18 มิ.ย. 2019 เวลา 10:46 • สุขภาพ
ท้องเสีย
🤬อุจจาระร่วง ท้องเดิน​ หรือ ท้องเสีย จะมีอาการของการถ่ายเหลว ไม่เป็นก้อน มากกว่า 3 ครั้ง ใน 24 ชั่วโมง โดยอาจจะมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วยหรือไม่ก็ได้ เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง เป็นต้น
😰อาการท้องเสียจะแบ่งเป็น 3 อาการหลักๆ เช่น
-ท้องเสียร่วมกับอาการอาเจียนเด่น จะเป็นเรื่องของอาหารเป็นพิษซึ่งจะหายได้เองภายใน 2 วัน​ และอาการจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วเมื่อได้สัมผัสกับอาหารที่ปนเปื้อนกับพิษนั้นๆ
-อีกส่วนหนึ่งถ่ายเหลวเป็นน้ำ เป็นหลัก อาเจียนน้อยหน่อย อาจจะมีอาการไข้ต่ำๆ หรือไม่มีไข้ก็ได้ อาการเหล่านี้มักจะเกิดจากเชื้อไวรัส และเชื้อแบคทีเรียบางกลุ่ม
-อีกส่วนหนึ่งถ่ายเหลว และมีมูกเลือดปนออกมาด้วย จะเกิดจากที่แบคทีเรียบางตัว เข้าทำลายเซลล์ลำไส้ และมีอาการไข้ร่วมด้วย
😆โดยทั่วไปอาการท้องเสียมากกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ สามารถหายได้เองได้เพียงไม่กี่วันหรือไม่เกิน 1 สัปดาห์ จะมุ่งไปที่การรักษาโดยการไม่ให้มีการขาดน้ำ​ ไม่ให้อาการรุนแรง
ดังนั้น ในการรักษาถ้าเป็นในเรื่องของไวรัสหรือเป็นแบคทีเรียที่ไม่ได้ทำลายเชื้อลำไส้จะสามารถหายเป็นปกติได้เอง อาจจะไม่ต้องใช้ยาใดๆ หรือใช้สารน้ำทดแทนการเสียน้ำก็เพียงพอ
🏥แต่สำหรับอาการท้องเสียชนิดที่มีถ่ายเหลวเป็นมูกเลือดร่วมกับการมีไข้สูง อาจจะมีความจำเป็นต้องได้รับยาปฏิชีวนะ และได้รับการดูแลรักษาที่ต้องมีความต่อเนื่อง โดยการไปพบแพทย์หรือเข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาลเพื่อความปลอดภัย
👹ซึ่งอาการท้องเสียในเด็กการไปโรงพยาบาลจะมีประโยชน์มากกว่า หรือประชาชนที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง ประชาชนที่มีการถ่ายเหลวเยอะมาก เกินวันละ 8 ครั้ง ควรที่จะต้องประเมินสภาวะการขาดน้ำและรีบไปพบแพทย์ ไม่แนะนำให้ซื้อยามารับประทานเอง
จัดทำโดย
นศภ.ขวัญชนก ภูมิสถิตย์
นศภ.อรสินี สุริยผล
นักศึกษาเภสัชศาสตร์ชั้นปีที่ 5
มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
ผลัด 3
🍡🍱🍲
ที่มาจากcase
🍔🍟🌮
อ้างอิงเพิ่มเติม
CLINICAL REVIEW Management of travellers' diarrhoea - The BMJ
ยายจอมป่วน กับ เภสัชสุดม่วน
ครั้งนี้มาด้วยอาการ #ท้องเสีย
เรื่องราวจะเป็นอย่างไร โปรด ติดตาม
🚨🚨 มาร้านยาแล้วทำไมซื้อไม่ได้เหมือนแต่ก่อน??
#Disento #ไดเซนโต #ค็อคคีล่า
💥💣💨
จัดทำโดย
นศภ.ขวัญชนก ภูมิสถิตย์
นศภ.อรสินี สุริยผล
นักศึกษาเภสัชศาสตร์ชั้นปีที่ 5
มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
ผลัด 3
ท้องเสีย..ซื้อเกลือแร่ในเซเว่นทานได้ไหม?
เกลือแร่มีหลักๆสองประเภทคือ เกลือแร่สำหรับท้องเสีย และ เกลือแร่สำหรับออกกำลังกาย ซึ่งทั้งสองชนิดนี้ “ไม่เหมือนกัน ใช้แทนกันไม่ได้ !!”
.
เกลือแร่สำหรับอาการท้องเสีย จะมีส่วนประกอบได้แก่ เดกโตรส โซเดียมคลอไรด์ โพแทสเซียมคลอไรด์ และโซเดียมซิเตรท ซึ่งเกลือเหล่านี้เป็นแร่ธาตุที่ร่างกายสูญเสียออกไปทางอุจจาระหรือการอาเจียน จึงจำเป็นต้องได้รับเพื่อชดเชยสารดังกล่าว
[!] หากรับประทานเกลือแร่สำหรับออกกำลังกายในกรณีที่ท้องเสีย :
น้ำตาลหรือเกลือแร่อื่นๆที่เป็นส่วนผสมอาจมีผลทำให้เกิดการดึงน้ำเข้ามาในลำไส้มากขึ้น ลำไส้บีบตัวมากขึ้นและ ท้องเสียหนักกว่าเดิมได้
เกลือแร่สำหรับออกกำลังกาย มีส่วนผสมหลักเป็นน้ำตาลและแร่ธาตุที่สูญเสียออกมาทางเหงื่อ ใช้เมื่อมีการสูญเสียเหงื่อจากการออกกำลังกาย ซึ่งการรับประทานก็ขึ้นกับ
ปริมาณเหงื่อที่เสีย อุณหภูมิร่างกาย เวลาที่ออกกำลังกาย เนื่องจากมีหลากหลายยี่ห้อให้เลือก การรับประทานควรสังเกตที่ปริมาณน้ำตาล ซึ่งถ้าเรายังออกกำลังกายไม่ทันได้เสียเหงื่อแต่ไปดื่มเครื่องดื่มพวกนี้ นอกจากไม่จำเป็นแล้วยังทำให้อ้วนขึ้นอีกต่างหาก
1
.
[!] หากรับประทานเกลือแร่สำหรับท้องเสียสำหรับการเสียเหงื่อจากการออกกำลัง :
เมื่อไม่ได้รับน้ำตาลปริมาณที่เพียงพอ ร่างกายจะขาดพลังงานที่จะนำไปให้ที่กล้ามเนื้อ หรือการทำงานของระบบอื่นๆเช่น ระบบไหลเวียนโลหิต อาจทำให้เกิดภาวะน้ำตาลต่ำและวูบหมดสติได้
ดังนั้น การเลือกใช้ควรพิจารณาตามความเหมาะสมและสอบถามข้อมูลก่อนใช้ทุกครั้งหากไม่มั่นใจ
.
หากมีข้อสงสัยอยากปรึกษาเพิ่มเติม สามารถติดต่อได้ที่ร้านยา Good Health Pharma ชั้น 1 ตึกเพลินจิตเซนเตอร์ (BTS เพลินจิต)ได้ตลอดเวลาทำการค่ะ 🙂
เอกสารอ้างอิง
1. Harris L and Braun M. Electrolytes: Oral Electrolyte Solutions. FP Essent. 2017; 459:35-38.
2. Patcharee Bonkham. “เกลือแร่” เลือกให้ดี ดื่มให้เป็น. thaihealth.or.th. 2560.
---วันนี้มาในหัวข้อ
เกลื๊อแหล๊ เฮ้ย เกลือแหล่ เฮ้ย เหลือแก่ เฮ้ย เกลือแร่ เฮ้ยยย ถูกแล้ววว
อ่ะเข้าสาระ
***เกลือแร่จริงๆ แล้วมันมี 2 แบบนะเห้ยย
1.ORS (Oral Rehydration Salts) คือ เกลือแร่ที่ใช้ในเวลาที่เราท้องเสีย
2.เกลือแร่ ชดเชยเหงื่อ สำหรับออกกำลังกาย เช่น พวกที่ขายตามร้านสะดวกซื้อ สปอน***ตื้ด หรือพวก ซองๆก็ สตอง***ตื้ด อื่นๆ เยอะแยะ ขี้เกียจพิมพ์
วิธีดูก็ที่ซองเขียนว่า ORS หรือ มีทะเบียนเป็นยา
ส่วนพวกชดเชยเหงื่อ ทะเบียนเป็น อย. ธรรมดา
----และที่สำคัญเลยคือวิธีการดื่มของ ORS-----
ต้องค่อยๆ จิบๆ เอา
ถ้าดื่มรวดเดียวหมดแก้วแบบเกลือแร่ชดเชยเหงื่อ อาจจะขรี้แตกเลยนะเมิง เพราะร่างกายมันจะดูดซึมเกลือแร่ได้ไม่ทัน
***ส่วนเกลือแร่ 2 อย่างนี้มันแตกต่างกันที่สัดส่วนของ
"เกลือ" และ "น้ำตาล"
โดย ORS มักจะมีสัดส่วนของน้ำตาลน้อยกว่า
***แล้วจะเกิดไรขึ้นถ้าเมิงไปกินเกลือแร่ที่ใช้สำหรับชดเชยเหงื่อล่ะ ผลคือ ขรี้แตกเช่นกัน เพราะมันจะไปดึงน้ำจากร่างกายกลับมาในลำไส้ ทำให้ถ่ายเหลวมากขึ้น
----ตรงนี้อ่านดีๆนะ กุกลัวพวกเมิง งง มากเลย-----
ผลมาจากเรื่อง แรง Osmosis น้ำจะวิ่งหาแหล่งที่มีความเข้มข้นของน้ำต่ำ
น้ำเลยกลับเข้าสู่ลำไส้มากขึ้น เป็นเหตุผลเดียวกันกับที่เมิงต้องค่อยๆ จิบ ORS นั่นแระ แต่เกลือแร่แบบชดเชยเหงื่อเนี่ยมันมี น้ำตาล มากกว่า ความเข้มข้นเลยสูงกว่า
คราวนี้เลือกกันใช้ให้ถูกนะเมิง
#เภสัชหัวร้อน
จงจำไว้ว่า​ #norfloxacin กินตอนท้องว่าง​ #ก่อนอาหาร​ 1 ชั่วโมง​ หรือ​ หลังอาหาร​ 2 ชั่วโมง
.
ห้ามกิน​ #นอร์ฟลอกซาซิน​ ร่วมกับ​ #คาร์บอน​ เพื่อ แก้​ #ท้องเสีย​ มันไม่ได้ผล​ ถ้าอยากกิน​ ให้กินห่างกัน​ 2 ชั่วโมง
.
ไม่มีตำราไหนบอกให้กินนอร์ฟลอกหลังอาหารร่วมกับคาร์บอนเพื่อแก้ท้องเสีย​ นอกจากแค่​ จิบน้ำเกลือ​ ORS
.
เห็นประจำ​ ที่ร้านยาชั่วๆ​ ลูกน้องมั่วๆ​ เภสัชเลวๆ​ ไม่​update วิชาการ​ จ่ายยานอร์ฟลอกหลังอาหารพร้อมทั้งให้กินคาร์บอน​ แล้วมันจะหายที่ไหน
.
ยิ่งถ้าเป็นเภสัชจ่ายยา​ แล้วให้กินนอร์ฟลอกหลังอาหาร​ มั่วและชั่วอย่างที่สุด​ แสดงว่าไม่เห็นบทบาทและความสำคัญของวิชาชีพที่ตนเองทำอยู่​ เพราะเรื่องนอร์ฟลอกให้กินตอนท้องว่างมันเป็นเรื่องพื้นฐานมากๆ​ ถามนศภ.คนไหนก็ตอบได้ทั้งนั้น
.
ไม่อยากจะด่า​ แต่มันเห็นบ่อย
.
😇Loperamide - โลเพอราไมด์​ ชื่อการค้า​เช่น อิโมเดียม น็อกซี่​ ไดอะรีน​ โลไมด์​
ออกฤทธิ์​ลดการเคลื่อนไหวของทางเดินอาหารและลดการขับสารคัดหลั่ง นอกจากนี้ยังเพิ่มแรงตึงของกล้ามเนื้อหูรูดที่ทวารหนัก จึงช่วยลดอาการที่กลั้นอุจจาระไว้ไม่อยู่
นำมาใช้รักษาอาการท้องเดินเฉียบพลัน
📌ขนาดยาในผู้ใหญ่เริ่มด้วย 2 เม็ด​ (4 มิลลิกรัม)
จากนั้นกิน​ 1 เม็ด​ เมื่อมีอาการ
ขนาดยาสูงสุดต่อวัน​ คือ​ 4 เม็ด​ (8 มิลลิกรัมต่อวัน)​
หากใช้ตามใบสั่งยาขนาดสูงสุดได้ถึง 16 มิลลิกรัมต่อวัน
จัดว่าเป็นยาที่ค่อนข้างปลอดภัยหากใช้ตามข้อแนะนำอย่างถูกต้อง
📌มีรายงานว่า loperamide ทำให้เกิดผลร้ายแรงต่อหัวใจได้ เช่น QT prolongation, torsades de pointes, หัวใจหยุดเต้น รวมถึงการเสียชีวิต เมื่อใช้ยาเกินขนาดอย่างมาก
📌เภสัชกรควรเตือนผู้ป่วยไม่ให้รับประทานยาเกินกว่าขนาดที่ระบุไว้บนฉลากยา
.
.
Pregnancy Category
US FDA - B/B/B
Very Low Risk for breastfeeding.
.
.
.💢ข้อมูลยาสำหรับประชาชน
.
.
ใช้ยาระงับอาการอุจจาระร่วงอย่างผิด ๆ อาจมีอันตรายถึงตาย - Wongkarnpat
.
.
Loperamide...เตือนอีกครั้งถึงผลร้ายแรงต่อหัวใจเมื่อใช้ขนาดสูงเกิน -
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ท้องผูก 3-4 วัน จึงถ่ายสักครั้ง อุจจาระแข็ง ต้องออกแรงเบ่ง จึงกินยาระบาย สวนสบู่เป็นประจำ จนในที่สุดเกิดลำไส้อุดตัน ปวดท้อง ท้องอืดมาก ต้องผ่าตัดฉุกเฉิน ตัดลำไส้บางส่วนที่โป่งพองอย่างมากทิ้งไปแล้วต่อลำไส้ใหม่
อาการท้องผูกประกอบด้วย มีอุจจาระแข็ง , ความถี่ในการขับถ่ายลดลงกว่าปกติ , ใช้เวลานานในการเบ่งถ่าย , มีความเจ็บปวดเวลาเบ่งถ่ายหรือมีเลือดปนออกมากับอุจจาระ , หลังถ่ายอุจจาระเรียบร้อยแล้วยังมีความรู้สึกถ่ายไม่หมดหรือถ่ายอุจจาระไม่สุด
การใช้ยาในโรคท้องร่วงเฉียบพลัน
ความรู้ทั่วไปสำหรับประชาชน
นพ. สุวิวัฒน์ บุนนาค
อ.นพ.นพดล วัชระชัยสุรพล
ภาควิชาเภสัชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
โรคท้องร่วง (diarrhea) หมายถึง ภาวะที่ผู้ป่วยมีอาการถ่ายอุจจาระเหลวจำนวนมากกว่าหรือเท่ากับ 3 ครั้งต่อวัน หรือถ่ายอุจจาระลักษณะเป็นมูกหรือมูกเลือดหรือเป็นน้ำอย่างน้อย 1 ครั้ง
จากข้อมูลของสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2562 ถึงวันที่ 16 สิงหาคม 2562 พบว่าโรคท้องร่วงเป็นโรคที่พบบ่อยในทุกกลุ่มอายุ พบผู้ป่วยทั้งหมด 634,334 รายจากทั้งหมด 77 จังหวัด แต่มีอัตราการเสียชีวิตต่ำ ในช่วงที่เก็บข้อมูลดังกล่าวข้างต้น พบการเสียชีวิตเพียง 4 ราย คิดเป็นอัตราการเสียชีวิต 0.01 ต่อแสนประชากร
ผู้ป่วยโรคท้องร่วงอาจแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มตามอาการเด่น ได้แก่ กลุ่มที่มีอาการอาเจียนเป็นอาการเด่น และ กลุ่มที่มีอาการถ่ายอุจจาระเหลวเป็นอาการเด่น ในกลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการอาเจียนเป็นอาการเด่น มักเกิดจากการรับประทานอาหารที่มีสารพิษ (toxin) ที่ผลิตจากเชื้อแบคทีเรียที่ปนเปื้อนในอาหาร หรือการติดเชื้อไวรัสในทางเดินอาหาร สำหรับกลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการอุจจาระเหลวเป็นอาการเด่น มักมีสาเหตุจากการติดเชื้อแบคทีเรียหรือไวรัสในทางเดินอาหาร บางครั้งเกิดจากอาการข้างเคียงของยาบางชนิด เช่น ยาปฏิชีวนะ
การรักษาโรคท้องร่วงประกอบด้วยการรักษาที่สำคัญ 3 ประการ ได้แก่
1.การรักษาทดแทนภาวะขาดน้ำและการสูญเสียเกลือแร่
การรักษาทดแทนภาวะขาดน้ำและการสูญเสียเกลือแร่เป็นการรักษาที่จำเป็นสำหรับโรคท้องร่วงจากทุกสาเหตุ การให้สารน้ำและเกลือแร่ทดแทนมี 2 วิธี ได้แก่ 1) การให้สารน้ำและเกลือแร่ทดแทนทางปากด้วยผงเกลือแร่ (oral rehydration solution, ORS) อาจเรียก ORS ว่าผงน้ำตาลเกลือแร่ก็ได้เนื่องจากมีน้ำตาลเป็นส่วนประกอบหนึ่ง และ
2) การให้สารน้ำและเกลือแร่ทดแทนทางหลอดเลือดดำ หากสูญเสียน้ำและเกลือแร่ไม่มากและยังพอรับประทานทางปากได้ ไม่มีอาการอาเจียนรุนแรง ควรได้รับ ORS ชงดื่ม การชง ORS มักผสม 1 ซองกับน้ำดื่ม 1 แก้ว (250 ซีซี) หรือตามที่ฉลากกำกับยาระบุไว้
โดยให้ดื่มประมาณ 1-1.5 เท่าของปริมาณอุจจาระที่ถ่าย โดยการดื่มทีละน้อยแต่บ่อยครั้ง หากมีการขาดน้ำและเกลือแร่ปานกลางหรือรุนแรง เช่น มีอาการคอแห้งมาก หน้ามืด ใจสั่น หรืออาเจียนมากจนไม่สามารถรับประทานทางปากได้เพียงพอ ควรได้รับสารน้ำเกลือแร่ทดแทนทางหลอดเลือดดำ การรักษาทดแทนภาวะขาดน้ำและการสูญเสียเกลือแร่เป็นการรักษาแบบประคับประคอง จะพิจารณาให้จนกว่าอาการดีขึ้น เช่น การถ่ายอุจจาระกลับมาเป็นปกติ ก็สามารถหยุดการรักษาได้
2.การรักษาตามอาการ
การรักษาตามอาการสำหรับโรคท้องร่วง ประกอบด้วยยาหลายกลุ่ม เช่น
2.1.ยาหยุดถ่าย
การรักษาด้วยยาหยุดถ่ายช่วยลดจำนวนครั้งของการถ่ายอุจจาระ อาจทำให้ผู้ป่วยรู้สึกดีขึ้นแต่ไม่ใช่การรักษาที่สาเหตุ อีกทั้งยังมีข้อห้ามใช้ในหลายกรณี เช่น ท้องร่วงจากการติดเชื้อแบคทีเรีย Shigella spp., Clostridium difficile เนื่องจากจะทำให้อาการท้วงร่วงแย่ลงหรือมีภาวะแทรกซ้อนอื่นๆที่รุนแรงได้
ยาหยุดถ่ายที่มีใช้ เช่น
• Loperamide ออกฤทธิ์โดยการทำให้ทางเดินอาหารบีบตัวลดลง ทำให้ลดจำนวนครั้งของการถ่ายอุจจาระ ไม่แนะนำให้ใช้ยาดังกล่าวในเด็กอายุน้อยกว่า 2 ปี
• Racecadotril ช่วยปรับสมดุลการหลั่งสารน้ำและเกลือแร่ในลำไส้ทำให้ลดจำนวนครั้งของการถ่ายอุจจาระ สามารถกินยาจนกว่าอาการจะดีขึ้นแต่ไม่เกิน 7 วัน กินยาซ้ำได้ทุก 8 ชั่วโมง สามารถใช้ได้ในเด็ก อาการข้างเคียงโดยเฉพาะเรื่องท้องผูกพบน้อยกว่ายา loperamide
2.2.ยาช่วยดูดซับสารพิษ
• Activated charcoal หรือผงถ่าน ออกฤทธิ์โดยการดูดซับสารพิษในทางเดินอาหาร อาการข้างเคียงน้อย อาจพบอาการท้องผูก ในกรณีผู้ป่วยเด็กอาจละลายยา 1 เม็ดในน้ำสะอาด 30 ซีซี ให้กินวันละ 2-4 ครั้ง ส่วนผู้ใหญ่ให้กินครั้งละ 2 เม็ด วันละ 4 ครั้ง
2.3.ยาแก้คลื่นไส้อาเจียน เช่น ยา domperidone, ondansetron
2.4.ยาแก้ปวดบิดในท้อง เช่น hyoscine
2.5.ยากลุ่มอื่นๆ เช่น ยาธาตุสังกะสี ช่วยลดความรุนแรงของอาการท้องร่วงในเด็กเล็ก และป้องกันการเกิดท้องร่วงในครั้งถัดไป ยาจุลินทรีย์โปรไบโอติก (probiotic)
3.การรักษาจำเพาะ
สำหรับโรคท้องร่วงเฉียบพลันที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ไม่จำเป็นต้องได้รับยาฆ่าเชื้อเสมอไป อาการมักดีขึ้นภายใน 7 วัน แต่อาจพิจารณารักษาด้วยยาปฏิชีวนะสำหรับผู้ป่วยบางกลุ่ม เช่น ผู้ป่วยเด็กอายุน้อย โดยเฉพาะน้อยกว่า 3 เดือน ผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง เป็นต้น สำหรับผู้ป่วยผู้ใหญ่โรคท้องร่วงเฉียบพลัน อาจพิจารณาให้ยาปฏิชีวนะเมื่อสงสัยว่ามีเชื้อแบคทีเรียรุกล้ำเข้าผนังลำไส้ โดยอาจพิจารณาจาก 1) มีไข้ ตั้งแต่ 38 องศาเซลเซียส 2) อุจจาระมีมูกหรือมูกปนเลือด
อย่างไรก็ดี เนื่องจากโรคท้องร่วงสาเหตุจากเชื้อแบคทีเรีย E. coli ชนิดที่ผลิตสารพิษ STEC ที่มักมีอาการท้องร่วงถ่ายเป็นเลือด เมื่อได้รับยาปฏิชีวนะอาจทำให้มีอาการข้างเคียงรุนแรง เช่น เม็ดเลือดแดงแตก เกล็ดเลือดต่ำ หรือ ไตทำงานผิดปกติ ดังนั้น จึงไม่ควรใช้ยาปฏิชีวนะเอง แต่ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยาดังกล่าว
การป้องกันโรคท้องร่วง
1.ควรล้างมืออย่างถูกวิธี (hand hygiene) หลังจากการใช้ห้องน้ำ เปลี่ยนผ้าอ้อม ก่อนและหลังจากการเตรียมอาหาร ก่อนรับประทานอาหาร หรือหลังจากสัมผัสสิ่งแวดล้อมที่อาจปนเปื้อนเชื้อโรคได้
2.ผู้ป่วยโรคท้องร่วงควรหลีกเลี่ยงการว่ายน้ำ หรือลงไปในแหล่งน้ำสาธารณะ เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ
3.พิจารณารับวัคซีนป้องกันโรคท้องร่วงโรต้าในเด็กทารก
References
1.Sharkey KA, MacNaughton WK. Gastrointestinal Motility and Water Flux, Emesis, and Biliary and Pancreatic Disease. In: Brunton LL. Chabner BA. Knollmann BC, eds. Goodman & Gilman’s the Pharmacological Basis of Therapeutics. 13th ed. New York: McGraw-Hill. 2018:921-44.
2.McQuaid KR. Drugs Used in the Treatment of Gastrointestinal Disease. In Katzung BG, eds. Basic & Clinical Pharmacology. 13th ed. New York: McGraw-Hill. 2015:602-17.
3.Barr W, Smith A. Acute Diarrhea in Adults. American Family Physician. 2014;89: 180-9.
4.Senderovich H, Vierhout MJ. Is there a role for choarcoal in palliative diarrhea management? Current Medical Research and Opinion. 2018; 34: 1253-9.
5.Shane AL, Mody RK, Crump JA, Tarr PI, Steiner TS, Kotloff K, et al. 2017 Infectious Diseases Society of America Clinical Practice Guidelines for the Diagnosis and Management of Infectious Diarrhea. Clinical Infectious Diseases. 2017; 65: e45-e80.
6.สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. แนวทางการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผล. สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์. 2554. 11-14.
7.กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลันในผู้ใหญ่. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด. 2546.
8.สํานักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. รายงานโรคในระบบเฝ้าระวัง ๕๐๖: Diarrhoea [อินเทอร์เน็ต]. 2562. [เข้าถึงเมื่อ 20 สิงหาคม 2562]. เข้าถึงได้จาก: http://www.boe.moph.go.th/boedb/surdata/506wk/y62/d02_3062.pdf
POSTED 2019.09.11
UPDATED 2021.10.07
บทควา​มอื่น​
การติดเชื้อระบบทางเดินอาหาร
โฆษณา