5 มิ.ย. 2019 เวลา 07:56
#ทดสอบอำพัน
เนื้อหานี้เป็นประสบการณ์การทดลองของแอดมินนะครับ จากการรวบรวมความรู้หลายๆแห่งและนำมาทดลองดูด้วยตนเอง ดังนั้นอาจมีข้อผิดพลาดได้ ซึ่งท่านสามารถแนะนำเพิ่มเติมได้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้อื่นด้วยครับ 😄
อำพันเป็นที่นิยมในผู้สะสมหลายๆท่าน และก็รู้กันด้วยว่าเป็นของที่มีมูลค่าสูงด้วย แต่อำพันนั้นก็มีการปลอมมากมายในตลาด ซึ่งเราจะรู้ได้อย่างไรว่าอำพันนั้นจะเป็นของแท้หรือปลอมขึ้นจากเรซิ่น
แอดจึงลองทดลองด้วยตนเอง และนำมาแชร์ให้ทุกท่านครับ เผื่อว่าจะเป็นประโยชน์ 😄
สิ่งที่ควรรู้ก่อนเข้าสู้เนื้อหา
อำพัน(Amber)
คือยางไม้โบราณอาจมีอายุได้ถึง20-60ล้านปีหรือมากกว่านั้น จัดเป็น“อัญมณีอินทรีย์”
โคปอล(Copal)
เป็นยางไม้เช่นกันเหมือนกับอำพันแต่อายุจะน้อยกว่ามาก
และเพื่อไม่ให้เกิดความเข้าใจผิด
แอดมินจะใช้ตัวอักษร
A หมายถึงก้อนที่ออกสีเหลืองทอง
B หมายถึงก้อนที่มีสีเข้มนำ้ตาล
เพื่อเป็นการไม่ฟันธง100%ว่าอันไหนเป็นอำพัน
และอันไหนเป็นโคปอลครับ
แอดมินได้ทำการชั่งนำ้หนัก
A มีนำ้หนัก2.1กรัม
Bมีนำ้หนัก1.8กรัม
เพื่อไม่ให้เกิดความคลาดเคลื่อนอื่นครับ
หมายเหตุ
ในการทดลองนี้ไม่ได้มีการทดสอบด้วยแสงUV
แอดมินขออนุญาตไม่เปิดเผยซึ่งแหล่งอ้างอิงในการหาข้อมูลของแอดมินนะครับ เนื่องจากแต่ละแหล่งก็ให้ข้อมูลที่ต่างกันพอสมควร
แต่แอดจะสรุปตามความเข้าใจของแอดมินในข้อ
จากการค้นคว้า
1.ทดสอบด้วยอะซิโทน (Acetone) Acetone หาได้ง่ายในนำ้ยาล้างเล็บครับ ท่านสามารถนำมาหยดเพื่อทดสอบได้
ผลการทดลองพบว่า
Bจะขึ้นเป็นสีขาวคืนมาอย่างชัดเจน และแอดมินลองพยายามล้างออก ก็ไม่ออกด้วย เมื่อสัมผัสจะรู้สึกหนืดๆกับมือ
ส่วนAไม่มีอะไรเกิดขึ้น
*จากการค้นคว้า
อำพันจะสามารถทดต่อสารเหล่านี้ยกเว้นที่ปลอมขั้นสูงวิธีนี้จะดูได้ยาก ส่วนโคปอลนั้นจะเป็นสีขาวขึ้นมาอย่างขัดเจน และจะมีความรู้สึกหนืดๆมือ
ข้อดีของการใข้วิธีนี้
-อุปกรณ์หาซื้อได้ง่าย
ข้อเสีย
-หาวิธีขจัดคาบขาวออกไม่ได้
อาจทำให้เกิดการเสียดายของ 😭
2.ทดสอบด้วยการลอยนำ้เกลือ เป็นอีกวิธีหนึ่งที่สามารถทำได้ง่ายเช่นกันโดยใช้เกลือแกงที่บ้านผสมกับนำ้อุ่นเพื่อให้ละลายง่ายขึ้น
แอดมินใช้เกลือ23กรัมผสมกับนำ้200ml ก็พบว่า
AและBลอยนำ้ขึ้นมาทั้งคู่
*จากการค้นคว้า
มีข้อมูลบอกว่าอำพันสามารถพบได้ตามชายฝั่งทะเล และลอยกลางทะเล
ตามข้อมูลแบบวิทยาศาสตร์สาเหตุที่เป็นเช่นนั้นเพราะอำพันมีความหนาแน่นน้อย(1.05-1.13)
นำ้เค็มมีความหนาแน่นมากกว่าอำพันจึงลอย
แต่ในขณะเดียวกันนั้น
โคปอลความหนาแน่นก็น้อยใกล้เคียงกับอำพัน(1.01-1.08)
แต่มีข้อมูลเพิ่มเติมว่าเรซิ่นนั้นก็จะจมนำ้
ทั้งนี้ยังมีบอกบางข้อมูลอีกว่าสิ่งเจือป่นในอำพันก็สามารถทำให้ความหนาแน่นมากกว่านำ้เค็มได้
ข้อดี
-อุปกรณ์หาซื้อได้ง่ายมาก
ข้อเสีย
-การเกิดความคลาดเคลื่อนนั้นมีได้มากจึงยากต่อการสรุปผล
3.การถูด้วยผ้านุ่มๆ เป็นอีกวิธีที่ทำได้ง่ายเช่นกันครับ เพียงนำผ้ามาถูๆไปเรื่อยๆ ในกรณีของแอดมินแอดใช้ผ้าเช็ดแว่น
ผลการทดลองพบว่า
Aมีกลิ่นเล็กน้อยไม่มีปฏิกิริยาอื่นๆ มีไฟฟ้าสถิตเล็กน้อย
Bมีกลิ่นออกมาเล็กน้อย แต่ตอนถูจะรู้สึกว่ามีความหนืดเกิดขึ้น เวลาแตะก็รู้สึกหนืดนิดหน่อยด้วย
ข้อดี
-ทำได้ง่าย เห็นผลชัด
ข้อเสีย
อาจเกิดความคลาดเคลื่อนได้
4..ทดสอบด้วยการล้นไฟ วิธีการนี้อาจต้องใช้ความใจกล้าสักนิดนะครับ 😄 โดยการนำไฟมาล้น
ผลการทดลองพบว่า Aจะละลายได้ยากกว่ามากเมื่อถูกความร้อน ควันจะเป็นสีขาว กลิ่นจะเหม็นคล้ายเผายาง (ภาพล่าง) Bเห็นได้ชัดเลยว่าละลายเร็วกว่ามาก อีกทั้งยังมีฟองอากาศเกิดขึ้น ควันออกสีขาว กลิ่นจะออกหอมเหมือนไม้.
จากการค้นคว้า
ในกรณีนี้สามารถทดลองได้ด้วยเข็มล้นไฟแล้วนำมาจี้ โคปอลและเรซิ่นจะละลายเร็วกว่าอย่างเห็นได้ชัด อีกทั้งเรซิ่นจะกลิ่นเหม็น
ซึ่งข้อมูลเรื่องสีควันและกลิ่นก็มีความคลาดเคลื่อน อยู่ประมาณหนึ่งในแต่ละแหล่งข้อมูล
ข้อดี
-สามารถทำได้ง่าย
ข้อเสีย
-ทำให้เกิดความเสียหายได้
-มีโอกาสการคลาดเคลื่อนสูง
เพิ่มเติม
ความแข็งโคปอลและอำพันน้อย อยู่ที่2-3ตามสเกลโมสห์ ซึ่งตามหลักเล็บจะขูดเข้า
แต่แอดมินลองใช้เล็บขูด Aดู้หมือนจะไม่เข้า เหมือนเป็นลื่นๆมากกว่า แต่Bให้ผลคล้ายคลึงกัน
แต่รู้สึกเล็บจะขูดเข้ามากกว่า
เพราะมีเสียงแคร๊กดังขึ้น
สรุปผลทั้งหมด
วิธีทดลอง. A. B
1.หยดAcetone ไม่เกิดปฏิกิริยา. มีคาบขาว
2.ลอยนำ้เกลือ. ลอย. ลอย
3.ถูด้วยผ้านุ่ม. มีไฟฟ้าสถิตเล็กน้อย. หนืดขึ้น
4.ล้นไฟ. ละลายยาก . ละลายง่าย
โฆษณา