Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Theethat Tech Talk
•
ติดตาม
2 ก.ค. 2019 เวลา 07:18 • ธุรกิจ
ลงทุนแบบ Peter Lynch: ทำกำไรแบบปลอดภัยด้วย Asset Play
เมื่อมูลค่าของสินทรัพย์ไม่โชว์ในงบ
เหตุการณ์ที่ทำให้ Lynch รู้จักกลยุทธ์
Asset Play:
หุ้นของบริษัทเจ้าของสนามกอล์ฟ The Pebble Beach มีราคาอยู่ที่ $14.5 ต่อหุ้น และมี Market Cap. อยู่ที่ $25 ล้าน
หลังจากนั้น 3 ปี บริษัทถูก Buyout ไปด้วยราคา $42.5 ต่อหุ้น โดยบริษัทที่ซื้อให้เหตุผลต่อราคาที่ซื้อว่าหลุมกรวดเล็กๆในสนามกอล์ฟ มีมูลค่า $17.4 ต่อหุ้นหรือ $30 ล้าน
หลุมเล็กๆหลุมเดียวแต่มีค่ามากกว่า Market Cap. ของทั้งบริษัทที่ตลาดให้เมื่อ 3 ปีที่แล้ว
ซึ่งหมายความว่าบริษัทไม่รวมหลุมกรวดมีราคา "ลบ $2.9" ต่อหุ้นเมื่อ 3 ปีที่แล้ว และใครๆก็สามารถซื้อหุ้นได้อย่างอิสระ
สนามกอล์ฟ The Pebble Beach ที่มีหลุมกรวดเล็กๆซึ่งมีมูลค่ามากกว่าทั้งบริษัทเมื่อ 3 ปีก่อน
Asset Play คืออะไร?
คือโอกาสการเก็งกำไรด้วยส่วนต่างระหว่างมูลค่าที่แท้จริงของ Asset และมูลค่าทางบัญชี ซึ่งเกิดจากมาตรฐานทางบัญชีที่กำหนดให้บริษัทต้องบันทึกมูลค่าของ Asset ที่ Historical Cost (ยกเว้นเมื่อเกิดการควบรวมกิจการ ถึงจะบันทึกด้วยมูลค่าที่แท้จริง ณ เวลานั้น)
และเมื่อเวลาผ่านไปเป็นสิบปี มูลค่าที่แท้จริงของสินทรัพย์จะเพิ่มขึ้น มากน้อยแล้วแต่ชนิดของสินทรัพย์นั้นๆ ในขณะที่มูลค่าทางบัญชีนั้นเท่าเดิม
ถ้าให้ยกตัวอย่างในไทย ก็อาจจะนึกถึงการรถไฟ ที่ถือครองที่ดินเกือบทุกจังหวัดของประเทศไทยมาตั้งแต่ยุครัชกาลที่ 5 ถ้าคิดเล่นๆว่าการรถไฟเป็นบริษัท และทำการขายที่ดินบางส่วนหรือถูกควบรวมกิจการ มูลค่าของที่ดินจะสูงกว่ามูลค่าทางบัญชีมหาศาล อาจจะถึงหลัก 1000 เท่าเลยทีเดียว
ส่วนต่างที่เพิ่มขึ้นนั้น จะถูกบันทึกเป็นกำไรเมื่อบริษัททำการขาย ทำให้มีกำไรในปีนั้นมหาศาล
Asset – Liability = Book Value of Equity
เมื่อ Asset มีมูลค่ามากกว่าที่บันทึก ทำให้ Book Value ของ Equity ต่ำกว่ามูลค่าจริง
สรุปคือหุ้นของบริษัทที่มี Asset ที่มีมูลค่ามากแต่ว่าไม่ปรากฎบน Balance Sheet จะมีราคาสูงขึ้นเมื่อบริษัท
1) ขายสินทรัพย์นั้นๆ
2) ถูกควบรวมกิจการ หรือ
3) ตลาดรับรู้ ทำให้ราคาหุ้นสะท้อนใกล้เคียงมูลค่า asset มากขึ้น
ยกตัวอย่าง Asset ที่มักจะมีมูลค่า เช่น ที่ดินและอสังหาริมทรพัย์, เหมืองแร่ที่ปัจจุบันมีความต้องการสูง, Subscribers, Patents, ผลขาดทุนทางภาษีที่ยกไป(Tax loss carry forward) เป็นต้น
ข้อควรระวังในการใช้กลยุทธ์ Asset Play
1) สินทรัพย์บางชนิดที่ตกยุค หรือทดแทนได้ด้วยสิ่งใหม่ๆที่ดีกว่า อาจจะมีราคาต่ำกว่ามูลค่าทางบัญชี เช่น เหมืองถ่านหิน(การใช้ถ่านหินถูกลดความนิยมลงด้วยเหตุผลทางสิ่งแวดล้อม) หรือ โรงงานในโซนนิคมฯเก่าที่เลิกกิจการแล้ว
2) มันไม่ใช่แค่การซื้อหุ้นต่ำบุค (P/BV < 1) ด้วยเหตุผลเดียวกับข้อแรก
3) ตรวจสอบระดับหนี้สินของบริษัทให้ดี เพราะมูลค่าของสินทรัพย์ที่ซ่อนอยู่อาจจะน้อยกว่าหนี้ที่ครบกำหนดชำระ
อย่างไรก็ตาม จุดสำคัญที่สุดของ Asset Play คือนักลงทุนต้องคาดการณ์ช่วงระยะเวลาที่สินทรัพย์นั้นๆจะสามารถ Realize value ของมันด้วยวิธีที่กล่าวไปข้างต้น
เพราะถ้าใช้เวลานานเกินไป การลงทุนอาจจะไม่คุ้มค่า
Asset Play Stock เป็นหนึ่งในหกชนิดของหุ้นที่ Peter Lynch ได้แบ่งไว้
การที่เรารู้ว่าหุ้นของเราเป็นหุ้นประเภทไหนจะทำให้เรา ”คาดหวัง” ผลตอบแทนจากหุ้นนั้นๆได้อย่างถูกต้อง และทำให้สามารถขายได้ในเวลาที่เหมาะสม
ถ้าสมมติ Asset ของหุ้นที่จะถูกเพิกถอนอย่าง EARTH หรือ IFEC เกิดมีมูลค่าที่ซ่อนอยู่มหาศาลขึ้นมา หุ้นเหล่านี้อาจจะกลายเป็นหุ้นน่าลงทุนขึ้นมาก็ได้ 😉
ในตอนต่อไปจะนำเสนอการจำแนกหุ้นให้เป็น 6 ประเภทตามแบบฉบับ Peter Lynch
Reference:
https://www.moneyworks4me.com/investmentshastra/stock-investment/peter-lynch-style-of-getting-rich-playing-with-assets/
One Up on Wall Street – Peter Lynch
7 บันทึก
28
2
3
7
28
2
3
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย