13 มิ.ย. 2019 เวลา 01:52 • ธุรกิจ
การทำงานโดยใช้หลักการ PDCA
หัวใจสำคัญของการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
PDCA อาจจะได้ยินบ่อยๆสำหรับคนที่ทำงานร่วมกับองค์กรญี่ปุ่น หรือกำลังศึกษาวัฒนธรรมการทำงานของคนญี่ปุ่น เดิมทีหลักการนี้เกิดจากแนวคิดของคนอเมริกา ซึ่งภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่ญี่ปุ่นยอมแพ้สงคราม และอยู่ภายใต้การควบคุมโดยสหรัฐอเมิรกา อีกทั้งควบคุมกิจการภายในของประเทศ รวมถึงอุตสาหกรรมยานยนต์ และให้แนวคิดการทำงานของคนอมเมริกากับคนญี่ปุ่น ถึงการแก้ปัญหาและการหาสาเหตุของปัญหา แต่ด้วยวัฒนธรรมที่ต่างกัน จึงทำให้แนวคิดนั้นอาจจะไม่เหมาะสมกับคนญี่ปุ่นนัก แต่แล้วบริษัทผลิตรถยนต์ยักษ์ใหญ่ได้นำแนวคิดต่อยอด และพัฒนาให้เหมาะสมกับคนญี่ปุ่น อีกทั้งสามารถใช้ได้อย่างประสิทธิภาพ โดย PDCA ก็เป็นหนึ่งในนั้น
มาทำความรู้จัก PDCA หรือที่เรียกว่าวงจรเดมิง (Deming Cycle) หรือวงจรชูฮาร์ต (Shewhart Cycle) กัน
P – Plan (วางแผน)
D – Do (ทำ)
C – Check (ตรวจสอบ)
A – Action (ลงมือปฎิบัติ)
ภาพจาก​ https://www.siteware.com
P – Plan วางแผน
คือ วางแผนการทำงานก่อน รวมถึงการคาดการณ์สิ่งที่เกิดขึ้นภายหลัง ผลกระทบที่เกิดขึ้นด้วย
D – Do ทำ
คือ ลงมือทำตามที่วางแผน โดยจดบันทึกการทำงานเป็นข้อมูลและเป็นหลักฐานเก็บไว้
C – Check ตรวจสอบ
คือ การตรวจสอบหลังจากเสร็จสิ้นลงมือทำในขั้นตอนแรกว่า เป็นไปตามที่วางแผนหรือไม่? ผลการลงมือทำเป็นไปตามที่คาดการณ์หรือไม่?
ในขั้นตอนการตรวจสอบนี้จะมีหลักการหนึ่งที่ชื่อว่า 3Mu​ (มุ) คือ
Muda หรือความสูญเปล่า
อาจเกิดได้หลายแบบ เช่น ความสูญเปล่าที่เกิดจากการรอ การเคลื่อนย้าย การปรับเปลี่ยน การทำใหม่ การถกเถียง เช่น การประชุมอาจเกิดความสูญเปล่าได้ หากการประชุมนั้นกลายเป็นการถกเถียงกัน ทำให้เสียเวลาไปกับการประชุมที่ไม่ได้ข้อสรุป หรือในการทำกิจกรรมการขาย ถ้าไม่มีการวางแผนในการจัดพื้นที่การไปพบลูกค้า ก็จะเสียเวลาในการเดินทางและสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายโดยไม่จำเป็น
1
Mura คือ ความไม่สม่ำเสมอ
หากทำงานด้วยความไม่สม่ำเสมอตั้งแต่กระบวนการทำงาน ปริมาณงาน หรือ อารมณ์ในการทำงาน ผลของงานย่อมเกิดความไม่สม่ำเสมอ กระบวนการที่ถูกขัดจังหวะไม่ราบรื่น ดังนั้น คนทำงานจึงต้องมีความพร้อมในการทำงาน พร้อมด้านความรู้ ความเข้าใจ พร้อมด้านทัศนคติ และพร้อมด้านอารมณ์ ผลของงานที่ออกมาจะเป็นไปตามมาตรฐาน
Muri คือ การฝืนทำ
อาจจะเกิดจากความเครียด ความเหนื่อยยาก สภาพความพร้อมของปัจจัยด้านต่างๆ รวมถึง การดำเนินการที่ไม่สอดคล้องกับข้อกำหนดหรือแนวปฏิบัติที่เหมาะสม การฝืนทำสิ่งใดๆ ที่สุดวิสัยความสามารถมักจะทำให้เกิดผลกระทบในระยะยาว เช่น การวางแผนงานที่เป็นไปได้ยากในการปฏิบัติ ความไม่เหมาะสมในการวางแผนงาน ความไม่สอดคล้องกันในเรื่องของปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง อย่างเรื่องของเวลา ทรัพยากร และปริมาณงาน อาจจะก่อให้เกิดการทำงานให้เสร็จๆ ไปอย่างไม่ตั้งใจ หรือ การทำงานที่ฝืนความสามารถของตนทั้งความรู้ ร่างกาย และจิตใจ การทำงานล่วงเวลาเป็นประจำ เป็นการฝืนร่างกายซึ่งไม่เป็นผลดีในระยะยาว อาจทำให้ร่างกายอ่อนเพลีย ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง
ภาพจาก​ https://seminardd.com
A – Action ลงมือปฎิบัติ
คือ การนำส่วนของ Check มาปรับปรุง ให้เป็นกระบวนการทำงานที่เหมาะสมยิ่งๆขึ้น ให้เกิดเป็นการกระทำอีกครั้ง ซึ่งผลอาจจะเข้าใกล้เป้าหมายมากขึ้นก็เป็นได้
และกระบวนจะหมุนไปเรื่อยๆ เพราะกระบวนการทำงานนั้นไม่สิ้นสุด และต้องหากระบวนที่เหมาะสมที่สุด ดีที่สุด ได้คุณภาพมากที่สุด
ผลที่ได้รับจากการทำ PDCA คือ
หลักๆ​ จะสามารถให้ชิ้นงานมีคุณภาพมากขึ้น และสามารถเห็นว่า เราบกพร่องส่วนใด และต้องพัฒนาหรือปรับปรุงส่วนใด พร้อมทั้งเป็นการหาวิธีในการพัฒนาความสามารถของเรา
ในบทความตอนต่อไป​
เราจะมารู้จักความหมายของ​ 3Mu​ ให้มากยิ่งขึ้นนะครับ
โฆษณา