27 มิ.ย. 2019 เวลา 12:03 • การศึกษา
กล้อง Full Frame กับกล้องตัวคูณ คืออะไร มีผลกับภาพยังไงกันแน่ มาฟังกัน.!!
หลายท่านอาจจะยังสับสน หรือยังไม่เข้าใจเรื่องกล้อง Full Frame กับ กล้องตัวคูณ ว่าต่างกันยังไง แล้วมีผลยังไงกับเรื่องระยะ เดี๋ยวผมจะอธิบายให้ฟังแบบง่ายๆ ครับ
เซ็นเซอร์กล้องมี 2 แบบที่เรียกกัน คือ กล้อง Full Frame กับ กล้องตัวคูณ ทีนี้มันก็จะแยกกันไปอีกนิดหน่อย..
Sensor จะเป็นตัวกำหนดในการเรียกชื่อกล้องแต่ละประเภท เช่น กล้อง Full Frame, กล้อง APS-C
1.กล้อง Full Frame (ขอเรียกย่อๆ ว่า FF) คือกล้องที่มีขนาดเซ็นเซอร์เท่ากับฟิล์มขนาด 35 mm. พูดง่ายๆ ก็คือขนาดเซ็นเซอร์เท่ากับฟิล์มน่ะแหละ.. (ง่ายไปมั้ย)
ข้อดีคือ ไฟล์คุณภาพจะดีกว่า Noise (หรือเม็ดภาพแตกๆ) จะน้อยกว่า มีความสามารถในการเก็บรายละเอียดได้ดีกว่ากล้องขนาดอื่น และเมื่อใช้กับเลนส์ระยะเท่าไหร่ก็ตาม (ของเลนส์ Full Frame) ระยะจะเป็นตามนั้น เช่น ใช้เลนส์ 50 mm ภาพก็จะออกมาเป็นระยะ 50 mm ไม่ต้องคูณระยะใดๆ
ข้อเสียคือ แพงกว่า และหนักกว่า เพราะเซ็นเซอร์มีขนาดใหญ่กว่า กล้องตัวคูณ จบ..
2.กล้องตัวคูณ คือกล้องที่มีขนาดเซ็นเซอร์เล็กลงมา กว่ากล้อง Full Frame ซึ่งจะแบ่งเป็นหลายขนาดหลายชื่อ เช่น กล้องขนาด APS-H, กล้องขนาด APS-C และกล้องขนาด M4/3 ซึ่งแต่ละขนาดจะมีการคูณระยะไม่เหมือนกัน
-กล้องขนาด APS-H ต้องคูณ 1.3 เพื่อให้ได้เท่ากับระยะกล้อง FF (อยู่ในกล้อง Canon 1D Mark IV) เมื่อใส่กับเลนส์ 50 mm จะเท่ากับ 50 x 1.3 ระยะที่เทียบเท่ากล้อง FF คือ 65 mm
Sensor จากกล้อง Canon 1D จะใช้ชื่อเรียกว่า APS-H
-กล้องขนาด APS-C ต้องคูณ 1.5 เพื่อให้ได้เท่ากับระยะกล้อง FF (ยกเว้นใน Canon ยี่ห้อเดียว ต้องคูณ 1.6) เมื่อใส่กับเลนส์ 50 mm จะเท่ากับ 50 x 1.5 ระยะที่เทียบเท่ากล้อง FF คือ 75 mm (แต่ถ้าใช้กับ Canon จะกลายเป็น 50 x 1.6 = 80 mm)
-กล้องขนาด M4/3 ต้องคูณ 2 เพื่อให้ได้เท่ากับระยะกล้อง FF เมื่อใส่กับเลนส์ 50 mm จะเท่ากับ 50 x 2 ระยะที่เทียบเท่ากล้อง FF คือ 100 mm
ภาพเปรียบเทียบระยะด้วยเลนส์ 50mm ตัวเดียว กับการใช้กล้องขนาด Sensor ที่แตกต่างกัน
ซึ่งเลนส์ที่มีตัวเลขยิ่งเยอะ องศาการรับภาพจะยิ่งแคบ เช่น ระหว่างเลนส์ 50 mm กับ 100 mm
 
"เลนส์ 50 mm จะกว้างกว่าเลนส์ 100 mm.."
 
แล้วคูณเพื่ออะไร คูณทำไม อธิบายง่ายๆ ช้าๆ นะครับ อันนี้ค่อยๆ อ่านนะ...
 
ก็คือสมมุติเราใช้เลนส์จากกล้อง Full Frame ซึ่งเป็นเซ็นเซอร์ขนาดใหญ่กว่ากล้องตัวคูณ เลนส์ก็จะต้องมีขนาดใหญ่ตาม ดังนั้นไม่ว่าเลนส์จะมีขนาดใหญ่แค่ไหนก็ตาม..
การครอปเซ็นเซอร์ในภาพ ไม่ว่าเลนส์จะมีขนาดใหญ่แค่ไหนก็ตาม เซ็นเซอร์มันรับได้เท่านี้ไง ก็คือการคูณ 1.5 เข้าไปนั่นเอง
เซ็นเซอร์จากกล้องตัวคูณที่มีขนาดเล็กกว่า ก็จะมีพื้นที่ของเซ็นเซอร์เล็กกว่า เลยเก็บภาพได้เล็กกว่า หรือเรียกว่าเก็บภาพองศาได้น้อยกว่า ภาพก็จะแคบไปโดยปริยาย นั่นคือเหตุผลที่ว่าทำไมถึงเรียกว่า "กล้องตัวคูณ"
อ่ะ..ยังสงสัย ลองอ่านซ้ำๆ อีกครั้งครับ..
สรุปง่ายๆ กล้อง FF จะมีระยะเท่าเลนส์ที่ใช้เลย (ต้องใช้กับเลนส์ FF เท่านั้น) กล้องตัวคูณองศาภาพจะแคบกว่าเลนส์ FF ถ้าใช้เลนส์ระยะเท่ากัน เช่น ถ้าเอาเลนส์ 50 mm ไปใส่ในกล้อง FF ภาพจะเท่ากับ 50 mm เลย แต่ถ้าเอาไปใส่ในกล้องตัวคูณ ระยะจะแคบลงทันที อาจกลายเป็น 65 mm, 75 mm , 100 mm ขึ้นอยู่กับขนาดของเซ็นเซอร์อีกที (พวก APS-H, APS-C, M4/3 ตามลำดับ)
 
เอาแค่นี้ไปก่อนละกันนะครับ ถ้าใครยังสงสัยอะไรอีก ก็ถามได้นะครับ ถ้าเกิดยังไม่เข้าใจ เดี๋ยวจะทำภาพให้ชัดเจนขึ้นกว่านี้ครับ
ปล.การให้ความรู้ และการแบ่งปันเป็นสิ่งที่ดี แต่ถ้าให้ความรู้ที่ไม่ถูกต้อง หรือความรู้แบบผิดๆ จะกลายเป็นโทษมหันต์สำหรับคนที่ได้รับไปนะครับ ขออนุญาตฝากไว้ซักนิดหนึ่ง ด้วยความเคารพครับ 😊
ปล.2 ภาพตัวอย่างประกอบให้ดูคร่าวๆ ถึงระยะต่างๆ ที่เปลี่ยนไปกับขนาดเซ็นเซอร์แต่ละประเภทในเลนส์ 50 mm (ไม่ได้วัดขนาดจริง เป๊ะ 100% ครับ)
#กล้องฟูลเฟรม #กล้องFullFrame #กล้องตัวคูณ #มาเรียนถ่ายภาพกันเถอะ #สอนถ่ายภาพ #เรียนถ่ายภาพ #MasterClassAthur #MCA
ถ้าเห็นว่าบทความพวกนี้เป็นประโยชน์อย่าลืมกด Like กด Share เป็นกำลังใจให้ด้วยนะครับ 😊
ติดตามเทคนิคถ่ายภาพดีๆ ได้ที่ เรียนถ่ายรูป สอนถ่ายรูป Master Class Athur www.facebook.com/MasterClassAthur นะครับ
โฆษณา