16 มิ.ย. 2019 เวลา 07:32 • ประวัติศาสตร์
ประวัติภาพถ่ายตำรวจยิงจ่อหัวเชลยเวียดกง
อันโด่งดังของโลกเมื่อปี 1969
ภาพถ่ายแสดงให้เห็นความจริง…แต่ภาพถ่าย
อาจจะไม่ได้เล่าเรื่องทั้งหมดครับ
และนี่ก็คือหนึ่งในภาพถ่าย ที่โด่งดังภาพหนึ่ง
ของโลก ที่เล่าเรื่องเพียงด้านเดียวเท่านั้น
เมื่อกระบอกปืนได้ตัดสินชีวิตของคนหนึ่งคน
และทิ้งให้อีกคนถูกสังคมโลกตัดสิน…
1
ภาพถ่ายชนะรางวัล ‘Pulitzer Prize’ และ
‘World Press Photo’ เมื่อปี 1969
ของนายเอ็ดดี้ อดัมส์ (Eddie Adams)
ช่างภาพสงคราม ชาวอเมริกัน
ของสำนักข่าว AP
นั่นคือภาพถ่ายที่ชื่อว่า “Saigon execution”
(การประหารที่กรุงไซงอน)
ซึ่งเป็นภาพถ่ายนายตำรวจยศพลตรีแห่งเวียดนามใต้คนหนึ่ง
ชื่อว่าเหงียน งอก โลน (Nguyan Ngoc Loan) ทำการเอาปืนยิงจ่อหัว
นายเหงียน แวน เล็ม (Nguyen Van Lem)
หน่วยจู่โจมของเวียดกง เสียชีวิตกลางถนน
ในสมัยสงครามเวียดนาม
เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ปี 1968
ซึ่งเมื่อภาพถูกเผยแพร่ออกไป ทำเอาบรรดา
ชาวอเมริกัน และชาวโลกก็ได้ช็อกไปตามๆกัน
และทำให้ตื่นตัวเรื่องสงครามเวียดนามมากขึ้น และภาพยังถูกเผยแพร่ไปทั้งโลก
ทำให้กลุ่มสิทธิมนุษยชนหัวร้อนทันที
ออกมากล่าวหาว่าเป็นการกระทำที่ป่าเถื่อน
พร้อมทั้งถูกกลุ่มฮิปปี้ และกลุ่มต่อต้านสงคราม
ในอเมริกา ณ ขณะนั้น
รุมสาปแช่งต่างๆนาๆ ต่อนายตำรวจคนนี้
ว่ากระทำการตัดสินลงโทษ
โดยไม่มีการไต่สวน ไร้ซึ่งมนุษยธรรม
แม้ว่าจะเป็นในช่วงภาวะสงครามก็ตาม
ซึ่งเหตุการณ์เกิดขึ้น หลังจากเหล่าทหารเวียดกง นำโดยนายเหงียน แวน เล็ม
(ผู้ถูกยิงจ่อหัวในภาพ) ได้บุกไปฆ่าชาวบ้าน
ที่หมู่บ้านแห่งหนึ่งในกรุงไซงอน
ก่อนถูกกองกำลังเวียดนามใต้จับตัวได้
และนำตัวมาให้นายตำรวจยศพลตรี
เป็นผู้สำเร็จโทษ โดยการใช้ปืนจุด 38
ยี่ห้อ S&W ยิงทิ้งให้หมดๆเรื่องไป
3
แต่ช่างภาพอย่างนายเอ็ดดี้ อดัมส์
สามารถเก็บภาพไว้ได้ ซึ่งตัวเขาเองบอกว่า
ไม่ได้รู้สึกอะไรตอนถ่ายภาพนี้
เพราะคนถูกฆ่าเยอะมากในแต่ละวัน
แต่ก็ทราบว่าเป็นภาพถ่ายที่จะได้ลงหนังสือพิมพ์อย่างแน่นอน เพราะกองบรรณาธิการ
ได้ทำการติดต่อมาสอบถามอย่างละเอียด
ถึงภาพถ่ายนี้
โดยภายหลังสิ้นสุดสงครามนายเหงียน งอก
โลน ได้ลี้ภัยสงครามไปอยู่ที่อเมริกา
โดยเปิดร้านพิซซ่า และอาศัยอยู่ที่ชานเมืองเบิร์ก (Burke) ในรัฐเวอร์จีเนีย (Virginia)
ก่อนถูกเปิดโปงขึ้น และถูกต่อต้าน
ให้เลิกกิจการไปในปี 1991
ก่อนที่เขาจะใช้ชีวิตเงียบๆ
และเสียชีวิตเมื่อปี 1998
ซึ่งนายเอ็ดดี้ อดัมส์ ก็ได้ออกมาขอโทษ
นายเหงียน งอก โลน ในภายหลัง
เขากล่าวว่า “นายพลตรีฆ่าเวียดกง
แต่เขาฆ่านายพลตรีด้วยกล้องถ่ายภาพ”
โดยเรื่องนี้ถือเป็นเรื่องราวของ ภาพถ่ายได้เสนอความจริงเพียงครึ่งเดียว ของเรื่องราวทั้งหมด
ผมไม่ได้บอกว่าการกระทำของนายเหงียน
งอก โลน ถูกต้องนะครับ แม้จะเป็นช่วงสงคราม
แต่อยากจะให้มองเป็นเรื่องของภาพนิ่ง
ที่มักจะเสนอความจริงไม่ทั้งหมดเสมอไป
เพราะมีหลายภาพถ่ายที่ไม่ได้บอกเรื่องราว
อย่างถูกต้อง ซึ่งแน่นอนครับว่า
“ภาพถ่าย” ยังคงเป็นสิ่งที่มีประสิทธิภาพ
ที่สุดในโลกครับ
สามารถเข้าชมบทความดี
ของเราได้ที่: http://www.aboutfriday.com/
หรือแฟนเพจ
เล็กๆของเรา: https://facebook.com/aboutfriday
โฆษณา