2 ก.ค. 2019 เวลา 15:59 • ประวัติศาสตร์
มาแล้วมาเลep3
มาแล้วจ้า epนี้จะไม่ได้กล่าวถึงน้ำที่เราไปชิมกันโดยตรง แต่จะพูดถึงน้ำเก๊กฮวย และประวัติของมันนะครับ
จุดเริ่มต้นเรื่องนี้คือ พอดีผมมีเพื่อนคนจีนมาเล และทริปนี้เราก็ไปนั่งทานข้าวกัน คือไปร้านบั๊กกุ๊ตเต๋ เสร็จตอนสั้งน้ำ เพื่อนก็หันมาถามว่าเอาน้ำอะไร ระหว่างชา กับherb teaไอ้เราตอนแรกก็คิดว่า herb teaคือชาเหมือนกันนี้หละ จนมาเสริฟถึงรู้ว่า เอ้าน้ำเก็กฮวยนี้แปะ!!!
พอมาเสริฟเราก็นั่งงงกับเพื่อนมาเลว่าภาษาอังกฤษมันเรียกว่าไงฟร่ะ เลยสงสัยต่อว่าที่มามันมายังไง เแาหละ เพื่อไม่ให้เสียเวลาเรามารู้จักกับ เก็กฮวยและประวัติกันเถอะ
ภาพถ่ายดอกเบญจมาศ ต้นกำเหนิดเจ้าเก๊กฮวย
เจ้าดอกเก๊กฮวยหรือดอกเบญมาศสวน หรือ เบญจมาศหนูเป็นดอกที่นำมาผลิตเป็นน้ำเก๊กฮวย โดย
1.นำดอกเก๊กฮวยแห้งล้างให้สะอาด
2.จากนั้นนำมาต้มกับน้ำร้อน 2-5นาทีแล้วกรองดอกออก
3. เติมน้ำตาลตามแต่ชอบ
โดยส่วนมากที่ได้ดื่มในไทยแบบสำเร็จรสจะค่อนข้างหวานต้องเลือกตามแต่ชอบนะครับ
เอาครับเรามาเข้าในส่วนที่เป็นประวัติกันเถอะ
ดอกเบญจมาศ ภาษาอังกฤษจะเรียกว่า Chrysanthemums 🌼🌼🌼 (คริสแซนเตอร์มัน)
โดยน้ำเก๊กฮวยของเราจะเรียกว่า Chrysanthemums tea โดยมาจากภาษากรีกว่า
chrysos แปลว่าทอง anthemonที่แปลว่าดอกไม้ โดยชื่อนี้ได้ถูกตั้งโดยนักพฤกษศาสตร์ ชาวสวีเดน นามว่า Karl Linnaeus หรือ Carolus Linnaeusในคศ1753 แต่ว่าโลกรู้จักกันมานานกว่านั้นมาก
เริ่มแรกน้ำเก๊กฮวนเราเนี่ยเป็นสมุนไพรพื้นบ้านชาวจีนในสมัย 1500ปีก่อนคริสตกาล
โดนช่วงแรกจะนำรากมาทำเป็นยาแก้ปวดหัว แต่กว่าจะมาเป็นเครื่องดื่มให้เราได้ดื่มกันก็ช่วงราชวงศ์ซ่ง(ช่วงนี้จะเรียกว่าซ่งเหนือเผื่อเพื่อนอ่านแล้วสนใจไปค้นคว้าต่อนะครับ)ของประเทศจีน (ประมาณ คศ960 - 1279) และหลังจากนั้นก็เป็นที่แพร่หลายสืบต่อกันมา
นอกจากในจีนแล้ว ทางญี่ปุ่นหรือเกาหลีเองก็มีการใช้ดอกเก๊กฮวยนี้เหมือนกันครับ โดยทางฝั่งญี่ปุ่นจะเริ่มรู้จักใน ประมาณ คศ800. เพิ่มเติมสามารถอ่านได้ตามlinkด้านล่างครับ
และ ประโยชน์ของเจ้าเก๊กฮวยนี้มีมากมายเลยครับ
เช่น เรื่องการแก้พิษร้อน(ในตำราแพทย์แบบจีน) มีสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยระบบย่อยอาหาร และ ฯลฯ แต่อย่างไรก็ดี ปัจจุบันเราไม่ค่อยได้ทำน้ำเก๊กฮวนทานกันเองในครอบครัวแล้ว จึงควรระวังเรื่องความหวานด้วยนะครับ เพราะที่ขายกันมีหลายเจ้าใส่ความหวาน่อนข้างมาก
โย่ว ยี่ห้อน้ำดื่มจากฝั่งมาเลเซีย
โดยส่วนตัวได้ลองยี่ห้อข้างต้นที่มาเลเซีย เป็นแบบหวานน้อย รสชาติ และความหวานลงตัวกันตามทีให้คะแนน ep1 ครับ
.
.
.
สำหรับบทความเรื่องน้ำเก๊กฮวยก็ขอจบลง ณ ที่นี้ครับ
หากเพื่อนๆมีข้อสงสัย หรือ อยากให้เขียนเรื่องอะไรสามารถคอมเม้นในนี้ได้เลยครับ
อย่าลืมกดติดตาม กดไลค์ กดแชร์เพื่อเป็นกำลังใจให้ผมด้วยนะครับ

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา