21 มิ.ย. 2019 เวลา 15:15 • ธุรกิจ
7 habits of highly effectively people
หนังสือแนวพัฒนาตนเองในตำนาน เขียนโดย Stephen R. Covey ที่ได้รับการนิยมมากที่สุดในโลก มีการแปลในภาษาต่างๆ แล้วมากกว่า 34 ภาษา จำหน่ายไปแล้วกว่า 20 ล้านเล่มทั่วโลก เป็นหนังสือ ที่ว่าด้วยอุปนิสัยต่างๆ ทั้ง 7 ของมนุษย์ ซึ่งมักใช้ในการอ้างอิงของหมู่นักจัดการ นักวิชาการและนักจิตวิทยา ขอสรุปข้อคิดที่ได้จากการฟัง Podcast ที่ได้กล่าวถึงข้อคิดของหนังสือเล่มนี้กันนะคะ
1. Proactive
คุณลักษณะอย่างแรกคือ Proactive ตรงกันข้าม reactive ลักษณะคนที่คิดทุกอย่างก่อนออกจากบ้าน ไม่ใช้ชีวิตแบบตามน้ำ ยกตัวอย่างเช่น พอถึงที่ทำงานปุ๊ป คนที่มีความ Proactive จะรู้ตัวเองเลยว่าวันนี้จะต้องทำอะไรบ้าง 1,2,3,4
โทรไปคุยกับ CEO ตอนเช้า เพราะรู้ว่าเค้ายังอยู่ในรถ มีเวลาคุย อารมณ์ดี วางแผนจะทำ 1234 หรือถ้าจะต้อง Present ก็จะเตรียมเอกสารไว้หลายๆ ที่เพื่อป้องกันความผิดพลาด คนที่เป็น proactive จะเป็นคนวางแผน เตรียมการต่างๆ และลด influence ของ external force สิ่งที่มากระทบเราจากภายใน พยายามจะลดให้มากที่สุด
ถ้าคุณเป็น proactive ในเชิงสภาวะจิตใจทางอารมณ์ คุณจะมี self-awareness มากด้วย เช่น ถ้าคุณรู้ว่าจะต้องเข้าประชุมที่มีความเครียดมาก มีภาวะกดดันการตัดสินใจต่างๆ นอกจากจะเตรียมข้อมูลต่างๆไว้พร้อมแล้ว ยังเตรียมสภาพจิตใจ คุณยังบอกตัวเองอีกว่าวันนี้จะทำยังไงก็ได้ไม่ให้โมโห ไม่หงุดหงิด ไม่อารมณ์เสีย จะยิ้ม ไม่แสดงสีหน้า ไม่ออกอาการทางสีหน้า หรือการต้องเข้าประชุมกับคนที่เราไม่ชอบหน้าเอามากๆ ก็จะคิดจะบอกตัวเอง เตรียมตัวไว้ว่าจะไม่หงุดหงิด ไม่อารมณ์เสีย ไม่ทำงานพังเพราะจะมีผลกระทบกับบริษัท คนที่ตรงกันข้าม reactive ก็คือตามหน้า งานแทรกอะไรก็ทำมันไปไม่ได้ดูที่ความสำคัญก่อน
2
2. Begin with the end in mind
คือการเป็นมากกว่าแค่จินตนาการภาพงานที่จะ deliver ไว้ในหัว ว่าถ้าฉันทำงานนั้นเสร็จ หน้าตามันจะออกมาเป็นยังไง แต่คำว่า Begin with the end in mind คือการมองให้ลึกกว่านั้น คือ เมื่อถึงจุดจุดหนึ่งเราอยากให้คนอื่นพูดถึงมันยังไง เราอยากจะส่งต่อให้คนอื่นอย่างไร
ในหนังสือ7 habits of highly effectively people ได้เปรียบเทียบถึงงานศพตัวเอง เมื่อคุณตายไปแล้วคนอื่นจะพูดถึงคุณยังไงบ้าง มันทำให้เรานึกถึง value ของเรา ลูกหลาน เพื่อนฝูง ครอบครัว คนเหล่านั้นเขาจะพูดถึงเรายังไง End ในที่นี้ไม่ได้ถึงงานแต่หมายถึงชีวิตของเรา ที่อยากให้คนอื่นพูดแม้วันที่เราไม่ได้อยู่บนโลกใบนี้แล้ว เวลาจะตัดสินใจอะไร ถ้าเรานึกถึง begin with the end in mind เราจะคิดได้ว่าจะทำหรือไม่ทำอะไร เพราะไม่อยากให้ตอนจบคนพูดถึงเราแบบนั้น
ชีวิตมี 2 แบบ ได้แก่ 1. By design และ 2. By default เราเลือกออกแบบมันได้ ซึ่งเราอาจมีบางอย่างที่ฝังหัวเรามาตั้งแต่เด็ก เป็น Script ที่พ่อแม่ สังคม คนรอบตัวเขียนให้เรา ว่าเราต้องเป็นอย่างนั้น อย่างนี้ แต่ถ้าภาพในหัวเราชัด เราจะสามารถเขียนบทชีวิตเราใหม่ได้ (Rescript) มันได้ เพราะฉะนั้น Design your Life ของตัวเองซะ
ปัจจุบันเราอาจใช้ชีวิตโดยให้บางอย่างเป็นศูนย์กลางของชีวิตเรา และเราก็คอยตอบสนองสิ่งต่างๆตามตัวกระตุ้นเหล่านั้น ยกตัวอย่างเช่น Spouse-Centered ตัดสินใจทุกอย่างตามสิ่งที่จะทำให้คู่ชีวิตรู้สึกดี โดยลืมอย่างอื่นในชีวิต ,Money-Centered ตัดสินใจทุกอย่างที่จะทำให้ได้เงิน โดยลืมอย่างอื่นในชีวิต , Enemy-Centered ตัดสินใจทุกอย่างเพื่อให้เหนือศัตรู โดยลืมอย่างอื่นในชีวิต ซึ่งแน่นอนเราจะต้องพบกับ Pain ซ้ำแล้วซ้ำเล่าหากในชีวิตเราขึ้นกับสิ่งที่เปลี่ยนแปลงได้ตลอด
สิ่งที่ดีที่สุดคือ Principle-Centered คือยึดหลักการที่ถูกต้องเป็น Center เช่น ในสถานการณ์ที่ต้องเลือกระหว่าง 2 อย่าง ก็จะพยายามหาสมดุลที่ได้ประโยชน์ทุกฝ่าย และไม่ขัดต่อภาพสุดท้ายที่มองเห็นไว้
เราควรมี Mission Statement เพื่อระบุสิ่งเป็น the end in mind ของเรา และควรแบ่งตาม role ต่าง ๆ ในชีวิต เช่น ถ้าชีวิตนี้เราเป็นพ่อ เป็นเจ้านาย เป็นลูก เราก็ควรระบุให้ครบว่า เราเป็นพ่อแบบไหน เป็นเจ้านายยังไง เป็นลูกยังไง
3. First thing first
First thing first คือการเข้าใจว่าอะไรคือ priority ในชีวิตของคุณ ที่ทำงานคุณก็มีอย่างหนึ่ง พอกลับมาบ้าน priority ของคุณก็มีอีกอย่างหนึ่ง คุณอยู่บทบาทอะไรในตอนนั้นๆ คุณรู้ไหมว่าคุณกำลังใช้ชีวิตกับสิ่งสำคัญที่สุดของคุณ ณ เวลานี้หรือเปล่า สิ่งสำคัญมันจะเปลี่ยนไปตามช่วงเวลา เมื่อไหร่ที่คุณรู้ว่าสิ่งสำคัญของคุณคืออะไร คุณจะไม่สูญเสีย focus ไปจาก mission ของคุณ
4. Think win/win คือการพยายามหา win-win solution ในทุกโอกาส ฝึกให้เป็นนิสัย win win มันจะไม่ได้ออกมาจากการมองครั้งแรก แต่ขอให้เราพยายามฝึกมองหา Solution ที่ไม่มีใครเสียประโยชน์ในทุกๆ โอกาส
5. First understand and then be understood
คือคุณต้องเข้าใจคนอื่นก่อน โดยไม่หวังให้ใครมาเข้าใจเราก่อน เราเข้าใจคนอื่นได้ด้วยการ “active listening” ฟังว่าเข้าต้องการอะไร อย่าเพิ่งใส่ความคิดตัวเองลงไป อย่าเอาความเชื่อ ความคิดในกรอบของเราใส่ลงไป อันนั้นจะทำให้เกิด bias
ยิ่งถ้าเรามีความเชื่อมากๆ จะทำให้เกิด confirmation bias คือเราไม่ได้เจอเรื่องแต่เราหาหลักฐานมาตอบเรื่องนี้ โดยปกติเวลามีเรื่องเราจะพยายามหาข้อมูล แต่ถ้าเรามีความเชื่อหรือมีคำตอบในสิ่งใดสิ่งหนึ่งอยู่แล้ว เรามักจะเพียงแค่หาหลักฐานมาสนับสนุนความเชื่อของเรา
สรุปง่ายๆก็คือ เรามักจะหาหลักฐานมาตอกย้ำความเชื่อของตัวเอง และหากพอเชื่อไปแล้ว มีใครพูดหรือหาเหตุผลอะไรมาโต้แย้ง ก็จะไม่รับฟัง สิ่งนี้ อันตรายมาก เพราะเมื่อไหร่ก็ตามที่คุณเห็นหลักฐานที่ไม่สนับสนุนความเชื่อของคุณ คุณจะตัดมันทิ้งไปเลยทั้งๆที่ไม่รู้ว่ามันถูกหรือผิด
อีกสิ่งหนึ่งที่จะช่วยให้เราเข้าใจคนอื่นคือต้องมี empathy มองเรื่องจากมุมคนอื่น เช่น ลูกน้องคุณทำผิด เราจะพยายามมองเรื่องจากมุมเค้าได้ เราเข้าใจหรือเปล่า จะลงโทษก็ลงโทษด้วยความเข้าใจ
6. Synergize
เมื่อไหร่ก็ตามที่คนเราที่ร่วมงานกับผู้อื่น ต้องยอมรับในความแตกต่างซึ่งกันและกัน และพยายามมองว่าความแตกต่างนั้นน่าจะมีประโยชน์ และนำข้อดีของความแตกต่างนั้นมาใช้ประโยชน์ให้มากที่สุด โดยการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและเรียนรู้ด้วยกันเพื่อทำให้เกิดการพัฒนาการทำงาน พูดง่ายๆก็คือ การหยิบเอาสิ่งดีๆมาขยายให้ใหญ่ขึ้นนั้นเอง If you want to go fast, go alone. If you want to go far, team up!
7. Sharpen the saw
เราควรมีการชาร์ตพลังอยู่เสมอ ทั้งทางสมอง ร่างกาย จิตใจ ทำยังไงให้เราสามารถเคลียร์เรื่องเก่าและพร้อมรับสิ่งใหม่ เราต้องมีวิธีจัดการกับความเศร้า/ความเครียดของตัวเอง อย่าลืมนะว่า คุณมีร่างกายเดียว ถ้ามันพัง คุณก็จบ
ขอบคุณ​ podcasts ดีๆของคุณรวิศ หาญอุสาหะ
รูปภาพ : pinterst
โฆษณา