3 ก.ค. 2019 เวลา 00:55
ข้อเสียของการเป็น Public Company
1
คุณจะรู้สึกอย่างไรถ้าบริษัทที่คุณเป็นเจ้าของมีคำว่า "มหาชน" ห้อยท้าย การันตีถึงความ Prestige และความมั่นคง(ในระดับนึง)ของบริษัท
นักลงทุนทั่วประเทศพูดถึงบริษัทของคุณ และคุณยังเคยได้ยินโต๊ะข้างๆพูดชมบริษัทของคุณตอนคุณไปกินข้าวกับครอบครัวในวันหยุด
การเป็นบริษัทในตลาดหลักทรัพย์​มันช่างเท่จริงๆ
[การทำ IPO คือการเสนอขายหุ้นของบริษัทให้แก่นักลงทุนทั่วไปเป็นครั้งแรก และหุ้นนั้นจะสามารถซื้อ​ขายบนกระดานได้ ซึ่งจะเปลี่ยนสภาพบริษัทเป็นมหาชน]​
ในเมื่อมันดีขนาดนั้น เคยสงสัยกันไหมว่า ทำไมบริษัทที่ใหญ่และเก่าแก่อย่างเช่น OSP (โอสถสภา) หรือ TOA ถึงพึ่งมาทำ IPO กันในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา และดูเหมือนว่าจะเป็นช่วงที่บริษัทจะหมดการเติบโตแล้วอีกด้วย ทำไมไม่เข้าช่วงที่กำลังเติบโตและต้องการเงินเยอะๆล่ะ?
วันนี้เพจลงทุนเกมจะมานำเสนอ 4 ข้อเสียหลักของการเป็นบริษัทจดทะเบียน ที่ทำให้บริษัทหลายๆแห่งไม่อยากทำ IPO
1) ข้อบังคับต่างๆที่เยอะขึ้น
บริษัทมหาชนต้องทำตามข้อบังคับและกฎระเบียบต่างๆที่ทาง กลต. (SEC) กำหนดขึ้น เช่น ต้องส่งงบการเงินทุกๆไตรมาส ส่งแบบ 56-1 และรายงานประจำปีที่จำเป็นต้องมีบทวิเคราะห์และคำอธิบายจากผู้บริหารถึงสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงของตัวเลข และข้อบังคับที่กรรมการและผู้บริหารต้องคอยส่งรายงานการถือครองและซื้อขายหลักทรัพย์ของครอบครัวตนเอง เป็นต้น ซึ่งทั้งหมดนี้ทำให้บริษัทเสียทั้งเวลาและค่าใช้จ่ายมากขึ้น
sec.or.th
2) ต้องหันมาโฟกัสที่ผลประกอบการในระยะสั้นมากขึ้น
ทุกๆไตรมาส นักวิเคราะห์จะมีการคาดการณ์กำไรของบริษัท และผู้บริหารจถูกคาดหวังให้ทำผลประกอบการให้ได้อย่างน้อยเท่ากับตัวเลขนั้นๆ ถ้าผลประกอบการออกมามีกำไรมากกว่าหรือเท่ากับที่คาดการณ์ไว้ก็รอดตัวไป แต่ถ้าตัวเลขออกมาน้อยกว่าที่คาดการณ์ ผลตอบแทนที่ผู้บริหารจะได้รับในปีนั้นจะน้อยลงมาก
ทั้งหมดนี้ส่งผลให้ผู้บริหารต้องหันมาโฟกัสกับผลประกอบการในระยะสั้น ซึ่งมันมีการ trade off คือเค้าจะไม่กล้าลงทุนโปรเจ็คใหญ่ๆที่ต้องใช้เวลานานกว่าจะได้ผลตอบแทนคืน หรือการตัดสินใจที่ดีสำหรับระยะสั้น แต่เป็นผลเสียในระยะยาว เพราะนั่นจะทำให้เค้าได้เงินน้อยลงและต้องมานั่งตอบคำถามผู้ถือหุ้นว่าทำไมกำไรในไตรมาสนี้ถึงต่ำคาด
และนี่ก็เป็นหนึ่งในเหตุผลที่ทำให้เจ้าของไม่อยากนำบริษัทที่อยู่ในช่วงกำลังเติบโตเข้าตลาด เพราะแรงกดดันจากสาธารณะอาจจะมีผลต่อการบริหารและพัฒนาบริษัท
แม้กระทั่ง Elon Musk ยังเคยเกือบนำ Tesla ออกจากตลาดหลักทรัพย์​
3) ความเป็นส่วนตัวของบริษัท
บริษัทจดทะเบียนต้องเปิดเผยแผนงานในอนาคตไม่ว่าจะเป็นใน Annual Report หรืองาน Opportunity Day รวมถึงเปิดเผยตัวเลขสำคัญต่างๆ เช่น ต้นทุนต่างๆ ราคาอุปกรณ์ อัตราดอกเบี้ย และทรัพย์สินอื่นๆที่ถือครอง ซึ่งทำให้คู่แข่งรู้ถึงข้อมูลที่อาจจะนำไปใช้ประโยชน์ในการแข่งขันได้
Oppday ที่บริษัทต้องเปิดเผยข้อมูลตามที่ผู้ถือหุ้นถาม
4) ผลประโยชน์และความรู้สึกส่วนตัว
ลองติดดูว่าถ้าคุณเป็นเจ้าของกิจการที่ตระกูลของคุณดำเนินงานและสืบทอดกันมากว่า 3 รุ่น ใช้เวลาและแรงมากมายกว่าจะประสบความสำเร็จ
คุณจะรู้สึกอย่างไรถ้าต้องแบ่งกำไรให้ใครก็ไม่รู้ที่ถือหุ้นอยู่ แถมคนเหล่านั้นยังคอยซักไซ้ถึงแผนงานในอนาคตและบางทียังขัดขวางแผนงานของคุณอีก และเลวร้ายไปกว่านั้น ผู้ถือหุ้นยังรวมกันโหวตไล่คุณออกจากการเป็นผู้บริหารของบริษัทที่ปู่คุณสร้างมากับมือ มันคงจะหดหู่มากเลยทีเดียว
จะเห็นได้ว่าทุกข้อที่กล่าวมานั้นส่งผลเสียต่อบริษัทแบบเต็มๆเลย แล้วทำไมบริษัทถึงอยากเข้าตลาดกันล่ะ?
ถ้าจะบอกว่าเป็นเพราะอยากได้ทุนเพิ่มก็อาจจะถูก แต่นั่นคงไม่ใช่เหตุผลหลักซะทีเดียว เพราะสำหรับการเพิ่มทุนหลักร้อยล้าน มันมีหลายวิธีที่คุณไม่ต้องมานั่งปวดหัวกับการส่งงบการเงินไม่ว่าจะเป็น การชวนญาติพี่น้องมาลง, เสนอขายหุ้นแก่ผู้ถือหุ้นเดิม, ติดต่อหา Venture Capitalists, Private Equity หรือ วิธี Crowdfunding ที่กำลังมาแรงในยุคนี้
สำหรับการเพิ่มทุนหลักพันล้าน ก็ต้องยอมรับว่าการ ipo จะตอบโจทย์ได้ดีที่สุด แต่ถ้าไปเปิดเวป​ SET ดูจะพบว่าบริษัทที่ระดมทุนหลักพันล้านขึ้นไปจะมีน้อยมาก ซึ่งเป็นการยืนยันว่าบริษัทส่วนใหญ่ทำ IPO ด้วยเหตุผลอื่นๆ
ตอนต่อไปเราจะมาพูดถึงเหตุผลหลักๆที่บริษัททำ ipo นอกจากเหนือจากการเพิ่มทุนนะครับ
Reference
โฆษณา