เหตุผลอย่างแรกคือ กำไรที่ใช้คำนวณเป็นแค่ผลประกอบการในอดีต อาจจะเป็นเมื่อปีที่แล้วหรือไตรมาสล่าสุด หุ้นที่มี pe ต่ำอาจจะกลายเป็นหุ้น pe สูงทันทีที่บริษัทประกาศผลประกอบการรอบถัดไปออกมาแย่กว่ารอบที่แล้ว เนื่องจากกำไรที่เป็นตัวหารในสูตร pe มีค่าต่ำลง
1
เหตุการณ์จริงที่เกิดขึ้นกับผมเลยคือหุ้น SPRC ซึ่งตอนนั้นผมเห็นว่ามี pe ต่ำที่สุดในกลุ่มโรงกลั่น แถมยังมี Dividend yield สูงที่สุดอีกด้วย จึงรีบทำการเข้าซื้อโดยไม่ได้ศึกษาพื้นฐานของบริษัท ปรากฎว่าในปีนั้นบริษัทมีการปิดซ่อมโรงกลั่นในรอบหลายๆปีตามแผนงาน รวมถึงราคาน้ำมันที่ต่ำลงในช่วงนั้น ทำให้เมื่อผลประกอบการออกมา pe เพิ่มขึ้นไปสูงถึงประมาณ 20 เท่า
ราคาหุ้นลง แต่ PE กลับสูงขึ้น
ในทางกลับกัน หุ้น pe สูงก็สามารถกลายเป็นหุ้น pe ต่ำได้เช่นกัน ถ้าผลกำไรเติบโตในอัตราที่สูงพอ
% change in net working capital / % revenue growth เพื่อดูว่าการเติบโตของรายได้นั้นต้องการเงินสดสำหรับใช้ในการดำเนินงาน (working capital) มากขึ้นเท่าไร หรืออาจจะเป็น Price / CFO, Price / Free cash Flow และอื่นๆ
นอกเหนือจากนี้ยังมีอัตราส่วนเฉพาะ industry เช่น Revenue per available seat mile (RASM), Cost per available seat mile (CASM) ซึ่งเราอาจจะปรับใช้เป็น Price / (RASM-CASM) เพื่อเปรียบเทียบสายการบินด้วยกัน หรือการเปรียบเทียบ revenue / OPD หรือ IPD สำหรับโรงพยาบาล เป็นต้น
จะเห็นได้ว่าจะมี ratio ต่างๆเยอะมาก ซึ่งมันทำให้การวิเคราะห์หุ้นโดยละเอียดนั้นเป็นไปได้ยาก นักลงทุนหลายๆคนจึงยังใช้ PE ratio เป็นตัวคัดกรองหุ้นเบื้องต้น