคุลิมาลปริตรอยู่เบื้องซ้าย พระธชัคคะสูตรอยู่เบื้องหลัง
พระขันธปริตร พระโมรปริตร และพระอาฏานาฏิยสูตร
เป็นเครื่องกางกั้นดุจหลังคาอยู่บนนภากาศ
อนึ่งพระชินเจ้าทั้งหลาย นอกจากที่ได้กล่าวมาแล้วนี้
ผู้ประกอบพร้อมด้วยกำลังนานาชนิด มีศีลาทิคุณอันมั่นคง
สัตตะปราการเป็นอาภรณ์มาตั้งล้อมเป็นกำแพงคุ้มครองเจ็ดชั้น
ด้วยเดชานุภาพแห่งพระอนันตชินเจ้าไม่ว่าจะทำกิจการใดๆ
เมื่อข้าพระพุทธเจ้าเข้าอาศัยอยู่ในพระบัญชรแวดวงกรงล้อม
แห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ขอโรคอุปัทวะทุกข์ทั้งภายนอกและภายใน
อันเกิดแต่โรคร้าย คือ โรคลมและโรคดีเป็นต้น
เป็นสมุฏฐานจงกำจัดให้พินาศไปอย่าได้เหลือ
ขอพระมหาบุรุษผู้ทรงพระคุณอันล้ำเลิศทั้งปวงนั้น
จงอภิบาลข้าพระพุทธเจ้า ผู้อยู่ในภาคพื้น ท่ามกลางพระชินบัญชร
ข้าพระพุทธเจ้าได้รับการคุ้มครองปกปักรักษาภายในเป็นอันดีฉะนี้แล
ข้าพระพุทธเจ้าได้รับการอภิบาลด้วยคุณานุภาพแห่งสัทธรรม
จึงชนะเสียได้ซึ่งอุปัทวอันตรายใดๆ ด้วยอานุภาพแห่งพระชินะพุทธเจ้า
ชนะข้าศึกศัตรูด้วยอานุภาพแห่งพระธรรม ชนะอันตรายทั้งปวงด้วยอานุภาพ
แห่งพระสงฆ์ ขอข้าพระพุทธเจ้าจงได้ปฏิบัติ และรักษาดำเนินไปโดยสวัสดีเป็นนิจนิรันดรเทอญฯ
บทสวด กะระณียะเมตตะสุตตัง แปล
(หันทะ มะยัง กะระณียะเมตตะสุตตะคาถาโย ภะณามะ เส)
กะระณียะมัตถะกุสะเลนะ ยันตัง สันตัง ปะทัง อะภิสะเมจจะ
-กิจอันภิกษุ(ผู้บำเพ็ญสมณธรรมอยู่ในป่า) ผู้ฉลาดในประโยชน์
ใคร่จะบรรลุสันตบทอยู่เสมอ พึงกระทำก็คือ
สักโก อุชู จะ สุหุชู จะ
-พึงเป็นผู้อาจหาญ เป็นคนตรง และเป็นคนซื่อ
สุวะโจ จัสสะ มุทุ อะนะติมานี
-เป็นผู้ว่าง่าย อ่อนโยน และไม่เย่อหยิ่ง
สันตุสสะโก จะ สุภะโร จะ
-เป็นผู้สันโดษ เป็นผู้เลี้ยงง่าย
อัปปะกิจโจ จะ สัลละหุกะวุตติ
-เป็นผู้มีกิจน้อย มีความประพฤติเบาพร้อม(คือเหมาะสม)
สันตินท๎ริโย จะ นิปะโก จะ
-มีอินทรีย์อันสงบระงับ มีปัญญารักษาตน
อัปปะคัพโภ กุเลสุ อะนะนุคิทโธ
-เป็นผู้ไม่คะนอง เป็นผู้ไม่พัวพันกับชาวบ้าน
นะ จะ ขุททัง สะมาจะเร กิญจิ เยนะ วิญญู ปะเร อุปะวะเทยยุง
-ไม่พึงประพฤติในสิ่งที่เลวทรามใดๆ
ที่เป็นเหตุให้คนอื่นซึ่งเป็นผู้รู้ ติเตียนเอาได้
สุขิโน วา เขมิโน โหตุ สัพเพ สัตตา ภะวันตุ สุขิตัตตา
-จงเจริญเมตตาจิตว่า ขอสัตว์ทั้งปวง จงเป็นผู้มีความสุขกายสุขใจ
มีแต่ความเกษมสำราญเถิด
เย เกจิ ปาณะภูตัตถิ
-สัตว์มีชีวิตทั้งหลาย ทุกเหล่าหมดบรรดามี
ตะสา วา ถาวะรา วา อะนะวะเสสา
-ที่เป็นประเภทเคลื่อนไหวได้ก็ดี ประเภทอยู่กับที่ก็ดี
ทีฆา วา เย มะหันตา วา มัชฌิมา รัสสะกา อะณุกะถูลา
-เป็นสัตว์มีขนาดลำตัวยาว ปานกลาง หรือสั้นก็ดี
เป็นสัตว์มีลำตัวใหญ่ ปานกลาง หรือเล็กก็ดี
เป็นชนิดมีลำตัวละเอียด หรือมีลำตัวหยาบก็ดี
ทิฏฐา วา เย จะ อะทิฏฐา
-เป็นจำพวกที่ได้เห็นแล้ว หรือไม่ได้เห็นก็ดี
เย จะ ทูเร วะสันติ อะวิทูเร
-เป็นผู้อยู่ในที่ไกล หรือในที่ใกล้ก็ดี
ภูตา วา สัมภะเวสี วา
-เป็นผู้ที่เกิดแล้ว หรือกำลังแสวงหาที่เกิดอยู่ก็ดี
สัพเพ สัตตา ภะวันตุ สุขิตัตตา
-ขอสัตว์ทั้งปวงนั้น จงเป็นผู้มีความสุขกายสุขใจเถิด
นะ ปะโร ปะรัง นิกุพเพถะ
-บุคคลไม่พึงข่มแหงกัน
นาติมัญเญถะ กัตถะจิ นัง กิญจิ
-ไม่พึงดูหมิ่นเหยียดหยามกัน ไม่ว่าในที่ไหนๆ
พยาโรสะนา ปะฏีฆะสัญญา นาญญะมัญญัสสะ ทุกขะมิจเฉยยะ
-ไม่พึงคิดก่อทุกข์ให้แก่กันและกัน เพราะความโกรธและความคุ้มแค้น
มาตา ยะถา นิยัง ปุตตัง อายุสา เอกะปุตตะมะนุรักเข
-มารดาถนอมบุตรคนเดียว ผู้เกิดในตน
ด้วยการยอมสละชีวิตของตนแทน ฉันใด
เอวัมปิ สัพพะภุเตสุ มานะสัมภาวะเย อะปะริมาณัง
-พึงเจริญเมตตาจิตอันกว้างใหญ่ อันหาประมาณมิได้
ในสัตว์ทั้งปวง แม้ฉันนั้นเถิด
เมตตัญจะ สัพพะโลกัส๎มิง มานะสัมภาวะเย อะปะริมาณัง
อุทธัง อะโธ จะ ติริยัญจะ อะสัมพาธัง อะเวรัง อะสะปัตตัง
-พึงเจริญเมตตาจิตอันกว้างใหญ่ อันหาขอบเขตมิได้
อันไม่มีเวร ไม่มีศัตรูคู่ภัย ไปในสัตว์โลกทั้งสิ้น ทั้งในทิศเบื้องบน
ในทิศเบื้องต่ำ และในทิศขวาง
ติฏฐัญจะรัง นิสินโน วา สะยาโน วา ยาวะตัสสะ วิคะตะมิทโธ
เอตัง สะติง อะธิฏเฐยยะ พ๎รัห๎มะเมตัง วิหารัง อิธะมาหุ
-บัณฑิตทั้งหลาย กล่าวเมตตาวิหารธรรมนี้ว่า
เป็นพรหมวิหารในพระศาสนานี้
ทิฏฐิญจะ อะนุปะคัมมะ สีละวา
-บุคคลผู้นั้น ละความเห็นผิด คือสักกายทิฐิเสียได้เป็นผู้มีศีล
ทัสสะเนนะ สัมปันโน
-ถึงพร้อมแล้ว ด้วยญาณทัสสนะ
(คือการเห็นอริยสัจ ๔ ด้วยญาณ ซึ่งเป็นองค์โสดาปัตติมรรค)
กาเมสุ วิเนยยะ เคธัง
-สามารถกำจัดความยินดีในกามทั้งหลายเสียได้ (ด้วยอนาคามิมรรค)
นะ หิ ชาตุ คัพภะเสยยัง ปุนะเรตีติฯ
-ย่อมไม่ถึงซึ่งการนอนในครรภ์อีก โดยแท้ทีเดียวแล (คือไม่กลับมาเกิดอีก)
บทสวดบารมี 30 ทัศน์
ทานะ ปาระมี สัมปันโน , ทานะ อุปะปารมี สัมปันโน , ทานะ ปะระมัตถะปารมี สัมปันโน
เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมีสัมปันโน , อิติปิ โส ภะคะวา
สีละ ปาระมี สัมปันโน , สีละ อุปะปารมี สัมปันโน , สีละ ปะระมัตถะปารมี สัมปันโน
เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมีสัมปันโน , อิติปิ โส ภะคะวา
เนกขัมมะ ปาระมี สัมปันโน , เนกขัมมะ อุปะปารมี สัมปันโน , เนกขัมมะ ปะระมัตถะปารมี สัมปันโน
เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมีสัมปันโน , อิติปิ โส ภะคะวา
ปัญญา ปาระมี สัมปันโน , ปัญญา อุปะปารมี สัมปันโน , ปัญญา ปะระมัตถะปารมี สัมปันโน
เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมีสัมปันโน , อิติปิ โส ภะคะวา
วิริยะ ปาระมี สัมปันโน , วิริยะ อุปะปารมี สัมปันโน , วิริยะ ปะระมัตถะปารมี สัมปันโน
เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมีสัมปันโน , อิติปิ โส ภะคะวา
ขันตี ปาระมี สัมปันโน , ขันตี อุปะปารมี สัมปันโน , ขันตี ปะระมัตถะปารมี สัมปันโน
เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมีสัมปันโน , อิติปิ โส ภะคะวา
สัจจะ ปาระมี สัมปันโน , สัจจะ อุปะปารมี สัมปันโน , สัจจะ ปะระมัตถะปารมี สัมปันโน
เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมีสัมปันโน , อิติปิ โส ภะคะวา
อะธิฏฐานะ ปาระมี สัมปันโน , อะธิฏฐานะ อุปะปารมี สัมปันโน , อะธิฏฐานะ ปะระมัตถะปารมี สัมปันโน
เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมีสัมปันโน , อิติปิ โส ภะคะวา
เมตตา ปาระมี สัมปันโน , เมตตา อุปะปารมี สัมปันโน , เมตตา ปะระมัตถะปารมี สัมปันโน
เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมีสัมปันโน , อิติปิ โส ภะคะวา
อุเปกขา ปาระมี สัมปันโน , อุเปกขา อุปะปารมี สัมปันโน , อุเปกขา ปะระมัตถะปารมี สัมปันโน
เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมีสัมปันโน , อิติปิ โส ภะคะวา
ทะสะ ปาระมี สัมปันโน , ทะสะ อุปะปารมี สัมปันโน , ทะสะ ปะระมัตถะปารมี สัมปันโน
เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมีสัมปันโน , อิติปิ โส ภะคะวา
พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ นะมามิหัง
บทสวด บารมี 30 ทัศน์ แปล
พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้นแล ทรงถึงพร้อมแล้ว ซึ่ง บารมีคือทาน
ทรงถึงพร้อมแล้ว ซึ่งการเกิดขึ้นแห่งทานบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งบารมีคือทานอันมีประโยชน์สูงสุดอย่างยิ่ง
ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระเมตตาบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระไมตรีบารมี
ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระกรุณาบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระมุทิตาบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระอุเบกขาบารมี
พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้นแล ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่ง บารมีคือศีล
ทรงถึงพร้อมแล้ว ซึ่งการเกิดขึ้นแห่งศีลบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งบารมีคือศีลอันมีประโยชน์สูงสุดอย่างยิ่ง
ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระเมตตาบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระไมตรีบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระกรุณาบารมี
ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระมุทิตาบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระอุเบกขาบารมี
1
พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้นแล ทรงถึงพร้อมแล้ว ซึ่ง บารมีคือเนกขัมมะ
ทรงถึงพร้อมแล้ว ซึ่งการเกิดขึ้นแห่งเนกขัมมะบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งบารมีคือเนกขัมมะอันมีประโยชน์สูงสุดอย่างยิ่ง
ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระเมตตาบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระไมตรีบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระกรุณาบารมี
ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระมุทิตาบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระอุเบกขาบารมี
พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้นแล ทรงถึงพร้อมแล้ว ซึ่ง บารมีคือปัญญา
ทรงถึงพร้อมแล้ว ซึ่งการเกิดขึ้นแห่งปัญญาบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งบารมีคือปัญญาอันมีประโยชน์สูงสุดอย่างยิ่ง
ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระเมตตาบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระไมตรีบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระกรุณาบารมี
ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระมุทิตาบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระอุเบกขาบารมี
พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้นแล ทรงถึงพร้อมแล้ว ซึ่ง บารมีคือวิริยะ
ทรงถึงพร้อมแล้ว ซึ่งการเกิดขึ้นแห่งวิริยะบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งบารมีคือวิริยะอันมีประโยชน์สูงสุดอย่างยิ่ง
ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระเมตตาบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระไมตรีบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระกรุณาบารมี
ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระมุทิตาบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระอุเบกขาบารมี
พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้นแล ทรงถึงพร้อมแล้ว ซึ่ง บารมีคือขันติ
ทรงถึงพร้อมแล้ว ซึ่งการเกิดขึ้นแห่งขันติบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งบารมีคือขันติอันมีประโยชน์สูงสุดอย่างยิ่ง
ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระเมตตาบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระไมตรีบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระกรุณาบารมี
ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระมุทิตาบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระอุเบกขาบารมี
พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้นแล ทรงถึงพร้อมแล้ว ซึ่ง บารมีคือสัจจะ
ทรงถึงพร้อมแล้ว ซึ่งการเกิดขึ้นแห่งสัจจะบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งบารมีคือสัจจะอันมีประโยชน์สูงสุดอย่างยิ่ง
ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระเมตตาบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระไมตรีบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระกรุณาบารมี
ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระมุทิตาบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระอุเบกขาบารมี
1
พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้นแล ทรงถึงพร้อมแล้ว ซึ่ง บารมีคืออธิษฐาน
ทรงถึงพร้อมแล้ว ซึ่งการเกิดขึ้นแห่งอธิษฐานบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งบารมีคืออธิษฐานอันมีประโยชน์สูงสุดอย่างยิ่ง
ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระเมตตาบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระไมตรีบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระกรุณาบารมี
ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระมุทิตาบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระอุเบกขาบารมี
พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้นแล ทรงถึงพร้อมแล้ว ซึ่ง บารมีคือเมตตา
ทรงถึงพร้อมแล้ว ซึ่งการเกิดขึ้นแห่งเมตตาบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งบารมีคือเมตตาอันมีประโยชน์สูงสุดอย่างยิ่ง
ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระเมตตาบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระไมตรีบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระกรุณาบารมี
ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระมุทิตาบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระอุเบกขาบารมี
พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้นแล ทรงถึงพร้อมแล้ว ซึ่ง บารมีคืออุเบกขา
ทรงถึงพร้อมแล้ว ซึ่งการเกิดขึ้นแห่งอุเบกขาบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งบารมีคืออุเบกขาอันมีประโยชน์สูงสุดอย่างยิ่ง
ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระเมตตาบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระไมตรีบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระกรุณาบารมี
ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระมุทิตาบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระอุเบกขาบารมี
พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้นแล ทรงถึงพร้อมแล้ว ซึ่ง บารมีคือทสบารมี
ทรงถึงพร้อมแล้ว ซึ่งการเกิดขึ้นแห่งทสบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งบารมีคือทสบารมีอันมีประโยชน์สูงสุดอย่างยิ่ง
ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระเมตตาบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระไมตรีบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระกรุณาบารมี
ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระมุทิตาบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระอุเบกขาบารมี
บทสวด โมระปะริตตัง แปล
(หันทะ มะยัง โมระปะริตตัง ภะณามะ เส)
อุเทตะยัญจักขุมา เอกะราชา
หะริสสะวัณโณ ปะฐะวิปปะภาโส
-พระอาทิตย์เป็นดวงตาของโลก เป็นเจ้าแห่งแสงสว่าง
กำลังอุทัยขึ้นมา สาดแสงสีทองส่องพื้นปฐพี
ตัง ตัง นะมัสสามิ
-เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าขอนอบน้อม ซึ่งพระอาทิตย์นั้น
หะริสสะวัณณัง ปะฐะวิปปะภาสัง
-ผู้สาดแสงสีทองส่องพื้นปฐพี
ตะยัชชะ คุตตา วิหะเรมุ ทิวะสัง
-ข้าพเจ้าทั้งหลาย อันท่านคุ้มครองแล้ว
พึงอยู่เป็นสุข ตลอดเวลากลางวันวันนี้
เย พ๎ราห๎มะณา เวทะคุ สัพพะธัมเม
-ท่านผู้ลอยบาปได้แล้ว เหล่าใด
เป็นผู้รู้จบในธรรมทั้งปวง
เต เม นะโม
-ขอท่านผู้ลอยบาปแล้วเหล่านั้น
จงรับความนอบน้อมของข้าพเจ้าเถิด
เต จะ มัง ปาละยันตุ
-ขอท่านผู้ลอยบาปแล้วเหล่านั้น โปรดรักษาข้าพเจ้าด้วยเถิด
นะมัตถุ พุทธานัง
-ความนอบน้อมของข้าพเจ้า จงมีแด่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย
นะมัตถุ โพธิยา
-ความนอบน้อมของข้าพเจ้า จงมีแด่พระโพธิสัตว์ทั้งหลาย
นะโม วิมุตตานัง
-ความนอบน้อมของข้าพเจ้า
จงมีแด่ท่านผู้หลุดพ้นแล้ว จากกิเลสทั้งหลาย
นะโม วิมุตติยา
-ความนอบน้อมของข้าพเจ้า จงมีแด่วิมุตติธรรม
อิมัง โส ปะริตตัง กัต๎วา โมโร จะระติ เอสะนา ฯ
-นกยูงนั้น กระทำปริตอันนี้แล้ว จึงเที่ยวไปแสวงหาอาหาร
อะเปตะยัญจักขุมา เอกะราชา
หะริสสะวัณโณ ปะฐะวิปปะภาโส
-พระอาทิตย์เป็นดวงตาของโลก เป็นเจ้าแห่งแสงสว่าง
กำลังลาลับไป จากการส่องแสงแก่พื้นปฐพี
ตัง ตัง นะมัสสามิ
-เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าขอนอบน้อม ซึ่งพระอาทิตย์นั้น
หะริสสะวัณณัง ปะฐะวิปปะภาสัง
-ผู้สาดแสงสีทองส่องพื้นปฐพี
ตะยัชชะ คุตตา วิหะเรมุ ทิวะสัง
-ข้าพเจ้าทั้งหลาย อันท่านคุ้มครองแล้ว
พึงอยู่เป็นสุข ตลอดเวลากลางวันวันนี้
เย พ๎ราห๎มะณา เวทะคุ สัพพะธัมเม
-ท่านผู้ลอยบาปได้แล้ว เหล่าใด
เป็นผู้รู้จบในธรรมทั้งปวง
เต เม นะโม
-ขอท่านผู้ลอยบาปแล้วเหล่านั้น
จงรับความนอบน้อมของข้าพเจ้าเถิด
เต จะ มัง ปาละยันตุ
-ขอท่านผู้ลอยบาปแล้วเหล่านั้น โปรดรักษาข้าพเจ้าด้วยเถิด
นะมัตถุ พุทธานัง
-ความนอบน้อมของข้าพเจ้า จงมีแด่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย
นะมัตถุ โพธิยา
-ความนอบน้อมของข้าพเจ้า จงมีแด่พระโพธิสัตว์ทั้งหลาย
นะโม วิมุตตานัง
-ความนอบน้อมของข้าพเจ้า
จงมีแด่ท่านผู้หลุดพ้นแล้ว จากกิเลสทั้งหลาย
นะโม วิมุตติยา
-ความนอบน้อมของข้าพเจ้า จงมีแด่วิมุตติธรรม
อิมัง โส ปะริตตัง กัต๎วา โมโร จะระติ เอสะนา ฯ
-นกยูงนั้น กระทำปริตอันนี้แล้ว จึงพักผ่อนหลับนอนแล ฯ
บทสวด ขันธะปะริตตะคาถา แปล
(หันทะ มะยัง ขันธะปะริตตัง ภะณามะ เส)
วิรูปักเขหิ เม เมตตัง
-ข้าพเจ้ามีเมตตาจิต กับงูตระกูลวิรูปักขะทั้งหลาย
เมตตัง เอราปะเถหิ เม
-ข้าพเจ้ามีเมตตาจิต กับงูตระกูลเอราปถะทั้งหลาย
ฉัพยาปุตเตหิ เม เมตตัง
-ข้าพเจ้ามีเมตตาจิต กับงูตระกูลฉัพยาปุตตะทั้งหลาย
เมตตัง กัณหาโคตะมะเกหิ จะ
-ข้าพเจ้ามีเมตตาจิต กับงูตระกูลกัณหาโคตมกะทั้งหลาย
อะปาทะเกหิ เม เมตตัง
-ข้าพเจ้ามีเมตตาจิต กับสัตว์ไม่มีเท้าทั้งหลาย
เมตตัง ทิปาทะเกหิ เม
-ข้าพเจ้ามีเมตตาจิต กับสัตว์ ๒ เท้าทั้งหลาย
จะตุปปะเทหิ เม เมตตัง
-ข้าพเจ้ามีเมตตาจิต กับสัตว์ ๔ เท้าทั้งหลาย
เมตตัง พะหุปปะเทหิ เม
-ข้าพเจ้ามีเมตตาจิต กับสัตว์ มีเท้ามากทั้งหลาย
มา มัง อะปาทะโก หิงสิ
-ขอสัตว์ไม่มีเท้า อย่าได้เบียดเบียนข้าพเจ้าเลย
มา มัง หิงสิ ทิปาทะโก
-สัตว์ ๒ เท้า ก็อย่าได้เบียดเบียนข้าพเจ้าเลย
มา มัง จะตุปปะโก หิงสิ
-ขอสัตว์ ๔ เท้า อย่าได้เบียดเบียนข้าพเจ้าเลย
มา มัง หิงสิ พะหุปปะโก
-สัตว์หลายเท้า ก็อย่าได้เบียดเบียนข้าพเจ้าเลย
สัพเพ สัตตา สัพเพ ปาณา
-ขอสัตว์ทั้งหลายทั้งปวง ผู้มีลมปราณ
สัพเพ ภูตา จะ เกวะลา
-และเหล่าภูตสัตว์ทั้งปวง ผู้หาลมปราณมิได้
สัพเพ ภัทรานิ ปัสสันตุ
-จะประสบแต่ความเจริญ ด้วยกันทั้งหมดเถิด
มา กิญจิ ปาปะมาคะมา
-อย่าได้รับโทษอันชั่วช้าใดๆ เลย
อัปปะมาโณ พุทโธ
-พระพุทธเจ้า ทรงมีพระคุณสุดที่จะประมาณ
อัปปะมาโณ ธัมโม
-พระธรรม มีพระคุณอันหาประมาณมิได้
อัปปะมาโณ สังโฆ
-พระสงฆ์ มีพระคุณที่สุดจะกำหนด
ปะมาณะวันตานิ สิริงสะปานิ
-สัตว์เลื้อยคลานทั้งหลาย อันมีประมาณคือ
อะหิ วิจฉิกา สะตะปะที
-งู แมงป่อง ตะขาบ
อุณณานาภี สะระพู มูสิกา
-แมงมุม ตุ๊กแก และหนู
กะตา เม รักขา กะตา เม ปะริตตา ปะฏิกกะมันตุ ภูตานิ
-ขอสัตว์ทั้งหลายเหล่านั้น จงหลบหลีกไปเสียเถิด
เพราะการรักษาป้องกัน อันข้าพเจ้าได้ทำไว้แล้ว
โสหัง นะโม ภะคะวะโต
-เพราะข้าพเจ้านั้น กระทำความนอบน้อม
แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าอยู่
นะโม สัตตันนัง สัมมาสัมพุทธานัง ฯ
-กระทำความนอบน้อม
แด่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ๗ พระองค์อยู่
วิธีขอขมาเทวดารักษาตัว เสริมให้เจริญรุ่งเรือง และแคล้วคลาดปลอดภัยจากอันตรายทั้งหลาย
ตั้งนะโม ๓ จบ
“ อิติสุขะคะโต อะระหังพุทโธ นะโมพุทธายะ ปะฐะวีคงคา พรหมะเทวา อินทะเทวา อังคะเทวา อาคันตุกะเทวะตา รุกขะเทวาพาลี ชัยยะมังคะลา อาจาริยัง อาจาริยะเทวา มุณีสิทธิ มาตาปิตุโร อะโรคะเยนะ สุขเขนะจะ ขะมามิหัง สาธุ สาธุ สาธุ “
ด้วยอานุภาพของพระพุทธเจ้า ด้วยอานุภาพของพระธรรม ด้วยอานุภาพของพระสงฆ์ ด้วยอานุภาพของพระรัตนตรัยทั้ง ๓ ประการนี้ ขอจงดลบันดาลให้บุญที่ข้าพเจ้าได้บำเพ็ญมาแล้วตั้งแต่อดีตชาติจนถึงปัจจุบันชาตินี้
ข้าพเจ้าขออุทิศบุญนี้ให้แก่เทวดาที่รักษาตัวของข้าพเจ้า ให้แก่เทวดาที่รักษาบ้านเรือนที่อยู่อาศัยของข้าพเจ้า ให้แก่เทวดาที่รักษากิจการค้าขายของข้าพเจ้า ถ้าท่านตกทุกข์ขอให้พ้นจากทุกข์ ถ้าท่านมีสุขขอให้มีความสุขยิ่งๆขึ้นไป จงมีแต่ความสุข ความเจริญ มีอาหารอันดี มีอาภรณ์อันเลิศ ขอให้ท่านจงมีภพมีภูมิที่สูงขึ้น และเจริญยิ่งๆขึ้นไป เมื่อได้รับผลบุญขอข้าพเจ้าแล้ว ขอจงให้ซึ่งอโหสิกรรมแก่ข้าพเจ้า และขอจงอนุโมทนาบุญกับข้าพเจ้า เมื่อท่านอนุโมทนาบุญกับข้าพเจ้าแล้ว ขอจงดลบันดาลให้ข้าพเจ้าจงมีแต่ความสุข ความเจริญ รุ่งเรืองและแคล้วคลาดปลอดภัยจากอันตรายทั้งหลาย จงมีความสำเร็จในหน้าที่การงาน การเงิน การติดต่อ การค้าขาย ขอให้ชนะศัตรูหมู่มารทั้งหลาย ขอให้เป็นที่รักของมนุษย์ทั้งหลาย และขอให้ข้าพเจ้าจงมีแต่โชคลาภอยู่เสมอ และสำเร็จดังที่ปรารถนาโดยเร็วพลันเทอญ
บทสวดพระแก้วมรกต , ร.5 , พระเจ้าตากสิน และหลวงปู่ทวด จะไม่สวดก็ได้นะคะ แต่ที่นีมสวด เพราะนับถืออยู่ค่ะ 😊
คาถาบูชาพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร (พระแก้วมรกต)
พุทธะมะหามะณีระตะนะปะฏิมากะรัง ปูเชมิ ทุติยัมปิ พุทธะมะหามะณีระตะนะปะฏิมากะรัง ปูเชมิ ตะติยัมปิ พุทธะมะหามะณีระตะนะปะฏิมากะรัง ปูเชมิ เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ มะหาเตโช เจวะ มะหาปัญโญ จะ มะหาโภโค จะ มะหายะโส จะ ภะวันตุ เม นิพพานัสสะ ปัจจะโย โหตุ
พระคาถาอธิษฐานขอพร แต่ห้ามบนบาน ร.5
"นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (3 จบ)
พระสยามะมินโท วะโร อัตตัง พุทธะสังมิ อิติ อะระหัง วะรัง พุทโธ นะโม พุทธายะ ปิโย เทวามนุสสานัง จงเป็นที่รักของมนุษย์และเทวดาทั้งหลาย ปิโย นาคะสัมปันนานัง จงบังเกิดความรักที่มีอนุภาคสูงสุด ปิโย พรหมานะมุตตะโม จงบังเกิดความรักกับผู้มีอำนาจท่านท้าวมหาพรหม เจ้าจอม อินทรา นาค ครุฑ และคนธรรพ์ ปินันทิยัง นะมามินัง ความรัก ความยินดี ความเมตตา จงบังเกิดในเรือนร่างข้าพเจ้าทุกส่วนแม้ปลายเส้นผม
"ปิยะ มะมะ นะโม พุทธายะ (5 จบ) ขอเดชะฝ่าละอองธุลีพระบาท ข้าพระพุทธเจ้า (นาย นาง นางสาว) ชื่อ...นามสกุล... ต้องการให้พระองค์ท่านช่วยเรื่อง... อิติปิโส วิเสเสอิ อิเสเส พุทธะ นาเมอิ อิเมนา พุทธะตังโสอิ อิโสตัง พุทธะปิติอิ ปิยะ มะมะ นะโม พุทธายะ (3 จบ) พระพุทธเจ้าขอรับด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะขอให้บุญบารมีขององค์เสด็จพ่อ ร.5 สูงยิ่ง ๆ ขึ้น และแกร่งกล้ายิ่ง ๆ ขึ้น"
คำบูชาสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
(นะโม 3 จบ)
อาราธนาดวงพระวิญญาณ
โอม สิโน ราชาเทวะ ชะยะตุภะวัง สัพพะศัตรู วินาสสันติ
บทสวดหลวงปู่ทวด
ตั้งนะโม 3 จบ
นะโม โพธิสัตโต อาคันติมายะ อิติภะคะวา (3 จบ) แล้วระลึกถึงท่าน
บทสวดเจ้าแม่กวนอิม
นำโมไต๋ซื้อ ไต๋ปุย กิวโค่ว กิวหลั่ง กวงไต๋เล่งก้ำ กวงสี่อิมผู่สัก (กราบ)
นำโมไต๋ซื้อ ไต๋ปุย กิวโค่ว กิวหลั่ง กวงไต๋เล่งก้ำ กวงสี่อิมผู่สัก (กราบ)
นำโมไต๋ซื่อ ไต๋ปุย กิวโค่ว กิวหลั่ง กวงไต๋เล่งก้ำ กวงสี่อิมผู่สัก (กราบ)
นำโมฮุก นำโมหวบ นำโมเจ็ง นำโมกิวโค่ว กิวหลัง กวงสี่อิมผู่สัก ทั่งจี้โต โอมเกียล้อฮวดโต เกียล้อฮวดโต เกียออฮวดโต ล้อเกียฮวดโต ล้อเกียฮวดโต ซาผ่อออ เทียงหล่อซิ้งตี่หล่อซิ้ง นั้งลี่หลั่ง หลั่งลี่ซิง เจ็กเฉียก ใจเอียงห่วยอุ่ยติ๊ง นำโมม่อออปวกเยี่ยปอล้อบิ๊ก
คำแปลบทสวดบูชาเจ้าแม่กวนอิม
ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระแม่กวนอิม มหาโพธิสัตว์ พระผู้เปี่ยมล้นด้วยพระมหาเมตตา พระมหากรุณา อันยิ่งใหญ่ไพศาล ขอได้โปรดบำบัดทุกข์โศก โรคภัยอันตรายทั้งปวง ข้าพเจ้าขอน้อมถึงพุทธานุภาพ ธรรมานุภาพ สังฆานุภาพ พระแม่กวนอิมมหาโพธิสัตว์ ขอได้โปรดขจัดปัดเป่าทุกข์โศก โรคภัยทั้งปวงให้หมดสิ้นไป ขอความสุขสมปรารถนาทุกประการจงมีแก่ข้าพเจ้า ขอเทพเจ้าเบื้องบน และเทพเจ้าเบื้องล่างทั้งหมดได้โปรดปัดเป่า ให้เวรกรรมและสรรพเคราะห์ทั้งมวลจนหมดสิ้นไป
บทอธิษฐานขออโหสิกรรม
สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)
"กายะกัมมัง วะจีกัมมัง มะโนกัมมัง สัญจิจจะกัมมัง
อะสัญจิจะกัมมัง ขะมันตุ เม อะโหสิกัมมัง ภะวะตุ เม."
กรรมใดๆ ไม่ว่าจะเป็นกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ที่ข้าพเจ้าได้ทำล่วงเกินแก่ผู้ใด ทั้งโดยตั้งใจก็ดี ไม่ได้ตั้งใจก็ดี ในภพชาติใดก็ตาม ขอให้เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลาย จงโปรดยกโทษให้เป็นอโหสิกรรมแก่ข้าพเจ้า อย่าได้จองเวรจองกรรมต่อกันอีกเลย
แม้แต่กรรมใดที่ใครๆ ทำแก่ข้าพเจ้าก็ตาม ข้าพเจ้าขออโหสิกรรมให้ทั้งสิ้น ยกถวายพระพุทธเจ้าเป็นอภัยทาน ขอจงดลใจให้เขาเหล่านั้นกลับมีเมตตาจิต คิดเป็นมิตรกับข้าพเจ้า เพื่อจะได้ไม่มีเวรกรรมต่อกันตลอดไป
ด้วยอานิสงส์แห่งอภัยทานนี้ ขอให้ข้าพเจ้าพร้อมทั้ง ครอบครัว ตลอดจนวงศาคณาญาติ ผู้มีอุปการคุณของข้าพเจ้า พ้นจากความทุกข์ยากลำบากเข็ญใจความทุกข์อย่าได้ใกล้ ความเจ็บไข้อย่าได้มี ขอได้มีความสุขสวัสดีมีชัย เสนียดจัญไรและอุปัทวันตรายทั้งหลาย จงเสื่อมสิ้นหายไป นึกคิดปรารถนาสิ่งใดที่เป็นไปโดยชอบประกอบด้วยธรรมแล้ว ขอให้สิ่งนั้นจงพลันสำเร็จ ลงพลันสำเร็จ จงพลันสำเร็จเทอญ
คำแผ่เมตตาให้แก่ตนเอง
อะหัง สุขิโต โหมิ
ขอให้ข้าพเจ้า จงเป็นผู้มีความสุขเถิด
อะหัง นิททุกโข โหมิ
ขอให้ข้าพเจ้า จงเป็นผู้ไม่มีความทุกข์
อะหัง อะเวโร โหมิ
ขอให้ข้าพเจ้า จงเป็นผู้ไม่มีเวร
อะหัง อัพยาปัชโฌ โหมิ
ขอให้ข้าพเจ้า จงเป็นผู้ไม่มีความพยาบาทเบียดเบียน
อะหัง อะนีโฆ โหมิ
ขอให้ข้าพเจ้า จงเป็นผู้ไม่มีความทุกข์กายทุกข์ใจ
สุขี อัตตานัง ปะริหะรามิฯ
ขอให้ข้าพเจ้า จงมีความสุขกายสุขใจ รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเทอญฯ
1
คำแผ่เมตตาให้แก่สรรพสัตว์
สัพเพ สัตตา อะเวรา โหนตุ
สัตว์ทั้งหลายที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น
จงเป็นสุขๆ เถิด อย่าได้มีเวรแก่กันและกันเลย
อัพญาปัชฌา โหนตุ
จงเป็นสุขๆ เถิด อย่าได้พยาบาทเบียดเบียนซึ่งกันและกันเลย
อะนีฆา โหนตุ
จงเป็นสุขๆ เถิด อย่าได้มีความทุกข์กาย ทุกข์ใจเลย
สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
จงมีความสุขกาย สุขใจ รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นนี้เทอญฯ
อิทัง เม มาตาปิตูนัง โหตุ สุขิตา โหนตุ มาตาปิตะโร
ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่มารดา บิดาของข้าพเจ้า ขอให้มารดา บิดาของข้าพเจ้ามีความสุข
อิทัง เม ญาตีนัง โหตุ สุขิตา โหนตุ ญาตะโย
ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่ญาติทั้งหลายของข้าพเจ้า ขอให้ญาติทั้งหลายของข้าพเจ้ามีความสุข
อิทัง เม คุรูปัชฌายาจริยานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ คุรูปัชฌายาจริยา
ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่ครูอุปัชฌาย์อาจารย์ของข้าพเจ้า ขอให้ครูอุปัชฌาย์อาจารย์ของข้าพเจ้ามีความสุข
อิทัง สัพพะเทวะตานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพเทวา
ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่เทวดาทั้งหลายทั้งปวง ขอให้เทวดาทั้งหลายทั้งปวงมีความสุข
อิทัง สัพพะเปตานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพ เปตา
ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่เปรตทั้งหลายทั้งปวง ขอให้เปรตทั้งหลายทั้งปวงมีความสุข
อิทัง สัพพะเวรีนัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพเวรี
ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลายทั้งปวง ขอให้เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลายทั้งปวงมีความสุข
อิทัง สัพพะสัตตานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพ สัตตา
ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง ขอให้สัตว์ทั้งหลายทั้งปวงมีความสุขทั่วหน้ากันเทอญ
คาถาเงินล้าน
(ตั้งนโม 3 จบ)
สัมปะจิตฉามิ นาสังสิโม
พรหมา จะ มหาเทวา สัพเพยักขา ปะรายันติ (คาถาปัดอุปสรรค)
พรหมา จะ มหาเทวา อภิลาภา ภะวันตุ เม (คาถาเงินแสน)
มหาปุญโญ มหาลาโภ ภะวันตุ เม (คาถาลาภไม่ขาดสาย)
มิเตพาหุหะติ (คาถาเงินล้าน)
พุทธะมะอะอุ นะโมพุทธายะ วิระทะโย วิระโคนายัง
วิระหิงสา วิระทาสี วิระทาสา วิระอิตถิโย พุทธัสสะ
มานีมามะ พุทธัสสะ สวาโหม (คาถาพระปัจเจกพุทธเจ้า)
สัมปะติจฉามิ (คาถาเร่งลาภให้ได้เร็วขึ้น)
เพ็งๆ พาๆ หาๆ ฤาๆ
ท่อง 9 จบ หรือมากกว่านี้ก็ได้
❤จุดประสงค์ของการสวดมนต์ ไม่ใช่การสวดเพื่อให้ร่ำรวย หรือมีโชคลาภ ชีวิตสุขสบาย
แต่เราควรยึดพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นที่ตั้งค่ะ
และสวดเพื่อให้คนอื่น เช่น เจ้ากรรมนายเวร วิญญาณเร่ร่อน สัมภเวสีทั้งหลาย เจ้าที่เจ้าทาง
เทวดารักษาตัว หรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายที่รอรับส่วนบุญกุศลของเราอยู่นั้น
เราจะได้รับผลบุญมากกว่าการสวดให้ตัวเองเพียงอย่างเดียวค่ะ เพราะพวกเขาไม่ว่าจะอยู่ในภพภูมิที่สูงกว่าหรือต่ำกว่าเรา แต่ไม่สามารถสวดมนต์แบบมนุษย์อย่างพวกเราได้ค่ะ
จึงต้องคอยพึ่งพาพวกเราสวดแผ่ส่วนกุศลใฟ้พวกเขาค่ะ แล้วเคราะห์กรรมแม้ไม่หมดไป แต่จะเจือจาง เจ้ากรรมนายเวรจะเปิดทิศเปิดทาง เลิกอาฆาต พยาบาทเรา
เทวดา สิ่งศักดิ์สิทธิ์ วิญญาณคุ้มครอง
อย่างที่ใครๆมักชอบพูดกันว่า ...
คนดีผีคุ้ม คือ เรื่องจริงค่ะ 😊
**เมื่อสวดมนต์จบ แนะนำให้นั่งสมาธิ 15 นาทีก่อนนอน**
ผู้เริ่มต้นนั่งสมาธิเบื้องต้น ฝึกนั่งที่ 5 นาทีก่อนนนอนก่อนก็ได้ค่ะ และค่อยเพิ่มทีละ 1 นาที หรือ 2 นาที หรือ 5 นาที แล้วแต่เลยค่ะ
เวลานั่งสมาธิ ถ้าจิตใจเราฟุ้งซ่านมากๆ แนะนำให้เปิดเพลงคลอไปด้วยนะคะ จะช่วยให้จิตใจสงบ และนั่งได้นานมากยิ่งขึ้นค่ะ
❤จุดประสงค์หลักของการนั่งสมาธิ
คือ การที่เราได้กลับมาอยู่กับตัวเอง
อยู่กับปัจจุบัน มีสติรู้ตัวทั่วพร้อมหลังจากที่จิตวุ่นวายฟุ้งซ่านมาทั้งวันแล้วค่ะ
ใครทำคนนั้นได้ค่ะ ยิ่งทำยิ่งได้
อย่ามัวแต่รับ อย่ามัวแต่ยกมือขอสิ่งศักดิ์สิทธิ์เพียงอย่างเดียว ต้องให้ท่านก่อน ให้ผู้อื่นก่อนค่ะ ยิ่งให้ยิ่งได้ แล้วสักวันเราจะได้รับกลับคืนมาเองค่ะ ❤
ขอทิ้งท้ายด้วยคลิปเสียงดีๆ จากช่องyoutube ของคุณโจโฉนะคะ
และหากใครสนใจบทสวดมนต์ฉบับปรับปรุงใหม่ พร้อมคำแปล นีมจะส่งให้ฟรี ทั้งแบบไฟล์ word และ pdf ซึ่งมี 5 ไฟล์แยกกันค่ะ
1) บทอาราธนาศีล 5
2) บทอาราธนาศีล 8
3) บททำวัตรเช้า
4) บททำวัตรเย็น
5) บทสวดมนต์ก่อนนอน
ส่วนใครที่คอมเมนต์ในบทความเก่าของนีมไว้ นีมจะส่งบทสวดมนต์ให้ทางอีเมลที่ทิ้งไว้ให้ในช่องคอมเมนต์ด้านล่างบทความนี้นะคะ
ขอให้ทุกคนโชคดี มีความสุขค่ะ
ขอบคุณที่ติดตามมาจนถึงบทความนี้นะคะ 😊
เรียบเรียงข้อมูลทั้งหมดโดย
-Neemmy BK-
โฆษณา