25 มิ.ย. 2019 เวลา 12:18 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
...👀ว่ากันว่าปลาดิบ🍣...ไม่มีพยาธิ
จริงเหรอ???
>>>บทความนี้ จะทำให้ทุกคนคลายข้อสงสัยว่า ตกลงแล้ว ปลาดิบที่เรากินกันอยู่เนี่ย ... มีพยาธิหรือไม่??
>>>ปลาดิบเป็นอาหารญี่ปุ่นประเภทหนึ่งที่คนไทยหันมาบริโภคมากขึ้นตามกระแสนิยม คงจะปฏิเสธไม่ได้ว่าด้วยรูปลักษณ์ รสชาติ และความแปลกใหม่ของอาหารญี่ปุ่น
>>>ทำให้หลายคนไม่ละโอกาสที่จะได้ลิ้มลองความสดใหม่ของปลาดิบ ซึ่งหลายคนเชื่อว่าปลาทะเลมีคุณค่าทางอาหารสูงและมีความปลอดภัยสูงในการบริโภค
>>>โดยเฉพาะอย่างยิ่งเชื่อว่าไม่พบพยาธิในปลาซึ่งอาศัยอยู่ในน้ำทะเลเค็มๆ อย่างแน่นอน จะพบพยาธิก็แต่เฉพาะปลาน้ำจืดเท่านั้น ดังนั้นจึงรับประทานปลาดิบได้อย่างสบายใจ ไม่ต้องหวาดกลัวอะไรทั้งสิ้น (นอกจากราคาที่อาจจะแพงอยู่สักหน่อย)
>>>แต่หลังจากอ่านบทความนี้แล้วคงต้องทำความเข้าใจเสียใหม่ว่า ปลาน้ำเค็ม ที่นำมาทำปลาดิบนั้น ก็อาจมีพยาธิได้!!!!!
โดยเจ้าพยาธิที่ว่านี้มีชื่อว่า อะนิซาคิส หรือ ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Anisakis simplex
>>>พยาธิอะนิซาคิส (Anisakis simplex) พบในปลาทะเล เช่น ปลาดาบเงิน ปลาตาหวาน ปลาสีกุน ปลาทูแขก ปลากุเลากล้วย ปลาลัง ปลาคอด ปลาแซลมอน ปลาเฮอริ่ง
>>>ลักษณะของมันเป็นพยาธิตัวกลม มองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ..
...แต่อย่าเพิ่งตกใจ...
>>>เมื่อจำเป็นต้องรับประทานเนื้อปลาทะเล ควรทำให้สุกด้วยอุณหภูมิไม่ต่ำกว่า 60 องศาเซลเซียส อย่างน้อย 5 นาที ถ้าเป็นเนื้อปลาสดควรเก็บที่อุณหภูมิ ต่ำกว่า -20 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 7 วัน หรือต่ำกว่า -35 องศาเซลเซียสเป็นเวลา 15 ชั่วโมง จะทำให้พยาธิ Anisakis simplex ตายได้
>>>ดังนั้น...การรับประทานปลาดิบ อาหารอันเลื่องชื่อของแดนอาทิตย์อุทัย เราจึงต้องให้ความระมัดระวัง อย่างน้อยให้สังเกตดูลักษณะของเนื้อปลาก่อนรับประทานว่ามี ตัวอ่อนของพยาธิปะปนอยู่หรือไม่ ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยและความอร่อยที่ไร้อันตรายแอบแฝง...นะจ๊ะเพื่อนๆ
ขอขอบคุณข้อมูลดีๆจาก
โฆษณา