15 มิ.ย. 2019 เวลา 03:31 • การศึกษา
เย้ย วาฬเป็นญาติกับน้องฮิปโปโปเตมัส!
เรามารู้จักชื่อและหน้าตาบรรพบุรุษของวาฬกันดีกว่าค่ะ😊
”ตอนที่ 7 : วิวัฒนาการของวาฬและโลมา”
Photo reference : Ambulocetus (https://en.m.wikipedia.org/wiki/Ambulocetus)
ฮิปโปโปเตมัสเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่อาศัยทั้งบนบกและในน้ำ ที่กินพืชเป็นอาหาร ว้าวๆ แอดก็แปลกใจอยู่บ้างที่พบว่าฮิปโปเป็นญาติกับวาฬและโลมา แทนที่จะเป็นพะยูน หรือแมวน้ำซะอีก
Photo reference : Hipopotamus (https://en.m.wikipedia.org/wiki/Hippopotamus)
โดยฮิปโปก็เป็นสัตว์บกที่ใหญ่เป็นอันดับ 3 รองจากช้างและแรด 😂 ดูท่าว่าสัตว์ที่เกี่ยวค่องกับน้องวาฬนี่ใหญ่ๆ ทั้งนั้นเลยค่ะ
ฮิปโปและบรรพบุรุษวาฬกำเนิดมาพร้อมกันบนโลกราวๆ 55 ล้านปีก่อน โดยเจ้าฮิปโปกินพืช ส่วนอินโดไฮอัส (Indohyus) กินทั้งพืชและสัตว์ ทั้งสองแยกออกมาจากบรรพบุรุษเดียวกัน โดยวาฬตัดสินใจลงน้ำแต่ฮิปโปยังคงสภาพเป็นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำอยู่จนถึงปัจจุบันไม่เปลี่ยนแปลง
3
วันนี้แอดจะมาเจาะลึกสัตว์บรรพบุรุษวาฬทั้ง 4 ชนิดกันค่ะ
Photo reference : The evolution of whales (https://evolution.berkeley.edu/evolibrary/article/evograms_03)
อินโดไฮอัสเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็ก ที่อาศัยอยู่บนบก ต่อจากตอนที่แล้ว พวกมันถูกล่าและหาอาหารลำบากเมื่ออยู่บนบก จึงหันไปหาอาหารในแม่น้ำและทะเลแทน มันเป็นบรรพบุรุษของวาฬ ที่สูญพันธุ์ไปแล้ว
Photo reference : Indohyus (https://en.m.wikipedia.org/wiki/Indohyus)
ในน้ำมีอาหารอยู่มากมาย และมีโอกาสรอดมากกว่าหาอาหารบนบก พวกมันว่ายน้ำตามชายฝั่งเพื่อหาปลาและกลับขึ้นลงระหว่างบกและในน้ำ
อินโดไฮอัสมีชีวิตอยู่ในยุคYpresian ดีเอ็นเอของพวกมันโชว์ให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างฮิปโปและวาฬ โครงกระดูกฮิปโปถูกขุดพบครั้งแรกที่แอฟริกา (อายุ 15ล้านปี) ในระหว่างที่อินโดไฮอัสถูกขุดพบครั้งแรกที่ปากีสถานและอินเดีย (55ล้านปีก่อน)
1
พวกมันมีขนาดตัวเล็กเท่าแรคคูนหรือแมวบ้านเท่านั้นเอง โครงกระดูกของมันเบาและคล้ายกับฮิปโปอยู่บ้าง ซึ่งช่วยในการลอยตัวในน้ำ หนังของมันก็มีความหนาเพื่อช่วยเก็บความอบอุ่น เมื่อดำน้ำอีกด้วย
Photo reference : Pakicetus (https://www.amnh.org/explore/news-blogs/on-exhibit-posts/the-first-whale-pakicetus)
พาคิซีตัส (Pakicetus) เป็นตัวที่วิวัฒนาการต่อมาจากอิโดไฮอัสร่างกายของพวกมันปรับตัวให้เข้ากับการว่ายน้ำมากขึ้นๆ มันมีชีวิตอยู่ในยุคต้นEocene
ขนาดตัวของพวกมันเริ่มใหญ่ขึ้น มีขนาดเฉลี่ยยาว 1 -2 เมตร พวกมันดูไม่เหมือนวาฬปัจจุบันแม้แต่น้อย กลับคล้ายสัตว์บกเลี้ยงลูกด้วยนมทั่วๆ ไปมากกว่า
ช่วงจมูกของมันนูนยาวมากขึ้นอีกและยังลำตัวยังปกคลุมด้วยขนอีกด้วย ต่างกับวาฬซึ่งไม่มีขนปกคลุม พวกมันยังคงคอนเซปกันพืชและสัตว์ต่อมา
Photo reference : Ambulocetus (https://www.nyit.edu/medicine/ambulocetus_natans)
แอมบูโลซีตัส (Ambulocetus) วิวัฒนาการเป็นสัตว์ครึ่ฃบกครึ่งน้ำที่มีพังผืดที่เท้า อาศัยอยู่ในยุคต้นEocene -กลางEcocene พวกมันยังล่าปลากินอาหาร(ไม่กินพืชแล้ว) บวกกับขนาดตัวที่ใหญ่ขึ้น เพราะความอุดมสมบูรณ์ของท้องทะเล
ขนาดของมันใหญ่กว่าเดิม คือมีขนาดเท่าสิงโตทะเล และมีน้ำหนักมากถึง 235 กิโลกรัมเลยทีเดียว 😂 ความสะบึ้มเริ่มมา
Photo reference : The evolution of whales (https://evolution.berkeley.edu/evolibrary/article/evograms_03)
ดูจากโครงกระดูกของอินโดไฮอัส พาคิซีตัส และ แอมบูโลซีตัส จะสังเกตุว่าพวกมันเป็นสัตว์ที่มีไลฟ์สไตล์หาอาหารในน้ำ
สังเกตได้จากกระดูกขาที่เล็กลงและมีอุ้งเท้าที่ใหญ่ขึ้นช่วยในการว่ายน้ำพวกมันถือเป็นวาฬที่ยังเดินได้ กล้ามเนื้อหางเริ่มแข็งแรงมากขึ้นช่วยในการว่ายน้ำได้ดี
นักวิทยาศาสตร์ค้นพบอีกว่าแอมบูโลซีตัส เป็นจุดเปลี่ยนที่ยิ่งใหญ่ พวกเป็นครั้งแรกที่บรรพบุรุษของวาฬกลายเป็ยสัตว์ครึ้งบกครึ่งน้ำเลี้ยงลูกด้วยนม และยังมีลักษณะเป็นสัตว์น้ำเต็มตัวเหมือนสัตว์ในวงศ์โลมามหาสมุทรทั้วไปอีกด้วย
พวกมันถูกค้นพบว่าชอบดื่มทั้งน้ำจืดและน้ำเค็ม เป็นหลักฐานสำคัญที่ทำให้รู้ว่าพวกมันอาศัยอยู่บริเวณเขตน้ำกร่อยนั่นเอง
ทั้งยังพบได้อีกว่ายิ่งวิวัฒนาการไปเท่าไร บรรพบุรุษวาฬก็เลือกที่จะเข้าไปอาศัยในเขตน้ำเค็มบ่อยขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งลงไปอยู่ในทะเลตลอดช่วงชีวิตของมัน
1
Photo reference : Kutchicetus (https://en.m.wikipedia.org/wiki/Kutchicetus)
คูทชิซีตัส (Kutchicetus) อาศัยอยู่ในช่วงยุคต้น - ปลายยุค Eocene ริมชายฝั่งปากีสถานและอินเดีย มันเป็นบรรพบุรุษที่สูญพันธุ์ไปแล้ว ซึ่งมีขนาดเล็กที่สุดในวงศ์โลมามหาสมุทร (cetacean)
จมูกของมันยาวและเป็นปลายแบน หางเปลี่ยนไปเป็นหางปลา ช่วยในการว่ายน้ำได้ดี หางของมันแข็งแรงมากช่วยให้ว่ายน้ำได้รวดเร็ว
กระดูกของมันไม่เหมือนวาฬปัจจุบันนัก แต่เหมือนกับสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำเสี้ยงลูกด้วยนมมากกว่า เช่น ตัวนากนักวิทยาศาสตร์ถือว่าเจ้าตัวนี้เป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญเช่นกันในวิวัฒนาการของวาฬ
1
.
.
.
ติดตามตอนต่อไปได้ทุกวันประมาณ 08:45 - 10:00น. ที่นี่หรือFb Page โลกสีฟ้าป.ปลาตัวจิ๋ว
.
พรุ่งนี้เว้นซีรีย์โลมาและวาฬไปเป็นเรื่องอื่น แต่จะเป็นเรื่องอะไรนั้น มารอลุ้นกันพรุ่งนี้เลยค่ะ
Reference / อ้างอิง
เนื้อหาเรียบเรียงโดย : โลกสีฟ้าป.ปลาตัวจิ๋ว
วันที่ 15 มิ.ย. พ.ศ. 2562
แอดไม่ได้เป็นเจ้าของภาพแต่อย่างใดค่ะ ลิงค์ที่มาของภาพปรากฎอยู่ใต้ภาพค่ะ
*** รับปรึกษาปัญหาเกี่ยวสัตว์น้ำ ปลาป่วย อุปกรณ์ เครื่องกรอง ชนิดพันธุ์ปลา ฟรีไม่คิดค่าใช้จ่ายค่ะ
เฟสบุ๊คเพจ : โลกสีฟ้าปปลาตัวจิ๋ว จำหน่ายอุปกรณ์และสัตว์

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา