Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ไม้ขีดไฟ
•
ติดตาม
19 มิ.ย. 2019 เวลา 03:44 • ปรัชญา
"คาร์ล มาร์กซ์ กับ สภาวะแปลกแยก"
.. สภาวะแปลกแยก (alienation) สำหรับมาร์กซ์ คืออะไร ?
.. บทความนี้เป็นความรู้ฉบับพกพาในชุด 'ลัทธิมาร์กซ์/มาร์กซิสต์ (Marxism) โดยแนวคิดแรกของมาร์กซ์ที่เพจ 'ไม้ขีดไฟ' จะขอนำเสนอก็คือ ..
... "สภาวะแปลกแยก" (alienation) ...
จะน่าสนขนาดไหน .. ไปเริ่มกันเลย ..
ภาพจาก BBC Radio 4
... Alienation ...
*** ข้อโต้แย้งของมาร์กซ์ที่มีต่อสำนักคิดเศรษฐกิจการเมืองคลาสสิค
... คาร์ล มาร์กซ์ มองว่า.. สิ่งที่นักคิดสำนักคิดนี้สนใจไม่เพียงพอการทำความเข้าใจเศรษฐกิจการเมืองเลย ..
สำนักคิดเศรษฐกิจการเมืองคลาสสิคนั้นมุ่งขับเคลื่อนความสัมพันธ์ระหว่างเศรษฐกิจกับการเมืองเพียงแค่ความละโมบและสงครามเท่านั้น (greed and war)
... แต่มาร์กซ์บอกว่า ..สิ่งสำคัญสำหรับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและการเมืองไม่ได้มีแค่นั้น เราต้องสนใจสิ่งที่ 'ซ่อนอยู่' ไม่ว่าจะเป็นความเห็นแก่ตัว ระบบกรรมสิทธิ์ การขูดรีดของนายทุน เป็นต้น .. สิ่งเหล่านี้คือพื้นฐานของสภาวะแปลกแยกของกรรมกร ..
Adam Smith นักคิดสำนักเศรษฐกิจการเมืองแบบคลาสสิค
*** สภาวะแปลกแยก คืออะไร ?
... มาร์กซ์ ชี้ให้เราเห็นว่า.. กรรมกร/คนงานนั้นยิ่งทำงานแต่กลับยากจนลง.. ส่วนสิ่งที่มีเพิ่มขึ้นอย่างไม่หยุดหย่อนคือ 'สินค้า'
ในระบบทุนนิยม คนงานจะรู้สึกว่ายิ่งเขาทำการผลิตมากเท่าไร เขากลับมีอำนาจในการครอบครองน้อยลงไปเท่านั้น..
3
มาร์กซ์อธิบายว่า สภาวะแบบนี้เกิดขึ้นเพราะ "กำลังแรงงาน" (labour) แยกส่วนของจาก "คนงาน" (worker) ..
พูดง่าย ๆ คือ .. แม้คนงานจะเป็นคนออกแรงผลิตสินค้า แต่กำลังแรงงานของเขาไม่ได้เป็นของเขา .. แต่กำลังแรงงานนั้นถูกซื้อ - ขายได้โดยชนชั้นนายทุน (capitalist) ..
มาร์กซ์บอกว่า กรรมกรนั้นไม่มีทางเลือก หากแต่เป็นสภาวะจำยอม เพราะต้องการค่าจ้าง (wages) มาใช้จ่ายในชีวิต ..
* ดังนั้น สภาวะแปลกแยก สำหรับมาร์กซ์ก็คือ การที่กรรมกร/คนงานออกแรงกายทำงานเพื่อสนองความต้องการของคนอื่น (นายทุน) ไม่ใช่ความต้องการของตัวเอง ..
1
มาร์กซ์เปรียบเทียบว่า .. ในสภาวะแปลกแยก คนงานจะมีอิสระแบบสัตว์เท่านั้น คือ การกิน ดื่ม สืบพันธุ์ และนอนเท่านั้น เวลาทำงานเขาก็เป็นดังสัตว์ที่ต้องใช้แรงงานเพื่อเจ้านายของมัน ..
*** สภาวะแปลกแยก 4 ประการ
... ภายใต้ความสัมพันธ์ทางการผลิตในระบบทุนนิยม กรรมกรเป็นเพียง 'คนงานที่ถูกทำให้แปลกแยก " (alienated labour) ซึ่งมาร์กซ์เสนอว่า มันแปลกแยกออกไป 4 แง่มุม ได้แก่
1. คนงานแปลกแยกไปจากผลผลิตที่ตัวเองทำ .. พูดง่าย ๆ คือ คนงานเป็นคนออกแรงทำสินค้า.. แต่สินค้านั้นดันไม่ใช่กรรมสิทธิ์ของตัวเอง แต่เป็นของนายทุน ..
2. คนงานแปลกแยกไปจากกระบวนการทำงาน ..
มันก็คือ .. การที่คนงานไม่ได้รู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของระบบการผลิตเลย แต่ถูกบังคับด้วยความจำเป็น ที่ตัวเองมีแค่ 'กำลังแรงงาน' จะขายแลกเงิน .. จนทำให้คนงานมีอิสระในชีวิตเยี่ยงสัตว์..
3. คนงานแปลกแยกไปจากสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ .. สำหรับมาร์กซ์ คนงานเป็นเพียงฟันเฟืองเล็ก ๆ ในโรงงาน .. หากเขาตาย นายทุนก็จะหาฟันเฟืองตัวใหม่มาแทน .. คนงานในสภาวะแบบนี้จะขาดปฏิสัมพันธ์กับคนอื่น ๆ ไปจนถึงครอบครัวของตนเอง .. วัน ๆ ทำแต่งาน หาเงินเลี้ยงชีพ..
4. คนงานแปลกแยกไปจากมนุษย์คนอื่นและตัวเอง .. มาร์กซ์บอกว่า อย่างเลวร้ายที่สุด .. คนงานจะไร้เพื่อน ไม่มีความรู้สึกเอื้ออาทรต่อกัน เพราะต้องดิ้นร้นเอาตัวรอดในแต่ละวัน .. และที่หนักไปกว่านั้นคือ .. คนงานแปลกแยกจากตัวเอง.. คนงานจะทุกข์และพบว่าชีวิตไร้ความหมาย .. ทำงานเพื่อแลกเศษเงินเท่านั้น จนอาจตายไปในที่สุด..
ภาพโรงงานที่คนงานต้องทำงาน
*** หากถามหาทางออกจากสภาวะแปลกแยก..
... สำหรับมาร์กซ์ .. แม้ว่าระบบทุนนิยมจะมีการปรับตัว เช่น ลดชั่วโมงการทำงาน เพิ่มค่าแรง เป็นต้น แต่ตราบใดที่ยังมีชนชั้นนายทุนและชนชั้นแรงงาน "สภาวะแปลกแยก" ไม่มีทางหายไป
มาร์กซ์บอกว่า "สังคมที่ปราศจากชนชั้น" (classless society) จะไร้ซึ่งสภาวะแปลกแยกนั่นเอง ..
และทั้งหมดนี้คือ "สภาวะแปลกแยก" (alienation) ตามความคิดของมาร์กซ์ที่พูดถึงความเลวร้ายที่ระบบทุนนิยมได้กระทำต่อคนงานนั่นเอง..
หากชอบ ถูกใจ และได้ความรู้ ..
ฝากติดตาม เพจ 'ไม้ขีดไฟ' ด้วยนะครับ..
แนวคิดของคาร์ล มาร์กซ์ ยังมีที่น่าสนใจอีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็น ประวัติศาสตร์แบบวัตถุนิยม ศาสนา รัฐ ..หากอยากให้ผู้เขียนนำเรื่องไหนมาเล่าสู่กันฟัง สามารถคอมเม้นท์พูดคุยกันได้นะครับ ..
- ขอบคุณครับ -
รายการอ้างอิง
- Introduction to Marxist Political Theory (textbook)/Watcharabon Buddharaksa
- อ่านเพิ่มเติม
https://youtu.be/PZ4VzhIuKCQ
25 บันทึก
35
4
24
25
35
4
24
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย