5 ก.ค. 2019 เวลา 11:50
ทำไม Uber ถึงโดนแบนในหลายๆประเทศ?
ผมเชื่อว่าหลายคนคงทราบดีว่า Uber นั้นคือบริษัทที่เป็นตัวกลางของระบบ sharing economyของการเดินทางด้วยยานพาหนะ​ ซึ่งเราก็รู้กันดีว่าประเทศไทยของเรานั้นไม่ยินยอมกับการเข้ามาของเทคโนโลยีนี้ และยังคงใช้แท็กซี่​ระบบเก่า
ซึ่งจริงๆแล้วก็มีหลายประเทศที่ไม่ยอมรับการเข้ามาของ Uber เช่นเดียวกัน และวันนี้เราจะมาอธิบายถึงเหตุผลหลายๆข้อที่เป็นสาเหตุของการที่ Uber ไม่ได้รับการต้อนรับจากหลายๆประเทศ
ก่อนที่จะอ่าน ขอบอกก่อนว่าผู้เขียนไม่ได้มีแรงจูงใจหรือความชอบส่วนตัวต่อการเข้ามาหรือปราบปราม​การทำการค้าของUberภายในประเทศไทย เพียงแต่ต้องการบอกเล่าถึงความคิดเห็นและหลักการใช้เหตุผลของประเทศต่างๆที่ไม่ทำการค้ากับUber
1. ความเท่าเทียมทางการค้า
สิ่งที่ผู้บริโภควัดคุณค่าของระบบขนส่งนั้นมีสองอย่าง ได้แก่ ราคาและความพึงพอใจต่อการเดินทางไม่ว่าจะเป็นความปลอดภัย มารยาทผู้ขับ คสามสะอาด และอื่นๆ
ในมุมมองของรัฐบาลนั้น รัฐบาลไม่สามารถเข้าข้างผู้บริโภคเพียงฝ่ายเดียวได้ แต่ต้องมองถึงผลกระทบต่อผู้ประกอบกิจการภายในประเทศด้วย ในหลายๆประเทศ อย่าง Bulgaria, Italy, Hungary ที่ยื่นไม่ยินยอมการทำการค้าในประเทศของ Uber เนื่องด้วยUberสร้างความไม่เท่าเทียมทางการค้าต่อผู้ประกอบการแท็กซี่ในประเทศ
โดยวิธีการที่ Uber ใช้นั้น คือการไล่คู่แข่งออกจากตลาดด้วยการตั้งราคาต่ำถึงระดับที่คู่แข่งทนอยู่ในตลาดไม่ได้ เราอาจจะมองว่านี้คือเรื่องที่ดีเพราะราคาถูกลงแต่ว่า ถ้าUberสามารถไล่คู่แข่งออดไปได้นั้น ตัวUberจะสามารถผูกขาดตลาดได้และเพิ่มราคาในภายหลัง ซึ่งอาจจะมากขึ้นกว่าระบบเก่าด้วยซ้ำ
Source : Crunchbase news
แต่ว่า ทำไมหลายๆประเทศเหล่านี้ถึงเชื่อว่าการมาของ Uber นั้นคือการมาทำลายระบบเก่า ทำไมไม่คิดว่าระบบเก่าจะสู้ได้!?
นั่นก็เพราะว่า Uber มีผู้ได้เสียประโยชน์จำนวนมากซึ่งได้ให้ทุนในการทำการค้าทั่วโลกที่มูลค่าประมาณ​ 8 พันล้านเหรียญสหรัฐในปี 2015 ที่ Uber เริ่มมีบทบาทในตลาดขนส่งมวลชน​ทั่วโลก ซึ่งการเข้ามาในตลาดและใช้วิธีตั้งราคาต่ำและพร้อมรับการขาดทุนด้วยเงินทุนที่มีสูงกว่านั้น เป็นข้อได้เปรียบที่สร้างความไม่เท่าเทียมทางการค้าเพราะวิธีการนี้คือการพยายามฆ่าระบบขนส่งเก่าและขึ้นเป็นผู้ผูกขาดทางตลาดในระบบขนส่งมวลชน ซึ่งเรียกกันว่า Predatory pricing ในเศรฐศาสตร์​นั้นเอง
ซึ่งจากมุมมองนี้ การเข้ามาตั้งราคาต่ำด้วยเทคโนโลยีล้ำสมัยของUberเป็นการทำธุรกิจที่เหมือนช่วยเหลือผู้บริโภคในระยะสั้น แต่ในระยะยาวการที่แท็กซี่​ไม่อยู่ในระบบนั้น จะเปิดโอกาสให้ Uber สามารถเอาเปรียบผู้บริโภคได้อย่างไม่มีคู่แข่ง​ ทำให้หลายๆประเทศที่เริ่มมองเห็นการใช้อำนาจทางเงินทุนของUberเพื่อดูดซับการขาดทุนจึงได้ทำการแบน Uberออกไปจากประเทศ
2. ความมั่นคงทางการงานของคนขับUber
ซึ่งที่Uberนำเข้ามาในระบบนั้นคือคนขับ ซึ่งคนขับแต่ละคนนั้นไม่ใช่ลูกจ้างของUberแต่เป็นเพียงลูกจ้างในสัญญาเท่านั้นซึ่งทำงานอิสระ คนขับไม่มีข้อผูกมัดต่อทาง Uber และUber ไม่มีความจำเป็นที่ต้องดูแลคนขับในฐานะลูกจ้าง ซึ่งจากสิ่งที่เห็นกันในทุกประเทศนั้น Uber ได้เอาเปรียบคนขับด้วยการเปลี่ยนค่าจ้างตามอำเภอใจและไม่มีการแจ้งล่วงหน้า วันดีคืนดี เมื่อ Uber ต้องการลดค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการไล่คู่แข่งที่กล่าวถึงในข้อแรก ทาง Uber สามารถมาลงที่คนขับ Uber ได้
แต่ว่าการลดค่าแรงไม่ใช่ว่าจะเป็นการลดความดึงดูดของการมาเป็นคนขับUberหรอ
คำตอบคือไม่ครับ เพราะว่าการมาเป็นคนขับUberนั้นมีแทบจะไม่เสียค่าใช้จ่ายและไม่ได้ยากเท่าการเข้าไปเป็นคนขับของระบบอื่นๆอย่างแท็กซี่ หรือรถประจำทาง
ซึ่งตัวค่าแรงส่งผลต่อความเป็นอยู่ของตัวคนขับอย่างมากและทางประเทศไม่ต้องการให้การเข้ามาทดแทนของระบบใหม่สร้างความไม่มั่นคงต่อรายได้ของคนขับ ด้วยความไม่แน่นอนทางการแข่งขันของบริษัทเพียงบริษัทเดียว
3. หลีกเลี่ยงและเมินเฉย​ต่อกฏหมาย
ด้วยการที่เป็นบริษัทพันล้านระดับโลกนั้นการเข้าไปในตลาดของUberไม่ใช่การเข้าไปร่วมธุรกิจธรรมดา เป็นการเมินเฉยต่อระบบกฏหมายที่ใช้และปฎิบัติ​ของแต่ละประเทศ ซึ่งทางUberมักไม่รีรอการยินยอมและลงมือดำเนินกิจการ แม้จะล้มเหลวหรือประสบความเร็จ
ทางรัฐบาลและประเทศต่างๆมองถึงปัญหาเหล่านี้และได้เห็นว่านี่คือธุรกิจที่เพิกเฉย​ต่ออำนาจรัฐบาล และถือเป็นแท็กซี่ทุจริต เพราะการเข้ามาทำธุรกิจขนส่งมวลชนภายในประเทศนั้นต้องผ่านขั้นตอนหลายอย่างก่อนที่จะเริ่มกิจการได้ วิธีการคัดคนขับ การตั้งราคา สภาพยานพาหนะ​ ความชำนาญ ประวัติอาชญากรรม​ และอื่นๆ ต่างถูกกำหนดไว้ด้วยกฎหมายแล้ว
ถ้ามองในมุมมองของรัฐบาลถ้าต้องตัดสินใจ​เลือก​ระหว่างผู้ประกอบการที่เชื่อฟังและปฎิบัติ​ตามกฏหมายอยู่แล้ว กับผู้ประกอบการที่สร้างความวุ่นวายและไม่รอการยอมรับทางกฏหมาย ก็เป็นเรื่องที่ตัดสินใจได้ไม่ยาก
แม้จะมีหลายประเทศที่อยากให้กิจการUberมาอยู่ในประเทศแต่ก็อยากให้Uberอยู่ในระบบ อย่าง Alaska, Australia, Taiwan แต่ว่าด้วยการการข้อตกลงที่ไม่ตรงกันจึงทำให้Uberไม่สามารถยอมรับข้อตกลงและถูกแบนออกไปจากประเทศ
ซึ่งรวบแล้วคือ Uberได้ทำการค้าไม่เท่าเทียมโดยการเอาเปรียบผู้เล่นคนอื่นๆ และยังมีอำนาจเอาเปรียบผู้บริโภคและคนขับในอนาคต ทั้งยังเพิกเฉยต่อกฏหมาย สำหรับสิ่งที่ผู้อ่านได้อ่านไปนั้นโดยส่วนตัวผมแล้วนั้นมีความเห็นด้วยกับข้อแรกมากที่สุด
ผู้เขียนอยากทราบถึงความสนใจของผู้อ่านเกี่ยวกับตัว Sharing business ระหว่าง Uber, Lyft, Airbnb, Agoda ว่าผู้อ่านสนใจตัวไหนมากกว่ากัน ทางเราจะตัดสินใจเขียนบทความโดยเรียงลำดับจากสนใจมากไปน้อย
เพราะฉะนั้นแล้วคนไหนที่ชอบ sharing business และไม่อยากพลาดบทความดีๆ ก็กดไลค์​กดติดตามไว้นะครับ 👍👍
Reference:
โฆษณา