5 ก.ค. 2019 เวลา 04:50 • ประวัติศาสตร์
สิ่งที่เคยเกิดในอดีต ที่กำลังจะเกิดกับไทยในอนาคต 4
ต้นแบบพม่า (Burmese Model)
2
หลังจากจบชุดแรกในซี่รีย์นี้ของผมไป ก็มีเพื่อนๆ หลายท่านได้แจ้งว่าชื่นชอบงานเขียนในชุดนี้ ด้วยว่าสนุก เข้าใจง่ายและมีประโยชน์ จึงอยากให้เขียนต่อมาอีก ซึ่งผมก็รับไว้และได้พยายามศึกษาหาข้อมูลเพื่อนำมาเขียนต่อ โดยทีแรกๆ ว่าจะเขียนถึงราชวงศ์ในยุโรปบ้าง หากแต่มีปัญหาที่ผมเป็นคนอ่อนภาษาอังกฤษ ทำให้การหาข้อมูลของราชวงศ์เหล่านั้นในภาษาไทยไม่สู้จะทำได้ละเอียดนัก จึงคิดว่าเขียนไปก็คงไม่ได้อรรถรสแก่ท่านผู้อ่าน
ต่อมาเมื่อราว 2 วันก่อนได้อ่านคำรำพึงของพระเจ้าธีบอ หรือประเจ้าสีป่อ กษัตริย์องค์สุดท้ายของพม่า ซึ่งได้เห็นหนังสือพิมพ์ในยุโรป ที่กล่าวถึงการเสด็จพระราชดำเนินเยือนยุโรปครั้งแรกของสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ว่าที่กรุงลอนดอน รัชกาลที่ 5 ประทับ ณ พระราชวังบัคกิงแฮม พระองค์ทรงรับการถวายการต้อนรับสู่ออสเตรียโดยสมเด็จพระจักรพรรดิฟรานซ์ โจเซฟ ทรงรับการถวายพระราชไมตรีโดยกษัตริย์แห่งเดนมาร์ก ณ กรุงโคเปนเฮเกน และประธานาธิบดีฝรั่งเศสถวายพระราชทานเลี้ยง ณ กรุงปารีส ที่ประเทศเยอรมนี พระเจ้าไกเซอร์ วิลเฮล์ม ทรงยืนคอยรับเสด็จที่สถานีรถไฟ จนกระทั่งขบวนรถไฟพระที่นั่งของ "สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจุฬาลงกรณ์" แล่นเข้าเทียบ
พระเจ้าสีป่อทรงอ่านรายงานข่าวครั้งแล้วครั้งเล่า กระทั่งทรงจดจำขึ้นพระทัย แล้วกล่าวกับพระราชธิดาว่า “'เมื่อครั้งที่บรรพกษัตริย์ของเรา พระเจ้าอลองพญาผู้เกรียงไกร ทรงยกทัพรุกสยาม พระองค์มีพระราชสาสน์ถึงพระเจ้าแผ่นดินกรุงศรีอยุธยา' พระราชสาสน์ฉบับคัดลอกเก็บอยู่ที่หอจดหมายเหตุในพระราชวัง กล่าวใจความว่า
1
"หา ได้มีความเป็นคู่ขันแข่งในพระเกียรติยศและบุญญาธิการระหว่างเราทั้งสองไม่ การวางพระองค์เทียบข้างพวกหม่อมฉัน เป็นการเปรียบพญาครุฑของพระวิษณุกับนกนางแอ่น พระอาทิตย์เปรียบกับหิ่งห้อย พฤกษเทวดาแห่งสรวงสวรรค์เปรียบกับไส้เดือนดิน พญายูงทอง ธตรัฏฐะ เปรียบกับแมลงเสพคูถ"
นั่นเป็นวาจาที่บรรพกษัตริย์ของเราตรัสกับพระ เจ้ากรุงสยาม ทว่าบัดนี้ พวกเขากลับได้นอนพำนักในพระราชวังบัคกิงแฮม ขณะที่พวกเราถูกฝังจมราบอยู่ในกองมูลสัตว์เยี่ยงนี้.......”(ขอบคุณข้อมูลส่วนนี้จาก http://www.oknation.net/blog/print.php?id=850278)
ทำให้ผมนึกสังเวชใจแทนพระเจ้าธีบอที่ต้องมานั่งรำพึงรำพันชะตาชีวิตของตนเอง ทั้งที่ก่อนหน้านั้นเพียงไม่กี่ปี เสด็จปู่ใหญ่ของพระองค์ได้กรีฑาทัพบุกอโยธยาและเอาชนะอย่างราบคาบ เผาเมืองและปล้นสะดม เพื่อหวังให้ชาวสยามนั้นตกอยู่ในทุรยุคไม่อาจจะฟื้นตัวมาทาบบารมีพม่าได้อีก แต่ให้หลังได้ไม่เท่าไหร่ พระบารมีของกษัตริย์สยามกลับได้รับการยอมรับไปทั่วโลก ที่ต่างไปจากราชาพลัดถิ่นเช่นพระองค์ ทำให้ผมอยากจะได้เขียนตอนที่ 4 ของซี่รี่ย์นี้ขึ้นมา
4
เช่นเดิมผมขอกล่าวถึงความเหมือนในเหตุการณ์เพื่อให้ได้พินิจพิเคราะห์ไปด้วยกัน ซึ่งก็ประกอบไปด้วยคำว่า การแย่งชิงอำนาจของผู้นำประเทศ การแบ่งฝ่ายของขุนนางชั้นสูง การปราบปรามฝ่ายตรงข้ามด้วยความรุนแรง การใช้อำนาจเพื่อขจัดฝ่ายตรงข้ามโดยอยุติธรรม การหวังพึ่งต่างชาติเพื่อขึ้นสู่อำนาจของตน และการแทรกแซงโดยชาวต่างประเทศ
เมื่อกล่าวถึงประเทศพม่าแล้ว ถือว่าเป็นดินแดนที่เต็มไปด้วยการแบ่งแยกทางเชื้อชาติ คล้ายกับการรวมเอานครรัฐต่างๆ ไว้ในประเทศเดียวกัน ดังนั้นกษัตริย์ที่จะได้ครองประเทศพม่า ก็คือผู้รวบรวมบรรดานครรัฐเข้ามาใต้พระราชอำนาจได้ ซึ่งก็มีราชวงศ์แรกคือราชวงศ์พุกามที่ก่อตั้งโดยพระเจ้าอโนรธามังซอ ก่อนจะแตกแยกย้ายและราชวงศ์ตองอูได้ครองประเทศ พร้อมถึงจุดยิ่งใหญ่สุดในสมัยพระเจ้าสิบทิศบุเรงนอง หากแต่เมื่อสิ้นพระองค์อำนาจก็เริ่มลดทอนลงตั้งแต่สมัยพระเจ้านันทบุเรงพระราชโอรส และแม้จะได้ครองประเทศเรื่อยมา แต่อำนาจของราชวงศ์ตองอูก็ไม่ได้มีอยู่จริง สุดท้ายฝ่ายมอญโดยการสนับสนุนจากอังกฤษและฝรั่งเศษก็มีอำนาจเหนือดินแดงพุกาม
1
ซึ่งชนชาวพม่าก็ต้องรอจะมีพระมหากษัตริย์อย่างพระเจ้าอลองพญาที่ได้เอาชนะเหนือชาวมอญ และขับไล่อังกฤษและฝรั่งเศสออกไป จนได้ก่อตั้งราชวงศ์คองบอง(หรือราชวงศ์อลองพญา) และได้รับการยกย่องว่าพระองค์เป็นกษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่ 1 ในสามของพม่า(พระเจ้าอโนรธามังซอ-พระเจ้าบุเรงนอง-พระเจ้าอลองพญา) แต่กระนั้นพระเจ้าอลองพญาก็มีสิ่งที่คาใจมาตลอด ด้วยเคยตรัสว่า “อโยธยานี้หาได้เคยแพ้ใครอย่างราบคาบ” จึงหมายมั่นจะปราบเสียให้ได้ และแม้พระองค์จะยึดเอาอาณาจักรล้านนา(ตอนเหนือของเมืองไทย) ไว้ได้ แต่ก็สิ้นพระชนม์ก่อนจะเข้าตีกรุงศรีอยุธยาได้สำเร็จ
1
ในรัชสมัยต่อมาพระเจ้ามังลอก พระราชโอรสองค์โตได้ตัดสินใจกำจัดคู่แข่งทางการเมือง ไม่ว่าจะเป็นขุนนางหรือพี่น้องด้วยความรุ่นแรง ทำให้เกิดความไม่ไว้วางใจซึ่งกันและกัน ซ้ำยังทำให้การแบ่งแยกนั้นเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน และก็จบลงด้วยโศกนาฏกรรม เมื่อพระเจ้ามังระน้องชายคนรอง ได้รวมกับขุนนางฝ่ายตนทำราชประหารหลังพระเจ้ามังลอกครองราชย์ได้เพียง 3 ปีเท่านั้น
1
รัชสมัยของพระเจ้ามังระนั้นดูจะมีความสงบภายใน เนื่องจากพระองค์เป็นยอดนายทหาร ที่พยายามแพร่พระราชอำนาจออกไปด้วยการเอาชนะกรุงศรีอยุธยาในปี พ.ศ. 2310 ทรงมีคำสั่งให้เผาอโยธยาให้สิ้นเพื่อไม่สามารถจะฟื้นคืนมาเทียบอำนาจกษัตริย์พม่าได้อีก และยังหาญกล้าทำสงครามกับราชวงศ์หมิงจนต้องสิ้นพระชนม์อย่างกะทันหันทั้งที่ครองราชย์ได้เพียง 13 ปี
2
พระเจ้าจิงกูจาพระโอรสได้ครองราชย์ต่อในวัย 19 ปี ทรงใช้นโยบายบริหารประเทศแบบเดียวกับเสด็จลุง คือการกวาดล้างและกำจัดศัตรูทางการเมือง ไม่ว่าจะเป็นพระญาติ เชื่อพระวงศ์หรือขุนนางเก่าแก่ ด้วยการประหาร โยกย้ายหรือลดทอนอำนาจ เช่นพระเจ้าปดุง(พระราชโอรสองค์ที่ 5 ของพระเจ้าอลองพญา มีศักดิ์เป็นเสด็จอา) ก็โดนย้ายไปเป็นเพียงเจ้าเมืองสะกาย ที่มีขนาดเล็ก แล้วยังมีคนควบคุมเมืองอีกชั้นหนึ่งด้วย และด้วยนโยบายที่เคยล้มเหลวมาแล้วแบบนี้เอง ทำให้เจ้าชายหม่องหม่องพระโอรสของพระเจ้ามังลอกได้ทำราชประหาร ยึดอำนาจของพระองค์ และปราบดาตัวเองเป็นพระเจ้าพะกองซ่าหม่องหม่อง แต่ทรงปรกครองประเทศได้เพียง 7 วัน ก็โดนพระเจ้าปดุง ผู้เป็นอายกทัพเข้าเมืองอังวะ จับตัวผู้สนับสนุนทั้งพระเจ้าจิงกูจาและพระเจ้าหม่องหม่องประหารชีวิตทั้งหมด(รวมทั้งแม่ทัพอแซหวุ่นกี้ที่ร่วมกบฏกับพระเจ้าหม่องหม่องด้วย)
เมื่อพระเจ้าปดุงครองราชย์ในปี พ.ศ.2325 (ปีเดียวกับการก่อตั้งกรุงรัตนโกสินทร์) พระองค์ประกาศจะทำสงครามกับโมกุล(อินเดีย) ราชวงศ์หมิง(จีน) และอยุธยา(กรุงเทพ) ทั้งยังสร้างกองทัพขนาด 1 แสน 2 หมื่นคนที่ยิ่งใหญ่สุดในประวัติศาสตร์บุกสยามเป็น 9 ทัพ แต่ก็ต้องพ่ายแพ้กลับไป ด้วยเหตุว่ามีการเตรียมเสบียงอาหารไม่เพียงพอและการที่นายทหาร ขุนนางชั้นหัวกะทิได้ถูกกำจัดไปในการแย่งชิงอำนาจช่วง 3-4 รัชกาลที่ผ่านมา สุดท้ายตลอดเวลา 37 ปีในบัลลังก์ของพระองค์เต็มไปด้วยสงครามที่ไม่มีชัยชนะ
2
กษัตริย์องค์ต่อไปคือพระเจ้าจักกายแมงหลานของพระเจ้าปดุงที่สานต่อปณิธานด้วยการบุกแคว้นอัสสัมและมณีปุระของอินเดีย จนมีปัญหากับอังกฤษ และเป็นเหตุให้อังกฤษฉวยเป็นข้ออ้างบุกเข้ายึดแปร สิเรียม เมาะตะมะ ทวายและมะริดรวมทั้งยะไข่เอาไว้ได้ สุดท้ายต้องทำสนธิสัญญายันดาโบเพื่อสงบศึกด้วยการยกดินแดนอัสสัม ยะไข่ มณีปุระและตะนาวศรีให้แก่อังกฤษ และด้วยความพ่ายแพ้นี้เจ้าชายสารวดีที่ต้องการให้พม่าเป็นมิตรกับอังกฤษ รวมกับการที่พระองค์ถุกพระนางเมนู มินดาจีพระมเหสีที่ครองอำนาจจริงๆ ต้องการกำจัด ทำให้พระองค์ต้องหนีไปรวมกำลังและขอความช่วยเหลือจากอังกฤษ เข้ายึดอำนาจและจับพระเจ้าจักกายแมงขังไว้จนสิ้นพระชนม์ ส่วนพระองค์ก็ครองราชย์ในนามพระเจ้าแสรกแมงหรือพระเจ้าสารวดี
6
วัฏจักรของการครองอำนาจพม่ายังคงเป็นอยู่เช่นเดิม เมื่อพระเจ้าแสรกแม่งดำเนินการประหาร พระนางเมนู มินดาจี เจ้าชายนยาวยาน(โอรสของพระเจ้าจักกายแมง ที่กำลังถูกดันให้ครองราชย์แต่พระเจ้าแสรกแมงยึดอำนาจเสียก่อน) และข้าราชการฝ่ายเดิมเสียจนสิ้น เมื่อครองราชย์แล้วพระองค์มีความพยายามจะเจรจากับอังกฤษเพื่อขอยะไข่และตะนาวศรีคืน และแม้พระองค์จะกรีฑาทัพถึงหนึ่งแสนห้าหมื่นคนไปนมัสการพระธาตุที่ย่างกุ้งเพื่อข่มขวัญอังกฤษ แต่ก็ไม่สำเร็จ ทำให้พระองค์เสียพระทัยมากที่หวังพึ่งอังกฤษและเรียกร้องอธิปไตยไม่สำเร็จ จึงทรงวิปลาศและสวรรคตตามพระเจ้าจักกายแมงเพียงไม่กี่วันเท่านั้น
8
พระเจ้าพุกามแมงกษัตริย์องค์ต่อไปเป็นโอรสของพระเจ้าแสรกแมงได้ยืนกรานจะเรียกร้องดินแดนคืนจากอังกฤษและมีเหตุกระทบกระทั่งกับอังกฤษ ด้วยเหตุเพียงพ่อค้าอังกฤษฆ่าคนพม่าตาย แล้วโดนดำเนินคดีจนอังกฤษรู้สึกเสียหน้า ยกกองเรือเข้ายึดอ่าวเมาะตะมะ ทำลายเรือรบหลวงและยึดดินแดนเมาะตะมะ ย่างกุ้ง พะสิม แปร พะโค และวางแผนบุกอมรปุระเมืองหลวง แต่เจ้าชายมินดงที่อยากเป็นมิตรกับอังกฤษก็ได้ก่อกบฎและยึดบัลลังก์จากพระเจ้าพุกามแมงพี่ชายไป และขึ้นเป็นพระเจ้ามินดงแทน
ในสมัยของพระเจ้ามินดงเองพม่าก็วุ่นวายอยู่กับเรื่องเดิมๆ คือภายในมีปัญหาความขัดแย้งแบ่งแยกและชิงอำนาจกันเอง จนพระองค์ต้องอภิเษกสมรสกับน้องสาวตนเอง(น้องคนละพ่อ) เป็นพระมเหสีเพื่อรักษาพระราชอำนาจ และความขัดแย้งภายนอกกับอังกฤษที่เคยยื่นมือช่วยพระองค์ หากแต่ไม่เคยเป็นมิตรประเทศที่จริงใจและต้องการเอาเปรียบพม่าอยู่เสมอ พระองค์อยู่ในอำนาจเพียง 15 ปีก็สวรรคตและพระเจ้าธีบอพระราชโอรสก็ได้เป็นกษัตริย์ต่อมา
2
พระเจ้าธีบอนั้นกว่าจะได้ครองราชย์ก็ต้องอาศัยความช่วยเหลือจากพระนางอเลนันดอและขุนนางผู้ใหญ่ ด้วยว่ายังคงมีความพยายามแก่งแย่งอำนาจกันอยู่เช่นเดิม และพระองค์ต้องอภิเษกสมรสกับน้องสาวร่วมพระราชบิดาเดียวกันถึง 2 พระองค์ เพื่อรักษาถ่วงดุลอำนาจของข้าราชกาลที่เป็นพระญาติ และด้วยความที่อังกฤษนั้นยังไม่ละความพยายามจะผนวชเอาพม่าเป็นดินแดนหนึ่งของสหราชอาณาจักร ทำให้พระเจ้าธีบอคิดยืมมือฝรั่งเศษมาช่วยคานอำนาจ จึงให้ฝรั่งเศสได้สัมปทานป่าไม้ในพม่า รวมทั้งเรียกเก็บค่าปรับจากบริษัทบอมเบย์เบอร์มาเทรดดิ้ง ของอังกฤษฐานผิดสัญญาเป็นจำนวนสูง ด้วยคิดว่าฝรั่งเศสจะช่วยฝ่ายตน ซึ่งนำพาความไม่พอใจให้แก่อังกฤษมากจนถึงยื่นคำขาด แต่พระเจ้าธีบอที่เชื่อมั่นในอำนาจของฝรั่งเศสทำการปฏิเสธ และจัดกองทัพเพื่อต่อสู้อย่างแข็งขัน
แต่ไม่น่าเชื่อว่าเพียงระยะเวลาแค่ 14 วันกองทัพอังกฤษก็เข้ายึดมัณฑะเลย์ เมืองหลวงสุดท้ายของราชวงศ์คองบองได้สำเร็จ พระเจ้าธีบอที่ปราศจากความช่วยเหลือจากมิตรประเทศอย่างฝรั่งเศสต้องยอมแพ้แก่มิตรประเทศของพระราชบิดา และพม่าก็สิ้นเอกราช ในขณะที่กษัตริย์อย่างพระเจ้าธีบอถูกเนรเทศให้ไปอาศัยอยู่ในอินเดีย โดยมีเงินเดือนจากอังกฤษให้เป็นรายปีที่ 100,000 รูปี และจะลดลงเรื่อยๆ จนเมื่อก่อนสิ้นพระชนม์มีรายได้เพียง 25,000 รูปี และตลอดชีวิตที่ลำบากของพระองค์ก็ได้แต่นั่งท่องข้อความในหนังสือพิมพ์ยุโรป เกี่ยวกับการประภาสยุโรปของรัชกาลที่ 5 จนพระองค์กล่าวว่าได้ท่องมันจนขึ้นใจ
1
อยากจะย้ำอีกทีว่าความแตกแยก การแก่งแย่งขึ้นสู่อำนาจ การใช้อำนาจรัฐกำจัดฝ่ายตรงข้าม การกวาดล้างฝ่ายตรงข้ามอย่างรุนแรง คือการทำให้ประเทศอ่อนแอ ส่วนการหวังพึ่งต่างชาติที่มองแค่ผลประโยชน์ส่วนตน คือตัวเร่งที่พาชาติสู่ความวิบัติ และหวังว่าท่านทั้งหลายจะได้หวนคิดว่าอดีตที่เจ็บช้ำของพระเจ้าธีบอเป็นเยี่ยงนี้แล้ว ท่านอยากจะพาประเทศไทยไปสู่จุดนั้นหรือไม่
5
โฆษณา