Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
คลังความรู้
•
ติดตาม
22 มิ.ย. 2019 เวลา 03:48 • การศึกษา
ปรากฏการณ์ปะการังฟอกขาว (Coral Bleaching) คำเตือนของโลกถึงวิกฤตการณ์ที่มนุษย์กำลังเผชิญ...
เกริ่นกันก่อนสักนิด ว่าที่เเอดมินหายไปหลายวันก็เพราะไปติดนิยายเรื่องหนึ่งเข้าอย่างจัง(ใครที่ติดตามเเอดมินมาก็จะพอรู้ว่า เเอดเป็นคนที่ติดซีรีย์ นิยาย เมะ เเบบบ้าครั่งมากกก) ซึ่งเรื่องมันก็เกี่ยวกับปัญหาโลกร้อน นั่นก็เลยเป็นเหตุให้เเอดมินอยากรู้อยากเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้เป็นพิเศษ เลยไปหาข้อมูลมา ซึ่งพบว่าปัญหาที่เห็นได้ชัดเจนปัญหาหนึ่งเลยก็คือ ปรากฏการณ์ปะการังฟอกขาว (Coral Bleaching) นี่เเหละครับ เลยอยากหาข้อมูลเเบบว่า มาเล่าสู่กันฟังเเบบพอเข้าใจ เเละตระหนักถึงปัญหานี้ก็พอละครับ
เเนวปะการังทั่วโลก
youtube.com
Great Barrier Reef
The largest living structure, the Great Barrier Reef spans more than 1,200 miles (2,000 km) of islands and submerged reefs. ➡ Subscribe: http://bit.ly/NatGeo...
หากกล่าวถึง ปรากฏการณ์ปะการังฟอกขาว (Coral Bleaching) หลายคนก็คงนึกถึงภาพปะการังที่มีลักษณะสีที่ขาวโพลนไปทั้งกอ ซึ่งนั่นก็เป็นความจริง เเต่รู้หรือไม่ว่าทำไมมันถึงเป็นอย่างนั้น...? นั่นก็เพราะว่า...สาหร่ายเซลล์เดียวที่มีชื่อว่า ซูแซนเทลลี (Zooxanthellae) นั่นถูกขับไล่ที่ให้ออกจากปะการังไป (ใจร้ายสุดๆ)
ซูแซนเทลลี (Zooxanthellae)
เเต่เพื่อจะไม่ทำเรื่องนี้ให้เป็นประเด็นดราม่า อันน่าสลดใจ เราคงต้องกล่าวถึงสาเหตุว่าทำไมมันถึงเป็นอย่างนั้น...เริ่มด้วยความสัมพันธ์เเบบเเนบชิดระหว่าง ปะการังกับเจ้าสาหร่ายซูแซนเทลลี ซึ่งมีความสัมพันธ์เเบบพึ่งพาอาศัยกัน โดยปะการังให้ที่ซุกหัวนอนเเละเเหล่งวัตถุดิบสำคัญกับ
ซูแซนเทลลี เเละซูแซนเทลลี ก็สร้างอาหารจากการสังเคราะห์ด้วยเเสงเเก่ปะการัง...โดยปะการังได้รับสารอาหารเเละพลังงานกว่า 80% จากเจ้าสาหร่ายเลยทีเดียวครับ...นอกจากนี้ซูแซนเทลลี ยังมอบสีสันอันสวยงามหลากหลายสี เเก่ปะการังอีกด้วย
หากเรื่องราวมันมีเเต่ความสุขระหว่าง นางเอกกับพระเอกอย่างปะการังกับสาหร่ายซูแซนเทลลี เเล้ว เรื่องมันก็จบไปเเบบ happy ending เเต่ว่าก็มีก้างขวางคออย่างภาวะโลกร้อน เเละมลพิษทางท้องทะเล ทำให้ทั้งคู่ต้องเเยกจากกัน เรามาดูกันชัดๆกันดีกว่าว่าตัวเจ้าในเรื่องมีอะไรบ้าง...
1. ปัญหาน้ำทะเลที่มีอุณหภูมิเพิ่มขึ้น
ปะการังสามารดำรงชีวิตอยู่ได้ ในอุณหภูมิน้ำทะเลที่ 20-30 องศา หากมากไปกว่านี้ เพียง1-2 องศา เป็นเวลาติดต่อกันนานประมาณ 3-4 สัปดาห์ ปะการังจะขับสาหร่ายซูแซนเทลลี ออกเพื่อความอยู่รอด ซึ่งทำให้สีสันเเปลกๆ หายไปเหลือเพียงเนื้อเยื้อสีขาวจากเเคลเซียมคาบอเนทให้เห็นเท่านั้น ซึ่งหากเป็นระยะเวลาสั้นๆเเล้ว
อุณหภูมิกลับเป็นปกติ สาหร่ายซูแซนเทลลีก็จะกลับมา เเต่หากนานเกิน 2-3เดือน ปะการังก็อาจตายได้เลยล่ะครับ
2. มลพิษทางน้ำ
อาจเป็นสารเคมีจากการใช้ชีวิตประจำวันของมนุษย์ หรืออาจเป็นตะกอนจากเเม่น้ำก็ได้ ซึ่งปะการังส่วนใหญ่จะไม่อยู่ในปากเเม้น้ำ เพราะตะกอนจากเเม่น้ำจะเข้าบดบัง เเสงอาทิตย์ทำให้สาหร่ายไม่สามารถสร้างอาหารได้ เป็นผลทำให้สาหร่ายซูแซนเทลลี หนีไปจากปะการังนั่นเอง
นอกจากนี้เเล้วการไม่อยู่ใหล้ปากเเม่น้ำก็เพราะ หลีกหนีมลพิษจากสารเคมี จากการเกษตร รวมถึงอุตสาหกรรมอีกด้วย
3. ปัญหาด้านน้ำทะเลเจือจาง
ก็เป็นผลจากการอยู่ใกล้ปากเเม่น้ำเช่นกัน ทำให้ระดับความเค็มของน้ำทะเลที่เหมาะเเก่การดำรงชีวิตของปะการังเเละสาหร่ายเจือจางไป...
ซึ่งสถาณะการของปะการังฟอกขาวในปัจจุบัน ค่อนข้างรุนเเรงเข้าขั้นวิกฤตเลยละครับ จากกราฟด้านล่าง เเสดงการครอบคลุมของปะการัง ในทะเลฝั่งอันดามันของไทย ก่อนเเละหลังเกิดการฟอกขาวขึ้น เเสดงให้เห็นว่าจำนวนปะการังที่มีอยู่ลดลงไปเพียงใด...
สีเขียวเเสดงพื้นที่ที่มีปะการังอยู่ก่อนฟอกขาว...
สีเเดงเเสดงพื้นที่ที่มีปะการังอยู่หลังฟอกขาว...
ซึ่งเเสดงให้เห็นอีกว่า จำนวนปะการังลดลงจนน่าตกใจเลยครับ...
great barrier reef
นอกจากที่ไทยเเล้วในพื้นที่เเนวปะการังสำคัญๆของโลกก็ประสบปัญหาเช่นเดียวกัน อย่าง เเนวปะการัง great barrier reef ก็กำลังปะสบกับปัญหานี้อย่างหนัก จนทางการออสเตรเลีย ต้องออกมาทุ่มงบประมาณ12,000ล้านบาท เพื่อฟื้นฟูเเนวปะการังให้กลับมาสมบูรณ์อีกครั้ง
ซึ่งก่อนหน้ามีความอุดมสมบูรณ์มาก ถือเป็นที่นิยมสำหรับนักท่องเที่ยว เเละนักชีววิทยาที่สนใจเกี่ยวกับการดำรงชีวิตของสัตว์ในท้องทะเล
ผลการรายงานจากการฟื้นฟูพบว่า สามารถช่วยฟื้นฟูได้ขึ้นมาบางส่วน จากเเผนภาพเเสดงจากการฟอกขาวในปี 2016 กับ 2017
ถือเป็นอีกผลสำเร็จที่คุ้มค่า เเต่จากข่าวสดในวันที่ 20 เมษายน 2561 รายงานจาก AFP ว่าคลื่นความร้อนที่เเผ่ในออสเตรเลียนานกว่า 9เดือนที่ผ่านมาทำให้ ประการังที่อยู่ในขั้นวิกฤตอยู่เเล้ว ไม่สามารถฟื้นคืนกลับมามีชีวิตได้อีกกว่า 30% ของเเนวปะการังทั้งหมด ในระยะทาง 2,300กิโลเมตร
ซึ่งผลกระทบที่ตามมา เเม้เเต่คนที่อยู่บนภูเขาก็ได้รับผลด้วยนั้นก็คือ วิกฤตด้านภาวะโลกร้อนกำลังมาเยือนเเล้ว ปะการังฟอกขาวเป็นปราการที่อ่อนไหวสามารถบอกความรุนเเรงของสภาวะโลกร้อนได้ชัดเจน ซึ่งจากปัญหานี้ส่งผลให้จำนวนปลาที่อาศัยเเนวปะการังในการดำรงชีวิตต้องพบวิกฤต บางชนิดลดจำนวนลงอย่างน่าตกใจ ถึงอาจสูญพันธุ์ได้...
นั่นหมายถึงการเปลี่ยนเเปลงวิถีชีวิตของสิ่งมีชีวิตในเเนวปะการัง อาจมีการอพยพ ทำให้จำนวนอาหารทางทะเลลดลงส่งผล ต่อชาวประมงในท้องที่ อีกทั้งหากมองในมุมของเศรษฐกิจเเล้ว จำนวนนักท่องเที่ยวลดลงอย่างเห็นได้ชัด...
ที่สำคัญทำให้ฤดูกาลเปลี่ยนเเปลงไปส่งผลต่อการดำเนินชีวิต ของทุกคน หน้าหนาวก็ร้อน หน้าร้อนก็ร้อนขึ้นไปอีก(เฮ้อ...! เเอบถอนหายใจ)
เเต่นั่นทุกคนจึงเป็นตัวเเปรสำคัญในการช่วยโลกในครั้งนี้ เพราะเราสามารถช่วยกันได้เช่น เดินไปในที่ใกล้เเทน การใช้รถ อาจเปลี่ยนเป็นจักรยาน (นั่นก็พูดง่ายอะเนอะ... ก็ประเทศเราไม่ได้ออกเเบบมาให้ขับจักรยานสักกะหน่อย "เเอบหงุดหงิดเล็กๆ") เเยกขยะก่อนเผา ลดใช้ถุงพลาสติก ปลูกต้นไม้ ไม่เผาป่า ต่างๆนานาๆที่พวกเราสามารถช่วยกันได้ ช่วยกันคนละนิด เเล้วพลังนั้นจะส่งผลกับโลกนี้อย่างมากเลย...#ไม่ได้โลกสวยเเต่จริงจังนะ
หากชอบเเละคิดเห็นว่าเป็นประโยชน์เเก่ผู้คน สามารถเเชร์ได้นะครับ เเละขอบคุณอย่างยิ่งหากจะติดตามเป็นกำลังใจให้กับเเอดมิน...เเละขอบคุณมากเลยนะครับที่เข้ามาอ่านถึงบรรทัดสุดท้ายนี้
หากมีข้อผิดพลาดประการใดก็ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยครับ....
อ้างอิงข้อมูลเเละภาพประกอบจาก
-
https://greennews.agency/?p=17094
-บทความ ปะการังฟอกสีเพราะโลกร้อน วิชาการ.คอม
-บทความสาเหตุที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในแนวปะการัง โดยนิพนธ์ พงศ์สุวรรณ นักวิชาการประมง
-NSTDA.or.th
-National Ocean Service. What is coral bleaching
-
https://www.trueplookpanya.com/knowledge/content/67857/-blo-scibio-sci-
https://www.sciencemag.org/news/2016/09/some-relief-great-barrier-reef
-THE STANDARD
-
http://www.bbc.com/news/world-australia-43940063
-
https://km.dmcr.go.th/th/c_254/d_17309
-
https://youtu.be/wbNeIn3vVKM
-
https://youtu.be/BO44JlAElXM
-
https://edition-m.cnn.com/2019/04/04/australia/great-barrier-reef-coral-bleaching-intl/index.html?r=https%3A%2F%2Fwww.google.com%2F
-
https://km.dmcr.go.th/th/c_3/d_916
-
https://en.m.wikipedia.org/wiki/Sea_surface_temperature
6 บันทึก
37
9
7
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
บทความสารคดี (เกี่ยวกับสัตว์)
6
37
9
7
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย