3 มิ.ย. 2019 เวลา 20:40 • ความคิดเห็น
”ต้นทุนในการใช้ชีวิตคนจนแพงกว่าคนรวย”
จากที่พูดมาหลายคนอาจจะมองว่าคิดไม่ถูก จะเป็นไปได้ไง คนรวยต่างหากที่ใช้ชีวิตแพงกว่าคนจน อาทิ กระเป๋าใบละหลายแสนบาท รถยนต์หรูๆ กินข้าวทีคาบละเป็นพัน แล้วจะว่าเค้าต้นทุนไม่แพงเหรอ?
...ถูกครับ คนรวยใช้สิ่งของแพง มีการกินอยู่ที่แพง แต่ที่เราจะพูดถึงคือ “ต้นทุนการใช้ชีวิต” ของเขาไม่ใช่”ลักษณะการใช้ชีวิต”ครับ
: ตัวอย่างนะครับ เช่น เงิน 300 บาท
บางคนต้องใช้เวลาทำงานถึง 8-10 ชั่วโมงหรือแทบจะค่อนวัน เพื่อจะได้เงินมา ต้นทุนของเงิน300บาท ก็คือกำลังและเวลาที่ใช้ไป
กับอีกคนที่ 300 บาทเค้าอาจจะได้มาจากการที่เค้าไม่ต้องทำงานหรือต้องลงแรงเลยอาทิ ดอกเบี้ยเงินฝาก การลงทุน ค่าเช่า เงินปันผล หรือการลงทุนด้านอื่นๆ ซึ่งสิ่งที่ผมพูดไปต้นทุนของพวกเขาเหล่านี้คือเงิน และเวลาเป็นตัวทำงาน
อันนี้ผมพูดถึงการได้มาของเงินนะครับ จากนั้นลองคิดตามนะครับว่าเส้นทางของเงิน 300 บาทที่ผมว่ามา บอกอะไรเราบ้าง
: ต่อมาพูดถึงการใช้จ่ายของพวกเขา
สำหรับคนที่ไม่ค่อยมีกำลัง ในการซื้อของแต่ละชิ้นต้นทุนจะแพงกว่า ยกตัวอย่างง่ายๆเลย เวลาไปซื้อข้าวของเครื่องใช้ เช่น กระดาษชำระ ถ้าเป็นการซื้อแต่ละครั้ง คนรวยจะซื้อทีละเป็นแพ็ค 12ชิ้น 24ชิ้น ทำให้เขาได้ราคาจะตกต่อม้วนที่10บาท
แต่สำหรับคนที่ไม่ค่อยมีกำลัง การที่จะต้องซื้อยกแพ็ค เงิน 120หรือ240 มันไม่ใช่เรื่องง่ายเลยนะครับ เขาจึงต้องซื้อทีละม้วนตามร้านของชำทั่วไป ซื้อ1ม้วนตก 15-20 บาท และนี้คือจะทำให้เห็นได้ว่า เขาต้องใช้กระดาษชำระราคา 15-20 บาท/ม้วน แต่คนที่ซื้อยกแพ็คไป ใช้ในราคา 10บาท/ม้วน เท่านั้น
และอย่างอื่นอีกมากมายนะครับ ถ้าเราคิดดีๆจะเห็นได้ว่า “ต้นทุนแฝง” ของพวกเขามีมากมายมากกว่าที่เราคิดที่เราเห็นครับ
ที่ผมยกตัวอย่างไปนี้ ก็จะทำให้เราเริ่มเห็นว่า คนที่มีเงินจำนวนมากกว่านั้น เริ่มจากที่มาของเงิน จนถึงการใช้เงิน มีส่วนต่างกับคนที่มีกำลังทรัพย์น้อย ทำให้คนที่มีอยู่แล้วเขาก็มีมากขึ้นเพราะ เงินทำงาน ต้นทุนแฝงของการใช้ชีวิตไม่แพง จึงทำให้สามารถมีเงินเก็บออม และมีเวลาไปทำอย่างอื่นเพิ่มขึ้นเพื่อสร้างช่องทางรายได้ใหม่ขึ้นมา
แต่คนที่ไม่มี ก็จะเห็นได้ว่าส่วนต่างเหล่านี้ที่เขาต้องจ่ายเพิ่ม
ก็เป็นส่วนที่ทำให้เงินที่ใช้จ่ายไปเป็นต้นทุนการใช้ชีวิตที่แพงขึ้น เวลาก็หมดไปกับที่มาของเงิน จึงแทบไม่มีเวลาไปหาเงินทางอื่นๆเลยครับ
และในท้ายนี้ “เงิน ไม่ใช่สิ่งที่สำคัญที่สุดในชีวิตก็จริง แต่เราก็ขาดมันไม่ได้เช่นกัน” ถูกมั้ยครับ😁
ปล. อันนี้เป็นเพียงความเห็นบางส่วนนะครับ จึงนำมาแชร์กัน ซึ่งอาจจะมีทั้งส่วนที่ถูกต้องหรือผิดจากบุคคลอื่นที่เราพบเจอครับ
ขอบคุณครับ🙏🏻
โฆษณา