4 มิ.ย. 2019 เวลา 11:01 • ธุรกิจ
Generic brand คืออะไร?
Generic brand คือการที่ชื่อแบรนด์สินค้าของสิ้นค้าประเภทหนึ่ง ได้กลายมาเป็นชื่อสามัญหรือชื่อที่คนทั่วไปเรียกแทนประเภทสินค้าชนิดนั้นๆ ซึ่งเป็นที่แน่นอนว่าผู้ผลิตและจำหน่ายสินค้าใดๆก็ตาม ย่อมอยากให้ผลิตภัณฑ์ของตนเองได้กลายเป็นชื่อสามัญ เพราะหมายความว่าชื่อแบรนด์ได้เข้าไปอยู่ในใจผู้ซื้อเรียบร้อยแล้ว และเมื่อผู้ซื้อต้องการซื้อสินค้าชนิดนั้นๆ ชื่อแรกที่พวกเขานึกออกก็คือชื่อสามัญนั้นเอง มันเป็นเหมือนการโฆษณาที่อยู่ในใจกลุ่มลูกค้าตลอดเวลา
มีการคาดการณ์ว่าในปี 2562 งบโฆษณาในประเทศไทยจะมีมูลค่าสูงถึง 121,286 ล้านบาท จะเห็นได้ว่ามูลค่าการโฆษณาสินค้านั้นสูงมากๆ ฉะนั้นหากสินค้าของเราขายได้โดยการที่ไม่ต้องลงทุนงบโฆษณา หรือใช้น้อยกว่าคู่แข่งย่อมเป็นเรื่องดี แต่การได้เป็น Generic brand นั้นก็ใช่ว่าจะได้กันมาง่ายๆ โดยส่วนใหญ่จะเป็นสินค้าที่คนส่วนใหญ่นิยม และเป็นเจ้าแรกๆ เป็นผู้นำตลาดในสิ้นค้าประเภทนั้นๆ ทีนี้เรามาดูตัวอย่างกันครับว่า จนถึงตอนนี้ใครถือครองชื่อสามัญของสินค้าประเภทใดบ้างในไทย
ผงซักฟอก : แฟ๊บ (เลิกผลิตและจำหน่ายแล้ว)
ผ้าอนามัย : โกเต๊กซ์ (เลิกผลิตและจำหน่ายแล้ว)
คอนกรีตผสมเสร็จ : ซีแพค CPAC
มันฝรั่งทอดกรอบ : เลย์
บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป : มาม่า
เครื่องถ่ายเอกสาร : Xerox
กระดาษโนตแปะ : โพสต์อิท
เยลลี่ถ้วย : ปีโป้
ผ้าอ้อมเด็ก : แพมเพิร์ส
ยาทากลากเกลื้อน : ซีม่า
แป้งทอดกรอบ : โกกิ
ซุปไก่ก้อน : คะนอร์
ลวดเย็บกระดาษ : แม็กซ์ MAX
นมเปรี้ยวผสมจุลินทรีย์ : Yakult
เครื่องดื่มเกลื่อแร่ : สปอนเซอร์
น้ำยาล้างจาน : ซันไลต์
ฟองน้ำล้างจาน : สก๊อตไบร์ท
เทปใส : สก๊อตเทป
ยาฆ่าแมลง : ไบก้อน
ซอสถั่วเหลือง : แม็กกี้
อย่างไรก็ดี การได้เป็น Generic brand ก็ใช่ว่าตัวสินค้าจะอยู่ยงคงกระพันและได้เป็นเจ้าตลาดเสมอไป ยกตัวอย่างเช่น แพมเพิร์ส (Pampers) จากบริษัท P&G ผู้นำผ้าอ้อมเด็กยุคใหม่แต่ไม่ได้ทำการตลาดเท่าที่ควร ทำให้หล่นหายไปจากท็อป 3 ในตลาดผ้าอ้อมเด็กในเวลาไม่นาน โดย 3 อันดับแรกตกเป็นของ มามี่ โพโค (Mamy Poko), เบบี้ เลิฟ (BabyLove) และ กูนน์ (GOO.N)
แล้วเพื่อนๆยังนึกชื่อสามัญของสินค้าอื่นๆออกบ้างมั้ยครับ มาช่วยกันแชร์ได้นะครับ
#คิดวิเคราะห์แยกแยะ
โฆษณา