16 มิ.ย. 2019 เวลา 14:12 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
ระบบสุริยะใหญ่แค่ไหนกันนะ?
solar system
คุณเคยสงสัยกันไหมว่าระบบสุริยะของเราที่มีดาวเคราะห์แปดดวงโคจรรอบดวงอาทิตย์นั้นมีขนาดใหญ่แค่ไหน?
ระบบสุริยะของเราก็คือระบบดาวเคราะห์รูปแบบหนึ่งในจักรวาล ระบบสุริยะเป็นเพียงชื่อเรียกของกลุ่มดาวเคราะห์ทั้งแปดที่หมุนดาวฤกษ์ก็คือดวงอาทิตย์..
สำหรับระบบอื่นๆก็มีชื่อเรียกที่แตกต่างออกไปอย่างเชั่นระบบดาวเคระห์แอลฟาคนครึ่งม้า (Alpha Centauri System) เป็นระบบดาวเคราะห์ที่ใกล้กับระบบสุริยะของเรามากที่สุด (4.37 ปีแสง)
ระบบดาวเคราะห์ก็เหมือนกับดาวเคราะห์ ดาวเคราะห์โคจรรอบดาวฤกษ์ ระบบสุริยะของเราหรือระบบดาวเคราะห์ต่างๆก็หมุนรอบกาแล็กชีที่มันอาศัยอยู่..
ระบบสุริยะของเรานั้นใหญ่แค่ไหน?
ในประวัติศาสตร์การสำรวจอวกาศของมนุษยชาตินั้น ยานวอยเอจเจอร์ 1 และ 2 ของนาช่าถือได้ว่าสามารถเดินทางไกลมากที่สุดเท่าที่เคยมีมา
ยานทั้งสองทยานออกจากโลกสู่อวกาศอันไกลโพ้น และท้ายที่สุดมันก็สามารถเดินทางสู่เขตที่เรียกว่า เฮลิโอชีท (เขตที่ลมสุริยะออ่นกำลังลงประมาณ 94AU) ในวันที่ 25 สิงหาคม ค.ศ 2012 มันเดินทางออกนอกเขตระบบสุริยะสู่พื้นที่ว่างระหว่างดวงดาว (interstellar space) หรือ เฮลิโอพอส ในวันที 9 เมษายน ค.ศ 2013
เขตอวกาศของระบบสุริยะที่ยานวอยเอจเจอร์ไปถึง
จากการคาดเดาของนักดาราศาตร์ ระบบสุริยะของเรานั้นมีขนาดประมาณ 112 AU 1AU เท่ากับ 150 ล้านกิโลเมตร นั่นเท่ากับสามเท่าของไรยะห่างระหว่างดวงอาทิตย์กับดาวพลูโต (40AU) หรือสิบเท่าระหว่างโลกกับดาวเนปจูน
ระบบสุริยะนั้นไม่ได้อยู่นิ่งๆมันโคจรรอบกาแล็กชีทางช้างเผือก..ความเร็วของการเคื่อนที่ประมาณ 220 กิโลเมตรต่อวินาทีและใช้เวลากว่า 225-250 ล้านปีต่อการโคจรรอบกาแล็กชีทางช้างเผือก..
(ระบบสุริยะของเราก็ไม่เล็กนะครับ..)
ที่ตั้งของระบบสุริยะในกาแล็กชีทางช้างเผือก
โฆษณา