Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
บล็อคเรด.31
•
ติดตาม
24 มิ.ย. 2019 เวลา 15:14 • ธุรกิจ
Disruption : แค่เปลี่ยนแปลงหรือทำลายล้าง. by.blockred.31/ 24 มิถุนายน 2562
เพราะวันนี้โลกหมุนเร็วมาก ขณะที่บางธุรกิจยังคงย้ำอยู่กับที่ คำนี้จึงถือกำเนิดขึ้น
“ Disrupt ”
#Blockred.31
ซึ่งในอนาคตคำนี้จะเกิดขึ้นกับทุกวงการณ์ ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจสื่อ ธุรกิจด้านการผลิต ด้านการเงิน ด้านการเกษตร หรือแม้แต่ด้านการเมือง ก็มีคำนี้เกิดขึ้นแล้ว ฯ เพราะการเปลี่ยนแปลง ของสังคมโลก ไม่ช้าก็เร็ว
ฉะนั้น โพสนี้ตั้งใจอ่านให้ดี เพราะมันเกี่ยวข้องกับเราทุกคน
มาร์ขยายความกัน ... แฮ่ร!
ความหมายของ Disrupt (vt.) แปลตรงตัวว่า การทำให้เสียหาย การทำลาย (หรือชิบหาย นั่นเอง)
ส่วน Disruption (n.) ก็คือ กระบวนการที่ให้เกิดความเสียหาย กระบวนการในการแทรกแซง หรือกระบวนการปรับเปลี่ยนสิ่งใหม่มาทดแทนสิ่งเดิม
เรามักเข้าใจผิด นึกว่า Disrupt คือ การ Change หรือการเปลี่ยนแปลงไป
จริงๆมันก็เป็นส่วนหนึ่ง แต่ถ้าเข้าใจแก่นแท้ มันเป็นคนละเรื่องการเลย (เราจะยกตัวอย่างให้ดู)
ถ้าเป็นการ Change
เช่น สมัยก่อน ชาวนาปลูกข้าว ทำการเกษตร ขายวัตถุดิบ(ข้าวเปลือก)ให้โรงสีอย่างเดียว > ก็ถูกเปลี่ยนมาเป็น ทำแบรนด์เอง ขายเป็นข้าวสารเอง หรือการแปรรูปเป็นอย่างอื่นเพิ่ม (จะเห็นว่าเป็นการแค่ปรับเปลี่ยนโมเดลจากธุรกิจเดิม ไปเป็นธุรกิจที่ถูกพัฒนาใหม่ โดยยังไม่ทิ้งสิ่งเดิมที่ทำ)
ส่วนถ้าเป็นการ Disrupt
เช่น สมัยนี้ ธุรกิจเลือกการโปรโมทโฆษณาสินค้าผ่านสื่อออนไลน์ แทนที่การทำโบรชัวร์ ใบปลิว แจกลูกค้า , โรงงาน เลือกใช้หุ่นยนต์ AI ประกอบชิ้นส่วนการผลิต แทนที่การใช้ของคนงาน (จะเห็นว่ามันคือ การเลือกทำสิ่งใหม่ โดยไม่สนใจหรือทำลายสิ่งเก่าทิ้งไปเลย)
การ Disrupt จึงไม่ใช่แค่กระทบต่อภาคธุรกิจ เท่านั้น แต่มันกระทบต่อ การดำเนินชีวิตของผู้คนด้วย
เช่น เราเริ่มมีการโอนเงินแบบ Online Banking ผ่าน Application ในโทรศัพท์มือถือ แทนที่การเข้าไปทำเรื่องผ่านเคาเตอร์ในธนาคาร.
Disrupt จะเกิดมาพร้อมกับคำว่า Innovation
" กล่าวได้ว่า ถ้ามีนวัตกรรมใหม่เกิดขึ้น จะมีสิ่งหนึ่งหายไป หรือถ้ามีสิ่งหนึ่งหายไป ก็เพราะมีนวัตกรรมใหม่เข้ามาแทนที่ "
ทำไมถึงเป็นแบบนี้ ?
ก็เพราะ Innovation นั้น ถูกคิดและนำมาแก้ปัญหาที่แท้จริงให้กับผู้บริโภค (pain point) และเมื่อปัญหาถูกแก้ที่ต้นเหตุแล้ว เราจะไปสนใจกับการแก้ปัญหาแบบเดิมทำไมอีก ? เช่น ปกติเวลา เรียกแท็กซี่ ก็มีปัญหา คือ เรียกแล้วไม่ไปบ้าง อ้างส่งรถบ้าง โดนโกงมิเตอร์บ้าง ปัญหาสารพัด , Application เรียกรถแท็กซี่ จึงเกิดขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาเหล่านี้ให้เรา และเมื่อเรารู้ว่าทางนี้ ได้ถูกแก้ไขปัญหาแล้ว แล้วเราจะไปสนใจกับการเผชิญปัญหาแบบเดิมอีกทำไม ? ทำให้นี้ จึงเป็นเหตุผลของการถูกแทนที่แบบเด็ดขาด ด้วยทางออกแบบใหม่ เชิงนวัตกรรม
แล้วจะรู้ได้ไงว่ากำลังจะถูก Disrupt ?
จากทฤษฎี Disruptive Innovation Model ของ Clayton Christensen อาจารย์แห่ง Harvard Business School ได้บอกว่า ปัจจัยที่ทำให้เกิดขึ้นของการถูก Disrupt สามารถพิจารณาได้จาก
1. Time : ช่วงเวลา หรือความเร็ว
2. Performance : ประสิทธิภาพ หรือผลลัพธ์
3. Demand : ความต้องการของตลาด
4. Innovation : นวัตกรรม
- โดยแบ่งเป็น
Sustaining Innovation คือ นวัตกรรมที่ถูกต่อยอดหรือพัฒนาขึ้นใหม่ แต่ยังคงรักษาสิ่งเดิมไว้
Disruptive Innovation คือ นวัตกรรมที่จะมาแทนที่ หรือทำลายสิ่งเดิมไปเลย
" สรุป หลักการพิจารณาง่ายๆ ถ้าเป็น Disruptive Innovation : นวัตกรรมพวกนี้ จะถูกสร้างมาเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของตลาดล่าง หรือตลาด Mass ก่อน แล้วค่อยขยายตัวไปตลาดบน ทำให้ครอบคลุมทุกความต้องการของผู้บริโภค จึงเป็นการเข้ามาแทนที่สิ่งเดิมโดยสมบูรณ์ , แต่ถ้าเป็นแค่ Sustainable Innovation นวัตกรรมพวกนี้ จะถูกสร้างมาเพื่อกลุ่มตลาดบนเลย หรือตลาดเฉพาะกลุ่มเท่านั้น สินค้าหรือบริการพวกนี้ จึงไม่สามารถมาแทนที่สินค้าหรือบริการเดิมได้ทั้งหมด "
แต่สุดท้ายในอนาคต ภาคธุรกิจหรือแม้แต่พนักงานที่อยู่ในสายธุรกิจ จะมีแค่ 2 ตำแหน่งให้เลือกยืนเท่านั้น คือ 1.เป็น Disrupter หรือ 2.เป็นผู้ถูก Disrupt (Be Disrupted)
ต่างกันที่ เราจะเป็นประธาน หรือเป็นกรรม ของประโยค
ฉะนั้น เราจะต้องปรับตัวก่อน สร้าง Performance ของตัวเราหรือธุรกิจ ให้ดีกว่า Innovation ที่จะมาแทนที่ เพราะโลกหมุนเร็วและโลกแคบลง เราไม่สามารถหลีกหนีสิ่งนี้ได้เลย และถ้าไม่รีบเลือก ก็จะมีคนมาเลือกให้คุณเอง , ซึ่งใครๆก็อยากเป็นประธานของประโยคไม่มีใครอยากเป็นกรรม.
บทความนี้ที่นำมาฝากหวังว่าคงจะเป็นประโยชน์แก่ชาวBlockditทุกท่านไม่มากก็น้อย.
บันทึก
2
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย