***ประโยชน์ของยางนา
1.น้ำมันยางจากต้นสามารถนำมาใช้โดยตรงเพื่อใช้ผสมชันไม้อื่น ๆ ใช้ยาเครื่องจักสานกันน้ำรั่ว ยาแนวเรือเพื่ออุดรอยรั่ว ทาไม้ ใช้ผสมขี้เลื่อยจุดไฟ หรือใช้ทำไต้จุดไฟส่องสว่าง (ของใช้สำหรับจุดไฟให้สว่าง หรือทำเป็นเชื้อเพลิง ทำด้วยไม้ผุหรือเปลือกเสม็ดคลุกกับน้ำมันยาง แล้วนำมาห่อด้วยใบไม้เป็นดุ้นยาว ๆ หรือใส่กระบอก)ใช้เดินเครื่องยนต์แทนน้ำมันขี้โล้ ใช้ทำน้ำมันชักเงา ฯลฯ หรือนำมาใช้เป็นส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์อื่น ๆ เช่น สีทาบ้าน หมึกพิมพ์
2.น้ำมันยางเป็นอีกหนึ่งสินค้าส่งออกที่สำคัญของประเทศไทย ซึ่งปัจจุบันชาวบ้านก็ยังมีการเก็บหากันอยู่ แต่ก็ยังไม่พอใช้จนต้องนำเข้ามาจากต่างประเทศเพิ่มเติม
3.เนื้อไม้ยางนาสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการก่อสร้างอาคารบ้านเรือนได้ดี ยิ่งเมื่อนำมาอาบน้ำยาให้ถูกต้องก็จะช่วยทำให้มีความทนทานมากขึ้น สามารถนำไปใช้กับงานภายนอกได้ทนทานนับ 10 ปี ด้วยเหตุที่ไม้ยางนาเป็นไม้ขนาดใหญ่ เปลาตรง สูง และไม่ค่อยมีกิ่งก้าน การตัดไม้ยางนามาใช้จึงได้เนื้อไม้มาก โดยเนื้อไม้ที่ได้จะมีความแข็งปานกลาง สามารถนำมาเลื่อยไสกบตกแต่งให้เรียบได้ง่าย ด้วยเหตุนี้จึงมีการใช้ประโยชน์จากไม้ยางนากันมาตั้งแต่อดีต โดยนิยมนำมาเลื่อยทำเสาบ้าน รอด ตง ไม้พื้น ไม้ระแนง ไม้คร่าว โครงหลังคา ฝ้าเพดาน เครื่องเรือนต่าง ๆ ทำรั้วบ้าน ทำเรือขุด เรือขนาดย่อม แจว พาย กรรเชียง รวมไปถึงตัวถังเกวียน ถังไม้ หมอนรองรางรถไฟ ฯลฯ แต่ในปัจจุบันการใช้ประโยชน์จากเนื้อไม้ยางนาที่สำคัญคือการนำไปทำเป็นไม้อัดและแผ่นใยไม้อัด จนไม่เพียงพอต่อการใช้งาน และต้องนำเข้ามาจากต่างประเทศบางส่วนด้วย
4.ลำต้นใช้ทำไม้ฟืน ถ่านไม้
5.ไม้ยางนาจะขึ้นอยู่ในพื้นที่ที่มีเชื้อเห็ดราไมคอร์ไรซาส์ (Micorrhyzas) ซึ่งเป็นตัวเอื้อประโยชน์ในการเจริญเติบโต โดยเชื้อราเหล่านี้จะสร้างดอกเห็ดเมื่อมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม โดยเฉพาะในช่วงฝนแรกของทุกปีจะมีดอกเห็ดหลายชนิดให้หาเก็บมารับประทานได้มากมาย เช่น เห็ดชะโงกเหลือง เห็ดเผาะ เห็ดน้ำหมาก เห็ดยาง เป็นต้น
6.ใช้ปลูกเป็นไม้ประดับตามสองฝั่งถนน เพื่อความสวยงาม และปลูกเพื่อประโยชน์ทางด้านนิเวศ ให้ร่มเงา กำบังลม ให้ความชุ่มชื้น ควบคุมอุณหภูมิในอากาศ ป้องกันการพังทลายของหน้าดิน ฯลฯ ******* บทความพิเศษ อ้างอิงข้อมูลประวัติความเป็นมาของเทศบาลตำบลยางเนิ้ง เผยว่า ในอดีต อ.สารภี จ.เชียงใหม่ ไม่ได้ถูกเรียกว่า สารภีดั่งปัจจุบัน แต่มีชื่อเรียกว่า อ.ยางเนิ้ง เนื่องจากคำว่า “เนิ้ง” ในภาษาเหนือแปลว่า “การโน้มเอียง” เป็นลักษณะเดียวกับที่ต้นยางได้โน้มเอียงเข้าหากัน จนปรากฏเป็นอุโมงค์พฤกษายักษ์
กระทั่งเมื่อปี พ.ศ. 2470 หรือ 85 ปีก่อน ท้าวพระยาขุนพร้อมด้วยราษฎรในพื้นที่ ได้เสนอต่ออำมาตย์ตรีพันธุราษฎร ซึ่งถือเป็นนายอำเภอในสมัยนั้น ขอให้เปลี่ยนชื่ออำเภอเสียใหม่ เนื่องจาก คำว่า “ยางเนิ้ง” แลไม่ไพเราะ จึงได้ลงมติเปลี่ยนชื่อจาก “อำเภอยางเนิ้ง” เป็น “อำเภอสารภี” ตามชื่อดอกสารภี ที่มีอยู่แพร่หลายในพื้นที่แห่งนี้ในเวลาต่อมา และให้คำว่า “ยางเนิ้ง” ไปเป็นชื่อของตำบล กลายเป็น ต.ยางเนิ้ง อ.สารภี จ.เชียงใหม่ จวบจนปัจจุบัน
ระลึกถึงประวัติศาสตร์ ผ่านข้อมูลของ น.อ.คัมภีร์ คัมภีรญาณนนท์ เรื่อง เจ้านายฝ่ายเหนือ ระบุว่า เรื่องการปลูกต้นยางบนถนนสายเชียงใหม่-สารภี ตามที่สันนิษฐาน ระบุว่า เริ่มมีการปลูกตั้งแต่ปี พ.ศ.2442 รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ครั้งนั้น สยามประเทศได้มีการเปลี่ยนแปลงระบบการปกครองจากเมืองประเทศราชมาเป็นการปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาล โดยมอบหมายให้ข้าหลวงจากรัฐบาล เข้ามาปกครองแทนเจ้านครเชียงใหม่ในเวลานั้น ซึ่งตรงกับปลายสมัยเจ้าอินทวโรรสสุริยวงษ์ ซึ่งเป็นเจ้านครเชียงใหม่ องค์ที่ 8 แห่งราชวงศ์ทิพย์จักร หรือ ราชวงศ์เจ้าเจ็ดตน **** การวิจัยเบื้องต้นนิภาพร ยังพบว่าในเมล็ดยางนายังมีสารบางตัวที่มีฤทธิ์เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ รักษาโรคบางชนิดได้อีกด้วย ส่วนต้นให้น้ำมันมาก ในต้นอายุ 25 ปีขึ้นไป 1 ต้นให้น้ำมันเฉลี่ย 500 มล. สามารถนำมากลั่นเป็นไบโอดีเซล ผสมกับไบโอดีเซลจากน้ำมันพืชอัตรา 1:1 ใช้แทนดีเซลในเครื่องยนต์ได้ กิ่ง ใบแห้ง แต่ละต้น ๆ ละ 1 ตัน สามารถนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงหุงต้มในครัวเรือน ไบโอซาร์ ถ่านอัดแท่ง เชื้อเพลิงชีวมวล ผลิตเป็นไฟฟ้าชุมชน ส่วนยางนานอกจากสรรพคุณทางยามากมายแล้ว สารสกัดจากยางนา 1 กก. สามารถขายให้บริษัทผลิตเครื่อง สำอาง ที่ได้ราคาสูงถึง กก.ละ 30,000 บาทอีกด้วย.