8 มิ.ย. 2019 เวลา 05:43 • ปรัชญา
คุณเคยได้ยินแนวคิดเรื่อง
"การศึกษาแบบฝากธนาคาร" (The banking concept in education) กันหรือไม่ ? 🧐
ในขณะที่การเมืองไทย..พรรคฝ่ายรัฐบาลกำลังเปิดดีลตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกรดเอกันอย่างเข้มข้น ..
เก้าอี้รมว.กระทรวงศึกษาธิการ ได้เข้ามาเป็นเงื่อนไขหนึ่งที่ทางพรรคประชาธิปัตย์ยื่นขอต่อพรรคพลังประชารัฐ ในขณะนี้ ..
ผู้เขียนเมื่อเห็นชื่อกระทรวงศึกษาธิการ จึงนึกอยากจะเล่าสู่กันฟังในแนวคิดที่เกี่ยวกับการศึกษาเชิงวิพากษ์ ที่น่าสนใจ นั่นก็คือ ..
แนวคิดเรื่อง "การศึกษาแบบฝากธนาคาร" (The banking concept in education)
The banking concept in education - Paulo Freire
"การศึกษาแบบฝากธนาคาร" (The banking concept in education) 📕
ระบบการศึกษาไทยนั้นเรามักใช้รูปแบบการประเมิณวัดผลการเรียนรู้ในรูปแบบคำถาม "ถูกหรือผิด" ซึ่งมันได้สะท้อนให้เห็นถึงแนวคิดเรื่องการศึกษาแบบฝากธนาคารที่ถูกเสนอโดย นักปรัชญาชาวบลาซิล ชื่อว่า เปาโล แฟร์ (Paulo Freire) ในหนังสือที่มีชื่อว่า “Pedagogy of the Oppressed.”
Paulo Freire - Brazilian Philosopher
โดยแนวคิดการศึกษาแบบฝากธนาคาร คือ ...
วิธีการเรียนและสอนที่ผู้เรียนเป็นเสมือนธนาคารคอยทำหน้าที่รับฝากความรู้จากผู้สอนเท่านั้น
ภายในชั้นเรียนนักเรียนมีหน้าที่หลัก คือ จดจำและทดสอบความรู้ที่ครูเป็นคนมอบให้ เด็กจะไม่มีส่วนร่วมภายในชั้นเรียนนอกเสียจากคอยซึมซับและรับข้อมูลจากครูเท่านั้น
ดังนั้น.. เมื่อเราหันกลับมามองระบบการศึกษาของไทยที่มีลำดับขั้นที่แตกต่างระหว่างผู้สอนและผู้เรียนนั้น พูดง่าย ๆ คือ ผู้ที่มีอำนาจมากกว่า (ผู้สอน) สามารถนำความรู้ที่ตนเองเชื่อและคิดว่าเหมาะสมไปฝากไว้กับผู้เรียนและวัดผลความรู้ด้วยวิธีการใช้คำถามประเภท "ถูกหรือผิด"
ในปัจจุบันแนวคิดการศึกษาแบบธนาคารนี้ ถูกมองว่าเป็นวิธีการที่ไม่ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงใด ๆ ให้แก่สังคมและผู้เรียน
ผู้เรียนนั้นสมควรที่จะได้รับการสนับสนุนที่เหมาะสมกับตัวตนของตนเองตามที่ควรจะเป็น โดยระบบการศึกษาแบบฝากธนาคารจะทำให้ผู้เรียนไม่สามารถพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์และวิพากษ์ให้เกิดขึ้นได้เลย..
Paulo Freire's book - Pedagogy of the oppressed (1968)
** ผู้เขียนมีความเห็นว่า .. ชุดความรู้ในโลกปัจจุบันนั้นไม่ได้มีชุดความรู้ที่ถูกต้องเพียงชุดเดียวเสมอไป หากในความเป็นจริงความรู้นั้นมีความไหลเลื่อนไปตามบริบทสังคมที่ความรู้นั้นปรากฏอยู่
โดยการเรียนการสอนที่มุ่งสอนเด็กเรียนรู้เพียงแค่สองกรอบ (ถูกและผิด) จะเป็นสิ่งที่ทำลายความรู้ความนึกคิดและสติปัญญาของผู้เรียน เพราะฉะนั้นรูปแบบการวัดและประเมินผลการเรียนรู้จึงสมควรที่จะได้รับการพิจารณาและเปลี่ยนแปลงมาสู่การเรียนและการสอบที่มีลักษณะเสริมสร้างให้ผู้เรียนเป็นผู้ที่ชอบคิด สงสัย ตั้งคำถาม ทดสอบ พิสูจน์เพื่อหาเหตุและผล รวมไปถึงการแลกเปลี่ยนความคิดและยอมรับความเห็นซึ่งกันและกัน รูปแบบการเรียนการสอนในลักษณะนี้จะเป็นการเตรียมเด็กเพื่อเป็นพลเมืองที่ดีและมีคุณภาพของสังคมได้
ดังนั้น.. ผู้เขียนอยากจะเน้นย้ำว่า การพัฒนาเด็กในระบบการศึกษาไทย 'ควร ' ที่จะหลุดพ้นจากรูปแบบการเรียนการสอนแบบ 'ฝากธนาคาร' อีกทั้งยังต้องสร้างและปลูกฝังแนวคิดเชิงวิพากษ์ให้แก่เด็กอีกด้วย
ครูคาดหวังว่าคุณทุกคนจะพึ่งพาตัวเองได้ มีความคิดที่สร้างสรรค์ เป็นผู้ที่มีความคิดแบบวิพากษ์ ..ใครสามารถที่จะทำตามที่ครูพูดได้ ?
ฝากติดตามและเป็นกำลังใจให้เพจ ไม้ขีดไฟ ด้วยนะครับ .. สามารถคอมเม้นท์พูดคุยแลกเปลี่ยนกันได้นะครับ ขอบคุณครับผม
โฆษณา