4 ก.ค. 2019 เวลา 12:00 • ธุรกิจ
กรณีศึกษา “แบรนด์” ของตลาดน้ำเปล่า - Market Think
“น้ำเปล่าขวดหนึ่ง” กลายเป็นคำพูดติดปากเวลาที่เราจะซื้อน้ำ 1 ขวดในร้านค้าโชห่วย หรือร้านอาหาร จากนั้นร้านค้าก็จะหยิบน้ำดื่มแบรนด์อะไรมาให้เราก็ได้
เรื่องนี้แสดงให้เห็นว่าในตลาดน้ำดื่ม ผู้บริโภคไม่ค่อยสนใจแบรนด์มากนัก ขอให้เป็นน้ำดื่มที่ตัวเองรู้สึกว่าสะอาด มีแบรนด์เชื่อถือได้ ก็พร้อมจ่ายเงิน
ทำให้ตลาดน้ำดื่มในเมืองไทยเกิดสารพัดแบรนด์มากมายให้เลือกซื้อ เพราะแม้แต่ร้านสะดวกซื้ออย่าง 7-Eleven, Tesco Lotus Express ก็ยังผลิตน้ำดื่มวางขายในร้านตัวเอง
และเมื่อน้ำดื่ม 1 ขวด ลูกค้ามองไม่เห็นความแตกต่าง นั่นแปลว่าแบรนด์ไหนสามารถกระจายสินค้าได้ครอบคลุมร้านค้าทั่วประเทศ เพื่อให้ใกล้มือผู้บริโภคมากที่สุด ก็จะได้เปรียบทันที
ช่องทางร้านค้า Modern Trade ที่คิดเป็นสัดส่วน 50% กลุ่มน้ำดื่มแบรนด์ชั้นนำอย่าง สิงห์,คริสตัล, เนสท์เล่, น้ำทิพย์, อควาฟิน่า และแบรนด์อื่นๆ สามารถกระจายสินค้าได้ไล่เลี่ยกัน
เพราะแค่เจ้าของแบรนด์น้ำดื่มไปติดต่อกับร้านค้า Modern Trade ต่างๆ เมื่อตกลงผลประโยชน์เรื่องการวางสินค้าในร้านได้ จากนั้นร้านค้า Modern Trade ก็จะทำหน้าที่กระจายสินค้าไปยังสาขาต่างๆ ทั่วประเทศ
และเมื่อน้ำดื่มหลายแบรนด์ถูกวางเรียงกันในตู้แช่ร้านสะดวกซื้อและร้าน Modern Trade สินค้าอย่างน้ำดื่มที่ลูกค้าแทบมองไม่เห็นความแตกต่าง
หากอยากจะโดดเด่นสร้างแรงดึงดูด ก็ต้องแข่งขันในเรื่องราคา เพื่อให้ตัวเองถูกเลือกซื้อ
ทีนี้หากใครอยากได้เปรียบในตลาดน้ำดื่ม ก็ต้องมาวัดกันในช่องทางขาย ร้านค้าโชห่วย ร้านอาหาร และตามจุดขายเครื่องดื่มต่างๆ ที่คิดเป็นสัดส่วน 50% จากมูลค่าตลาดน้ำดื่ม 35,000 ล้านบาท
1
ทำให้บริษัทน้ำดื่มไหนที่มีขุมพลังในการกระจายสินค้าในมือตัวเองอย่างแข็งแกร่งก็จะได้เปรียบทันที
สะท้อนจากข้อมูลของ บริษัท สิงห์ คอร์เปอเรชั่น จำกัด ที่ระบุว่าในปี 2561 ที่ผ่านมา
น้ำดื่มสิงห์ มีส่วนแบ่งตลาดอันดับ 1 อยู่ที่ 21% โดยสิงห์เองมีประสบการณ์ในการกระจายสินค้าในประเทศไทยมากกว่า 80 ปี และยังมีศูนย์กระจายสินค้าขนาดใหญ่
คริสตัล ของ บริษัท เสริมสุข จํากัด (มหาชน) ซึ่งอยู่ในเครือบริษัท ไทยเบฟ มีส่วนแบ่ง 20.8%
นอกจากจะมีรถขนส่งสินค้าไปยังร้านค้าต่างๆ มากกว่า 1,000 คัน ก็ยังมีศูนย์กระจายสินค้าขนาดใหญ่เช่นกัน
1
เลยทำให้น้ำดื่ม 2 แบรนด์ ใกล้มือลูกค้าทั่วประเทศพอๆ กัน ผลที่ตามมาก็คือส่วนแบ่งตลาดระหว่าง สิงห์ กับ คริสตัล มีช่องว่างห่างกันไม่ถึง 1%
เมื่อเรื่องเป็นเช่นนี้ ทำให้เราเห็นทั้ง น้ำดื่มสิงห์ และ คริสตัล ใช้ Presenter กันเป็นประจำทุกปี
1
เป้าหมายเพื่อสร้างแบรนด์ให้เป็นที่จดจำ และที่สำคัญเพื่อให้ผู้บริโภคเรียกชื่อแบรนด์ตัวเอง
ปี 2018 คริสตัล ใช้ Presenter อย่าง “นาย ณภัทร” สื่อสารผ่านสื่อโฆษณาด้วย Message หลัก “คิดจะดื่มน้ำ ดื่ม คริสตัล”
1
ปี 2017 น้ำดื่มสิงห์ ใช้ Presenter ครั้งแรกในรอบ 30 ปี โดยเลือก Influencer คนรุ่นใหม่ 5 คน
สื่อสารว่าน้ำดื่มสิงห์เป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของพวกเขา
1
เพราะทั้งน้ำดื่ม สิงห์ และ คริสตัล มีเป้าหมายเดียวกันคือ ต้องการให้ลูกค้าเมื่อไปยังตู้แช่ร้านสะดวกซื้อ แล้วเลือกแบรนด์ตัวเองเป็นอันดับแรกพร้อมหมางเมินแบรนด์อื่น
สำหรับช่องทางร้านค้าโชห่วย และร้านอาหาร สิงห์ และ คริสตัล “ก็อยากให้ลูกค้าพูดเจาะจงไปที่แบรนด์ตัวเอง” ไม่ใช่พูดว่าซื้อ “น้ำเปล่า ขวดหนึ่ง”
ปิดท้ายข้อมูลที่น่าสนใจ : น้ำดื่ม คริสตัล ใช้ Presenter อย่าง “นาย ณภัทร” 4 ปีติดต่อกัน ในขณะที่ น้ำดื่มสิงห์ หลังจากใช้ Influencer คนรุ่นใหม่ 5 คน เปลี่ยนมาเป็น “จิณเจษฎ์ วรรธนะสิน” และล่าสุดในปี 2562 เลือกใช้ "ณเดชน์ คูกิมิยะ"
1
References : บริษัท สิงห์ คอร์เปอเรชั่น จำกัด - mgronline - Thaipr.net - ฐานเศรษฐกิจ
โฆษณา