6 ก.ค. 2019 เวลา 15:14 • ประวัติศาสตร์
ภาพดังจากในอดีต ที่ทั้งน่าจดจำและมีชื่อเสียงที่สุดในชุดหนึ่งของประวัติศาสตร์
ตั้งแต่ที่มีการคิดค้นกล้องถ่ายรูปขึ้นมา เครื่องมือชิ้นนี้ก็กลายเป็นหนึ่งในอุปกรณ์ที่ได้ชื่อว่าสำคัญที่สุดในการบันทึกประวัติศาสตร์ของมนุษย์เลยก็ว่าได้ เพราะตั้งแต่ในอดีตมากล้องถ่ายรูปนั้นได้บันทึกภาพสำคัญๆ ของประวัติศาสตร์มาแล้วมากมายหลายรูปจริงๆ
แต่ในบรรดาภาพถ่ายของประวัติศาสตร์นับล้านใบบนโลกเอง มันก็มีภาพถ่ายบางภาพเหมือนกันที่เป็นที่จดจำของผู้คนได้เป็นอย่างดีกว่าภาพถ่ายอื่นๆ
และภาพถ่ายอันเป็นที่จดจำที่จะพาเพื่อนๆ ไปชมกันกับ ภาพถ่ายในตำนาน ที่ว่ากันว่าเป็นที่จดจำ และมีชื่อเสียงที่สุดในอดีตดังต่อไปนี้
(คำเตือนภาพบางภาพต่อไปนี้ อาจมีเนื้อหาที่รุนแรง น่ากลัว หรือเสียดแทงหัวใจ
โปรดใช้วิจารณญาณในการรับชม)
เริ่มกันจากภาพถ่ายรางวัลยอดเยี่ยมจากปี 1993 “เด็กหญิงกับอีแร้ง”
“เด็กหญิงกับอีแร้ง” ภาพถ่ายรางวัลยอดเยี่ยมจากปี 1993 ที่ทำให้ช่างภาพฆ่าตัวตาย
นี่เป็นภาพเด็กหญิงชาวแอฟริกา ที่รูปร่างผอมแห้งและกำลังจะหิวตาย กับนกแร้งที่เฝ้าคอยที่จะจิกกินซากศพของเธอ
ภาพนี้อยู่ถ่ายไว้โดยช่างภาพหนังสือพิมพ์ชื่อ Kevin Carter ผู้เดินทางไปยังซูดาน ในเดือนมีนาคม 1993
แม้ว่านี่จะเป็นภาพที่สะท้อนให้เห็นความโหดร้ายของโลกได้เป็นอย่างดี แต่ในเวลาเดียวกันก็สร้างคำถามให้กับผู้พบเห็นมากมายเช่นกัน
และหนึ่งในคำถามเหล่านั้นคือ “เด็กที่เห็นเป็นอย่างไรต่อไป” และ “ทำไมตากล้องเอาแต่ถ่ายภาพและไม่ช่วยเด็กคนนี้”
จากคำบอกเล่าของ Carter ดูเหมือนว่าเขาจะช่วยไล่นกแร้งออกไปก็จริง แต่เป็นหลังจากที่เขาถ่ายภาพเสร็จแล้ว ส่วนเด็กในภาพก็แข็งแรงพอที่จะเดินเองได้ อย่างไรก็ตามเขาไม่ทราบว่าเธอนั้นเป็นอย่างไรต่อไป
เรื่องที่เกิดขึ้นทำให้ Carter ถูกมองว่าเป็นนักข่าวที่เห็นแก่ชื่อเสียง และเลือกที่จะทำผลงานมากกว่าที่จะช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ จนเขาถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักจากคนทั่วโลก
ในความเป็นจริงแล้วคนที่ทำงานในถิ่นทุรกันดารอย่าง Carter มักจะถูกสอนไม่ให้สัมผัสเหยื่อความหิวโหยในพื้นที่ เนื่องจากพวกเขาอาจจะมีโรคติดต่อร้ายแรงก็เป็นได้
ถึงอย่างนั้นเจ้าตัวก็บอกว่ารู้สึกผิดเป็นอย่างมากที่เขาไม่ได้ช่วยเหลือเด็กคนดังกล่าว ถึงขั้นที่ว่าไม่นานหลังจากที่เขาได้รับรางวัลภาพถ่ายยอดเยี่ยมในปี 1994 Carter ก็จบชีวิตของตัวเองลงในเดือนกรกฎาคม 1994
ที่มา rarehistoricalphotos, allthatsinteresting
มือเด็กชายชาวยูกันดาที่กุมมือของนักเผยแผ่ศาสนา จากปี 1980
ในปี 1980 ไมค์เวลส์ถ่ายภาพอันทรงพลังของนักเผยแผ่ศาสนาคาทอลิกที่กุมมือของเด็กชายอูกันดาที่หิวโหย ในหลาย ๆ ทางมันดูเหมือนว่ามือไม่ใช่มนุษย์ มันเกือบจะเป็นมือของมนุษย์ต่างดาวในอวกาศสายพันธุ์ต่าง ๆ หรืออะไรก็ตามยกเว้นมือของมนุษย์ น่าเสียดายที่มันไม่สามารถ 'เอาแต่ใจ' ในการเป็นอย่างอื่น แต่เป็นมือของมนุษย์ มนุษย์ที่หิวโหย
ช่างภาพอิสระ Mike Wells อธิบายให้นิตยสาร Holland Herald ในการให้สัมภาษณ์หลังจากชนะรางวัล World Press Photo of the Year ในปี 1980 เขาอยู่ในแอฟริกาที่ทำงานให้กองทุน Save the Children ของสหราชอาณาจักรครอบคลุมการรณรงค์ต่อต้านโรคโปลิโอใน สวาซิแลนด์และมาลาวี
ทำให้ภาพนี้ในขณะเดินทางไปยูกันดาที่เซมินารีที่เวโรนาพ่อแจกจ่ายอาหารในช่วงแรกของการกันดารอาหาร พระสงฆ์คนหนึ่งบรรยายสถานการณ์ให้กับเวลส์และบอกเขาว่าเด็กชาย Karamojong อายุประมาณสี่ปี
นอกจากนี้ความไม่มั่นคงของชาติยังทำให้การค้าขายพังทลายลงอย่างสมบูรณ์ ครอบครัวเริ่มขาดแคลนอาหารในต้นปี 1980 สถานการณ์เริ่มรุนแรงขึ้นในเดือนพฤษภาคมและความอดอยากมาถึงจุดสูงสุด
ในเดือนกรกฎาคมและสิงหาคมของปีเดียวกัน ในเดือนกรกฎาคม Verona Fathers ใน Karamoja ยื่นอุทธรณ์โครงการอาหารโลกในกรุงโรมเพื่อขอความช่วยเหลือเร่งด่วน กิจกรรมมิชชันนารีคาทอลิกเริ่มขึ้นในภูมิภาคในปี 1933 โดยมีโบสถ์คาทอลิกที่ให้ความช่วยเหลือบรรเทาทุกข์ในช่วงเวลาของการกันดารอาหารมาตั้งแต่ทศวรรษ 1960
ช่างภาพ Mike Wells ซึ่งภายหลังจะได้รับรางวัล World Press Photo Award สำหรับภาพถ่ายนี้ยอมรับว่าเขารู้สึกละอายใจที่จะถ่ายรูป สิ่งพิมพ์เดียวกันที่นั่งอยู่บนภาพของเขาเป็นเวลาห้าเดือนโดยไม่ต้องเผยแพร่มันเข้าสู่การแข่งขัน เขารู้สึกอับอายที่จะชนะเพราะเขาไม่เคยเข้าร่วมการแข่งขันและต่อต้านการชิงรางวัลด้วยรูปคนที่อดตาย
(เครดิตภาพ: Mike Wells)
ภาพการแลบลิ้นของไอน์สไตน์ในปี 1951
แน่นอนว่าภาพที่เห็นนี้ไม่ใช่ภาพที่มีการตัดต่อขึ้นมาในภายหลังแต่อย่างใด แต่นี่เป็นภาพของอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์จริงๆ ที่ถูกถ่ายเอาไว้ในงานครบรอบวันคล้ายวันเกิดอายุครบ 72 ปีของเขา เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 1951ต่างหาก
นี่เป็นภาพที่ถูกถ่ายขึ้นหลังจากที่งานเลี้ยงฉลอง วันเกิดของไอน์สไตน์จบลง และเขากำลังจะเดินทางกลับจากเมืองพรินซ์ตัน พร้อมๆ กับคู่สามีภรรยา Aydelotte ที่เป็นเพื่อน
โดยในเวลานั้นช่างภาพของสำนักข่าวหลายแห่งก็ได้กรูกันเข้าไปขอให้ไอน์สไตน์ยิ้มให้กลับกล้องในวันเกิด ดังนั้นไม่รู้จะด้วยความรำคาญหรือความขี้เล่นไอน์สไตน์จึงได้แลบลิ้นใส่นักข่าว ก่อนที่จะหันหน้าหนีไป
ปัญหาคือหนึ่งในบรรดานักข่าวเหล่านั้น Arthur Sasse ที่เป็นนักข่าวจากหนังสือพิมพ์ UPI ก็ดันถ่ายภาพของไอน์สไตน์ในจังหวะนั้นไว้ได้แบบพอดิบพอดีนี่สิ
จริงอยู่ว่าภาพที่ได้มานั้นกลายเป็นที่ถกเถียงกันว่าควรจะนำมาใช้หรือไม่ในสำนักข่าวอยู่ช่วงหนึ่ง แต่ในที่สุดพวกเขาก็ตัดสินใจนำภาพถ่ายที่ได้ออกไปตีพิมพ์ และแน่นอนว่านั่นก็เป็นการตัดสินใจที่ถูกสุดๆ เลยด้วย
รูปถ่ายเต็มๆ ก่อนที่จะมีการตัดเหลือเพียงหน้าของไอน์สไตน์
ภาพของเด็กผู้เป็นเหยื่อเหตุภูเขาไฟระเบิดที่โคลัมเบียในปี 1985
ในปี 1985 ได้มีภาพภาพหนึ่งได้รับรางวัล World Press Photo of the Year และกลายเป็นที่พูดถึงของคนทั้งโลกไป โดยมันเป็นภาพที่ดูเผินๆ อาจจะเหมือนภาพสยองขวัญ แต่ในความเป็นจริงแล้วมีเรื่องราวที่น่าเศร้ากว่าที่คิด
นี่คือภาพของ Omayra Sánchez เด็กสาววัย 13 ผู้เป็นเหยื่อของเหตุการณ์ภูเขาไฟ Nevado del Ruiz ระเบิด ที่ถูกถ่ายไว้โดย Frank Fournier นักข่าวชาวฝรั่งเศสในโคลัมเบีย
การระเบิดของภูเขาไฟในครั้งนี้นำมาซึ่งเหตุแผ่นดินไหว น้ำท่วม และดินถล่มในหลายพื้นที่ โดยหนึ่งในพื้นที่เหล่านั้นก็คือเมือง Armero ที่ Sánchez อาศัยอยู่ ซึ่งมีตัวเลขผู้เสียชีวิตสูงถึง 20,000 คน
และแม้แต่ตัว Sánchez เองจะรอดชีวิตมาได้ แต่ก็ต้องอยู่ในสภาพขาถูกคอนกรีตทับอยู่ใต้น้ำ และต้องใช้มือเกาะกิ่งไม้ไว้เพื่อให้จมน้ำ
แน่นอนว่าหลังจากที่มีการพบตัวเธอเจ้าหน้าที่ก็พยายามอย่างเต็มที่เพื่อที่จะช่วยเหลือเธอออกจากที่นั่น และ Sánchez เองก็ยังอยู่ในสภาพที่ค่อนข้างดี และมีแรงมากพอที่จะให้สัมภาษณ์ด้วยซ้ำ
อย่างไรก็ตามหลังจากเวลาผ่านไป เธอก็เริ่มที่จะไม่ไหว ก่อนที่สถานการณ์จะยิ่งแย่ลงไปอีกเมื่อทีมกู้ภัยพบว่าทางเดียวที่จะเอาเธอออกมาจากซากคอนกรีตได้ คือการที่จะต้องตัดขาของเธอทิ้งเท่านั้น
ทว่าในตอนนั้น ทีมแพทย์ไม่มีอุปกรณ์ที่จะช่วยเธอจากการเสียเลือดได้ อีกทั้งเด็กสาวในปัจจุบันก็อ่อนแอเป็นอย่างมากด้วย ดังนั้นหากฝืนไปตัดขาเธอแล้วละก็ Sánchez จะต้องเสียชีวิตอย่างแน่นอน
ด้วยเหตุนี้เองทีมแพทย์จึงได้ตัดสินใจว่าการปล่อยให้เธอตายน่าจะเป็นหนทางที่เธอจะเจ็บปวดน้อยที่สุดแล้ว และท่ามกลางความเจ็บปวดของเหล่านักกู้ภัยและทีมแพทย์นั่นเอง เด็กสาวก็เสียชีวิตไปในเช้าวันที่ 16 พฤศจิกายน
เธอจากไปหลังจากต้องทรมานอยู่อย่างนั้นเป็นเวลาราวๆ 3 คืน ด้วยพิษบาดแผล อาการกล้ามเนื้อตาย หรือไม่ก็อาการอุณหภูมิร่างกายต่ำ และทิ้งไว้ซึ่งภาพถ่ายที่จะทำให้โลกทั้งใบจดจำเท่านั้น
 
ที่มา rarehistoricalphotos
ภาพความตายของทหารอิรัก จากทางหลวงมรณะเมื่อปี 1991
นี่เป็นภาพของชายที่ร่างถูกเผาอย่างน่าสยดสยองที่ถูกมองผ่านกระจกหน้ารถบรรทุกโดยมีแสงอาทิตย์เป็นฉากหลัง ซึ่งน่าหดหู่มากจนเกือบจะถูกเข้าใจผิดว่าเป็นภาพขาวดำทั้งๆ ที่เป็นภาพสี
ศพที่เห็นนี้เป็นหนึ่งในเหยื่อจำนวนมากของเหตุการณ์ “Highway of Death” (ทางหลวงมรณะ) เหตุการณ์ที่กองทัพสหรัฐฯ ได้โจมตีใส่ทหารอิรักนับพันที่กำลังล่าถอยบนทางหลวงหมายเลข 80 ทั้งๆ ที่มีการทำข้อตกลงหยุดยิง
การปฏิบัติการในครั้งนั้น ทำให้ทางหลวงธรรมดาๆ แห่งหนึ่งกลายเป็นสถานที่ซึ่งเต็มไปด้วยซากศพ และสะท้อนความโหดร้ายของสงครามได้อย่างโหดร้ายและเจ็บปวด
แน่นอนว่าภาพของ Ken Jarecke ต้องทำให้ทางกองทัพสหรัฐฯ ไม่พอใจอย่างแน่นอน แต่ชายหนุ่มก็มีเหตุผลในการถ่ายภาพของเขาที่ว่า “หากผมไม่ถ่ายภาพนี้ ประชาชนแบบแม่ของผม จะคิดว่าสงครามมันเป็นเหมือนในทีวี”
จริงอยู่ว่าภาพของ Ken Jarecke จะถูกปฏิเสธการเผยแพร่จากสื่อในสหรัฐอเมริกาเอง แต่ในประเทศอื่นๆ ภาพของเขากลับถูกหนังสือพิมพ์หลายๆ ฉบับนำไปลง จนกลายเป็นภาพสุดโด่งดังไป
และในช่วงเวลาที่ภาพของเขาโด่งดังไปทั่วอินเตอร์เน็ตและสื่ออื่นๆ เช่นนี้เอง Ken Jarecke ก็หวังเป็นอย่างยิ่งว่าคนเราก็คงจะพร้อมแล้วที่จะตัดสินความโหดร้ายของสงครามตามที่สงครามเป็นจริงๆ ไม่ใช่สิ่งที่เห็นในทีวี
ที่มา rarehistoricalphotos ภาพเพิ่มเติมจาก rarehistoricalphotos
ภาพทหารเยอรมันถูกบังคับให้ชมภาพจากค่ายกักกัน เมื่อปี 1945
ในช่วงเวลาที่สงครามโลกครั้งที่สองจบลงใหม่ๆ ฝั่งสัมพันธมิตรที่นำโดยสหรัฐอเมริกา จำเป็นที่จะต้องหาวิธีขุดรากถอนโคนแนวคิดของพรรคนาซีที่ฝั่งลึกอยู่ในเยอรมนีออกไปให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อป้องกันไม่ให้การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิวเกิดขึ้นซ้ำในอนาคต
ด้วยเหตุนี้เองทางสหรัฐฯ จึงได้พาเหล่านักโทษสงครามชาวเยอรมันที่พวกเขาจับได้ มาชมภาพความโหดร้ายของค่ายกักกันนาซี และเกิดเป็นภาพถ่ายที่มีชื่อเสียงที่สุดภาพหนึ่งของประวัติศาสตร์ไป
ภาพถ่ายที่เห็นนี้มีคำบรรยายต้นฉบับว่า “นักโทษสงครามชาวเยอรมัน ถูกกักตัวในค่ายอเมริกัน และดูภาพยนตร์เกี่ยวกับค่ายกักกันเยอรมันเอง”
โดยนี่เป็นภาพของเหล่านักโทษสงครามเยอรมันจำนวนมาก ที่ส่วนมากเป็นทหารกำลังทำสีหน้าที่หลากหลายแต่ไร้ซึ่งรอยยิ้ม ในระหว่างที่กำลังชมภาพยนตร์สารคดีของค่ายกักกันนาซีที่ทางสหรัฐฯ รวบรวมมาจากสื่อต่างๆ ทั่วโลก
ไม่มีหลักฐานชัดเจนว่าความพยายามรากถอนโคนแนวคิดของพรรคนาซีที่สหรัฐฯ ทำอยู่นี้ได้ผลจริงมากน้อยเพียงใด แต่หลายๆ ฝ่ายก็เชื่อมั่นมากว่าการที่นักโทษได้เห็นความโหดร้ายของค่ายกักกันด้วยตาตัวเองน่าจะทำให้พวกเขาเปลี่ยนความคิดได้ไม่มากก็น้อย
และหากเราสังเกตสีหน้าของเหล่านักโทษดีๆ แล้ว ไม่แน่เหมือนกันว่าการฉายภาพยนตร์สารคดีในครั้งนี้ อาจจะประสบความสำเร็จเป็นอย่างดีเลยก็เป็นได้
ที่มา rarehistoricalphotos และ theguardian
ที่มา catdum
ฝากติดตามกันด้วยนะครับ
โฆษณา