8 มิ.ย. 2019 เวลา 16:29 • การศึกษา
“คุณมีสิทธิที่จะไม่พูด แต่ถ้าคุณพูด คำพูดของคุณจะถูกนำไปใช้ในชั้นศาล”
21
เคยสงสัยไหมว่าทำไมเวลา ตำรวจในหนัง Hollywood หรือในซีรี่ย์ฝรั่งประเภทสืบสวนสอบสวน CSI Miami หรือ ชิคาโกพีดี ชอบพูดคำนี้ มันมีที่มาที่ไปอย่างไร และทำไมถึงต้องพูดทุกครั้งที่เข้าจับกุมผู้ต้องหา
“คุณมีสิทธิที่จะไม่พูด สิ่งที่คุณพูดอาจถูกใช้ในการพิจารณาคดีกับคุณในชั้นศาล คุณมีสิทธิที่จะมีทนายความ ถ้าคุณไม่สามารถจ้างทนายได้ ศาลจะแต่งตั้งทนายให้กับคุณ เมื่อคุณได้ทราบถึงสิทธินี้แล้วคุณพร้อมที่จะตอบคำถามในข้อกล่าวหาที่มีต่อคุณอีกหรือไม่?”
6
จริงๆ แล้วคำพูดนี้มันใช้ในการปฏิบัติงานจริงของเจ้าหน้าที่ตำรวจที่อเมริกาและที่น่าสนใจ คือ ประโยคนี้มันมีที่มาที่ไปจาก “ผู้ร้าย" ครับอ่านไม่ผิดครับ คำพูดนี้มาจากผู้ร้ายรายหนึ่งที่มีชื่อว่านาย
"Ernesto Arturo Miranda” (มิรันด้า)
2
เรื่องราวเริ่มต้นในปี ๑๙๖๓ เมื่อนาย Miranda ไปถูกจับในข้อหาลักพาตัวและข่มขืน สาววัย ๑๘ คนหนึ่งเมื่อเขาถูกจับไปสอบปากคำกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ เขาก็ให้การและรับสารภาพเรื่องที่เกิดขึ้นทั้งหมด ตำรวจก็ส่งเรื่องให้อัยการและฟ้องศาลตามปกติ
สุดท้ายศาลชั้นต้นตัดสินลงโทษติดคุกตามกฎหมายเรียบร้อย ตามที่นาย Miranda ได้รับสารภาพไว้
เรื่องก็ดูเหมือนจะไม่มีอะไร แต่มันก็มีอะไรเมื่อต่อมา ทนายของนาย Miranda ได้มาให้การต่อสู้ในชั้นอุทธรณ์ว่า“ลูกความของเขาไม่ได้รับการบอกกล่าวจากตำรวจก่อนว่า เขามีสิทธิที่จะไม่พูด หรือ มีสิทธิที่จะมีทนายอยู่ด้วยตอนที่จะให้การใด ๆ ดังนั้นคำรับสารภาพของนาย Miranda จึงไม่สามารถรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้”
แต่ศาลอุทธรณ์ยังคงยืนยันตามศาลชั้นต้น คือไม่รับฟังข้อต่อสู้ของทนายความ และตัดสินให้นาย Miranda ต้องรับผิดติดคุกต่อไปแต่ทนายของนาย Miranda ยังไม่ยอม เลยยื่นฎีกาไปที่ศาลฎีกา
ซึ่งศาลฎีกา(5ต่อ4เสียง)ของอเมริกาก็ได้พิจารณาและตัดสินคดีนี้ในปี ๑๙๖๖ (พ.ศ.๒๕๐๙) โดยมีใจความสำคัญว่า"คำให้การทั้งหมดของนาย Miranda ที่ให้การต่อตำรวจนั้น ไม่สามารถใช้เป็นพยานหลักฐานได้เลย เนื่องจากไม่เคยมีการแจ้งสิทธิที่จะไม่พูดหรือสิทธิที่จะมีทนายให้นาย Miranda ทราบก่อนที่จะให้การ”สุดท้ายศาลจึงพิพากษายกฟ้อง และนาย Miranda ก็ได้รับการปล่อยตัวไปในสุด
3
โดยหัวหน้าคณะผู้พิพากษาวอร์เรนได้ให้เหตุผลว่า
“…ในแต่ละคดีจำเลยถูกพาเข้าไปสู่ภาวะที่ไม่คุ้นเคยและต้องผ่านกระบวนการสอบสวนของเจ้าหน้าที่ตำรวจที่น่าเกรงกลัว ความเป็นไปได้ที่จะเกิดการบีบบังคับจึงเป็นสิ่งที่คาดหมายได้มาก …. แต่ข้อเท็จจริงที่ปรากฏในคดีเหล่านี้ไม่พบว่าเจ้าพนักงานจะจัดให้มีมาตรการรักษาสิทธิของจำเลยในการสอบสวน ตั้งแต่ต้นเพื่อให้แน่ใจว่าคำให้การที่ได้มาเป็นผลมาจากความสมัครใจโดยแท้จริงของจำเลยเอง…(ควรจะเตือนเขาก่อนทุกครั้ง)”
คดี Miranda V. Arizona (รัฐอริโซน่า) จึงเป็นที่รู้จัก และถกเถียงอย่างยิ่งในประเทศสหรัฐอเมริกาขณะนั้น เพราะหลายคนมองว่าสิทธิงี่เง่าแบบนี้ทำให้โจรอย่างนาย Miranda หลุดจากคุกมาได้
แต่เมื่อศาลฎีกาตัดสินถึงที่สุดแล้ว ทุกคนก็ต้องยอมรับ และใช้คดีนี้เป็นบรรทัดฐานต่อไป
อย่างไรก็ตาม คนที่ทำไม่ดีก็ย่อมได้รับผลกรรม ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง เพราะต่อมานาย Miranda ภายหลังถูกปล่อยตัวออกมาในปี ๑๙๗๖ เขาก็ถูกทำร้ายในบาร์แห่งหนึ่งจนเสียชีวิตในที่สุด
2
ส่วนคำว่า Miranda Rights ถูกนำมาใช้อ้างถึงสิทธิของผู้ต้องหาที่ตำรวจจะต้องแจ้งให้ผู้ต้องหาทราบทุกครั้งซึ่งตำรวจก็มักจะพกโน้ตสั้น ๆ ที่เรียกว่า Miranda Warning ไปเวลาออกไปจับกุมคนร้าย แล้วก็จะอ่านสิทธิดังกล่าวให้ผู้ต้องหาฟังว่า … แล้วตบท้ายว่าถามย้ำว่าเข้าใจหรือเปล่า ?
1
อ่านมาถึงตรงนี้แล้วอยากรู้ไหมว่า.. แล้วประเทศไทยของเรามี Miranda Warning แบบที่อเมริกาหรือไม่ ?
1
ประเทศไทยก็มีหลัก Miranda Rights นั้นอยู่ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา พ.ศ.๒๕๔๗ (ซึ่งเรามีกฎนี้หลังอเมริกาแค่ ๒๕๔๗ - ๒๕๐๙ = ๓๘ ปีเอง)
ดังนั้น หากเราโดนเจ้าหน้าที่ตำรวจจับกุม ลองฟังดูนะครับว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจพูด Miranda Warning ที่ระบุไว้ในกฎหมาย ฟังหรือไม่
โดยในประเทศไทยบังคับให้เจ้าหน้าที่ตำรวจต้องแจ้งสิทธิดังกล่าวถึง ๒ ครั้งด้วยกัน คือในชั้นจับกุมตัว และในชั้นสอบสวนของพนักงานสอบสวน
แต่กฎข้อนี้ก็มีข้อยกเว้น ในกรณีที่ผู้ร้ายยิงต่อสู้ก็คงไม่ต้องถึงขนาด ตะโกนแจ้งสิทธิให้ผู้ต้องหาทราบก่นที่จะยิงกันก่อน
1
ถ้าไม่พูด เราก็สามารถไปต่อสู้ในชั้นศาลได้ว่า คำให้การของเราในชั้นพนักงานสอบสวนไม่สามารถรับฟังได้ครับแต่ทางที่ดี ผมคิดว่าเราอย่าทำผิด และให้ตำรวจจับเลยจะดีที่สุด จริงไหมครับ ?
2
#ร้อยเวรอยากจะแจ้งเตือน คุณมีสิทธิที่จะไม่พูด เพราะทุกๆคำที่พูดจะเป็นหลักฐานมัดใจคุณ^^
4
Line today
ขอบคุณข้อมูลจาก facebook lawinspiration
โฆษณา