29 มิ.ย. 2019 เวลา 13:29
การเพาะเห็ดฟาง ตอนที่1
เห็ดฟางมีการเพาะได้หลายวิธีในสมัยแรกจะใช้ฟางเป็นตัวหลักในการเพาะใช้ฟางตอซัง (ถอนมีรากติดมาเดี๋ยวนี้ไม่มีแล้ว)
ใช้ฟางข้าวเหนียว (หลังเก็บเกี่ยว) ฟางข้าวเจ้า (ฟางนาปรัง) ถ้าใช้ฟางข้าวเหนียวผลผลิตมากกว่าฟางข้าวเจ้าเพราะว่ามีสารอาหารมากกว่ากัน
อาหารเสริมส่วนใหญ่จะใช้เปลือกถั่วต่างๆคือต้องการอาหารโปรตีนมาก ในกระถินป่น ผักตบชวา ผักบุ้ง ก็มีสารอาหารโปรตีนมากเช่นเดียวกัน
โดยวัสดุเพาะต่างๆต้องแห้งสนิทเก็บไว้ในร่มไม่ถูกแดดถูกฝน
แต่ปัจจุบันมีการใช้วัสดุเพาะที่เหลือจากการทำการเกษตรมาเพาะแทนมากมายมีวิธีเพาะแตกต่างกันออกไป
เช่นกากมันสำปะหลัง ทะลายเปล่าปาล์มน้ำมันเปลือกถั่ว ก้อนเชื้อนางรม / นางฟ้าเก่าเป็นต้น
และอีกวิธีหนึ่งที่นิยมเพาะกันมากคือการเพาะเห็ดฟางแบบโรงเรือนสามารถใช้วัสดุเพาะหลากหลายที่กล่าวมาทั้งหมดข้างต้น
การเพาะแบบนี้จำเป็นต้องมีโรงเรือนโดยเฉพาะมีเตาอบไอน้ำมีวัสดุเพาะต่างๆเป็นที่มาของสูตรการเพาะที่มีหลายสูตรแตกต่างกันออกไป
วิธีนี้สามารถเพาะเป็นอาชีพหลักได้การลงทุนครั้งแรกสูง-ต้องทำจริงจังถึงจะประสบผลสำเร็จ
ยิ่งถ้าได้รับการอบรมฝึกเพาะก่อนลงทุนทำจะดีมากสรุปการเพาะเห็ดฟางแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม
กล่าวคือกลุ่มที่ 1 เป็นการเพาะโดยเลียนแบบการเกิดเห็ดฟางในธรรมชาติเช่นเพาะแบบตะกร้า แบบกองเตี้ย แบบกองสูง เหล่านี้ไม่มีการอบไอน้ำเพื่อฆ่าเชื้ออื่นๆก่อนดังนั้นผลผลิตจะไม่แน่นอนปัญหามีมากมาย
กลุ่มที่ 2 เรียกว่าการเพาะแบบโรงเรือน
คือมีโรงเรือน เตาอบไอน้ำ จำเป็นต้องอบไอน้ำเพื่อฆ่าเชื้ออื่น ในวัสดุเพาะก่อนที่จะนำเชื้อเห็ดฟางไปโรยบนอาหาร
ซึ่งมีหลายสูตรหลายวิธีมากมายเช่นทางภาคใต้ใช้ทะลายเปล่าปาล์มน้ำมันมาทำการหมัก 7-15 วันนำขึ้นโรงเรือนอบไอน้ำโรยเชื้อเห็ดเป็นต้น
ตอนต่อไป
1
เรื่องหัวใจของการเพาะเห็ดฟางทุกวิธีคืออะไร?
ผู้เพาะเห็ดมักจะมองข้ามและไม่เข้าใจ เรื่องหัวเชื้อเห็ดดีพอ คิดว่าเชื้อใคร เชื้อที่ไหนอ่อนแก่อย่างไรไม่สำคัญ เชื้อเห็ดก็คือเชื้อเห็ดทำตามๆกันมาเรื่อยไป นี่คือปัญหาใหญ่ที่สุดของวงการเห็ดฟางในประเทศไทย
โฆษณา