Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ออมศีล
•
ติดตาม
19 มิ.ย. 2019 เวลา 00:44 • ประวัติศาสตร์
สะพานรัษฎาภิเศก อ.เมือง จ.ลำปาง
สะพานรัษฎาภิเศก หรือ สะพานขาว สะพานทรงสวยคลาสสิก เป็นสะพานข้ามแม่น้ำวัง ตั้งอยู่ที่ ถ.รัษฎา ต.หัวเวียง อ.เมือง จ.ลำปาง เดิมเป็นสะพานไม้ ที่เจ้านรนันทไชยชวลิต เจ้าผู้ครองนครลำปางและชาว จ.ลำปางได้จัดสร้างขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติ ในวาระที่รัชกาลที่ ๕ ทรงครองราชย์ฯ ครบ ๒๕ ปี ในปี พ.ศ. ๒๔๓๗ ซึ่งเป็นคราวเดียวกับที่กรุงเทพฯ จัดพิธีรัชมังคลาภิเษกให้พระองค์ด้วย
ต่อมาสะพานได้ยุบพังลง ในปี พ.ศ.๒๔๔๘ รัชกาลที่ ๖ จึงโปรดเกล้าฯ ให้ดำเนินการสร้างสะพานคอนกรีตเสริมเหล็ก เพื่อรักษาสภาพคงทนถาวร สิ่งสำคัญของสะพานแห่งนี้ประกอบด้วย เสาประวัติศาสตร์ ๔ ต้น ที่ตั้งอยู่ตรงหัวสะพานฝั่งละ ๒ ต้น หมายถึงความมั่นคงแข็งแรง พวงมาลายอดเสาทั้ง ๔ ด้าน เพื่อรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ครุฑหลวงหรือครุฑสีแดงด้านหน้าเสาทุกต้น เป็นตราสัญลักษณ์ของแผ่นดินในสมัยรัชกาลที่ ๖ และไก่หลวงหรือไก่ขาวตรงกลางเสา เป็นสัญลักษณ์ประจำ จ.นครลำปาง
ต่อมาสะพานได้ยุบพังลง ในปี พ.ศ.๒๔๔๘ รัชกาลที่ ๖ จึงโปรดเกล้าฯ ให้ดำเนินการสร้างสะพานคอนกรีตเสริมเหล็ก เพื่อรักษาสภาพคงทนถาวร สิ่งสำคัญของสะพานแห่งนี้ประกอบด้วย เสาประวัติศาสตร์ ๔ ต้น ที่ตั้งอยู่ตรงหัวสะพานฝั่งละ ๒ ต้น หมายถึงความมั่นคงแข็งแรง พวงมาลายอดเสาทั้ง ๔ ด้าน เพื่อรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ครุฑหลวงหรือครุฑสีแดงด้านหน้าเสาทุกต้น เป็นตราสัญลักษณ์ของแผ่นดินในสมัยรัชกาลที่ ๖ และไก่หลวงหรือไก่ขาวตรงกลางเสา เป็นสัญลักษณ์ประจำ จ.นครลำปาง
สะพานแห่งนี้ เป็นสะพานร่วมสมัยกับยุคอารยธรรมรถไฟ มีอายุผ่านสงครามโลกครั้งที่ ๑ และ ๒ มาแล้ว และรอดพ้นจากการโจมตีทิ้งระเบิดของฝ่ายสัมพันธมิตรมาได้ด้วยการทาสีพรางตา และด้วยการอ้างว่า สะพานแห่งนี้ไม่มีประโยชน์ทางยุทธศาสตร์ของนางลูซี สคาร์ลิง อดีตผู้อำนวยการโรงเรียนวิชานารี ซึ่งเป็นที่ปรึกษาของกองทัพสัมพันธมิตรในขณะนั้น
สะพานรัษฎาภิเศก ยังทำหน้าที่เป็นสัญลักษณ์ของเมืองลำปาง มีเรียกกันหลายชื่อเช่น ขัวสี่โก๊ง (สะพานสี่โค้ง) ขัวหลวง (สะพานใหญ่) และขัวขาว (สะพานขาว) นับเป็นสะพานคอนกรีตเสริมเหล็กที่มีความคงทนมากกว่าสะพานรุ่นเดียวกันที่ไม่เหลืออยู่แล้วในปัจจุบัน
ที่มาของข้อมูล : การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย จ.ลำปาง
ภาพ/เรียบเรียง : ออมศีล
เพิ่มเติม
http://www.youtube.com/c/Janhom
http://www.instagram.com/dhamraksaa
http://www.instagram.com/aomseal
บันทึก
5
1
1
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
สะพานเก่าเล่าเรื่อง
5
1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย