18 มิ.ย. 2019 เวลา 05:29 • ปรัชญา
"ลัทธิมาร์กซ์/มาร์กซิสม์" (Marxism) คืออะไร ?
คุณเคยได้ยินคำว่า "ลัทธิมาร์กซ์" มากันก่อนหรือไม่ ?
หากพูดถึงระบบทุนนิยม (Capitalism) คู่ตรงข้ามที่จะไม่พูดถึงเลยไม่ได้ก็คือ "มาร์กซิสต์" ที่ต่อต้านและต้องการปลดแอกผู้คน (ชั้นแรงงาน) ไปสู่สังคมอุดมคติแบบคอมมิวนิสต์..
ในวันนี้เพจ 'ไม้ขีดไฟ' จะขอนำเสนอ 'ความรู้ฉบับพกพา' ของลัทธิมาร์กซ์ ..
ชนชั้นในโลกทุนนิยมตามแนวคิดมาร์กซ์
- MARXISM -
... ลัทธิมาร์กซ์เป็นสำนักคิดหนึ่งในโลกที่มีฐานคิดตั้งอยู่บนพื้นฐานทางปรัชญาเศรษฐกิจการเมืองและสังคมของชายที่ชื่อ .. "คาร์ล มาร์กซ์" (Karl Marx) เป็นหลัก ..
1
คาร์ล มาร์กซ์ (Karl Marx)
... ลัทธิมาร์กซ์พยายามทำความเข้าใจและพูดถึงสิ่งเลวร้ายที่เกิดขึ้นในโลกแบบทุนนิยมเสรี เช่น โลกแบบทุนที่มีนายทุนกดขี่ขูดรีดเรา (กรรมาชีพ) จนเกิดสภาวะแปลกแยก (alienation) ไปจากครอบครัว สังคม และตัวเอง
... โดยภายใต้มุมมองแบบลัทธิมาร์กซ์ กรรมชีพหรือชนชั้นใช้แรงงานควรที่จะลุกขึ้นต่อสู้กับความไม่เป็นธรรมของนายทุน
ภาพจากหนังสือ แถลงการณ์พรรคคอมมิวนิสต์ โดย มาร์กซ์และเองเกลล์
... ลัทธิมาร์กซ์ให้ความสำคัญกับชนชั้นและการต่อสู้ของชนชั้นด้วย .. สำนักคิดนี้เชื่อว่า 'ชนชั้น' นั้นแตกต่างกันที่ตำแหน่งของสังคมที่เกิดจากการถือครองกรรมสิทธิ์ต่าง ๆ (ปัจจัยการผลิต)
... ดังนั้นชนชั้นสำหรับลัทธิมาร์กซ์จึงมี 2 ชนชั้น คือ 1. กลุ่มนายทุน/ผู้ปกครอง ที่ถือครองการผลิตจำนวนมาก 2. กลุ่มแรงงาน ที่ไม่มีอะไรเลยนอกจากแรงของตัวเอง
... ลัทธิมาร์กซ์มองว่าความสัมพันธ์ระหว่างชนชั้นมักมีความขัดแย้งกันเสมอ .. การทำความเข้าเรื่องชนชั้นก็เพื่ออธิบายว่า ชั้นชั้นกรรมาชีพ ควรทำอย่างไรเพื่อสู้และปลดปล่อยตนเองได้..
... อย่างไรก็ตามลัทธิมาร์กซ์ยังมีแนวความคิดที่มากมาย ไม่ว่าจะเป็น เรื่องประวัติศาสตร์แบบวัตถุนิยม ศาสนาและอุดมการณ์ รัฐ เป็นต้น..
... ผลงานของ คาร์ล มาร์กซ์ ที่สำคัญคือ 'ว่าด้วยทุน' (Capital) ในผลงานนี้มาร์กซ์พยายามอธิบายถึงความเลวร้ายอันแสนแนบเนียนของสังคมทุนนิยม.. ทั้งการสะสมทุนที่ไม่มีที่สิ้นสุดของนายทุน การกดขี่แรงงาน สินค้า (commodity) ที่แฝงไปด้วยการขูดรีดแรงงานและสร้างสภาวะแปลกแยกให้แก่มนุษย์ชั้นกรรมาชีพมากมาย ..
1
หนังสือ ว่าด้วยทุน (Capital) ของ มาร์กซ์
... แต่ไม่ใช่ว่า ลัทธิมาร์กซ์ จะยืนหนึ่งแบบไร้ที่ติเสมอไป .. ในปัจจุบันลัทธิมาร์กซ์ถูกวิพากษ์วิจารณ์ถึงข้อจำกัดมากมาย เช่นเรื่องพลังที่ลดลงในการอธิบายสภาพสังคม
... อีกทั้งในปัจจุบันนี้ ลัทธิมาร์กซ์ก็ได้แตกสายแยกย่อยไปเป็นแนวคิดใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นมากมาย ไม่ว่าจะเป็น ลัทธิมาร์กซ์ใหม่ (Neo-marxism) สำนักคิดแบบกรัมซี่ (Gramscian) เป็นต้น .. เพื่อปรุงให้เหมาะแก่การอธิบายบริบทสังคมในแต่ละช่วงเวลานั่นเอง ..
... และทั้งหมดนี้เป็น 'ความรู้ฉบับพกพา' ของลัทธิมาร์กซ์ในวันนี้ ..
หากชอบและได้ความรู้ ฝากติดเพจ 'ไม้ขีดไฟ' ด้วยนะครับ.. สามารถแลกเปลี่ยนควานเห็นกันได้นะครับ..
-ขอบคุณครับ-
รายการอ้างอิง
- สรุปจาก บทบรรณาธิการ: ว่าด้วยลัทธิมาร์กซ์/มาร์กซิสต์ (Marxism) โดย วัชรพล พุทธรักษา ในวารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ปีที่ 12 (2559) ฉบับที่ 2
โฆษณา