Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
กฎหมายย่อยง่าย by Natarat
•
ติดตาม
1 ก.ค. 2019 เวลา 13:13 • การศึกษา
“รถหายในห้างสรรพสินค้า (ทั้งแบบมีบัตรจอดรถ และไม่มีบัตร) ห้างฯ ต้องรับผิดชอบหรือไม่ ?”
เมื่อวานแอดมินได้เขียนถึงเรื่องรถหายจากที่จอดรถคอนโดไปแล้ว โดยสรุปได้ว่านิติบุคคลอาคารชุด และบริษัทรักษาความปลอดภัย ไม่ต้องรับผิดชอบในความสูญหายที่เกิดขึ้น....
เพื่อให้ต่อเนื่องกับเมื่อวาน วันนี้แอดมินจึงขอเขียนถึงกรณีที่รถหายไปจากที่จอดรถห้างสรรพสินค้าอีกซักเรื่องหนึ่ง เนื่องจากห้างสรรพสินค้าเป็นสถานที่ที่คนนิยมไปเดินจับจ่ายซื้อของ ไปทานอาหาร หรือไปเดินตากแอร์เล่นในยามว่าง
1
ซึ่งก่อนหน้านี้ เคยมีคดีขึ้นสู่ศาลฎีกา โดยมีผู้ใช้บริการห้างสรรพสินค้าได้นำรถยนต์มาจอดในที่จอดรถที่ห้างฯ ได้เตรียมไว้สำหรับผู้มาใช้บริการ ซึ่งผู้ใช้บริการจะต้องรับบัตรจอดรถก่อนนำรถเข้าสู่ที่จอดรถภายในห้างเพื่อเป็นหลักฐานในการนำรถเข้า – ออก
เมื่อเกิดเหตุการณ์ที่รถของผู้มาใช้บริการได้สูญหายระหว่างที่จอดภายในห้างฯ
ศาลฎีกาก็ได้ตัดสินให้ห้างฯ ต้องรับผิดชอบต่อความสูญหายดังกล่าว โดยให้เหตุผลว่า
"แม้ห้างสรรพสินค้า จะไม่มีวัตถุประสงค์ในการรับฝากรถของลูกค้าที่มาจอดเพื่อใช้บริการของห้าง และไม่มีการเก็บค่าจอดรถก็ตาม
แต่การก่อสร้างห้างฯ อยู่ภายใต้พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร ซึ่งกำหนดให้ต้องมีที่จอดรถ 1 คัน ต่อพื้นที่ทุกๆ 20 ตารางเมตร
และห้างฯ ได้ว่าจ้างบริษัทรักษาความปลอดภัย มาดูแลรักษาความปลอดภัยของห้างฯ โดยต้องตรวจบัตรเมื่อจะนำรถออก ต้องให้ตรงกับทะเบียนรถ จึงเป็นการจัดที่จอดรถให้แก่ลูกค้า
Cr. pixabay
เมื่อปรากฏว่ารถที่สูญหายไป บัตรจอดรถยังอยู่ที่ผู้มาใช้บริการ โดยพนักงานรักษาความปลอดภัยไม่ระมัดระวังในการออกบัตรจอดรถ และตรวจบัตรจอดรถโดยเคร่งครัดเป็นเหตุให้รถยนต์ของผู้ใช้บริการถูกลักไป จึงเป็นการกระทำละเมิดต่อผู้มาใช้บริการ ห้างๆ ต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ ผู้ใช้บริการ"
(อ้างอิงคำพิพากษาฎีกาที่ 5800/2553)
เมื่อมีคำพิพากษาศาลฎีกาออกมาอย่างนี้ หลายห้างฯ ได้มีแนวทางแก้ไข (รึเปล่า ?) โดยยกเลิกการใช้บัตรจอดรถ และหันมาใช้กล้องวงจรปิดแทน โดยปิดประกาศว่าจะไม่รับผิดชอบต่อการสูญหายหรือเสียหายใด ๆ แก่ทรัพย์สินของผู้มาใช้บริการ
ซึ่งศาลฎีกาก็ได้มีคำวินิจฉัยถึงความรับผิดชอบของห้างฯ ในกรณีนี้โดยสรุปว่า
1. ห้างสรรพสินค้าได้ขายปลีกและขายส่งสินค้าอุปโภคและบริโภค ย่อมต้องให้ความสำคัญด้านบริการต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริการเกี่ยวกับสถานที่จอดรถซึ่งนับเป็นปัจจัยสำคัญในการตัดสินใจของผู้ใช้บริการที่จะเข้าไปซื้อสินค้าหรือใช้บริการอื่นๆ
หรือไม่
1
2. แม้ พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร จะกำหนดให้ห้างฯ ซึ่งเป็นเจ้าของอาคารต้องจัดให้มีพื้นที่จอดรถเพื่ออำนวยความสะดวกแก่การจราจร
แต่ห้างฯ ยังต้องคำนึงและมีหน้าที่ดูแลความปลอดภัยของผู้ใช้บริการทั้งในชีวิตและทรัพย์สิน มิใช่ปล่อยให้ผู้ใช้บริการระมัดระวังหรือเสี่ยงภัยเอาเอง
Cr. pixabay
3. การที่ห้างฯ เคยจัดให้มีการแจกบัตรสำหรับรถของผู้ใช้บริการที่เข้ามาในห้างซึ่งเป็นวิธีการที่ค่อนข้างรัดกุม เพราะหากไม่มีบัตรผ่าน กรณีจะนำรถยนต์ออกไปจะต้องถูกตรวจสอบโดยพนักงานของห้างฯ
1
แต่ขณะเกิดเหตุกลับยกเลิกวิธีการดังกล่าวโดยใช้กล้องวรจรปิดแทน เป็นเหตุให้คนร้ายสามารถเข้าออกลานจอดรถห้างฯ และโจรกรรมรถได้โดยง่ายยิ่งขึ้น
4. แม้ห้างฯ จะปิดประกาศว่าจะไม่รับผิดชอบต่อการสูญหายหรือเสียหายใด ๆ รวมทั้งการที่ผู้ใช้บริการก็ทราบถึงการยกเลิกการแจกบัตรจอดรถ แต่ยังนำรถเข้ามาจอดก็ตาม ก็เป็นเรื่องข้อกำหนดของห้างฯ แต่ฝ่ายเดียวไม่มีผลเป็นการยกเว้นความรับผิดในการทำละเมิดของห้างฯ ได้
1
(อ้างอิงคำพิพากษาฎีกาที่ 7471/2556 และ 6616/2558)
📌 สรุปคือ ไม่ว่าการเข้าไปใช้บริการและจอดรถในห้างสรรพสินค้า จะต้องใช้บัตรจอดรถหรือไม่ก็ตาม ห้างฯ ก็มีหน้าที่ต้องดูแลรับผิดชอบต่อความปลอดภัยต่อรถของผู้มาใช้บริการ และหากความสูญหายเกิดขึ้นจากความบกพร่องของทางห้างฯ
ห้างสรรพสินค้าจะต้องรับผิดชอบ
แต่อย่างไรก็ตาม เจ้าของรถก็ต้องใช้ความระมัดระวังรถของตนเช่นเดียวกัน เพราะหากสาเหตุที่รถหายนั้น เกิดจากความประมาทเลินเล่อของเจ้าของเอง เช่น ลืมบัตรจอดรถไว้ในรถ ทำให้คนร้ายขโมยรถไปได้ง่ายขึ้น แอดมินคิดว่าผลการตัดสินก็น่าจะเปลี่ยนไปเช่นกัน
Cr. pixabay
ยังมีช่องทางอื่น ๆ ให้ติดตามกัน 😉
- สำหรับเอาไว้อ่านบทความดีๆ
Facebook.com/Nataratlaw
- สำหรับเอาไว้ดูรูปสวย ๆ กับอินโฟกราฟิก
Instagram.com/Natarat_law
- สำหรับสายย่อ เอาไว้รับข่าวหรือข้อกฎหมายแบบกระชับ
https://twitter.com/Nataratlaw?s=09
123 บันทึก
1.1K
178
258
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
รวมกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับรถ
123
1.1K
178
258
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย