19 มิ.ย. 2019 เวลา 14:23 • ประวัติศาสตร์
7 เรื่องต้องรู้เกี่ยวกับการ เดินทาง รถไฟญี่ปุ่น สบายใจ ไม่พลาด
วันนี้เราขอไขข้อข้อใจของหลายคนด้วยการนำสิ่งที่ต้องรู้เมื่อเลือก เดินทาง รถไฟญี่ปุ่น มาเสนอ เพราะแม้ขึ้นชื่อว่าเป็นการเดินทางที่สะดวกสะบาย แต่ก็มีหลายสิ่งที่ต้องทำความเข้าใจ เดินทางเมื่อไหร่จะได้ไม่พลาด
1 เดินทาง รถไฟญี่ปุ่น ชื่อเดี๋ยวกัน เช็คให้ดี สถานีไหนกันแน่!
สำหรับบางสถานีรถไฟที่เป็นสถานีหลัก สามารถต่อเชื่อมการเดินทางได้หลากหลายแบบ ชื่อที่เหมือนกันไม่ได้หมายความว่าตำแหน่งการขึ้นรถไฟจะอยู่ที่เดียวกัน คุณจำเป็นต้องทราบว่าคุณต้อง เดินทาง รถไฟญี่ปุ่น ประเภทไหน สายอะไร ดังนั้นต้องดูป้ายที่บอกทางให้ดีหากยังไม่คุ้นชิน เช่น หากคุณต้องนั่งรถไฟฟ้าใต้ดินสายกินซ่าเริ่มจากสถานีอุเอโนะ ก็ต้องเข้าเกตรถไฟใต้ดินสายกินซ่า ไม่ใช่เกต JR อุเอโนะ เป็นต้น หรือบางสถานีที่ชื่อเหมือนอาจเป็นสายรถไฟท้องถิ่น สายเอกชน ต้องจำให้ดีว่าเราต้องขึ้นรถไฟแบบไหน บนดิน ใต้ดิน ชินกันเซ็น และสายใด
2 ขาไปหรือขากลับดูให้ดี
ต่อไปมาดูเรื่องของชานชาลาที่ต้องขึ้นรถไฟกันบ้าง เราต้องทราบว่าชานชาลาที่เราต้องขึ้นรถไฟนั้นไปทางไหน โดยดูได้จากคำว่า For ตามด้วยชื่อสถานีหลัก สถานีเปลี่ยนสาย สถานีสุดทัาย ที่ปรากฏบนป้าย ดังนั้นก่อนขึ้นต้องดูให้แน่ก่อน และควรศึกษาผังรถไฟสายที่จะใช้บริการซึ่งส่วนมากจะมีโบรชัวร์ผังรถไฟแจกทั่วไปถ้าเป็นสายหลักๆ ส่วนมากแต่ละสถานีจะมีป้ายไฟแจ้งเวลาและรถที่กำลังเทียบชานชาลา สามารถคอนเฟิร์มได้ หรือดูตัวอักษรวิ่งข้างรถก่อนขึ้นก็ได้ถ้ามีเวลา
3 ชานชาลาก็เดียวกัน และรถไฟนั้นอาจไม่ใช่
สำหรับในบางสถานีในหนึ่งชานชาลาอาจมีรถมาเทียบมากกว่าหนึ่งสาย ดังนั้นจึงควรทราบว่ารถที่เราจะขึ้นหน้าตาเป็นอย่างไร แถบสีอะไร เป็นรถไปแบบไหน เมื่อรถมาเทียบชานชาลาก่อนเวลาของรถไฟที่เราจะขึ้นรถคันนั้นอาจเป็นสายอื่น ดังนั้นเช็คให้ดีก่อน ไม่งั้นอาจพลาดยาว
4 เลือกประเภทรถให้เหมาะกับการเดินทาง
เชื่อว่าหลายคนที่สนใจการ เดินทาง รถไฟญี่ปุ่น คงต้องชื้อพาสเช่น JR PASS เป็นต้น ซึ่งสามารถเลือกขึ้นรถไฟได้หลากหลายประเภท ดังนั้นก็ควรเลือกการเดินทางที่เหมาะ และประหยัดเวลาที่สุด โดยดูจากชื่อรถอาทิ
รถไฟJR
-普通 (Local): รถไฟที่จอดทุกสถานี ช้าที่สุดในบรรดาทั้งหมด
-快速(Rapid): รถไฟที่จอดน้อยสถานีกว่าแบบ Local เล็กน้อย
-通勤快速 (Commuter Express): ให้บริการเฉพาะในเวลาที่มีผู้ใช้บริการหนาแน่น หยุดที่สถานีน้อยกว่าแบบ Rapid
-特別快速 (Special Rapid): หยุดน้อยสถานีกว่า Commuter Express
-特急 (Limited Express): เป็นรถไฟที่จอดป้ายน้อยมากถึงจุดหมายรวดเร็วที่สุด มักมีค่าบริการค่อนข้างมาก ต้องเสียค่าสำรองที่นั่ง ผู้ที่ใช้พาสต้องสำรองที่นั่งก่อนใช้บริการ มีการระบุที่นั่งและเลขรถ
-Shinkansen: เป็นรถไฟแบบที่เร็วที่สุด จอดเป็นเมืองๆ ไป ค่าบริการแพงที่สุด ต้องเสียค่าสำรองที่นั่ง ผู้ที่ใช้พาสที่มีสิทธิ์ขึ้นรถต้องสำรองที่นั่งก่อนใช้บริการ มีการระบุที่นั่งและเลขรถ
รถไฟเอกชน หรือท้องถิ่น
-普通 (Local): จอดทุกสถานี มักโชว์คำว่า 各駅停車 “รถไฟขบวนนี้จอดทุกสถานี” ที่ตัวรถไฟ
-準急 (Semi-Express, Local Express): จอดสถานีน้อยกว่าแบบ Local แต่มาถี่กว่า Rapid
-快速 (Rapid): รถไฟแบบนี้จอดสถานีน้อยกว่าแบบ Semi-Express
-急行 (Express): จอดสถานีน้อยกว่าแบบ Rapid
-特急 (Limited Express): เร็วที่สุด มักต้องจ่ายเพิ่มเติม
5 ห้ามกางร่ม และใช้ไม้เซลลฟี่ บนชานชาลา
การห้าม ห้ามกางร่ม และใช้ไม้เซลลฟี่ บนชานชาลาเพราะเหตุผลด้านความปลอดภัย เพราะอาจไปเกี่ยวโดนสายไฟ รถไฟ หรือเกิดอุบัติเหตุอื่นๆ ซึ่งเกิดขึ้นได้ระหว่างการใช้รถไฟ
6 ปิดเสียงโทรศัพท์และงดคุยโทรศัพท์บนรถไฟ
ปิดเสียงโทรศัพท์และงดคุยโทรศัพท์บนรถไฟ ข้อนี้ค่อนข้างจริงจังทีเดียว ดังจะเห็นได้ว่าคนญี่ปุ่นนั้นจะอ่านหนังสือ เล่นมือถือเงียบๆ ตลอดการเดินทาง
7 เช็คสายรถไฟด้วย Hyperdia
ใครที่ยังไม่มีไอเดียการเดินทางขอแนะนำ Hyperdia เว็บไซต์ที่บอกละเอียดทั้งสายรถ ต้องต่อรถอย่างไร ขึ้นกี่ต่อ สามารถระบุวันเวลา ราคาที่ต้องจ่ายได้ค่อนข้างแม่นยำ เป็นเว็บที่ไม่ควรพลาด
แหล่งที่มา : www.chillchilljapan.com
โฆษณา