Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ไม้ขีดไฟ
•
ติดตาม
15 มิ.ย. 2019 เวลา 10:10 • ปรัชญา
"ทำไมเพลโตถึงสนับสนุน 'กษัตริย์นักปราชญ์' (Philosopher King) ?"
คุณรู้มาก่อนหรือไม่ ? ว่า.. เพลโต (Plato)
นักปรัชญาผู้ยิ่งใหญ่และเป็นลูกศิษย์ของ
โสเครติสเชื่อว่าผู้ปกครองที่ดีต้องเป็น 'กษัตริย์นักปราชญ์'
เพลโตได้รับการยอมรับว่าเป็นนักอุดมคติ (idealist) เพลโตเชื่อว่าทุกสิ่งทุกอย่างควรจะดีที่สุดตราบเท่าที่มันจะพอเป็นไปได้ .. แนวความคิดทางการเมืองของเพลโตจึงค่อนข้างเป็นอุดมคติ ในหลาย ๆ ความคิดก็อาจใช้ไม่ได้จริง.. แต่ก็คงพอเป็นแบบอย่างของโลกในการพัฒนาต่อไปได้..
โดยในวันนี้เพจ 'ไม้ขีดไฟ' จะมาเล่าสู่กันฟังถึงแนวคิดในเรื่อง 'กษัตริย์นักปราชญ์' ของเพลโต
จะสนุกขนาดไหน .. ไปเริ่มกันเลย .. 🧐
.. กษัตริย์นักปราชญ์ (Philosopher King) ..
.. นับตั้งแต่โสเครตีส นักปรัชญาผู้เป็นอาจารย์ของเพลโตถูกตัดสินประหารชีวิตด้วยการให้ดื่มยาพิษ โทษฐานบ่อนทำลายความสงบสุขของประชาชน ..
เพลโตก็เริ่มต่อต้านการปกครองในลักษณะคนหมู่มากหรือประชาธิปไตย เพราะเห็นว่าระบอบประชาธิปไตยคือระบอบของคนหมู่มาก ซึ่งคนหมู่มากอาจจะเป็นกลุ่มคนที่ไร้ซึ่งความรู้ก็ได้ ..
เขาจึงหันมาสนับสนุนการปกครองโดย 'กษัตริย์นักปราชญ์'
*** เพลโตกล่าวว่า "รัฐในอุดมคติจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อนำบรรดานักปราชญ์มาเป็นกษัตริย์หรือผู้ปกครอง"
... แต่ทว่า..เพราะอะไรเพลโตจึงมองว่านักปราชญ์จึงคู่ควรกับการปกครอง ?
เพลโตอธิบายว่า .. เพื่อสร้างรัฐในอุดมคติ เขาจึงคิดว่าผู้ปกครองควรที่จะเป็นทั้งผู้ที่มีความรักในปัญญา (นักปราชญ์) และผู้ที่มีอำนาจทางการเมือง (ผู้ปกครอง)
เมื่อผู้ปกครอง .. เป็นทั้งนักปราญช์และผู้มีอำนาจในคนเดียวกัน จึงสามารถอุดช่องว่างที่ว่า 'นักคิด' ทำได้เพียงคิด ส่วน 'นักปกครอง' ทำได้แค่ปกครองแบบไร้ปัญญา..
เพลโตมองว่า .. นักปราชญ์เป็นผู้ที่มีความรู้มากมาย มองเห็นแก่นแท้ของสรรพสิ่ง.. เมื่อเกิดปัญหาอะไรก็ตาม นักปราชญ์จะสามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างดีด้วยปัญญา ..
นอกจากนี้ ผู้ที่เป็นนักปราชญ์ยังมีจิตใจที่เต็มไปด้วยสิ่งดีงาม ถูกต้อง กล้าหาญ มีเหตุผล ควบคุมตนเองได้ดี ไม่เห็นแก่เงินทอง .. เพราะเหตุนี้จึงได้ชื่อว่าผู้ที่มีความรู้เกี่ยวกับความจริงต่าง ๆ อย่างครบถ้วน ..
** ด้วยคุณลักษณะเหล่านี้ เพลโตจึงเชื่อว่า ...
"นักปราชญ์จึงเหมาะสมที่จะได้เป็นผู้ปกครองหรือผู้ปกครองก็จำต้องเป็นนักปราชญ์ด้วยเช่นกัน.."
** อย่างไรก็ตาม .. เพลโตก็เข้าใจดีว่า การปกครองแบบมีผู้ปกครองเป็นนักปราชญ์นั้นคงเกิดขึ้นได้ยาก ..
เพราะว่า.. สังคมที่เพลโตต้องเผชิญในเวลานั้น .. นักปราชญ์ถูกมองว่าเป็นนักคิดที่เท้าไม่ติดพื้น.. ไม่มีประโยชน์ ..
เพลโตบอกว่า .. รัฐที่ปกครองแบบประชาธิปไตย (กฎหมู่) โดยเฉพาะการที่ประชาชนไม่เห็นคุณค่าของนักปราชญ์ ขนาดโสเครตีสยังถูกกล่าวหาว่ามีความผิดที่ไปต่อต้านระบอบดังกล่าว .. สภาพสังคมแบบนี้ "กษัตริย์นักปราชญ์" คงเกิดขึ้นได้ลำบาก ..
แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าเป็นไปไม่ได้ ! นั่นเอง ..
โสเครตีสกำลังถูกประหารด้วยการดื่มยาพิษ
** เมื่ออ่านจบแล้ว .. ใครที่คุณคิดว่ามีความคล้ายกับการเป็น 'กษัตริย์นักปราชญ์' บ้าง ?
บทความนี้.. เป็นเพียงการเล่าสู่กันฟังเพียงเท่านั้น ไม่ได้ต้องการจะตัดสินว่าระบบการปกครองไหนดีไปกว่ากัน .. เพียงแต่ชวนคิดเท่านั้น ..
หากชอบ ได้ความรู้ และถูกใจ ฝากติดตามเพจ 'ไม้ขีดไฟ' เพื่อเป็นกำลังใจด้วยนะครับ..
พูดคุยแลกเปลี่ยนกันได้นะครับ
- ขอบคุณครับ - ☘️
รายการอ้างอิง
- ปรัชญาการเมือง / ทินพันธุ์ นาคะตะ
- รัฐศาสตร์ / ณัชชาภัทร อุ่นตรงจิตร
7 บันทึก
8
8
7
8
8
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย