1 ก.ค. 2019 เวลา 16:19 • ธุรกิจ
โลกของกองทุน : ตอนที่ 2
omnibus และ selling agent
หากว่าคุณซื้อกองทุนผ่านตัวแทนจำหน่าย มักจะพบกับคำว่า selling agent และ omnibus แล้ว 2 คำนี้มันมีความหมายว่าอย่างไร
selling agent account คือ บัญชีที่เปิดเผยชื่อผู้ถือหน่วยลงทุนต่อ บลจ. พูดง่ายๆก็คือหากเราซื้อกองทุนผ่านตัวแทนจำหน่ายโดยเป็นประเภทบัญชี selling agent ทาง บลจ. ก็จะทราบว่าเราเป็นคนถือหน่วยลงทุนนั้นๆนั่นเอง
แต่บัญชีประเภทนี้มีข้อเสียคือ เวลาเราจะซื้อกองของ บลจ. ไหนเป็นครั้งแรกก็ต้องเซ็นเอกสารของ บลจ. นั้นก่อนเพื่อที่จะทำการซื้อขายได้
1
ซึ่งปัญหาดังกล่าวทำให้บางตัวแทน เลือกที่จะให้บริการบัญชี selling agent เฉพาะกอง LTF และ RMF
ส่วน omnibus account คือ บัญชีที่ไม่เปิดเผยชื่อผู้ลงทุนให้ บลจ. พูดให้ง่ายๆคือถ้าเราซื้อกองทุนผ่านตัวแทนจำหน่ายโดยผ่านบัญชีประเภท omnibus บลจ. จะไม่ทราบว่าเราเป็นคนซื้อ
ซึ่งมีข้อดีคือ เราเพียงแค่เปิดบัญชีซื้อขายกองทุนกับตัวแทนจำหน่ายแค่ครั้งเดียว เราก็สามารถซื้อกองทุนทุก บลจ. ที่ตัวแทนนั้นได้ทำสัญญาเป็นผู้จัดจำหน่าย
ในเมื่อ บลจ. ไม่รู้ว่าเราเป็นคนซื้ออย่างนี้แล้วจะมั่นใจได้อย่างไรว่าตัวแทนจำหน่ายจะไม่โกง
เรื่องดังกล่าวไม่ต้องน่าเป็นห่วงเพราะ กลต ได้ออกระเบียบให้ผู้ให้บริการซื้อขายกองทุนแบบ omnibus จะต้องมีการจัดทำรายชื่อผู้ลงทุน แยกสินทรัพย์ของผู้ลงทุนออกจากสินทรัพย์บริษัท และจะต้องทำรายงานให้ถูกต้องครบถ้วน และเป็นปัจจุบัน พร้อมทั้งรายงานให้ผู้ลงทุนรับทราบเป็นระยะ
หากว่า บริษัทนั้นปิดตัวลง ทรัพย์สินของลูกค้าไม่ถูกนับรวมกับทรัพย์สินของบริษัท และบริษัทต้องแจ้งให้ผู้ลงทุนทราบเพื่อให้ผู้ลงทุนไปติดต่อกับ บลจ. ได้
ทั้งนี้การซื้อขายบัญชีแบบ omnibus จะซื้อได้เฉพาะกองทั่วไปที่ไม่ใช่ LTF และ RMF เท่านั้น เพราะกอง LTF และ RMF จะมีเรื่องของภาษีเข้ามาเกี่ยวข้อง จึงต้องเปิดแบบ selling agent
นอกจากนี้การซื้อขายกองผ่านบัญชีแบบ omnibus มักนิยมใช้วิธีตัดผ่านบัญชีเงินฝาก (ATS) ซึ่งบางที่ก็มีการคิดค่าธรรมเนียมในการตัดเงินในบัญชีเงินฝากด้วย ดังนั้นก่อนที่จะเปิดบัญชีแบบ omnibus ควรจะศึกษาข้อมูลการให้บริการของตัวแทนนั้นๆก่อน
อ้างอิง:

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา