18 มิ.ย. 2019 เวลา 18:20 • ไลฟ์สไตล์
คัมภีร์ห้าห่วง (โกะริงโนะโชะ) วิถีแห่งการไร้พ่าย
บทความก่อนผมเขียนถึงประวัติย่อของซามูไรพเนจร " มิยาโมโต้ มูซาชิ "ผู้ผ่านการต่อสู้แบบเอาเป็นเอาตายมากว่า 60 ครั้ง และไม่เคยพ่ายแพ้แม้แต่ครั้งเดียว
ว่ากันตามตรงมูซาชิไม่ได้ไร้เทียมทานจนไม่มีใครสามารถเอาชนะเขาได้ เพียงแต่เขามีกลยุทธ์ที่สามารถพลิกความเสียเปรียบให้กลับมาเป็นความได้เปรียบอยู่บ่อยครั้ง
(ถ้าอยากได้อรรถรสในบทความนี้ ย้อนไปอ่านบทความก่อนหน้าของผมก่อนได้ครับ)
ผมจะยกตัวอย่างตำนานความเทพของมูซาชิที่โด่งดังมากเรื่องหนึ่ง คือการโค่นสำนักโยชิโอกะลงภายใน 1 คืน เนื่องจากมูซาชิได้สังหารเจ้าสำนักโยชิโอกะในการดวลดาบ ทำให้ศิษย์ของสำนักโยชิโอกะโกรธแค้นและต้องการสังหารมูซาชิให้ได้
จำนวนลูกศิษย์ของสำนักโยชิโอกะที่ตามล่ามูซาชิ มีมากถึงกว่า 70 คน แน่นอนการสู้ 1 ต่อ 70 ต้องเป็นเทพเจ้าเท่านั้นที่จะชนะได้
และมูซาชิคือเทพเจ้าสังหารโดยแท้จริง ...
เขาเลือกวิ่งเข้าป่าทึบ เพื่อทำการหลบหนี เมื่อจำเป็นต้องต่อสู้ สภาพป่าที่รกทึบ และการยืนหลังต้นไม้ใหญ่
จะเปลี่ยน 70 รุ่ม 1 เป็นการสู้หนึ่งต่อหนึ่ง 70 ครั้ง ...
ยิ่งมูซาชิสังหารได้มากเท่าไหร่ความฮึกเหิมยิ่งเพิ่มขึ้น ขณะที่สำนักโยชิโอกะกลับระส่ำระสาย
เมื่อจิตไม่นิ่ง การดวบดาบที่ต้องอาศัยจังหวะสังหารชั่วพริบตาจึงทำได้ยาก ...
มูซาชิสามารถเอาชนะสำนักโยชิโอกะ ซึ่งเป็นสำนักดาบเก่าแก่มาได้ ชื่อเสียงของเขาจีงเป็นที่โจษขาน
ในบั้นปลายของชีวิต หลังผ่านการต่อสู้มามากมาย
มูซาชิต้องฝึกฝนเพื่อผสานกาย จิต เป็นหนึ่งเดียวกับดาบ ทำการเกษตร สร้างงานศิลปะ ศึกษาธรรมชาติ เรียนรู้ จนเข้าใจมรรคาแห่งดาบ
เขาได้เขียนคัมภีร์ขึ้นหลายเล่ม แต่ที่โด่งดังและเป็นที่รู้จัก คือ คัมภีร์ห้าห่วง และ คัมภีร์ 35 กลยุทธ์
ซึ่งเป็นตำราที่นักบริหารชาวญี่ปุ่นนำมาศึกษาและประยุกต์ใช้ในการบริหารธุรกิจอย่างแพร่หลาย
ถือเป็นตำรากลยุทธ์ชั้นยอดของญี่ปุ่นเลยทีเดียว
(มีหนังสือบริหารธุรกิจที่นำแนวทางในคัมภีร์ห้าห่วงมาปรับใช้ แปลเป็นภาษาไทยในชื่อ "คัมภีร์ห้าห่วง" น่าจะยังพอหาซื้อได้อยู่ครับ มีฉบับการ์ตูนด้วย)
โดยคัมภีร์ห้าห่วงแบ่งเป็น 5 บท ตามธาตุธรรมชาติทั้งห้า ได้แก่ ดิน น้ำ ลม ไฟ และ ความว่างเปล่า(ของจิต)
คัมภีร์ดิน (หลักพื้นฐานที่มั่นคง) เป็นส่วนของศิลปะการต่อสู้ ซึ่งหมายถึงการฝึกฝน ขัดเกลาตนเอง ให้เข้าถึงตัวตนภายใน รู้จังหวะที่เหมาะสมในการสร้างความได้เปรียบของเพลงดาบเพื่อเอาชนะคุ่ต่อสู้ นัยยะหนึ่งนั่นคือ การทำความเข้าใจตนเอง ฝึกฝน เตรียมพร้อมให้เชี่ยวชาญอยู่เสมอ
 
(ข้อนี้เป็น 1 ใน 7 อุปนิสัยสู่ความสำเร็จ ข้อที่ว่า "จงหมั่นลับคมมีดอยู่เสมอ"- แอบนอกเรื่องนิดนึง 555)
คัมภีร์น้ำ (ยืดหยุ่นพลิกแพลงตามสถานการณ์) คือ ส่วนของการบรรยายท่าทางการใช้ดาบ จิตเสมือนน้ำ ไร้รูปร่าง ปรับเปลี่ยนพลิกแพลงได้ตามภาชนะ
“สภาวะของจิตใจในศิลปะการต่อสู้ ควรเป็นเช่นเดียว
กับในยามปกติ แม้เมื่อนิ่งเฉยอยู่ใจของท่านก็มิได้อยู่เฉย แม้กำลังรีบเร่งอยู่ ใจของท่านก็มิได้รีบเร่ง
ใจไม่ถูกฉุดลากโดยร่างกาย กายมิได้ถูกฉุดลากโดยจิตใจ จงใส่ใจกับจิตมิใช่ร่างกาย แม้ภายนอกจะแลดูอ่อนโยน แต่ภายในต้องแข็งแกร่ง อย่าให้ใครอ่านใจของท่านได้ " ที่มา : หนังสือคัมภีร์ห้าห่วง ฉบับแปลไทยโดย ศุภิกา กุญชร ณ อยุธยา
2
คัมภีร์ไฟ (วิถีเพื่อชัยชนะ) คือ ศาสตร์แห่งการต่อสู้ที่กว้างขึ้นในเชิงของการประเมินสถานการณ์ และเหตุการณ์เฉพาะ
ดังเช่น การดวล 1 ต่อ 70 กับสำนักโยชิโอกะที่กล่าวไปตอนต้น การปรับเปลี่ยนการต่อสู้ตามยุทธภูมิ "ไม่ยืนในตำแหน่งที่ดวงอาทิตย์และดวงจันทร์บดบังการมองเห็น" สร้างวิสัยทัศน์ที่เหมาะแก่การมองเห็นศัตรู
บีบให้ศรัตรูต้องอยู่ในสถานการณ์ที่ไม่คุ้นเคย ข่มขวัญศัตรูเพื่อสร้างความได้เปรียบ
คัมภีร์ลม (ตัวแปรแห่งปัจจัย) รู้เขา รู้เรา รู้ปัจจัยของตัวแปรทุกสรรพสิ่ง เป็นเรื่องของการศึกษาเข้าใจกลยุทธของศัตรู
ศาสตร์กลวิธีโบราณ และกล่าวว่าแม้แต่ละสำนักจะมีกลวิธีแตกต่างกันก็ล้วนแต่เป็นส่วนย่อยของกันและกัน มีส่วนกับศิลปะการต่อสู้แขนงต่างๆ
นักดาบบางสำนัก ฝึกฝนแต่ดาบ ชำนาญดาบ มุ่งเฉพาะดาบมากเกินไปแต่ไม่เข้าใจศาสตราวุธอื่น ปัจจัยส่วนของศัตรูหมายรวมถึงอาวุธอื่นๆ ศาสตร์อื่นๆ กลวิธีอื่นๆที่เราต้องศึกษาและ
หาจุดอ่อนให้ได้แม้ในขณะเข้าต่อสู้
คัมภีร์ความว่างเปล่า (วิถีแห่งความไม่ยึดติด) ตัดความกังวลสับสนออกไป ปล่อยจิตว่างรวบรวมทุกอย่างเป็นหนึ่ง มองเห็นและสังเกตอย่างแยบคม
สู่สภาวะว่างเปล่าในจิตใจ (ส่วนนี้ใครที่อ่านการ์ตูน Vagabond ช่วงที่มูซาชิเริ่มทำการเกษตรและฝึกศิลปะจะเห็นว่าช่วงนี้มูซาชิ อยู่กับตัวเองเยอะมาก
เห็นธรรมชาติยิ่งใหญ่ เห็นตนเองแค่เศษธุลีเล็กที่ไม่อาจต่อกร ควบคุม สภาวะธรรมชาติ แต่เมื่อเข้าใจลึกไปอีกขั้นเขารู้สึกว่าตนเองคือสภาวะเดียวกับธรรมชาติ
ผ่านสภาวะธาตุทั้ง 5 ที่อยู่ในกาย จิตแห่งตน - ส่วนนี้การ์ตูน (มังงะ) ทำได้ดีมาก เพราะอธิบายสภาวะนามธรรมของจิตมูซาชิ ออกมาเป็นภาพให้ผู้อ่านเข้าใจได้ดีทีเดียว)
ความว่างเปล่าสูงสุดนี้คือความหลุดพ้น และเข้าถึงมรรคาแห่งดาบ เป็นความว่างจากตัวตน เรา เขา ดี ชั่ว การมีอยู่และไม่มีอยู่ (อนัตตา)
ตามมุมมองของผม คาดว่ามูซาชิเข้าถึงสภาวะหลุดพ้นดังที่นักบวชพุทธนิกายเซน เรียกว่า "ซาโตริ" นั่นเอง (มุมมองผู้เขียน)

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา